คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรักษ์ เอื้ออังกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7974/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินในเขตอุทยานฯ - การปลูกสร้างโดยได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ไม่ถือเป็นการละเมิด
เดิมที่ดินบนเกาะในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลได้กำหนดไว้ให้เป็นเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์แก่การราชทัณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบนเกาะในท้องที่ตำบลยะระโดด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลพ.ศ. 2482 ที่ดินพิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาตั้งแต่ปี 2482 แม้ต่อมาจะได้มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ได้หวงห้ามไว้ตามความต้องการของกรมราชทัณฑ์ในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูลจังหวัดสตูล พ.ศ. 2517 เนื่องจากกรมราชทัณฑ์ไม่ต้องการหวงห้ามที่ดินดังกล่าวอีกต่อไป แต่ก็ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินเกาะตะรุเตา เกาะอาดังเกาะราวีและเกาะอื่นๆในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2517 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันเดียวกัน แสดงว่าการถอนสภาพที่ดินดังกล่าวก็เพื่อจะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพธรรมชาติให้เป็นการถาวรซึ่งมีผลทำให้ที่ดินพิพาทยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่นั่นเองเพียงแต่เป็นที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติและอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ ดังนั้น การที่จำเลยได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้เข้ามาปลูกสร้างอาคารที่ทำการศูนย์รักษาความปลอดภัยทางทะเลในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ ถือได้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยสุจริต แม้โจทก์จะมีชื่อใน น.ส.3 ซึ่งระบุว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่ากรมป่าไม้ ทั้งคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์หรือกรมป่าไม้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน หรือการออก น.ส.3 สำหรับที่ดินพิพาทชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7974/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินในเขตอุทยานฯ สุจริตโดยได้รับอนุญาตจากหน่วยงานผู้ดูแล
เดิมที่ดินบนเกาะในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลได้กำหนดไว้ให้เป็นเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์แก่การราชทัณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบนเกาะในท้องที่ตำบลยะระโดด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลพ.ศ. 2482 ที่ดินพิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาตั้งแต่ปี 2482 แม้ต่อมาจะได้มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ได้หวงห้ามไว้ตามความต้องการของกรมราชทัณฑ์ในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูลจังหวัดสตูล พ.ศ. 2517 เนื่องจากกรมราชทัณฑ์ไม่ต้องการหวงห้ามที่ดินดังกล่าวอีกต่อไป แต่ก็ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินเกาะตะรุเตา เกาะอาดังเกาะราวีและเกาะอื่นๆในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2517 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันเดียวกัน แสดงว่าการถอนสภาพที่ดินดังกล่าวก็เพื่อจะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพธรรมชาติให้เป็นการถาวรซึ่งมีผลทำให้ที่ดินพิพาทยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่นั่นเองเพียงแต่เป็นที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติและอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ ดังนั้น การที่จำเลยได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้เข้ามาปลูกสร้างอาคารที่ทำการศูนย์รักษาความปลอดภัยทางทะเลในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ ถือได้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยสุจริต แม้โจทก์จะมีชื่อใน น.ส.3 ซึ่งระบุว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่ากรมป่าไม้ ทั้งคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์หรือกรมป่าไม้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน หรือการออก น.ส.3 สำหรับที่ดินพิพาทชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7792/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการใช้อาวุธปืนยิง แม้ไม่ถึงแก่ชีวิต ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการพยายามฆ่า
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงจ้องยิงผู้เสียหายแม้เพียงนัดเดียวจำเลยย่อมเล็งเห็นผลหรือคาดหมายได้ว่ากระสุนปืนที่จำเลยยิงอาจถูกผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ หากถูกอวัยวะสำคัญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย จำเลยลงมือกระทำไปตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผลเนื่องจากกระสุนปืนไม่ถูกอวัยวะสำคัญของผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย แม้จะได้ความต่อมาว่า จำเลยไม่ยิงผู้เสียหายทั้ง ๆ ที่อาวุธปืนของจำเลยยังมีกระสุนปืนอีก 5 นัดก็ตาม แต่เหตุที่จำเลยไม่ยิงผู้เสียหายซ้ำก็เพราะผู้เสียหายร้องห้ามว่าอย่ายิง ประกอบกับระหว่างนั้นมีคนเดินผ่านมา จำเลยจึงยับยั้งไม่ยิงผู้เสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวจึงไม่เป็นเหตุผลที่แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายคงมีเจตนาเพียงทำร้ายร่างกายผู้เสียหายแต่อย่างใด และเมื่อจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายและมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายแล้ว การกระทำอันเดียวกันนี้จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายอีกบทหนึ่ง คงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7792/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากพฤติการณ์ยิง แม้ไม่สำเร็จก็เป็นความผิดพยายามฆ่า การกระทำเดียวกันไม่ถือเป็นทำร้ายร่างกาย
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงจ้องยิงผู้เสียหายแม้เพียงนัดเดียวจำเลยย่อมเล็งเห็นผลหรือคาดหมายได้ว่ากระสุนปืนที่จำเลยยิงอาจถูกผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ หากถูกอวัยวะสำคัญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย จำเลยลงมือกระทำไปตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผลเนื่องจากกระสุนปืนไม่ถูกอวัยวะสำคัญของผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย แม้จะได้ความต่อมาว่า จำเลยไม่ยิงผู้เสียหายทั้ง ๆ ที่อาวุธปืนของจำเลยยังมีกระสุนปืนอีก 5 นัดก็ตาม แต่เหตุที่จำเลยไม่ยิงผู้เสียหายซ้ำก็เพราะผู้เสียหายร้องห้ามว่าอย่ายิง ประกอบกับระหว่างนั้นมีคนเดินผ่านมา จำเลยจึงยับยั้งไม่ยิงผู้เสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวจึงไม่เป็นเหตุผลที่แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายคงมีเจตนาเพียงทำร้ายร่างกายผู้เสียหายแต่อย่างใด และเมื่อจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายและมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายแล้ว การกระทำอันเดียวกันนี้จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายอีกบทหนึ่ง คงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7633/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการริบทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิด แม้ไม่ได้มาจากการกระทำความผิดในคดีนั้น
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 บัญญัติให้ในการริบทรัพย์สินนอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินดังต่อไปนี้อีกด้วย คือ(2) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิดอีกด้วยดังนี้ แม้วันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้และยึดได้เงินสดจำนวน 960 บาท ซึ่งปะปนอยู่กับเงินจำนวนอื่นที่สายลับนำไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย และจำเลยรับว่า เงินสดจำนวน 960 บาท ของกลาง จำเลยได้มาจากการขาย เมทแอมเฟตามีนจำนวนอื่น ก่อนหน้าที่เจ้าพนักงานจะเข้าจับ จำเลยเป็นคดีนี้ ดังนั้น เงินสดจำนวน 960 บาท ของกลางจึง เป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้มาโดยการกระทำความผิด เพราะการขาย เมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย คดีนี้โจทก์ ได้ฟ้องจำเลยในข้อหาขายเมทแอมเฟตามีนและมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเพื่อขาย แม้ศาลจะไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสด จำนวน 960 บาท ของกลาง ตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นบทเฉพาะ ก็ตามแต่ศาลก็มีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7600/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็นและทางภารจำยอม: การใช้ทางผ่านที่ดินผู้อื่นเมื่อที่ดินตนถูกล้อมรอบ
เดิมโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยผ่านที่ดินของ น.และบ.ไปออกถนนสาธารณะเพื่อขนส่งผลิตผลการเกษตร แต่ที่ดินของ น.และ บ. เป็นนาลึกฤดูฝนน้ำท่วมถึงอก ส่วนหน้าแล้งสามารถเดินด้วยเท้า รถยนต์ไม่สามารถผ่านได้เพราะเป็นที่นานอกจากทางพิพาทนี้แล้วโจทก์ไม่มีทางอื่นที่จะออกสู่ทางสาธารณะดังนี้ เมื่อที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้และเส้นทางพิพาทซึ่งผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1มีระยะทางสั้นเพียง 40 เมตร การใช้ทางพิพาทดังกล่าวผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการใช้ที่ดินส่วนน้อยไม่ทำให้จำเลยที่ 1รับภาระเกินไป และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปลูกสร้างสิ่งใดในบริเวณนั้น อีกทั้งเป็นบริเวณที่โจทก์เคยใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 โจทก์ได้ใช้เส้นทางพิพาทเข้าออกมาประมาณ 30 ปีแล้วโดยใช้มาก่อนมีการสร้างผนัง กั้นน้ำเค็ม ซึ่งได้ทำขึ้นทับเส้นทางเดิม หลังจากสร้างผนังกั้นน้ำเค็ม แล้วก็ได้ใช้ทางพิพาทบนผนังกั้นน้ำเค็ม ตลอดมา เมื่อโจทก์ใช้ทางพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาท จึงเป็นภารจำยอมด้วย ซึ่งทางพิพาทนี้เป็นทั้งทางจำเป็นและเป็นทางภารจำยอมในขณะเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7600/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางผ่าน (ทางจำเป็น/ภาระจำยอม) กรณีที่ดินไม่มีทางออก
เดิมโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยผ่านที่ดินของ น.และ บ.ไปออกถนนสาธารณะเพื่อขนส่งผลิตผลการเกษตร แต่ที่ดินของ น.และ บ.เป็นนาลึกฤดูฝนน้ำท่วมถึงอก ส่วนหน้าแล้งสามารถเดินด้วยเท้า รถยนต์ไม่สามารถผ่านได้เพราะเป็นที่นา นอกจากทางพิพาทนี้แล้วโจทก์ไม่มีทางอื่นที่จะออกสู่ทางสาธารณะดังนี้ เมื่อที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้และเส้นทางพิพาทซึ่งผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 มีระยะทางสั้นเพียง 40 เมตรการใช้ทางพิพาทดังกล่าวผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการใช้ที่ดินส่วนน้อยไม่ทำให้จำเลยที่ 1 รับภาระเกินไป และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปลูกสร้างสิ่งใดในบริเวณนั้น อีกทั้งเป็นบริเวณที่โจทก์เคยใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349
โจทก์ได้ใช้เส้นทางพิพาทเข้าออกมาประมาณ 30 ปีแล้วโดยใช้มาก่อนมีการสร้างพนังกั้นนำเค็มซึ่งได้ทำขึ้นทับเส้นทางเดิม หลังจากสร้างพนังกั้นน้ำเค็มแล้วก็ได้ใช้ทางพิพาทบนผนังกั้นน้ำเค็มตลอดมา เมื่อโจทก์ใช้ทางพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอมด้วย ซึ่งทางพิพาทนี้เป็นทั้งทางจำเป็นและเป็นทางภาระจำยอมในขณะเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7490/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอาญาที่ศาลต้องพิจารณาความชัดเจนของคำรับสารภาพและข้อหาที่ฟ้อง รวมถึงการแก้ไขคำพิพากษาที่ผิดพลาดด้านกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2496 มาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ เป็นคนละฐานความผิดกัน และมีบทกำหนดโทษแตกต่างกัน ทั้งตามคำฟ้องโจทก์แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในข้อหาใดข้อหาข้อหนึ่งเพียงข้อหาเดียวดังนั้นจะลงโทษจำเลยที่ 1 ทั้งสองข้อหาไม่ได้ คำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ว่า ขอให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการนั้นไม่ชัดเจนพอจะชี้ขาดว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำผิดฐานใด และเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบต่อไปให้ได้ความถึงข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 โดยชัดแจ้ง เพื่อศาลจะได้นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาปรับบทลงโทษได้ และการที่ศาลจะเลือกปรับบทลงโทษจำเลยได้นั้นหมายถึงกรณีที่ข้อเท็จจริงในคดีเป็นอันยุติแล้วว่าจำเลยได้กระทำอย่างไร หากข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ชัดแจ้งแล้ว ศาลก็ไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าจำเลยมีความผิดฐานใดหรือไม่เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ศาลจะลงโทษจำเลยที่ 1 โดยอาศัยเพียงแต่คำรับสารภาพดังกล่าวหาได้ไม่ และคดีไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสอบถามคำให้การจำเลยที่ 1ใหม่ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานมีไม้ยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองมาด้วยนั้นเป็นการไม่ชอบ เพราะคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 69 อันเป็นมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาด้วย ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษในความผิดข้อหาดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7438/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินหวงห้ามและเวนคืน: สิทธิในที่ดินและพืชผลตกเป็นของรัฐเมื่อมีการเวนคืนถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ได้ที่ดิน 2 แปลง และปลูกบ้านกับต้นยูคาลิปตัสตามฟ้องภายหลังจากพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลาอำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2497 ใช้บังคับแล้ว เมื่อที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในราชการกระทรวงมหาดไทย อันเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังนี้จึงเป็นการที่โจทก์ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครอง
ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่าพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลาอำเภอศรีราชา และตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีพ.ศ. 2521 จะมีผลบังคับกับที่ดินที่ถูกเวนคืนต่อเมื่อเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนได้รับค่าชดเชยเสียก่อน
ต้นยูคาลิปตัสเป็นไม้ยืนต้นและปลูกเพื่อตัดขายเป็นคราว ๆ โดยไม่ต้องปลูกใหม่เมื่อมีหน่อขึ้นมาแล้วก็บำรุงรักษาหน่อไว้ก็สามารถตัดขายได้อีกดังนี้ การที่โจทก์มีเจตนาในการปลูกต้นยูคาลิปตัสเพื่อประโยชน์เป็นเวลานานตลอดไปต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ปลูกจึงเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดินโดยไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ปลูกจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะถือว่าไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146
ที่ดินแปลงพิพาทตามฟ้องอยู่ในเขตเวนคืน ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา ฯลฯ พ.ศ. 2521เพื่อประโยชน์ของรัฐในการสร้างท่าเรือน้ำลึกและกิจการอันเกี่ยวเนื่องกับการท่าเรือและให้ผู้อำนวยการของจำเลยร่วมเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว และเมื่อต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกในที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยร่วมตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 มาตรา 10 ดังนี้ การที่จำเลยร่วมว่าจ้างจำเลยดำเนินการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและมอบที่ดินที่เวนคืนให้จำเลยดำเนินการ แล้วจำเลยตัดฟันต้นยูคาลิปตัสและขุดตอต้นยูคาลิปตัสในที่ดินดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7438/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินและกรรมสิทธิ์ในส่วนควบ (ต้นยูคาลิปตัส) ที่ดินหวงห้าม การครอบครองโดยไม่ชอบ
โจทก์ได้ที่ดิน 2 แปลง และปลูกบ้านกับต้นยูคาลิปตัสตามฟ้องภายหลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี พ.ศ.2497 ใช้บังคับแล้ว เมื่อที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในราชการกระทรวงมหาดไทย อันเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังนี้จึงเป็นการที่โจทก์ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครอง
ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่า พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา และตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีพ.ศ.2521 จะมีผลบังคับกับที่ดินที่ถูกเวนคืนต่อเมื่อเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนได้รับค่าชดเชยเสียก่อน
ต้นยูคาลิปตัสเป็นไม้ยืนต้นและปลูกเพื่อตัดขายเป็นคราว ๆโดยไม่ต้องปลูกใหม่ เมื่อมีหน่อขึ้นมาแล้วก็บำรุงรักษาหน่อไว้ก็สามารถตัดขายได้อีกดังนี้ การที่โจทก์มีเจตนาในการปลูกต้นยูคาลิปตัสเพื่อประโยชน์เป็นเวลานานตลอดไป ต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ปลูกจึงเป็นส่วนควบของที่ดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 145วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดินโดยไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ปลูกจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะถือว่าไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 146
ที่ดินแปลงพิพาทตามฟ้องอยู่ในเขตเวนคืน ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา ฯลฯ พ.ศ.2521 เพื่อประโยชน์ของรัฐในการสร้างท่าเรือน้ำลึกและกิจการอันเกี่ยวเนื่องกับการท่าเรือ และให้ผู้อำนวยการของจำเลยร่วมเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว และเมื่อต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกในที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยร่วมตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา 10 ดังนี้การที่จำเลยร่วมว่าจ้างจำเลยดำเนินการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและมอบที่ดินที่เวนคืนให้จำเลยดำเนินการ แล้วจำเลยตัดฟันต้นยูคาลิปตัสและขุดตอต้นยูคาลิปตัสในที่ดินดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 18