คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ระพิณ บุญสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สินหลังทำละเมิด เป็นการฉ้อฉลเจ้าหนี้
++ เรื่อง เพิกถอนการฉ้อฉล ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 227418 และ 227419 ตำบลจรเข้บัว อำเภอบางกะปิกรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ให้ กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้รับ ให้จำเลยทั้งสี่นำโฉนดที่ดินไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยทั้งสี่ฎีกา
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4
++ เดิมจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เมื่อเดือนมีนาคม2538 จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงนายชนินทร์ เลาหเลิศศักดา บุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 ต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2539 ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 2,049,389 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระแก่โจทก์ทั้งสองเสร็จสิ้น ตามสำเนาคำพิพากษาเอกสารหมาย จ.11
++ วันที่ 5 และวันที่ 18 มิถุนายน 2539 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยเสน่หา
++
++ ปัญหาวินิจฉัยมีว่า นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองหรือไม่
++
++ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงบุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคท้าย
++ โจทก์ทั้งสองจึงเป็นเจ้าหนี้ และจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองเกิดขึ้นนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิด
++ ต่อมาโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิเรียกร้องโดยยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2539 ก่อนจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเวลา 2 เดือนเศษ
++ และได้ความตามคำเบิกความของนายวิชัย เอื้อภัทรพงศ์ บุตรจำเลยที่ 1ว่า จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้แก่ธนาคารได้อยู่แล้ว หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ถูกศาลพิพากษาให้จำคุกข้อหาฆ่าบุตรของโจทก์ทั้งสองมีกำหนด14 ปี จำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถชำระหนี้แก่ธนาคารโดยสิ้นเชิง
++ ซึ่งจำเลยที่ 1 อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความในทำนองเดียวกันนี้
++ ดังนั้น นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นการโอนไปซึ่งทรัพย์สินมีค่าชิ้นสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 มีอยู่
++ ต่อมาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็นำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันเงินกู้จำนวน 2,000,000 บาท แก่ธนาคารโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้และได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลแล้วย่อมเสียเปรียบด้วย มิอาจบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้
++ จำเลยที่ 1 ยื่นคำแถลงในคดีอาญาตามเอกสารหมาย ล.9 ปรากฏข้อความในวรรคสามว่า บุตรของจำเลยที่ 1ได้ออกเงินชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเงินจำนวน 100,000 บาท บ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 ตระหนักแน่ชัดว่าตนมีภาระผูกพันต้องชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองนับแต่วันที่ทำละเมิด
++ ดังนั้น ในวันทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จำเลยที่ 1 จึงรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ เมื่อจำเลยที่ 1 ฝืนทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยเสน่หาไป นิติกรรมดังกล่าวจึงเป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง
++
++ จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า ไม่รู้เรื่องที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีละเมิด เพราะจำเลยที่ 1 ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษมีนบุรี ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้อยู่อาศัยในบ้านที่โจทก์ทั้งสองนำพนักงานศาลไปส่งสำเนาฟ้องนั้น
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การจะรู้ว่าโจทก์ทั้งสองได้ใช้สิทธิเรียกร้องแล้วหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นที่จะวินิจฉัยชี้ขาดว่านิติกรรมที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำไม่เป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง หากแต่อยู่ที่จำเลยทั้งสี่รู้ในขณะทำนิติกรรมให้หรือไม่ว่านิติกรรมให้ที่ได้ทำขึ้นนั้นจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ
++ เมื่อปรากฏว่า คดีนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รู้ถึงทางเสียเปรียบของโจทก์ทั้งสองแต่เพียงฝ่ายเดียว ก็เป็นอันเพียงพอให้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอเพิกถอนได้แล้วเนื่องจากเป็นนิติกรรมยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้โดยเสน่หา
++ ส่วนฎีกาจำเลยทั้งสี่ที่ว่า บุตรจำเลยที่ 1 ต้องหาเงินมาไถ่ถอนจำนองเป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาทเศษ นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นการยกให้โดยมีค่าตอบแทน
++ ข้อฎีกาของจำเลยทั้งสี่นี้เป็นการกล่าวอ้างที่ขัดแย้งกับข้อความในนิติกรรมสัญญาให้ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการยกให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน และการที่บุตรจำเลยที่ 1 หาเงินมาไถ่ถอนจำนองก็เป็นการทำหน้าที่บุตรที่ต้องอุปการะบิดาตามศีลธรรม
++
++ ส่วนฎีกาจำเลยทั้งสี่ที่คัดค้านคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น กรณีอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองใช้พยานเอกสารในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาเป็นกรณีฉุกเฉินมาเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 117 นั้น
++ เห็นว่า พยานเอกสารดังกล่าวโจทก์ได้ระบุไว้แล้วในบัญชีพยาน และในชั้นพิจารณา ทนายจำเลยทั้งสี่ก็ได้มีโอกาสถามค้านแล้ว ศาลย่อมมีสิทธินำมาพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีได้ทั้งสิ้น
++ สำหรับฎีกาจำเลยทั้งสี่ในประการอื่นไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์และการนับวันสุดท้ายของกำหนดเวลาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8 บัญญัติว่า"ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา" หมายถึงว่า หากไม่มีการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์ตรงกับวันหยุดราชการจำเลยสามารถยื่นอุทธรณ์ในวันอันเป็นวันแรกของการเปิดทำการปรกติได้เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ครบกำหนด วันที่ครบกำหนดดังกล่าวจึงมิใช่วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์อีกต่อไป จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8มาปรับใช้มิได้
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม2541 จำเลยจะต้องอุทธรณ์ภายในวันที่ 30 มกราคม 2542 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 28 มกราคม 2542 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป 10 วัน นับแต่วันครบกำหนด จึงครบกำหนด 10 วัน ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์2542 ซึ่งเป็นวันทำการปรกติ จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าว โดยยื่นอุทธรณ์วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2542 พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้วถึง 2 วัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาอุทธรณ์และการนับระยะเวลา - วันหยุดราชการ
ป.พ.พ.มาตรา 193/8 บัญญัติว่า "ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา" หมายถึงว่า หากไม่มีการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์ตรงกับวันหยุดราชการ จำเลยสามารถยื่นอุทธรณ์ในวันอันเป็นวันแรกของการเปิดทำการปรกติได้เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ครบกำหนดวันที่ครบกำหนดดังกล่าวจึงมิใช่วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์อีกต่อไป จึงนำ ป.พ.พ.มาตรา 193/8 มาปรับใช้มิได้
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 30ธันวาคม 2541 จำเลยจะต้องอุทธรณ์ภายในวันที่ 30 มกราคม 2542 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 28 มกราคม 2542 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป10 วัน นับแต่วันครบกำหนด จึงครบกำหนด 10 วัน ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542ซึ่งเป็นวันทำการปรกติ จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าว โดยยื่นอุทธรณ์วันที่ 11กุมภาพันธ์ 2542 พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้วถึง 2 วัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์จำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1531/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลเกี่ยวกับการงดบังคับคดีตามมาตรา 293 วรรคสาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง ถือเป็นที่สุด ไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293(ที่ยังไม่แก้ไข) ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ก่อนจำเลยยื่นฎีกาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 โดยให้ตัดข้อความบางส่วนของวรรคสอง และเพิ่มวรรคสามของมาตรา 293 ว่า"คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด" ซึ่งมีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันที่ 4พฤษภาคม 2542 ตามบทบัญญัติมาตรา 293 วรรคสาม ที่ว่า "คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด" นั้น หมายความว่าคำสั่งของศาลตามมาตราดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการอนุญาตให้งดการบังคับคดีหรือยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด จะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปไม่ได้ทั้งนี้ก็เพื่อให้กระบวนการบังคับคดีสามารถดำเนินการไปด้วยความรวดเร็ว เมื่อจำเลยยื่นฎีกาภายหลังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 วรรคสาม มีผลใช้บังคับแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงถึงที่สุดตามมาตราดังกล่าว ประกอบด้วยมาตรา 246 ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามมาตรา 293 วรรคสาม ประกอบมาตรา 223 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1531/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งดบังคับคดี: คำสั่งศาลตามมาตรา 293 เป็นที่สุด หลังแก้ไขเพิ่มเติม
จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา293 (ที่ยังไม่แก้ไข) ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ก่อนจำเลยยื่นฏีกาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.มาตรา 293 โดยให้ตัดข้อความบางส่วนของวรรคสอง และเพิ่มวรรคสามของมาตรา 293 ว่า "คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด" ซึ่งมีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542ตามบทบัญญัติมาตรา 293 วรรคสาม ที่ว่า "คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด"นั้น หมายความว่าคำสั่งของศาลตามมาตราดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการอนุญาตให้งดการบังคับคดีหรือยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด จะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปไม่ได้ทั้งนี้ก็เพื่อให้กระบวนการบังคับคดีสามารถดำเนินการไปด้วยความรวดเร็ว เมื่อจำเลยยื่นฎีกาภายหลังที่ ป.วิ.พ.มาตรา 293 วรรคสาม มีผลใช้บังคับแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงถึงที่สุดตามมาตราดังกล่าว ประกอบด้วยมาตรา 246 ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามมาตรา 293 วรรคสาม ประกอบมาตรา 223 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดหลายกรรมจากเช็ค และการปรับบทลงโทษให้ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมและมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 แต่คำฟ้องก็ได้ระบุมาแจ้งชัดว่าจำเลยออกเช็ค2 ฉบับ ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามเช็คแต่ละฉบับศาลลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ได้ ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) เพียงแต่บัญญัติให้โจทก์อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น หาได้บัญญัติให้จำต้องอ้างถึงบทมาตราเกี่ยวกับการลงโทษหลายกรรมด้วยไม่ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โทษคดีเกี่ยวกับยาเสพติด ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาที่โต้แย้งดุลพินิจการลงโทษ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลยเป็นว่า จำคุก 40 ปี ลดโทษกึ่งหนึ่ง จำคุก 20 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์มิได้แก้บทกฎหมายที่จำเลยกระทำความผิดเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ที่โจทก์ฎีกาว่า ควรลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะเป็นความผิดร้ายแรง เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการลงโทษจำเลย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์ในการลดโทษ จำเลยต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลยเป็นว่า จำคุก 40 ปี ลดโทษกึ่งหนึ่ง จำคุก 20 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์มิได้แก้บทกฎหมายที่จำเลยกระทำความผิดเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ที่โจทก์ฎีกาว่า ควรลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะเป็นความผิดร้ายแรง เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการลงโทษจำเลย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา218 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการทวงหนี้ผิดพลาด - จำเลยต้องระมัดระวังตรวจสอบข้อมูลลูกหนี้ก่อนดำเนินการ
แม้โจทก์จะมีชื่อและนามสกุลอย่างเดียวกันกับลูกหนี้ของจำเลย แต่ก็มีภูมิลำเนาต่างกัน ทั้งลูกหนี้ของจำเลยไม่เคยย้ายภูมิลำเนา อีกทั้งเมื่อโจทก์ติดต่อทนายความจำเลยแจ้งว่ามิได้เป็นหนี้ ทนายความจำเลยหรือจำเลยกลับยืนยันว่าเป็นหนี้ ถ้าไม่ชำระหนี้จะฟ้องร้องต่อศาล ทำให้โจทก์เกิดความกลัว จึงได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกหนังสือพิมพ์รายวันลงข่าวเผยแพร่ไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้โจทก์ถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปสอบสวนหามูลเหตุของข่าวการเป็นหนี้จำเลย และลงความเห็นว่าถ้าข่าวดังกล่าวเป็นจริงโจทก์จะถูกลงโทษ โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ทางไกลติดต่อญาติพี่น้องเพื่อแจ้งความจริงให้ทราบ และได้ว่าจ้างทนายความให้ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ดังกล่าว ดังนี้ กรณีถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อหรือไม่ใยดีต่อผลแห่งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ในภายหลังโดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรทำการตรวจสอบเกี่ยวกับตัวลูกหนี้ของจำเลยเสียใหม่ตามที่โจทก์แจ้งให้ทนายความของจำเลยหรือจำเลยทราบแล้วว่าโจทก์มิใช่ลูกหนี้ของจำเลย รวมทั้งจำเลยยังได้ยืนยันที่จะฟ้องร้องโจทก์ต่อศาล จนเป็นเหตุให้โจทก์เกิดความกลัวและนำเรื่องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจนถูกหนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับนำข่าวไปเผยแพร่ทั่วราชอาณาจักร อันเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์เสียหาย พฤติการณ์จึงถือได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์อันจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อการนั้นแล้วครบถ้วนด้วยองค์ประกอบแห่งความผิดเพื่อละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการทวงหนี้ผิดพลาด - จำเลยต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อ
++ เรื่อง ละเมิด ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ แม้โจทก์จะมีชื่อและนามสกุลอย่างเดียวกันกับลูกหนี้ แต่ก็มีภูมิลำเนาต่างกัน ทั้งลูกหนี้ของจำเลยไม่เคยย้ายภูมิลำเนา อีกทั้งเมื่อโจทก์ติดต่อทนายความจำเลยแจ้งว่ามิได้เป็นหนี้ ทนายความจำเลยหรือจำเลยกลับยืนยันว่าเป็นหนี้ ถ้าไม่ชำระหนี้จะฟ้องร้องต่อศาล ทำให้โจทก์เกิดความกลัว จึงได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกหนังสือพิมพ์รายวันลงข่าวเผยแพร่ไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้โจทก์ถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปสอบสวนหามูลเหตุของข่าวการเป็นหนี้จำเลย และลงความเห็นว่าถ้าข่าวดังกล่าวเป็นจริงโจทก์จะถูกลงโทษ โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ทางไกลติดต่อญาติพี่น้องเพื่อแจ้งความจริงให้ทราบ และได้ว่าจ้างทนายความได้ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ดังกล่าว ดังนี้ กรณีถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อหรือไม่ไยดีต่อผลแห่งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ในภายหลังโดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรทำการตรวจสอบเกี่ยวกับตัวลูกหนี้ของจำเลยเสียใหม่ตามที่โจทก์แจ้งให้ทนายความของจำเลยหรือจำเลยทราบแล้วว่าโจทก์มิใช่ลูกหนี้ของจำเลย รวมทั้งจำเลยยังได้ยืนยันที่จะฟ้องร้องโจทก์ต่อศาล จนเป็นเหตุให้โจทก์เกิดความกลัวและนำเรื่องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจนถูกหนังสือพิมพ์รายวันนำข่าวไปเผยแพร่ทั่วราชอาณาจักร อันเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์เสียหาย พฤติการณ์จึงถือได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์อันจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อการนั้นแล้ว ครบถ้วนด้วยองค์ประกอบแห่งความผิดเพื่อละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
++++++++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++++++++++++
++
++ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รับฎีกาจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย จึงมีปัญหาในชั้นฎีกาอันควรวินิจฉัยก็เฉพาะกรณีดังกล่าวเท่านั้น
++ จำเลยยกขึ้นเป็นข้อฎีกาความว่า ข้อเท็จจริงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยมอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังลูกหนี้ของจำเลยซึ่งมีชื่อและนามสกุลซ้ำกับโจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เข้าองค์ประกอบแห่งความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โดยมีนัยเป็นอย่างเดียวกันกับอุทธรณ์ของจำเลย ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนมาด้วยว่า แม้โจทก์จะมีชื่อและนามสกุลอย่างเดียวกันกับลูกหนี้ของจำเลย แต่ก็มีภูมิลำเนาต่างกัน ทั้งลูกหนี้ของจำเลยไม่เคยย้ายภูมิลำเนาด้วย อีกทั้งเมื่อโจทก์ติดต่อทนายความจำเลยแจ้งว่ามิได้เป็นหนี้ แต่ทนายความจำเลยหรือจำเลยกลับยืนยันว่าเป็นหนี้ ถ้าไม่ดำเนินการชำระหนี้จะฟ้องร้องต่อศาล ทำให้โจทก์เกิดความกลัว จึงได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกหนังสือพิมพ์รายวัน คือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐและหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ลงข่าวเผยแพร่ไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้โจทก์ถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปสอบสวนหามูลเหตุของข่าวการเป็นหนี้จำเลยและลงความเห็นว่า ถ้าข่าวดังกล่าวเป็นจริงโจทก์จะถูกลงโทษ ทั้งโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ทางไกลติดต่อญาติพี่น้องเพื่อแจ้งความจริงให้ทราบ และได้ว่าจ้างทนายความให้ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ดังกล่าว
++ ดังนั้น เมื่อจำเลยฎีกาได้เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายโดยไม่สามารถฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงดังกล่าวเนื่องจากทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยมีเพียง 25,000 บาทอันไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาก็ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นและที่ศาลอุทธรณ์ได้ฟังมาจากพยานหลักฐานในสำนวนดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238ประกอบมาตรา 247
++ ศาลฎีกาเห็นว่า กรณีถือได้ว่า จำเลยประมาทเลินเล่อ หรือไม่ไยดีต่อผลแห่งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ในภายหลัง โดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรทำการตรวจสอบเกี่ยวกับตัวลูกหนี้ของจำเลยเสียใหม่ตามที่โจทก์แจ้งให้ทนายความจำเลยหรือจำเลยที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิใช่ลูกหนี้ของจำเลย รวมทั้งจำเลยยังได้ยืนยันที่จะฟ้องร้องโจทก์ต่อศาล จนเป็นเหตุให้โจทก์เกิดความกลัวและนำเรื่องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน มิหนำซ้ำยังถูกหนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับนำข่าวไปเผยแพร่ทั่วราชอาณาจักรอีก อันเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์เสียหาย พฤติการณ์จึงถือได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ อันจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อการนั้นแล้ว ครบถ้วนด้วยองค์ประกอบแห่งความรับผิดเพื่อละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ทุกประการ
of 22