คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรักษ์ เอื้ออังกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6757/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดของบุคคลที่อ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ไม่เกี่ยวข้องกับคดีระหว่างโจทก์-จำเลยเรื่องสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทของโจทก์ เนื่องจากจำเลยผิดสัญญาเช่าและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ทั้งขอให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายแม้จำเลยจะให้การต่อสู้ไว้ประการหนึ่งว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แต่จำเลยก็ไม่ได้ต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยกล่าวอ้างเป็นของจำเลยหรือบุคคลอื่นใด คำร้องของผู้ร้องสอดอ้างเพียงว่า ผู้ร้องสอดครอบครองที่ดินพิพาทบางส่วน โดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทบางส่วนดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์ ขอให้ศาลพิพากษาว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่ครอบครอง ดังนี้ ผู้ร้องสอดมิได้กล่าวอ้างเลยว่า ผู้ร้องสอดมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับจำเลยแต่อย่างใด ข้ออ้างของผู้ร้องสอดดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ร้องสอดตั้งข้อพิพาทโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกับโจทก์ทั้งสิ้นไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ผู้ร้องสอดมีสิทธิในที่ดินพิพาทอยู่เพียงใดคงมีอยู่อย่างนั้น หากศาลพิพากษาขับไล่จำเลยย่อมไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในมูลแห่งคดีนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องร้องสอดเข้ามาเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ คำร้องขอผู้ร้องสอดไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิร้องเข้ามาเป็นคู่ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6757/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเพื่อเรียกร้องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ไม่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลย จึงไม่มีสิทธิร้องสอด
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทของโจทก์ เนื่องจากจำเลยผิดสัญญาเช่าและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ทั้งขอให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายแม้จำเลยจะให้การต่อสู้ไว้ประการหนึ่งว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แต่จำเลยก็ไม่ได้ต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยกล่าวอ้างเป็นของจำเลยหรือบุคคลอื่นใด คำร้องของผู้ร้องสอดอ้างเพียงว่า ผู้ร้องสอดครอบครองที่ดินพิพาทบางส่วน โดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทบางส่วนดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์ ขอให้ศาลพิพากษาว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่ครอบครอง ดังนี้ ผู้ร้องสอดมิได้กล่าวอ้างเลยว่า ผู้ร้องสอดมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับจำเลยแต่อย่างใด ข้ออ้างของผู้ร้องสอดดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ร้องสอดตั้งข้อพิพาทโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกับโจทก์ทั้งสิ้นไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ผู้ร้องสอดมีสิทธิในที่ดินพิพาทอยู่เพียงใดคงมีอยู่อย่างนั้น หากศาลพิพากษาขับไล่จำเลยย่อมไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในมูลแห่งคดีนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องร้องสอดเข้ามาเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ คำร้องขอผู้ร้องสอดไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิร้องเข้ามาเป็นคู่ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6444/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: เรียกรับเงินวิ่งเต้นคดีในบริเวณศาล
ผู้ถูกกล่าวหาได้เรียกและรับเงินจาก พ. ที่บริเวณโต๊ะหินม้านั่งภายในบริเวณศาล โดยแอบอ้างว่าจะนำไปวิ่งเต้นคดีอาญากับผู้พิพากษาหัวหน้าศาลซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการเรียกและรับเงินจากฝ่ายจำเลย อันเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้ประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1)ประกอบด้วยมาตรา 33 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6444/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: เรียกรับเงินวิ่งเต้นคดีในบริเวณศาล
ผู้ถูกกล่าวหาได้เรียกและรับเงินจาก พ. ที่บริเวณโต๊ะหินม้านั่งภายในบริเวณศาล โดยแอบอ้างว่าจะนำไปวิ่งเต้นคดีอาญากับผู้พิพากษาหัวหน้าศาลซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการเรียกและรับเงินจากฝ่ายจำเลย อันเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้ประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 31 (1) ประกอบด้วยมาตรา 33 และ ป.วิ.อ.มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6343/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องหนี้จากการรับช่วงงานและเบิกจ่ายล่วงหน้า การคิดดอกเบี้ย และการรับฟังพยานหลักฐาน
คดีก่อนโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกรถพิพาทคืนจากจำเลยหรือไม่ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว ส่วนคดีก่อนอีกคดีหนึ่งจำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลย (โจทก์คดีนี้) ต้องรับผิดใช้เงินที่โจทก์ (จำเลยคดีนี้) ชำระหนี้แทนจำเลย (โจทก์คดีนี้) ต่อธนาคารโดยมาฟ้องไล่เบี้ยได้หรือไม่ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยคดีนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยฟ้องให้โจทก์ชำระเงินที่จำเลยทดรองจ่ายไปก่อน หลังจากหักกลบลบหนี้แล้ว ซึ่งปรากฏว่าโจทก์ยังติดค้างหนี้จำเลยอยู่ ดังนั้น คดีทั้งสองกับคดีนี้ มีประเด็นข้อพิพาทแตกต่างกัน หาใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และ 148 ไม่
แม้เอกสารพิพาทจำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียวโดยโจทก์มิได้รับรอง ทั้งยังเป็นสำเนาเอกสารก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าในขณะที่จำเลยอ้างเอกสารดังกล่าวต่อศาล โจทก์มิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือสำเนาเอกสารนั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ทั้งได้ความว่าต้นฉบับเอกสารดังกล่าวคู่ความได้อ้างส่งไว้ในสำนวนคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งของศาลชั้นต้น ศาลจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวนั้นได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93
การที่โจทก์ยอมให้จำเลยหักเงินจำนวนที่โจทก์เบิกล่วงหน้าจากเงินค่างานที่กรมทางหลวงจะจ่ายให้แก่จำเลยตามผลงานที่โจทก์ทำได้และส่งมอบให้กรมทางหลวงและโจทก์ยอมให้จำเลยคิดดอกเบี้ยในหนี้เงินที่เบิกล่วงหน้าแต่ละคราวในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี บ้าง ร้อยละ 17 ต่อปี บ้าง และร้อยละ 15 ต่อปี บ้าง เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารคิดจากจำเลยผู้กู้นั้นมีลักษณะเป็นบัญชีเดินสะพัด อัตราดอกเบี้ยของจำนวนเงินที่เบิกล่วงหน้าแต่ละยอดที่โจทก์ได้ตกลงยินยอมเสียให้แก่จำเลยย่อมหมดไปเมื่อมีการตัดทอนบัญชีแต่ละคราว มิใช่เป็นข้อสัญญาหรือนิติกรรมที่โจทก์ต้องผูกพันยอมให้จำเลยคิดดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้ตลอดไป เมื่อปรากฎจากบันทึกข้อตกลงในสัญญารับช่วงงานว่ามีการกำหนดดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ซึ่งเกินกว่ากฎหมายกำหนด ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้โจทก์รับผิดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันตัดทอนบัญชีในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 นั้น จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6184/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารเช่าโดยไม่ได้รับอนุญาต และสิทธิของเจ้าของอาคารในการบอกเลิกสัญญา
โจทก์ส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลยผู้เช่าแล้วตั้งแต่วันทำสัญญาเช่าการที่จำเลยทุบผนังอาคารพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับอนุญาตจากโจทก์อันเป็นการผิดสัญญาเช่าข้อ 4 วรรคสอง ที่ระบุว่า หากผู้เช่าจะดัดแปลงสถานที่ที่เช่าผู้เช่าสัญญาว่าจะขออนุญาตต่อผู้ให้เช่าก่อน เมื่อผู้ให้เช่าเห็นชอบและมีหนังสืออนุญาตแล้ว จึงกระทำการดังกล่าวได้ ฯลฯ และเมื่อตามสัญญาเช่าข้อ 4 วรรคสอง ตอนท้ายระบุว่า ถ้าผู้เช่าฝ่าฝืนให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิบังคับผู้เช่าให้ทำให้กลับคืนสภาพเดิมโดยผู้เช่าออกค่าใช้จ่ายเอง อันเป็นการระบุสภาพบังคับโดยเฉพาะให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิบังคับให้ผู้เช่าทำให้กลับสู่สภาพเดิมเท่านั้น แม้ในสัญญาเช่าข้อ 12 ระบุว่าหากผู้เช่ากระทำผิดข้อสัญญา แม้แต่ข้อใดข้อหนึ่งแห่งสัญญานี้ ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที ฯลฯ ก็เป็นการกำหนดไว้กว้าง ๆ สำหรับการผิดสัญญาข้อที่ไม่ได้ระบุสภาพบังคับไว้โดยเฉพาะว่าให้ดำเนินการอย่างไร ดังนั้นเมื่อกรณีที่ผิดสัญญาข้อ 4 นั้น ได้ระบุไว้ชัดแจ้งโดยเฉพาะแล้วว่าผู้ให้เช่ามีสิทธิบังคับให้รื้อถอนหรือทำให้กลับคืนสภาพเดิม โดยผู้เช่าออกค่าใช้จ่ายเอง ฉะนั้น จึงจะนำสัญญาข้อ 12ซึ่งเป็นกรณีทั่วไปมาใช้บังคับไม่ได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368 สัญญานั้นท่านให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย
สัญญาเช่าห้องแถวที่พิพาทระบุไว้ชัดเจนว่า ผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าเช่าอาคารพิพาท2 คูหา เพื่อประกอบการค้าและอยู่อาศัย และจำเลยที่ 1 ผู้เช่ามีความประสงค์ในการเช่าอาคารพิพาท 2 คูหา เพื่อทำเป็นร้านแสดงสินค้าจำพวกกระเบื้องดินเผา ซึ่งจำเป็นต้องใช้สถานที่กว้าง เหตุที่จำเลยที่ 1 ทุบผนังที่กั้นระหว่างอาคารพิพาท 2 คูหาออกก็เพื่อประกอบการค้าตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และการกระทำของจำเลยไม่ปรากฏว่าทำให้โครงสร้างหรือฐานรากของอาคารพิพาทเสียหายแต่อย่างใด เมื่อคำนึงถึงทำเลที่ตั้งอาคารพิพาทซึ่งอยู่ริมถนนใหญ่ติดกับตลาดอันเป็นบริเวณที่ทำการค้าและจำเลยต้องจ่ายเงินช่วยค่าก่อสร้างในการเช่าอาคารพิพาท2 คูหา เป็นจำนวนเงินถึง 4,800,000 บาท ก็เพื่อทำอาคารพิพาทเป็นร้านแสดงสินค้าอันเป็นประโยชน์ในการประกอบการพาณิชย์ นอกจากนี้อาคารพาณิชย์จำนวน 11 คูหาของโจทก์ซึ่งรวมทั้งอาคารพิพาทก็เป็นอาคารพาณิชย์ 2 คูหาติดกัน และไม่มีผนังกั้นกลาง โดยผู้เช่า 2 ราย ได้ขออนุญาตทุบผนังออก ซึ่งหากจำเลยมาขออนุญาต โจทก์ก็จะอนุญาตเช่นเดียวกัน ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองทำผิดสัญญาเช่าก็ตาม แต่เมื่อคำนึงถึงความประสงค์ของจำเลยที่ทำไปในทางสุจริตเพื่อประกอบการพาณิชย์ โดยพิเคราะห์ถึงอาคารพาณิชย์ข้างเคียงที่เช่าจากโจทก์ซึ่งมีการทุบผนังอาคารออกอันเป็นปกติประเพณีในการเช่าอาคารพาณิชย์ทั่วไปด้วยแล้วการที่จำเลยผิดสัญญาดังกล่าวยังไม่เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6184/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเช่า: สิทธิในการบังคับให้รื้อถอน vs. เหตุบอกเลิกสัญญา โดยคำนึงถึงเจตนาและปกติประเพณี
โจทก์ส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลยผู้เช่าแล้วตั้งแต่วันทำสัญญาเช่า การที่จำเลยทุบผนังอาคารพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับอนุญาตจากโจทก์อันเป็นการผิดสัญญาเช่าข้อ 4 วรรคสอง ที่ระบุว่า หากผู้เช่าจะดัดแปลงสถานที่ที่เช่า ผู้เช่าสัญญาว่าจะขออนุญาตต่อผู้ให้เช่าก่อน เมื่อผู้ให้เช่าเห็นชอบและมีหนังสืออนุญาตแล้ว จึงกระทำการดังกล่าวได้ ฯลฯ และเมื่อตามสัญญาเช่าข้อ 4วรรคสอง ตอนท้ายระบุว่า ถ้าผู้เช่าฝ่าฝืนให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิบังคับผู้เช่าให้ทำให้กลับคืนสภาพเดิม โดยผู้เช่าออกค่าใช้จ่ายเอง อันเป็นการระบุสภาพบังคับโดยเฉพาะให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิบังคับให้ผู้เช่าทำให้กลับสู่สภาพเดิมเท่านั้น แม้ในสัญญาเช่าข้อ 12ระบุว่า หากผู้เช่ากระทำผิดข้อสัญญา แม้แต่ข้อใดข้อหนึ่งแห่งสัญญานี้ ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที ฯลฯ ก็เป็นการกำหนดไว้กว้าง ๆ สำหรับการผิดสัญญาข้อที่ไม่ได้ระบุสภาพบังคับไว้โดยเฉพาะว่าให้ดำเนินการอย่างไร ดังนั้นเมื่อกรณีที่ผิดสัญญาข้อ 4 นั้น ได้ระบุไว้ชัดแจ้งโดยเฉพาะแล้วว่าผู้ให้เช่ามีสิทธิบังคับให้รื้อถอนหรือทำให้กลับคืนสภาพเดิม โดยผู้เช่าออกค่าใช้จ่ายเอง ฉะนั้น จึงจะนำสัญญาข้อ 12ซึ่งเป็นกรณีทั่วไปมาใช้บังคับไม่ได้
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 368 สัญญานั้นท่านให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย
สัญญาเช่าห้องแถวที่พิพาทระบุไว้ชัดเจนว่า ผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าเช่าอาคารพิพาท 2 คูหา เพื่อประกอบการค้าและอยู่อาศัย และจำเลยที่ 1ผู้เช่ามีความประสงค์ในการเช่าอาคารพิพาท 2 คูหา เพื่อทำเป็นร้านแสดงสินค้าจำพวกกระเบื้องดินเผา ซึ่งจำเป็นต้องใช้สถานที่กว้าง เหตุที่จำเลยที่ 1 ทุบผนังที่กั้นระหว่างอาคารพิพาท 2 คูหาออก ก็เพื่อประกอบการค้าตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และการกระทำของจำเลยไม่ปรากฏว่าทำให้โครงสร้างหรือฐานรากของอาคารพิพาทเสียหายแต่อย่างใด เมื่อคำนึงถึงทำเลที่ตั้งอาคารพิพาทซึ่งอยู่ริมถนนใหญ่ติดกับตลาดอันเป็นบริเวณที่ทำการค้าและจำเลยต้องจ่ายเงินช่วยค่าก่อสร้างในการเช่าอาคารพิพาท 2 คูหา เป็นจำนวนเงินถึง 4,800,000 บาท ก็เพื่อทำอาคารพิพาทเป็นร้านแสดงสินค้าอันเป็นประโยชน์ในการประกอบการพาณิชย์ นอกจากนี้อาคารพาณิชย์จำนวน 11คูหาของโจทก์ซึ่งรวมทั้งอาคารพิพาทก็เป็นอาคารพาณิชย์ 2 คูหาติดกัน และไม่มีผนังกั้นกลาง โดยผู้เช่า 2 ราย ได้ขออนุญาตทุบผนังออก ซึ่งหากจำเลยมาขออนุญาต โจทก์ก็จะอนุญาตเช่นเดียวกัน ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองทำผิดสัญญาเช่าก็ตาม แต่เมื่อคำนึงถึงความประสงค์ของจำเลยที่ทำไปในทางสุจริตเพื่อประกอบการพาณิชย์ โดยพิเคราะห์ถึงอาคารพาณิชย์ข้างเคียงที่เช่าจากโจทก์ซึ่งมีการทุบผนังอาคารออกอันเป็นปกติประเพณีในการเช่าอาคารพาณิชย์ทั่วไปด้วยแล้วการที่จำเลยผิดสัญญาดังกล่าวยังไม่เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5909/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและผลกระทบต่อผู้สืบสิทธิ: จำเลยต้องรื้อถอนและคืนที่ดินให้เจ้าของเดิม
จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2 ปลูกสร้างบ้านรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2 จึงต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนเจ้าของ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1311 และจำเลยผู้สืบสิทธิของเจ้าของเดิมผู้ปลูกสร้างบ้านโดยไม่สุจริต ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง ตาม ป.พ.พ.มาตรา1312 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5909/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยไม่สุจริต ผู้สืบสิทธิไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2 ปลูกสร้างบ้านรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2 จึงต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนเจ้าของ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1311 และจำเลยผู้สืบสิทธิของเจ้าของเดิมผู้ปลูกสร้างบ้านโดยไม่สุจริตย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5758/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเป็นนายหน้าซื้อที่ดิน: สิทธิรับค่าบำเหน็จ แม้รายละเอียดไม่ชัดเจนหรือมีข้อโต้แย้ง
คำฟ้องของโจทก์ แม้มิได้บรรยายรายละเอียดให้ชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ดำเนินการอย่างไรในฐานะส่วนตัวและแสดงออกอย่างไรในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 2 ให้ซื้อที่ดินแปลงใด เนื้อที่เท่าใด ที่ดินตั้งอยู่บริเวณไหนโจทก์อ้างว่าที่ดินมี 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีข้อตกลงแตกต่างกันอย่างไร ใครเป็นผู้ตกลงในเงื่อนไขอย่างไร เหตุใดจึงเรียกค่านายหน้าจำนวน 182 ไร่ เป็นเงิน1,456,000 บาท ก็ตาม แต่เมื่อคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่าจำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะตัวแทนจำเลยที่ 2 ร่วมกันตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าติดต่อซื้อที่ดินบริเวณติดและใกล้กับแม่น้ำป่าสัก ตำบลท่าคล้อ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ตกลงจะให้ค่าบำเหน็จตอบแทนไร่ละ 8,000 บาทโจทก์จึงรับเป็นนายหน้าและจัดการให้จำเลยทั้งสองซื้อและรับโอนที่ดินจากผู้มีชื่อจำนวน 182 ไร่เศษ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนดังกล่าว ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่บรรยายรายละเอียดดังกล่าวมาในฟ้องก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากับโจทก์มีใจความว่า จำเลยที่ 1ให้โจทก์เป็นผู้จัดหาที่ดินมาให้จำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญาจะซื้อขายกับเจ้าของที่ดินในราคาไร่ละไม่เกิน 250,000 บาท และให้โจทก์จัดหาทางเข้าออกเพิ่มขึ้นจากเดิม 3 เมตร เป็น 10 เมตร ทั้งนี้ต้องจัดการให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือนแล้วจำเลยที่ 1 จะให้ค่าตอบแทนแก่โจทก์ในอัตราไร่ละ 8,000 บาท ดังนี้การที่จำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญาจะซื้อขายกับเจ้าของที่ดินผู้ขายเกิดจากการชี้ช่องของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าเมื่อจำเลยที่ 1 ตกลงจะให้ค่านายหน้าแก่โจทก์ และโจทก์ได้ดำเนินเป็นผลสำเร็จให้จำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญากับเจ้าของที่ดินผู้ขายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จนายหน้าจากจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะดำเนินการล่าช้าไปบ้างและที่ดินบางแปลงจะมีราคาเกินกว่า250,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 ก็ยินยอมเข้าทำสัญญากับเจ้าของที่ดินผู้ขาย โดยไม่ทักท้วงหรือถือเป็นข้อสาระสำคัญ ทั้งเหตุที่ล่าช้าบางส่วนก็เกิดจากความผิดของจำเลยที่ 1 เองที่เข้าทำสัญญากับเจ้าของที่ดินล่าช้า จำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุดังกล่าวปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องเรียกเอาบำเหน็จนายหน้าไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
of 18