พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8393/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับเมื่อที่ดินมีโฉนด การครอบครองก่อนหน้านั้นไม่นับ
ตราบใดที่ที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินมือเปล่าอยู่ย่อมครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ จะครอบครองปรปักษ์ได้ต่อเมื่อเป็นที่ดินมีโฉนด เพราะที่ดินมีโฉนดเท่านั้นที่บุคคลอาจมีกรรมสิทธิ์ได้ ดังนี้ ระยะเวลาการเริ่มครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทมีโฉนด ที่ดินพิพาทผู้ร้องครอบครองจนถึงวันยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินต่อศาลเพิ่งออกโฉนดมายังไม่ถึง10 ปี ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ผู้ร้องคงมีเพียงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเท่านั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ต้องสั่งการที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมศาลฎีกาจึงแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8393/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับระยะเวลาเมื่อที่ดินมีโฉนด ที่ดินมือเปล่ายังไม่สามารถครอบครองปรปักษ์ได้
ตราบใดที่ที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินมือเปล่าอยู่ ย่อมครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ จะครอบครองปรปักษ์ได้ต่อเมื่อเป็นที่ดินมีโฉนด เพราะที่ดินมีโฉนดเท่านั้นที่บุคคลอาจมีกรรมสิทธิ์ได้ ดังนี้ ระยะเวลาการเริ่มครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทมีโฉนด
ที่ดินพิพาทผู้ร้องครอบครองจนถึงวันยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินต่อศาลเพิ่งออกโฉนดมายังไม่ถึง 10 ปี ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 ผู้ร้องคงมีเพียงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเท่านั้น
ป.วิ.พ.มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ต้องสั่ง การที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาจึงแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
ที่ดินพิพาทผู้ร้องครอบครองจนถึงวันยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินต่อศาลเพิ่งออกโฉนดมายังไม่ถึง 10 ปี ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 ผู้ร้องคงมีเพียงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเท่านั้น
ป.วิ.พ.มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ต้องสั่ง การที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาจึงแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8226/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องความผิดเช็คต้องแสดงเจตนาและหนี้ที่มีอยู่จริง มิเช่นนั้นฟ้องไม่สมบูรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 โดยบรรยายไว้เพียงว่า "โดยมีจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้อันสามารถบังคับได้ตามกฎหมายให้แก่โจทก์ ฯลฯ" ซึ่งขาดองค์ประกอบคำว่า "ที่มีอยู่จริง" ดังนั้น แม้จำเลยจะสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้โจทก์อันมีลักษณะบังคับได้หรืออันสามารถบังคับได้ตามกฎหมายก็ตาม แต่หากไม่มีหนี้ที่มีอยู่จริง การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดเมื่อฟ้องโจทก์บรรยายองค์ประกอบแห่งความผิดดังกล่าวขาดไป กรณีจึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพและมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาชอบที่จะหยิบยกขึ้นพิจารณา และพิพากษายกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8226/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาเช็ค: ต้องระบุ 'หนี้ที่มีอยู่จริง' ตาม พ.ร.บ.เช็ค
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 โดยบรรยายไว้เพียงว่า "โดยมีจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ อันสามารถบังคับได้ตามกฎหมายให้แก่โจทก์ ฯลฯ" ซึ่งขาด องค์ประกอบคำว่า "ที่มีอยู่จริง" ดังนั้น แม้จำเลยจะ สั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้โจทก์อันมีลักษณะบังคับได้หรือ อันสามารถบังคับได้ตามกฎหมายก็ตาม แต่หากไม่มีหนี้ที่มีอยู่จริง การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดเมื่อฟ้องโจทก์บรรยาย องค์ประกอบแห่งความผิดดังกล่าวขาดไป กรณีจึงเป็นฟ้องที่ ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพและมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาแต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาชอบที่จะหยิบยกขึ้นพิจารณา และพิพากษายกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8056/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์สิน สัญญาซื้อขายเป็นโมฆียะ คืนเงินมัดจำ
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายอาคารพิพาทโดยเข้าใจว่าอาคารดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 614 และ 616 แต่ไม่ทราบมาก่อนว่าอาคารดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 615 แม้จำเลยจะสามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ของอาคารพิพาทพร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 614 และ 616 ให้โจทก์ได้หรือไม่ก็ตาม แต่โดยที่อาคารดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ 615 ตามกฎหมายด้วย เมื่อตีความสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวของโจทก์และจำเลยโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีในทางสุจริตแล้ว ต้องถือว่าไม่อยู่ในความประสงค์ของโจทก์ที่จะเข้าทำสัญญาดังกล่าวโดยไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อทั้งหมดได้ ต้องถือว่าโจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อขายอาคารพิพาทกับจำเลยโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งเป็นสาระสำคัญ สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาดังกล่าวจึงมีผลเท่ากับเป็นการบอกเลิกโมฆียะกรรมและต้องถือว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำที่รับไปพร้อมดอกเบี้ย แต่ไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดระหว่างกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8056/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์สิน สัญญาซื้อขายเป็นโมฆียะ คืนเงินมัดจำ
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายอาคารพิพาทโดยเข้าใจว่าอาคารดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 614 และ 616 แต่ไม่ทราบมาก่อนว่าอาคารดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 615 แม้จำเลยจะสามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ของอาคารพิพาทพร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 614 และ 616 ให้โจทก์ได้หรือไม่ก็ตาม แต่โดยที่อาคารดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ 615 ตามกฎหมายด้วย เมื่อตีความสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวของโจทก์และจำเลยโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีในทางสุจริตแล้ว ต้องถือว่าไม่อยู่ในความประสงค์ของโจทก์ที่จะเข้าทำสัญญาดังกล่าวโดยไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อทั้งหมดได้ ต้องถือว่าโจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อขายอาคารพิพาทกับจำเลยโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งเป็นสาระสำคัญ สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาดังกล่าวจึงมีผลเท่ากับเป็นการบอกเลิกโมฆียะกรรมและต้องถือว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำที่รับไปพร้อมดอกเบี้ย แต่ไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดระหว่างกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7632/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินของผู้มีชื่อร่วม การซื้อขายที่ดินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของร่วม และผลของการครอบครอง
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ และโจทก์มิได้เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยกับให้จำเลยได้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 750 บาท นับแต่วันจำเลยทำละเมิดบุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ และโจทก์ฎีกา ดังนี้ เมื่อคดีมีจำนวนค่าเสียหายอันเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท และเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
ที่ดินพิพาทมี บ.เป็นเจ้าของรวมกับโจทก์ โดย บ.เป็นผู้เข้าครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทในส่วนของตน และครอบครองที่ดินพิพาทแทนในส่วนของโจทก์ การที่จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก บ.ทั้งแปลงโดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอม แม้จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทก็ตาม แต่เมื่อ บ.ไม่มีสิทธินำสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนที่โจทก์เป็นเจ้าของร่วมที่ บ.ครอบครองแทนมอบให้แก่จำเลยครอบครองโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งเจ็ดได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา1361 วรรคสอง จำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทมี บ.เป็นเจ้าของรวมกับโจทก์ โดย บ.เป็นผู้เข้าครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทในส่วนของตน และครอบครองที่ดินพิพาทแทนในส่วนของโจทก์ การที่จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก บ.ทั้งแปลงโดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอม แม้จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทก็ตาม แต่เมื่อ บ.ไม่มีสิทธินำสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนที่โจทก์เป็นเจ้าของร่วมที่ บ.ครอบครองแทนมอบให้แก่จำเลยครอบครองโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งเจ็ดได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา1361 วรรคสอง จำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7556/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตามบทหนักสุดย่อมไม่อำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามบทเบาได้
เมื่อศาลลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แล้ว ศาลก็จะอาศัยบทเบาตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 157 ทวิ มาเพื่อสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยหาได้ไม่ เพราะศาลมิได้ลงโทษจำเลยตามบทเบานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7556/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตามกฎหมายวัตถุออกฤทธิ์ฯ และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ศาลต้องลงโทษตามบทเบาจึงจะสั่งพักใช้ได้
เมื่อศาลลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90 แล้ว ศาลก็จะอาศัยบทเบาตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157 ทวิ มาเพื่อสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยหาได้ไม่ เพราะศาลมิได้ลงโทษจำเลยตามบทเบานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1973/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาเพิกถอนการซื้อขายที่ดิน ไม่มีผลผูกพันผู้รับจำนองที่เป็นบุคคลภายนอก
ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ผลของคำพิพากษาย่อมไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ผู้รับจำนองที่พิพาทดังกล่าวเป็นบุคคลภายนอกซึ่งมิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย ย่อมไม่ต้องถูกผูกพันโดยคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยปลอดจากจำนอง