พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5758/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีนายหน้า: สัญญาชัดเจน, การกระทำของกรรมการผูกพันนิติบุคคล, อายุความ 10 ปี
คำฟ้องของโจทก์ แม้มิได้บรรยายรายละเอียดให้ชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ดำเนินการอย่างไรในฐานะส่วนตัวและแสดงออกอย่างไรในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 2 ให้ซื้อที่ดินแปลงใดเนื้อที่เท่าใด ที่ดินตั้งอยู่บริเวณไหนโจทก์อ้างว่าที่ดินมี2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีข้อตกลงแตกต่างกันอย่างไร ใครเป็นผู้ตกลงในเงื่อนไขอย่างไร เหตุใดจึงเรียกค่านายหน้าจำนวน182 ไร่ เป็นเงิน 1,456,000 บาท ก็ตาม แต่เมื่อคำฟ้องของโดทก์ บรรยายว่าจำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมีจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะตัวแทนจำเลยที่ 2 ร่วมกันตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าติดต่อซื้อที่ดินบริเวณติดและใกล้กับแม่น้ำป่าสักตำบลท่าคล้ออำเภอแก่งคอยจังหวัดสระบุรี ตกลงจะให้ค่าบำเหน็จตอบแทนไร่ละ 8,000 บาทโจทก์จึงรับเป็นนายหน้าและจัดการให้จำเลยทั้งสองซื้อและรับโอนที่ดินจากผู้มีชื่อจำนวน 182 ไร่เศษ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนดังกล่าว ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่บรรยายรายละเอียดดังกล่าวมาในฟ้องก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากับโจทก์มีใจความว่า จำเลยที่ 1ให้โจทก์เป็นผู้จัดหาที่ดินมาให้จำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญาจะซื้อขายกับเจ้าของที่ดินในราคาไร่ละไม่เกิน 250,000 บาทและให้โจทก์จัดหาทางเข้าออกเพิ่มขึ้นจากเดิม 3 เมตร เป็น10 เมตร ทั้งนี้ต้องจัดการให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือน แล้วจำเลยที่ 1 จะให้ค่าตอบแทนแก่โจทก์ในอัตราไร่ละ 8,000 บาทดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญาจะซื้อขายกับเจ้าของที่ดินผู้ขายเกิดจากการชี้ช่องของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าเมื่อจำเลยที่ 1 ตกลงจะให้ค่านายหน้าแก่โจทก์ และโจทก์ได้ดำเนินเป็นผลสำเร็จให้จำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญากับเจ้าของที่ดินผู้ขายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จนายหน้าจากจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะดำเนินการล่าช้าไปบ้างและที่ดินบางแปลงจะมีราคาเกินกว่า 250,000 บาท แต่จำเลยที่ 1ก็ยินยอมเข้าทำสัญญากับเจ้าของที่ดินผู้ขาย โดยไม่ทักท้วงหรือถือเป็นข้อสาระสำคัญ ทั้งเหตุที่ล่าช้าบางส่วนก็เกิดจากความผิดของจำเลยที่ 1 เองที่เข้าทำสัญญากับเจ้าของที่ดินล่าช้า จำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุดังกล่าวปฏิเสธความรับผิดได้ไม่ โจทก์ฟ้องเรียกเอาบำเหน็จนายหน้าไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5737/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่แก้อุทธรณ์ ถือไม่ได้ว่ายอมรับข้ออุทธรณ์โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ส่วนจำเลยมิได้แก้อุทธรณ์ จะถือว่าจำเลยไม่ได้ต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ต้องรับฟังข้ออุทธรณ์ของโจทก์ฝ่ายเดียวแล้ว พิพากษาลงโทษจำเลยหาได้ไม่ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้เช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5737/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องอาญา: ผู้ค้ำประกันไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง แม้ถูกเช็คเด้ง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ส่วนจำเลยมิได้แก้อุทธรณ์ จะถือว่าจำเลยไม่ได้ต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ต้องรับฟังข้ออุทธรณ์ของโจทก์ฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยหาได้ไม่ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้เช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5348/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อตกลงในสัญญากู้ยืมเงิน, ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด, และอำนาจศาลในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความระบุชัดเจนว่าจำเลยได้รับเงิน80,000 บาท ไปแล้วในวันทำสัญญา การที่จำเลยนำสืบว่าไม่ได้รับเงินเต็มตามจำนวน 80,000 บาท ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เนื่องจากโจทก์นำหนี้เงินกู้เดิม 10,000 บาทรวมกับยอดหนี้เงินกู้ใหม่ 13,000 บาท แล้วโจทก์คิดต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน 70,000 บาท โดยให้จำเลยผ่อนชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือน เป็นการนำสืบว่าจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์จำนวนเท่าใด ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)แต่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตามมาตรา 94 วรรคท้าย จำเลยย่อมนำสืบได้ จำเลยกู้เงินโจทก์ 23,000 บาท มิใช่ 80,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงิน และโจทก์คิดดอกเบี้ยโดยนำต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน 70,000 บาท แล้วให้จำเลยชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือน เมื่อคำนวณแล้วได้เป็นอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161และ 167 บัญญัติให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ดังนั้น แม้ว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลยคดีนี้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง คำให้การของจำเลยที่ขอให้ศาลไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทและที่จำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยไม่ใช่คำขอท้ายคำฟ้อง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5348/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญากู้ยืมเงิน: การเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินกู้และดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความระบุชัดเจนว่าจำเลยได้รับเงิน80,000 บาท ไปแล้วในวันทำสัญญา การที่จำเลยนำสืบว่าไม่ได้รับเงินเต็มตามจำนวน 80,000 บาท ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เนื่องจากโจทก์นำหนี้เงินกู้เดิม10,000 บาท รวมกับยอดหนี้เงินกู้ใหม่ 13,000 บาท แล้วโจทก์คิดต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน 70,000 บาท โดยให้จำเลยผ่อนชำระเดือนละ 1,000 บาทเป็นเวลา 70 เดือน เป็นการนำสืบว่าจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์จำนวนเท่าใดไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ยืมเงิน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) แต่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตามมาตรา 94 วรรคท้าย จำเลยย่อมนำสืบได้
จำเลยกู้เงินโจทก์ 23,000 บาท มิใช่ 80,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงิน และโจทก์คิดดอกเบี้ยโดยนำต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน70,000 บาท แล้วให้จำเลยชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือนเมื่อคำนวณแล้วได้เป็นอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
ป.วิ.พ.มาตรา 161 และ 167 บัญญัติให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ดังนั้น แม้ว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลย คดีนี้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง คำให้การของจำเลยที่ขอให้ศาลไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทและที่จำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยไม่ใช่คำขอท้ายคำฟ้อง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของจำเลย
จำเลยกู้เงินโจทก์ 23,000 บาท มิใช่ 80,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงิน และโจทก์คิดดอกเบี้ยโดยนำต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน70,000 บาท แล้วให้จำเลยชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือนเมื่อคำนวณแล้วได้เป็นอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
ป.วิ.พ.มาตรา 161 และ 167 บัญญัติให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ดังนั้น แม้ว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลย คดีนี้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง คำให้การของจำเลยที่ขอให้ศาลไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทและที่จำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยไม่ใช่คำขอท้ายคำฟ้อง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5302/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากพยานหลักฐาน การยืนยันตัวผู้เสียหาย และความต่อเนื่องของการกระทำผิด
ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายรู้จักจำเลย เคยพูดกับจำเลย จำเลยเคยมาขอน้ำดื่มที่บ้านพักผู้เสียหาย และนับแต่จำเลยเข้ามารัดคอผู้เสียหายจนกระทั่งลากคอไปบริเวณลานข้าวเปลือกแล้วเดินหนีใช้เวลาประมาณ 20 นาที อันเป็นระยะเวลานานพอที่ผู้เสียหายจะจำหน้าจำเลยได้เพราะจำเลยได้กระทำผิดในลักษณะประชิดตัวผู้เสียหายโดยตลอดแม้ผู้เสียหายเป็นคนสายตาสั้นต้องสวมแว่นตาก็หาเป็นเหตุให้ผู้เสียหายจำจำเลยผิดคนไปได้ไม่ ทั้งขณะเกิดเหตุจำเลยได้พูดขู่มิให้ผู้เสียหายส่งเสียงดังมิฉะนั้นจะใช้มีดแทง ย่อมทำให้ผู้เสียหายจำเสียงพูดของจำเลยได้ และตอนผู้เสียหายไปแจ้งความก็ระบุว่ารู้จักตัวจำเลยโดยเป็นคนงานเก็บขยะของสุขาภิบาลอำเภอโพธิ์ทอง กับได้บอกลักษณะรูปร่างของจำเลยว่ารูปร่างเตี้ย นอกจากนี้เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจนำตัวจำเลยกับพวกรวม5 คน ซึ่งเป็นคนงานเก็บขยะไปให้ผู้เสียหายชี้ตัว ผู้เสียหายก็ชี้ว่าจำเลยเป็นคนที่ทำร้ายผู้เสียหายโดยไม่ลังเลใจ เมื่อผู้เสียหายไม่มีสาเหตุกับจำเลยจึงไม่มีเหตุจะระแวงว่าผู้เสียหายกลั่นแกล้งปรักปรำจำเลยให้ได้รับโทษแต่อย่างใด ส่วนเรื่องที่ผู้เสียหายอ้างว่าจำเลยยอมรับผิดและจะให้ค่าเสียหายจำนวน 20,000 บาท นั้น แม้พยานโจทก์จะเบิกความไม่ตรงกับผู้เสียหายก็ไม่เป็นข้อสาระสำคัญ เพราะการเจรจาจะชดใช้ค่าเสียหายให้นั้นเป็นเรื่องที่คู่กรณีพยายามจะออมชอมให้ยุติโดยความพอใจของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่กระทำความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5115/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สิทธิในที่ดินโดยครอบครองปรปักษ์: การแก้ไขคำร้องและหน้าที่การนำสืบ
คำร้องขอของผู้ร้องบรรยายว่า ผู้ร้องได้เข้าไปปลูกบ้านในที่ดินโฉนดตามฟ้อง คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 2 งาน โดยผู้ร้องครอบครองที่ดินส่วนดังกล่าวด้วยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อนานเกินกว่า 10 ปี แล้ว และผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว เฉพาะส่วนของผู้ร้องเนื้อที่ประมาณ 2 งาน97 ตารางวา โดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมาย ก่อนวันนัดสืบพยานผู้ร้องผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำร้องขอเฉพาะข้อความเดิมที่ว่า "คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ2 งาน" เป็นเนื้อที่ประมาณ 2 งาน 97 ตารางวา ศาลชั้นต้นได้อนุญาตตามขอดังนั้น คำร้องขอของผู้ร้องในส่วนเกี่ยวกับจำนวนเนื้อที่ดินที่ครอบครองได้สิทธินั้นจึงไม่เคลือบคลุม และชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
คดีนี้ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบก่อน แต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านแถลงรับข้อเท็จจริงกันแล้วไม่ติดใจสืบพยานทั้งสองฝ่าย กรณีเช่นนี้ถือว่าผู้ร้องได้นำสืบข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของตนในคำร้องขอแล้ว ศาลย่อมพิจารณาพิพากษาไปตามเนื้อหาในสำนวนคดี และเมื่อฟังได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทได้สิทธิการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 แล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้สิทธิในที่ดินนั้นได้
คดีนี้ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบก่อน แต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านแถลงรับข้อเท็จจริงกันแล้วไม่ติดใจสืบพยานทั้งสองฝ่าย กรณีเช่นนี้ถือว่าผู้ร้องได้นำสืบข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของตนในคำร้องขอแล้ว ศาลย่อมพิจารณาพิพากษาไปตามเนื้อหาในสำนวนคดี และเมื่อฟังได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทได้สิทธิการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 แล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้สิทธิในที่ดินนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5115/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: ศาลพิจารณาจากเนื้อหาในสำนวนเมื่อแถลงรับข้อเท็จจริงและไม่ติดใจสืบพยาน
คำร้องขอของผู้ร้องบรรยายว่า ผู้ร้องได้เข้าไปปลูกบ้านในที่ดินโฉนดตามฟ้อง คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 2 งาน โดยผู้ร้องครอบครองที่ดินส่วนดังกล่าวด้วยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อนานเกินกว่า 10 ปี แล้ว และผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว เฉพาะส่วนของผู้ร้องเนื้อที่ประมาณ 2 งาน 97 ตารางวา โดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายก่อนวันนัดสืบพยานผู้ร้อง ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำร้องขอเฉพาะข้อความเดิมที่ว่า "คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ2 งาน" เป็นเนื้อที่ประมาณ 2 งาน 97 ตารางวา ศาลชั้นต้นได้อนุญาตตามขอ ดังนั้น คำร้องขอของผู้ร้องในส่วนเกี่ยวกับจำนวนเนื้อที่ดินที่ครอบครองได้สิทธินั้นจึงไม่เคลือบคลุมและชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้ว คดีนี้ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบก่อน แต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านแถลงรับข้อเท็จจริงกันแล้วไม่ติดใจสืบพยานทั้งสองฝ่ายกรณีเช่นนี้ถือว่าผู้ร้องได้นำสืบข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของตนในคำร้องขอแล้ว ศาลย่อมพิจารณาพิพากษาไปตามเนื้อหาในสำนวนคดี และเมื่อฟังได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทได้สิทธิการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 แล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้สิทธิในที่ดินนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5115/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์: การแก้ไขคำร้องขอเนื้อที่ และการนำสืบข้อเท็จจริง
คำร้องขอของผู้ร้องบรรยายว่าผู้ร้องได้เข้าไปปลูกบ้านในที่ดินโฉนดตามฟ้องคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ2งานโดยผู้ร้องครอบครองที่ดินส่วนดังกล่าวด้วยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อนานเกินกว่า10ปีแล้วและผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของผู้ร้องเนื้อที่ประมาณ2งาน97ตารางวาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายก่อนวันนัดสืบพยานผู้ร้องผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำร้องขอเฉพาะข้อความเดิมที่ว่า"คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ2งาน"เป็นเนื้อที่ประมาณ2งาน97ตารางวาศาลชั้นต้นได้อนุญาตตามขอดังนั้นคำร้องขอของผู้ร้องในส่วนเกี่ยวกับจำนวนเนื้อที่ดินที่ครอบครองได้สิทธินั้นจึงไม่เคลือบคลุมและชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้ว คดีนี้ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบก่อนแต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านแถลงรับข้อเท็จจริงกันแล้วไม่ติดใจสืบพยานทั้งสองฝ่ายกรณีเช่นนี้ถือว่าผู้ร้องได้นำสืบข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของตนในคำร้องขอแล้วศาลย่อมพิจารณาพิพากษาไปตามเนื้อหาในสำนวนคดีและเมื่อฟังได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทได้สิทธิการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382แล้วศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้สิทธิในที่ดินนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4838-4839/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนลูกหนี้ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ การจำนองเป็นประกันหนี้ทั้งแปลง
การจะใช้สิทธิชำระหนี้แทนลูกหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 230 ได้นั้นจะต้องเป็นการชำระหนี้แทนโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ด้วย เมื่อปรากฏว่า ขณะโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยื่นฟ้องจำเลย บริษัท ส. เป็นหนี้จำเลยตามคำพิพากษาตามยอมอยู่เป็นเงินประมาณ 18,852,600 บาท ทั้งการจำนองรายนี้เป็นการจำนองที่ดินแปลงใหญ่เพียงแปลงเดียว คือที่ดินโฉนดเลขที่ 109377 ภายหลังที่ดินแปลงดังกล่าวได้แบ่งแยกเป็นแปลงย่อย ๆ โดยถือว่าที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกออกไปยังคงจำนองด้วยตามสัญญาเดิม หาใช่เป็นการจำนองที่ดินหลายแปลงอันจะแบ่งภาระการจำนองได้ไม่ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจใช้สิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นบังคับจำเลยให้ยอมรับการชำระหนี้บางส่วนแทนบริษัท ส. แล้วให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนสิทธิจำนองให้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 สวมสิทธิเจ้าหนี้จำนองแทนจำเลยตามฟ้องเพราะอาจเป็นการเสียหายแก่จำเลยได้
คดีนี้มีข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยจะต้องยอมให้โจทก์ทั้งสองชำระหนี้แทนลูกหนี้จำนองในจำนวนเงินสำนวนละ 700,000 บาท ได้หรือไม่เท่านั้น จึงไม่ใช่เป็นคดีมีทุนทรัพย์ เพราะแม้หากจำเลยจะต้องยอมให้โจทก์ทั้งสองชำระหนี้แทนลูกหนี้ตามที่ขอที่ดินพิพาทก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ส. อยู่ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่โจทก์ทั้งสองและจำเลย
คดีนี้มีข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยจะต้องยอมให้โจทก์ทั้งสองชำระหนี้แทนลูกหนี้จำนองในจำนวนเงินสำนวนละ 700,000 บาท ได้หรือไม่เท่านั้น จึงไม่ใช่เป็นคดีมีทุนทรัพย์ เพราะแม้หากจำเลยจะต้องยอมให้โจทก์ทั้งสองชำระหนี้แทนลูกหนี้ตามที่ขอที่ดินพิพาทก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ส. อยู่ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่โจทก์ทั้งสองและจำเลย