คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 ม. 78

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7767/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างครู การจ่ายค่าชดเชย และการประเมินความร้ายแรงของพฤติกรรมผิดวินัย
โจทก์และจำเลยต่างเป็นเอกชนที่ตกลงทำสัญญาจ้างกัน โดยจำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำงานเป็นครู และให้ค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดเวลาที่ทำงานให้จำเลย จึงเป็นการจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 หาใช่เป็นสัญญาทางการปกครองไม่
แม้กฎกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ (1) จะกำหนดมิให้ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บังคับแก่นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครู แต่เมื่อสัญญาการเป็นครูเป็นสัญญาจ้างแรงงาน คู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 เพียงแต่ศาลแรงงานจะนำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาบังคับใช้แก่คดีไม่ได้ และสิทธิของคู่สัญญาย่อมเป็นไปตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 และกฎหมายอื่น
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มีวัตถุประสงค์ควบคุมโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพเท่านั้น มิใช่กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่นายจ้างลูกจ้าง หรือกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้าง หรือแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างลูกจ้าง อันเป็นวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วย แรงงานสัมพันธ์ แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครู โดยมีคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานเป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายที่จะขจัดข้อพิพาทระหว่างครูใหญ่หรือครูกับ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้จัดการ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 จึงมิใช่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ การฟ้องคดีจึงไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 กำหนดไว้ก่อน
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด ขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายคุ้มครองแรงงานก็ตาม แต่การฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเท่านั้น หาจำต้องอ้างบทกฎหมายที่กำหนดให้จำเลยต้องจ่ายเงินตามฟ้องมาด้วยไม่ หรือถ้าอ้างบทกฎหมายมาด้วย ศาลก็มีอำนาจนำบทกฎหมายนอกเหนือจากที่โจทก์อ้างมาปรับกับข้อเท็จจริงตามฟ้องได้ เพราะเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ที่ศาลแรงงานนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 มาปรับแก่คดีนี้ จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
แม้ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 34 จะได้กำหนดให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกสัญญาการเป็นครูในกรณี (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่ผู้รับใบอนุญาต (2) จงใจทำให้ผู้รับใบอนุญาตได้รับความเสียหาย (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้รับใบอนุญาตได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (4) ฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยจรรยา มรรยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครูตามที่คุรุสภากำหนด (5) ฝ่าฝืนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยจรรยา มรรยาท วินัยและหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2526 และ (7) มีความประพฤติไม่เหมาะสมแก่ตำแหน่งหน้าที่ แต่ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการสั่งลงโทษครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2526 ข้อ 2 กำหนดการลงโทษครูใหญ่หรือครูไว้ 5 สถานได้แก่ (1) ตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษร (2) ภาคฑัณฑ์ (3) ตัดเงินเดือน (4) ลดเงินเดือนและ (5) ให้พ้นจากหน้าที่ ข้อ 3 กำหนดให้การสั่งลงโทษต้องให้เหมาะสมกับความผิด อย่าให้เป็นไปโดยพยาบาทหรือโดยโทสะจริต ข้อ 5 กำหนดว่า ถ้าปรากฏว่าเป็นการประพฤติผิดจรรยา มรรยาท หรือไม่ปฏิบัติตามวินัยหรือหน้าที่ ซึ่งเป็นความผิดเล็กน้อยไม่ถึงกับจะถูกลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือน ก็ให้ผู้มีอำนาจลงโทษโดยการตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษรหรือภาคฑัณฑ์ตามควรแก่กรณี และข้อ 7 กำหนดว่า ในกรณีที่ครูประพฤติผิดจรรยา มรรยาท หรือไม่ปฏิบัติตามวินัยหรือหน้าที่ซึ่งผู้มีอำนาจเห็นควรลงโทษร้ายแรงถึงขั้นให้พ้นจากหน้าที่ครู ให้ทำการสอบสวนและเสนอให้คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานพิจารณาวินิจฉัยก่อน เห็นได้ชัดแจ้งว่า การประพฤติผิดจรรยา มรรยาท วินัยและหน้าที่ หรือประพฤติที่ไม่เหมาะสมแก่ตำแหน่งหน้าที่ มีระดับความร้ายแรงแตกต่างกันตามข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป จึงกำหนดให้ลงโทษแตกต่างกันไปตามระดับของความร้ายแรงนั้น
การที่จำเลยจะให้โจทก์พ้นหน้าที่ครูโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยต่อเมื่อการกระทำของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการและระเบียบคุรุสภา ว่าด้วยจรรยา มรรยาท วินัยและหน้าที่ของครูโรงเรียนเอกชนและวินัยตามระเบียบประเพณีครู ต้องเป็นกรณีที่ร้ายแรงในระดับที่ใกล้เคียงกับการกระทำความผิดตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 34 (1) (2) และ (3) โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ไม่ใช้ความระมัดระวังปล่อยให้นักศึกษาลอกคำตอบข้อสอบกันซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวที่ยังไม่ร้ายแรงถึงขนาดที่จำเลยจะมีสิทธิเลิกสัญญาการเป็นครูโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ในการคุมสอบ ปล่อยให้นักศึกษาลอกคำตอบข้อสอบกัน ถือได้ว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3587/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานในการอนุญาตเลิกจ้าง และขอบเขตการวินิจฉัยของศาลแรงงาน
คู่ความขอให้ศาลวินิจฉัยคดีว่าพฤติการณ์ของจำเลยร่วมที่ถูกอ.ภรรยาข.ครูร่วมโรงเรียนใช้ถุงกระดาษใส่ผ้าปาในบริเวรโรงเรียนและถูกกล่าวหาว่าเป็นชู้กับข.นั้นคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของและผู้รับอนุญาตประกอบกิจการโรงเรียนเลิกจ้างจำเลยร่วมโดยขัดต่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา123หรือไม่อันเป็นการตกลงกันขอให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นเพียงว่าคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์เลิกจ้างจำเลยร่วมโดยขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา123ได้หรือไม่เป็นข้อแพ้ชนะเท่านั้นที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าขณะเลิกจ้างจำเลยร่วมเป็นกรรมการสหภาพแรงงานและคำชี้ขาดยังมีผลใช้บังคับอยู่จำเลยร่วมจึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา123และแม้กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นของบทกฎหมายดังกล่าวเหตุเลิกจ้างจำเลยร่วมก็มีเหตุอันสมควรอื่นที่จะเลิกจ้างได้มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมจึงเป็นการวินิจฉัยที่นอกเหนือไปจากข้อตกลงของคู่ความ. ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพ.ศ.2525มาตรา78คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานไม่มีอำนาจออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเลิกจ้างครูผู้เป็นลูกจ้างได้ที่คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานได้ประชุมมีมติว่าหากเจ้าของโรงเรียนเห็นว่าพฤติการณ์ของครูทั้งสองไม่เหมาะสมที่จะให้เป็นครูของโรงเรียนต่อไปก็เป็นสิทธิของเจ้าของโรงเรียนที่จะเลิกจ้างได้เป็นเพียงข้อเสนอแนะไม่ใช่คำสั่งอนุญาตให้โจทก์เลิกจ้างจำเลยเช่นนี้ศาลไม่อาจพิจารณาชี้ขาดตามที่คู่ความได้ตกลงกันขอให้วินิจฉัยจึงจำต้องพิจารณาและพิพากษาต่อไปตามรูปคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3587/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานในการอนุญาตเลิกจ้างขัดต่อ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ และขอบเขตการพิจารณาของศาล
คู่ความขอให้ศาลวินิจฉัยคดีว่า พฤติการณ์ของจำเลยร่วมที่ถูก อ.ภรรยา ข. ครูร่วมโรงเรียนใช้ถุงกระดาษใส่ผ้าปาในบริเวรโรงเรียนและถูกกล่าวหาว่าเป็นชู้กับ ข.นั้น คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของและผู้รับอนุญาตประกอบกิจการโรงเรียนเลิกจ้างจำเลยร่วม โดยขัดต่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 หรือไม่ อันเป็นการตกลงกันขอให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นเพียงว่า คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์เลิกจ้างจำเลยร่วมโดยขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 ได้ หรือไม่เป็นข้อแพ้ชนะเท่านั้น ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ขณะเลิกจ้างจำเลยร่วมเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน และคำชี้ขาดยังมีผลใช้บังคับอยู่จำเลยร่วมจึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา123 และแม้กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นของบทกฎหมายดังกล่าว เหตุเลิกจ้างจำเลยร่วมก็มีเหตุอันสมควรอื่นที่จะเลิกจ้างได้ มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมจึงเป็นการวินิจฉัยที่นอกเหนือไปจากข้อตกลงของคู่ความ
ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มาตรา 78 คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานไม่มีอำนาจออกคำสั่งอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเลิกจ้างครูผู้เป็นลูกจ้างได้ ที่คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานได้ประชุมมีมติว่าหากเจ้าของโรงเรียนเห็นว่าพฤติการณ์ของครูทั้งสองไม่เหมาะสมที่จะให้เป็นครูของโรงเรียนต่อไป ก็เป็นสิทธิของเจ้าของโรงเรียนที่จะเลิกจ้างได้เป็นเพียงข้อเสนอแนะไม่ใช่คำสั่งอนุญาตให้โจทก์เลิกจ้างจำเลย เช่นนี้ ศาลไม่อาจพิจารณาชี้ขาดตามที่คู่ความได้ตกลงกันขอให้วินิจฉัย จึงจำต้องพิจารณาและพิพากษาต่อไปตามรูปคดี