คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ระพิณ บุญสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์, มีอาวุธปืน, พาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้รับสารภาพแล้ว ศาลยังคงพิจารณาเป็นหลายกรรม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านพักอันเป็นเคหสถานที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย แล้วจำเลยลักอาวุธปืนพกของสามีผู้เสียหายไปโดยทุจริตและจำเลยพาอาวุธปืนดังกล่าวติดตัวไปในหมู่บ้านและทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันควรและไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่าจำเลยถือวิสาสะเข้าไปในบ้านพักของผู้เสียหายเพื่อนำอาวุธปืนไปใช้เพราะเคยปฏิบัติเช่นนี้มาก่อนและจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปในทุ่งนา มิใช่หมู่บ้านหรือทางสาธารณะหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา ซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย
ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7,8 ทวิ,72,72 ทวิ เกิดจากผู้กระทำผิดมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิดจึงอยู่ที่การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดในเรื่องการขออนุญาตมีและพาอาวุธปืนเป็นสำคัญเมื่อผู้ใดฝ่าฝืน ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดและต้องรับโทษเป็นการเฉพาะตัว เจตนาของผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ จึงเป็นคนละส่วน สามารถแยกออกจากเจตนากระทำความผิดฐานลักอาวุธปืนได้ชัดเจนแม้จะมีการกระทำเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ถือว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ต้องเรียงกระทงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ และความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์และมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามกฎหมาย
ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,8 ทวิ,72,72 ทวิเกิดจากผู้กระทำผิดมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิดจึงอยู่ที่การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดในเรื่องการขออนุญาตมีและพาอาวุธปืนเป็นสำคัญ เมื่อผู้ใดฝ่าฝืนให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดและต้องรับโทษเป็นการเฉพาะตัวเจตนาของผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ จึงเป็นคนละส่วนสามารถแยกออกจากเจตนากระทำความผิดฐานลักอาวุธปืนได้ชัดเจน แม้จะมีการกระทำเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ก็ถือว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8995/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คำร้องสอดเป็นคำฟ้องใหม่ หากมีคดีเดิมที่สิทธิโต้แย้งกันแล้ว
กรณีผู้ร้องยื่นคำฟ้องต่อศาลก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและเป็นการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(8)เมื่อคดีอยู่ในระหว่างไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาก็ถือว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง แล้วโดยไม่ต้องรอให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องการขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาก่อน การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีโดยอ้างสิทธิว่า ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทที่จำเลยนำไปขายฝากโจทก์ทั้งสี่เป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องกับจำเลยได้ร่วมกันซื้อมาผู้ร้องจึงมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่กึ่งหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธินำที่ดินและบ้านพิพาทไปขายฝากโจทก์ทั้งสี่นั้นเป็นการตั้งสิทธิของผู้ร้องเข้ามาในคดีในฐานะคู่ความฝ่ายที่สามและเป็นปฏิปักษ์แก่โจทก์ทั้งสี่และจำเลย หาใช่เข้ามาเพียงเป็นจำเลยต่อสู้คดีกับโจทก์ทั้งสี่โดยเฉพาะไม่ ซึ่งถ้าศาลรับคำร้องสอดของผู้ร้องไว้ โจทก์ทั้งสี่และจำเลยก็ต้องให้การแก้คำร้องสอดของผู้ร้อง คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้อง และผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นโจทก์หาใช่เป็นจำเลยไม่ เมื่อสิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยโต้แย้งนี้ผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์ทั้งสี่เป็นคดีต่อศาลไว้แล้วและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาคำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8995/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คำร้องสอดเป็นฟ้องใหม่เมื่อมีคดีเดิมอยู่แล้ว
การไต่สวนคำร้องขอฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาเป็นกระบวนพิจารณาในศาล เมื่อผู้ร้องยื่นฟ้อง โจทก์ทั้งสี่และคดีอยู่ในระหว่างไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ถือว่าเป็นคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (8) และ 173 วรรคสองแล้ว โดยไม่จำต้องรอให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องการขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาก่อนแต่อย่างใด
ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเป็นการตั้งสิทธิในฐานะคู่ความฝ่ายที่สามและเป็นปฏิปักษ์แก่โจทก์ทั้งสี่ และจำเลย คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้อง และผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ เมื่อสิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์ทั้งสี่ กับจำเลยโต้แย้งนี้ผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์ทั้งสี่เป็นคดีต่อศาลไว้แล้วและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา คำร้องสอดของผู้ร้อง จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8745/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการดำเนินคดีอุทธรณ์ การไม่ปฏิบัติตามระเบียบการยื่นคำคู่ความ และผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณา
คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ในคดีแพ่ง มี ก.ทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ แต่ ก.มิได้ยื่นใบแต่งทนายความให้ ก.มีอำนาจดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ย่อมเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในชั้นตรวจรับคำคู่ความศาลชั้นต้นผู้ตรวจชอบที่จะสั่งแก้ไขเสียให้ถูกต้องหรือไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 18แต่ศาลชั้นต้นกลับรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อมา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการเขียนและยื่นคำคู่ความ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขตามที่กล่าวได้ แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฎีกาและแต่งตั้ง ก.เป็นทนายความของโจทก์และให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก แต่เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่เพื่อเป็นไปตามลำดับชั้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8745/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากทนายความมิได้ยื่นใบแต่งทนาย ศาลฎีกาย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาใหม่ตามลำดับชั้น
คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ในคดีแพ่ง มี ก. ทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แต่ ก. มิได้ยื่นใบแต่งทนายความให้ ก. มีอำนาจดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ย่อมเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในชั้นตรวจรับคำคู่ความศาลชั้นต้นผู้ตรวจชอบที่จะสั่งแก้ไขเสียให้ถูกต้องหรือไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แต่ศาลชั้นต้นกลับรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อมา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการเขียนและยื่นคำคู่ความ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขตามที่กล่าวได้ แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฎีกาและแต่งตั้ง ก. เป็นทนายความของโจทก์และให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก แต่เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่เพื่อเป็นไปตามลำดับชั้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับในสัญญากู้ยืม: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนได้ แต่ไม่มีอำนาจงดเบี้ยปรับทั้งหมด
จำเลยเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ในอัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี หากจำเลยประพฤติผิดเงื่อนไขในสัญญาหรือผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี จึงเป็นเรื่องที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าว่าหากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์ คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 เมื่อศาลเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยอันเป็นเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนก็ปรับลดเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากลูกหนี้ ในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและ พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ไม่ทำให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่กำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าไม่เป็นเบี้ยปรับ แต่ก็ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจศาลที่จะงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี จากต้นเงิน 2,230,000 บาท เท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป อันเป็นอัตราปกติที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ก่อนผิดนัด จึงมีผลเท่ากับเป็นการงดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องรับผิดชำระ ให้โจทก์เสียทั้งสิ้น ไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมาย ศาลฎีกา เห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3311/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา, เบี้ยปรับ, การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย, สัญญาเงินกู้, ข้อกำหนดสัญญา
ตามหนังสือสัญญากู้เงิน ระบุว่าผู้กู้หรือจำเลยยอมเสียดอกเบี้ย ให้แก่ผู้ให้กู้หรือโจทก์เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญา ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ข้างต้น และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศธนาคารฯ หรือตามหนังสือสัญญาจำนองก็ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เช่นเดียวกัน ดังนั้น นับแต่วันแรกที่จำเลยรับเงินกู้ยืมไปจากโจทก์ โจทก์ก็สามารถคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากจำเลยได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ จำเลยผิดนัดภายใต้การควบคุมหรือตามประกาศกระทรวงการคลัง จึงไม่ต้องด้วยข้อกำหนดหรือเงื่อนไขของเบี้ยปรับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ที่กำหนด ให้ลูกหนี้หรือจำเลยใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตน ไม่ชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราขั้นต่ำแก่จำเลยในระยะเริ่มแรก แล้วค่อย ๆ ปรับให้สูงขึ้นถือเป็นการให้ความอนุเคราะห์แก่ ลูกค้า ซึ่งไม่อาจแปลข้อกำหนดในเรื่องอัตราดอกเบี้ยธรรมดา ทั่ว ๆ ไปให้กลายเป็นเบี้ยปรับอันอาจก่อให้เกิดเป็นโทษ แก่โจทก์ได้ จึงไม่ควรที่จะลดดอกเบี้ยของโจทก์ลงเหลืออัตรา ร้อยละ 17 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3227/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การเรียกรับเงินเพื่อวิ่งเต้นคดีนอกสถานที่ ไม่ถือเป็นความผิด
ผู้ถูกกล่าวหาเรียกและรับเงินจากผู้กล่าวหาและจำเลย เพื่อนำไปวิ่งเต้นพนักงานอัยการและเจ้าพนักงานตำรวจกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจโดยไม่ปรากฏว่าจะนำเงินไปให้ผู้พิพากษาเพื่อเป็นอามิสสินจ้างในการดำเนินคดีในศาลและไม่ปรากฏว่ามีการมอบเงินให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาในบริเวณศาล แม้การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจะมีจุดมุ่งหมายให้เกิดผลแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล แต่เมื่อการกระทำของผู้ถูกกล่าวหามิได้เกิดขึ้นในบริเวณศาลแล้ว จะอาศัยแต่ผลจากการกระทำที่อาจก่อให้เกิดผลเสียหายแก่รูปคดีมาชี้ขาดว่าผู้ถูกกล่าวหาประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลไม่ได้
เมื่อพยานหลักฐานในชั้นไต่สวนของศาลชั้นต้นไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังว่า ผู้ถูกกล่าวหาประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้มีผลไปถึงผู้ถูกกล่าวหาอื่นที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาได้ด้วยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3227/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การเรียกรับเงินวิ่งเต้นคดีนอกบริเวณศาล ไม่ถือว่าประพฤติตนไม่เรียบร้อยในศาล
ผู้ถูกกล่าวหาเรียกและรับเงินจากผู้กล่าวหาและจำเลย เพื่อนำไปวิ่งเต้นพนักงานอัยการและเจ้าพนักงานตำรวจกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจโดยไม่ปรากฏว่าจะนำเงินไปให้ผู้พิพากษาเพื่อเป็นอามิสสินจ้างในการดำเนินคดีในศาลและไม่ปรากฏว่ามีการมอบเงินให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาในบริเวณศาล แม้การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจะมีจุดมุ่งหมายให้เกิดผลแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล แต่เมื่อการกระทำของผู้ถูกกล่าวหามิได้เกิดขึ้นในบริเวณศาลแล้ว จะอาศัยแต่ผลจากการกระทำที่อาจก่อให้เกิดผลเสียหายแก่รูปคดีมาชี้ขาดว่าผู้ถูกกล่าวหาประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลไม่ได้
เมื่อพยานหลักฐานในชั้นไต่สวนของศาลชั้นต้นไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังว่าผู้ถูกกล่าวหาประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้มีผลไปถึงผู้ถูกกล่าวหาอื่นที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาได้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
of 22