คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6513/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมในคดี พ.ร.บ.อาหาร: ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงเท่านั้น
ความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 รัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอนุญาตให้โจทก์ร่วมที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ ก็หมายถึงอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เท่านั้น เมื่อคดีนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ ความผิดข้อหาดังกล่าวจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โจทก์ร่วมที่ 1 ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อหานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตและจำหน่ายน้ำปลาไม่ได้มาตรฐานตาม พ.ร.บ.อาหาร ถือเป็นความผิด 2 กรรม แม้ไม่ก่อให้เกิดอันตราย
น้ำปลาของกลางที่จำเลยผลิตขึ้นมีปริมาณไนโตรเจน ซึ่งช่วยเสริมสร้างโปรตีนให้ร่างกายต่ำกว่ามาตรฐานระหว่างร้อยละ 30.5ถึงร้อยละ 72 แสดงว่าน้ำปลาดังกล่าวไม่ได้มาตรฐานมีคุณค่าทางอาหารขาดเกินกว่าร้อยละ 30 ถือได้ว่าเป็นอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหารพ.ศ. 2522 มาตรา 27(2) แล้ว แม้ไม่ก่อให้เกิดโทษหรืออันตรายต่อผู้บริโภคก็ตาม พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 บัญญัตินิยามคำว่า"จำหน่าย" หมายความรวมถึงขาย จ่าย แจก หรือแลกเปลี่ยน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือการมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วย ในชั้นจับกุมจำเลยรับว่าผลิตน้ำปลาเพื่อจำหน่ายน้ำปลาของกลาง เชื่อได้ว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายถือว่าเป็นการจำหน่ายด้วย การผลิตอาหารปลอมคือน้ำปลาของจำเลย มีกรรมวิธีต่าง ๆจนกระทั่งเป็นน้ำปลาบรรจุขวดเพื่อจำหน่ายได้ เป็นการกระทำอันหนึ่งเป็นกรรมหนึ่ง ส่วนการจำหน่ายซึ่งรวมถึงการมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วยตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 เป็นการกระทำอีกอันหนึ่งเป็นอีกกรรมหนึ่งหลังจากกระทำการปลอมอาหารแล้วเป็นสองกรรมต่างกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าและผลิตอาหารปลอมเป็นความผิดคนละกรรม แม้กระทำพร้อมกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยบังอาจผลิตอาหารปลอมโดยผลิตซอสน้ำมันหอยที่ผสมปรุงแต่งและทำขึ้นเทียมซอสน้ำมันหอยตราชาวประมงที่อ.ผลิตทำขึ้นและทำออกจำหน่ายเป็นอาหารแท้อย่างนั้นซอสน้ำมันหอยที่จำเลยผลิตขึ้นนั้นมีคุณภาพและมาตรฐานไม่ถูกต้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขโดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินมาตรฐานที่กำหนดและใช้กรดเบนโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณกำหนดจนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภคและจำเลยได้นำอาหารที่ผลิตขึ้นนั้นแบ่งบรรจุขวดแล้วนำฉลากเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำปลอมขึ้นปิดที่ขวดเพื่อลวงหรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพปริมาณและประโยชน์ว่าอาหารดังกล่าวเป็นซอสน้ำมันหอยตราชาวประมงที่แท้จริงที่อ.ผลิตขึ้นคำบรรยายฟ้องดังกล่าวจึงครบถ้วนตามความหมายของอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหารพ.ศ.2522มาตรา27(2),(5)และ(4)แล้วและได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่างๆพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเป็นฟ้องที่สมบูรณ์. ฟ้องโจทก์กล่าวว่าจำเลยผลิตอาหารโดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินกำหนดมาตรฐานและใช้กรดเบ็นโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณที่กำหนดจนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภคได้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีจำนวนจุลินทรีย์เท่าใดและใช้กรดเบ็นโซอิคจำนวนเท่าใดเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณาเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ. ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดฐานผลิตอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหารเป็นความผิดตามกฎหมายคนละฉบับและแยกจากกันได้แม้จำเลยจะกระทำในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานผลิตอาหารปลอมและปลอมเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฟ้องชัดเจนครบถ้วน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบังอาจผลิตอาหารปลอม โดยผลิตซอสน้ำมันหอยที่ผสมปรุงแต่ง และทำขึ้นเทียมซอสน้ำมันหอยตราชาวประมงที่ อ.ผลิตทำขึ้น และทำออกจำหน่ายเป็นอาหารแท้อย่างนั้น ซอสน้ำมันหอยที่จำเลยผลิตขึ้นนั้นมีคุณภาพและมาตรฐานไม่ถูกต้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินมาตรฐานที่กำหนด และใช้กรดเบนโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณกำหนด จนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภค และจำเลยได้นำอาหารที่ผลิตขึ้นนั้นแบ่งบรรจุขวด แล้วนำฉลากเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำปลอมขึ้นปิดที่ขวด เพื่อ ลวง หรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพ ปริมาณ และประโยชน์ว่า อาหารดังกล่าวเป็นซอสน้ำมันหอยตราชาวประมงที่แท้จริงที่ อ.ผลิตขึ้น คำบรรยายฟ้องดังกล่าว จึงครบถ้วนตามความหมายของอาหารปลอม ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 27 (2), (5) และ (4) แล้ว และได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ พอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เป็นฟ้องที่สมบูรณ์.
ฟ้องโจทก์กล่าวว่าจำเลยผลิตอาหารโดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินกำหนดมาตรฐานและใช้กรดเบ็นโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณที่กำหนดจนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีจำนวนจุลินทรีย์เท่าใดและใช้กรดเบ็นโซอิคจำนวนเท่าใดเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณาเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ
ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดฐานผลิตอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหาร เป็นความผิดตามกฎหมายคนละฉบับและแยกจากกันได้ แม้จำเลยจะกระทำในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรม