พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การด่าผู้บังคับบัญชาด้วยคำหยาบคาย มิใช่ความผิดร้ายแรง ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยได้ด่าส. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์ว่า"ตอแหล"ต่อหน้าพนักงานอื่นในสถานที่ทำงานขณะที่ส. สั่งห้ามพนักงานพูดเสียงดังการที่โจทก์ด่าส.โดยใช้ถ้อยคำว่า"ตอแหล"ซึ่งมีความหมายว่าเป็นคนพูดเท็จอันเป็นการแสดงกิริยากระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาด้วยการใช้วาจาดูหมิ่นเหยียดหยามและก้าวร้าวเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งจำเลยได้จัดไว้ในหัวข้อเรื่องวินัยและความประพฤติทั่วไปของพนักงานแยกต่างหากจากหัวข้อเรื่องความผิดร้ายแรงซึ่งได้ระบุการกระทำที่เป็นความผิดร้ายแรงไว้โดยเฉพาะซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ได้ถือว่าการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเป็นความผิดกรณีร้ายแรงแต่อย่างใดดังนั้นเมื่อปรับการกระทำของโจทก์กับระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยดังกล่าวแล้วการกระทำของโจทก์เป็นเพียงฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีทั่วไปหาเป็นความผิดกรณีร้ายแรงไม่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือมาก่อนจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ46แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3149/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การกระทำผิดระเบียบข้อบังคับ และสิทธิประโยชน์หลังการจ้าง
จำเลยประกอบธุรกิจการธนาคารซึ่งเป็นธุรกิจที่จะต้องเป็นที่เชื่อถือของประชาชนทั่วไปการที่โจทก์สั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาโอนเงินจำเลยไปยังบัญชีต่างๆทั้งในสาขาเดียวกับและต่างสาขาย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าขณะที่มีการโอนเงินของจำเลยไปยังบัญชีทั้งหลายเหล่านั้นตัวเงินย่อมจะต้องถูกหักจากจำเลยไปแล้วและการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยการกระทำของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในฐานะผู้จัดการสาขาซึ่งไม่มีอำนาจทำได้ส่วนการที่ฝ่ายตรวจสอบและฝ่ายการพนักงานของจำเลยมีความเห็นว่าการโอนเงินไปก่อนแล้วค่อยรวมยอดตัดจากบัญชีของบิดาโจทก์คราวเดียวในตอนเย็นของวันเดียวกันแม้จะไม่ถูกต้องตามระเบียบแต่ก็ไม่ปรากฏว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นเพียงความเห็นที่คำนึงเฉพาะด้านตัวเงินหรือดอกเบี้ยซึ่งไม่ได้สูญหายแต่โดยทั่วไปแล้วย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยได้รับความเสียหายในด้านความเชื่อถือของประชาชนเพราะอาจมีกรณีเงินบัญชีของบิดาโจทก์ไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้คืนจำเลยได้ทั้งไม่ปรากฏว่าการโอนเงินจากบัญชีของบิดาโจทก์ไปยังบัญชีต่างๆอย่างถูกต้องนั้นมีเหตุขัดข้องหรือไม่สะดวกอย่างไรประกอบกับการที่จำเลยประกอบธุรกิจด้านการเงินการธนาคารระเบียบข้อบังคับที่ให้ปฏิบัติเกี่ยวกับเงินในธนาคารจะต้องถือว่ามีส่วนสำคัญมากเพื่อให้ธุรกิจของจำเลยมีความมั่นคงเป็นที่เชื่อถือได้การกระทำที่ผิดระเบียบของโจทก์เช่นนี้ถือว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรงจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการที่ถูกจำเลยมีคำสั่งปลดออกจากงานและเป็นกรณีที่เข้าลักษณะตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(4)จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์กรณีดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583จำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีกด้วย จำเลยมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในหมวด3ว่าด้วยเงินบำเหน็จพิเศษกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยสำหรับผู้ที่ทำงานมาครบ10ปีตามอัตราเงินเดือนที่กำหนดไว้ในข้อ1แต่ในข้อ2ได้กำหนดข้อยกเว้นไว้ว่าเงินบำเหน็จดังกล่าวจะจ่ายให้เมื่อพนักงานหรือลูกจ้างผู้นั้นออกจากงานเว้นแต่กรณีออกจากงานเพราะกระทำความผิดตามภาค2หมวด3ข้อ3(1)หรือ(2)หรือ(3)ซึ่งหมายถึงการออกจากงานเพราะจำเลยมีคำสั่งไล่ออกปลดออกหรือให้ออกจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จพิเศษ ส่วนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดไว้ในภาค3หมวด2ข้อ2.7วรรคสองว่า"ให้คณะกรรมการกองทุนฯดำเนินการดังนี้2.7.2จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ทุกทอดของเงินสมทบให้แก่สมาชิกเว้นแต่2.7.2.1สมาชิกที่ถูกลงโทษทางวินัยโดยถูกไล่ออกปลดออกหรือให้ออกโดยธนาคารมีคำสั่งงดจ่ายเงินพึงได้ใดๆทั้งสิ้น"ดังนั้นโจทก์ถูกจำเลยมีคำสั่งให้ออกจากงานโดยงดจ่ายเงินพึงได้ใดๆทั้งสิ้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสมทบที่จำเลยนำเข้าบัญชีเงินกองทุนให้แก่โจทก์โจทก์คงมีสิทธิได้รับเฉพาะส่วนที่โจทก์จ่ายในฐานะที่เป็นสมาชิกแต่แม้จำเลยได้ออกเอกสารซึ่งได้แยกให้เห็นว่าเงินส่วนหักจากพนักงานและเงินส่วนสมทบโดยจำเลยไว้ชัดแจ้งเมื่อปรากฏว่าในส่วนเงินที่หักจากพนักงานนั้นโจทก์ได้รับแล้วและจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานโดยงดจ่ายเงินพึงได้ใดๆทั้งสิ้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินส่วนสมทบนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างรายเดือนลงเวลาเท็จไม่ถือทุจริตหากมิได้มีเจตนาแสวงหาประโยชน์ในค่าจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือนได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเดือนละตามจำนวนที่กำหนดไว้แน่นอนการคิดค่าจ้างเป็นรายเดือนนี้ย่อมไม่มีการนำจำนวนวันละเวลาที่มาปฏิบัติงานมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าจ้างในการมาปฏิบัติงานของโจทก์ดังนี้หากโจทก์จะขาดงานไปบ้างก็ถือเป็นเพียงการปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฐานละทิ้งหน้าที่เท่านั้นการที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรายเดือนลงเวลามาปฏิบัติงานกะกลางคืนตั้งแต่เวลา19.57นาฬิกาถึงเวลา4นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นอันเป็นเท็จย่อมมีผลเป็นการขาดงานไปหนึ่งกะเท่านั้นกรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ในค่าจ้างโดยไม่ชอบและประสงค์ให้จำเลยได้รับความเสียหายแก่การผลิตจึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(1)และ(3)การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดดังกล่าวจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงหน้าที่งานที่ไม่เป็นธรรมและการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมในสัญญาจ้างแรงงาน
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม2522จำเลยให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่พนักงานทอผ้าในแผนกทอผ้าตลอดมาการปฏิบัติงานที่แผนกสวัสดิการทั่วไปคือทำงานตักขยะตักเศษด้ายขึ้นมาจากท้องร่องรอบๆโรงงานและกวาดขยะเน่าในโกดังซึ่งมีลักษณะงานแตกต่างจากที่โจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่เดิมที่แผนกทอผ้ามากถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าที่การงานในส่วนสำคัญและเป็นการย้ายลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งหน้าที่การงานที่ต่ำกว่าเดิมคำสั่งเปลี่ยนแปลงหน้าที่โจทก์จากงานทอผ้าไปทำงานแผนกสวัสดิการทั่วไปจึงเป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรมการที่จำเลยมีคำสั่งเปลี่ยนหน้าที่โจทก์จากทอผ้าไปทำงานแผนกสวัสดิการทั่วไปแม้โจทก์ไม่ปฏิบัติตามโดยจำเลยได้ตักเตือนแล้วก็ตามกรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9610-9623/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ทั้งสิบสี่และคนงานอื่นรวม190คนผละงานประท้วงเมื่อวันที่21กรกฎาคม2538เวลาประมาณ8นาฬิกาซึ่งเป็นวันทำงานโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นหนังสือและไม่มีรายชื่อและลายมือชื่อของลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องจึงไม่เป็นการแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา13พฤติการณ์เป็นการร่วมกันนัดหยุดงานโดยไม่ชอบแม้ต่อมาตัวแทนลูกจ้างและนายจ้างจะตกลงกันได้โดยนายจ้างไม่ถือว่าการผละงานประท้วงของลูกจ้างเป็นความผิดก็ตามแต่ตามบันทึกที่ทำขึ้นมีข้อความชัดเจนว่านายจ้างไม่ถือว่าการผละงานประท้วงเป็นความผิดเฉพาะลูกจ้างที่ลงชื่อขอโทษและรับว่าจะไม่ผละงานอีกเท่านั้นข้อตกลงดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจำเลยยอมยกเว้นไม่ถือว่าการหยุดงานเป็นความผิดต่อเมื่อลูกจ้างลงชื่อขอโทษและยอมรับว่าจะไม่ผละงานประท้วงอีกเสียก่อนจึงเป็นข้อตกลงที่มีเงื่อนไขว่าลูกจ้างต้องลงชื่อขอโทษและยอมรับว่าจะไม่ผละงานประท้วงอีกเสียก่อนจึงจะถือว่าการผละงานประท้วงของลูกจ้างไม่เป็นความผิดหาใช่เป็นเรื่องบังคับให้ลูกจ้างต้องลงลายมือชื่อขอโทษแต่ประการใดไม่ดังนั้นเมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่ได้ร่วมกันนัดหยุดงานโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้ลงลายมือชื่อยอมรับผิดและรับว่าจะไม่กระทำเช่นนั้นอีกจึงไม่เป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกข้อตกลงและการหยุดงานของโจทก์ทั้งสิบสี่เป็นการละเมิดต่อจำเลยจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ10.4เมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่นัดหยุดงานโดยไม่ชอบและจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสิบสี่กลับเข้าทำงานแต่โจทก์ทั้งสิบสี่ไม่กลับเข้าทำงานตามคำสั่งจำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสี่ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583และโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)(4)โจทก์ทั้งสิบสี่จึงไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย โจทก์ทั้งสิบสี่อุทธรณ์ว่าการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสี่ในวันที่21กรกฎาคม2538เวลา18นาฬิกาเป็นการเลิกจ้างเมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่กลับบ้านไปแล้วจึงเป็นการประกาศเลิกจ้างนอกเวลาทำงานเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7770/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีดื่มสุราขณะปฏิบัติหน้าที่ แม้ปริมาณน้อย ศาลฎีกาพิพากษาว่าเป็นการกระทำผิดร้ายแรงได้
ตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงานของบริษัทจำเลยได้กำหนดเกี่ยวกับความผิดวินัยกรณีร้ายแรงไว้ตามหมวด7ข้อ3(4)ว่า"การดื่มสุราสิ่งมึนเมาหรือยาเสพติดในบริเวณบริษัทหรือในระหว่างปฏิบัติหน้าที่เป็นความผิดร้ายแรง"เจตนารมณ์หรือวัตถุประสงค์ที่จำเลยได้กำหนดระเบียบข้อบังคับการทำงานดังกล่าวข้างต้นไว้เพราะจำเลยต้องการที่จะกำหนดเป็นมาตรการเพื่อป้องกันภยันตรายหรือความเสียหายซึ่งจะเกิดแก่พนักงานทุกคนหรือแก่ทรัพย์สินของจำเลยอันอาจจะเกิดขึ้นได้ไว้ล่วงหน้าเพราะการดื่มสุราหรือสิ่งมึนเมาก่อนให้เกิดความประมาทในขณะปฏิบัติหน้าที่ได้ทั้งนี้จำเลยมิได้กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับการทำงานให้นำผลจากการดื่มมากดื่มน้อยเพียงใดหรือผลจากการดื่มแล้วยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่มาเป็นเกณฑ์มาพิจารณาถึงความร้ายแรงหรือไม่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์รับส่งผู้บริหารของบริษัทจำเลยตั้งแต่เวลา17ถึง20นาฬิกาแม้ว่าจะอยู่ในระหว่างระยะเวลาทำงานล่วงเวลาแต่ก็ต้องถือว่าอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งและหน้าที่ที่โจทก์ปฏิบัติย่อมต้องใช้ความรับผิดชอบและความระมัดระวังสูงหากประมาทเลินเล่อย่อมนำมาซึ่งความเสียหายได้ทันทีดังนั้นหากปล่อยให้โจทก์ดื่มสุราหรือสิ่งมึนเมาจนถึงขั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าได้หรือมึนเมาจนก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นก่อนแล้วจึงถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงนายจ้างโดยทั่วไปหรือจำเลยก็ย่อมไม่ได้รับประโยชน์หรือความคุ้มครองในมาตรการที่ป้องกันภยันตรายที่จำเลยได้กำหนดไว้หรือตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(4)แต่อย่างใดการที่โจทก์ดื่มเบียร์เพียงครึ่งแก้วระหว่างระยะเวลาการทำงานล่วงเวลาจึงเป็นการผิดระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรงจำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุผลการลาป่วยของลูกจ้างมีสมควร แม้ไม่ได้ยื่นลาต่อตามระเบียบ หากการเดินทางกลับเพื่อยื่นลาอาจทำให้สถานการณ์ผู้ป่วยทรุดหนัก
การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(4)หมายถึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะต้องละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันมิใช่หมายถึงการละทิ้งหน้าที่นั้นกระทำไปโดยไม่สมควรเพราะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างผู้คัดค้านลากิจกลับไปบ้านที่ต่างจังหวัดเพราะมารดาป่วยหนักครบกำหนดลากิจแล้วอาการของมารดาของผู้คัดค้านไม่ทุเลาลงต้องเข้ารักษาที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลตามลำดับผู้คัดค้านได้โทรเลขถึงเพื่อนร่วมงานขอให้ลาต่อแทนดังนี้การละทิ้งหน้าที่ของผู้คัดค้านมีเหตุอันสมควรกรณีไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยฯข้อ47(4)ผู้ร้องจะขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาเพื่อดูแลมารดาป่วยหนัก ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ
การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) หมายถึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะต้องละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน มิใช่หมายถึงการละทิ้งหน้าที่นั้นกระทำไปโดยไม่สมควรเพราะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง ผู้คัดค้านลากิจกลับไปบ้านที่ต่างจังหวัดเพราะมารดาป่วยหนัก ครบกำหนดลากิจแล้วอาการของมารดาของผู้คัดค้านไม่ทุเลาลง ต้องเข้ารักษาที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลตามลำดับ ผู้คัดค้านได้โทรเลขถึงเพื่อนร่วมงานขอให้ลาต่อแทนดังนี้ การละทิ้งหน้าที่ของผู้คัดค้านมีเหตุอันสมควร กรณีไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 47(4) ผู้ร้องจะขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไม่ได้