คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรักษ์ เอื้ออังกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4838-4839/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการชำระหนี้แทนลูกหนี้จำนอง ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ และต้องพิจารณาภาระจำนองที่ดินแปลงใหญ่
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับบริษัท ป. และเป็นผู้ครองที่ดินพิพาทอยู่ แต่การจะใช้สิทธิชำระหนี้แทนบริษัท ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 230 ได้นั้นจะต้องเป็นการชำระหนี้แทนโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ด้วย เมื่อขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลย บริษัท ป. เป็นหนี้จำเลยตามคำพิพากษาตามยอมอยู่เป็นเงินประมาณ 18,852,600 บาท ทั้งเป็นการจำนองที่ดินแปลงใหญ่เพียงแปลงเดียวภายหลังที่ดินแปลงดังกล่าวได้แบ่งแยกเป็นแปลงย่อย ๆ โดยถือว่าที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกออกไปยังคงจำนองด้วยตามสัญญาเดิม ดังนั้น การจำนองที่ดินของบริษัท ป. เป็นการจำนองที่ดินเพียงแปลงเดียว มิใช่การจำนองที่ดินหลายแปลงอันจะแบ่งภาระการจำนองได้ โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวบังคับจำเลยให้ยอมรับการชำระหนี้บางส่วนแทนบริษัท ป. แล้วให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนสิทธิจำนองให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์สวมสิทธิเจ้าหนี้จำนองแทนจำเลยเพราะอาจเป็นการเสียหายแก่จำเลยได้
คดีที่มีข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยจะต้องยอมให้โจทก์ชำระหนี้แทนลูกหนี้จำนองในจำนวนเงิน 700,000 บาท ได้หรือไม่ ไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์ เพราะแม้หากจำเลยจะต้องยอมให้โจทก์ชำระหนี้แทนลูกหนี้ตามที่ขอ ที่ดินพิพาทก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ป. อยู่ ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่โจทก์และจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4838-4839/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิชำระหนี้แทนลูกหนี้ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ และคดีนี้ไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์
การจะใช้สิทธิชำระหนี้แทนลูกหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 230 ได้นั้นจะต้องเป็นการชำระหนี้แทนโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ด้วย เมื่อปรากฏว่า ขณะโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยื่นฟ้องจำเลย บริษัท ส. เป็นหนี้จำเลยตามคำพิพากษาตามยอมอยู่เป็นเงินประมาณ 18,852,600 บาท ทั้งการจำนองรายนี้เป็นการจำนองที่ดินแปลงใหญ่เพียงแปลงเดียว คือที่ดินโฉนดเลขที่ 109377 ภายหลังที่ดินแปลงดังกล่าวได้แบ่งแยกเป็นแปลงย่อย ๆ โดยถือว่าที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกออกไปยังคงจำนองด้วยตามสัญญาเดิม หาใช่เป็นการจำนองที่ดินหลายแปลงอันจะแบ่งภาระการจำนองได้ไม่ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจใช้สิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นบังคับจำเลยให้ยอมรับการชำระหนี้บางส่วนแทนบริษัท ส. แล้วให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนสิทธิจำนองให้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 สวมสิทธิเจ้าหนี้จำนองแทนจำเลยตามฟ้องเพราะอาจเป็นการเสียหายแก่จำเลยได้
คดีนี้มีข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยจะต้องยอมให้โจทก์ทั้งสองชำระหนี้แทนลูกหนี้จำนองในจำนวนเงินสำนวนละ 700,000 บาท ได้หรือไม่เท่านั้น จึงไม่ใช่เป็นคดีมีทุนทรัพย์ เพราะแม้หากจำเลยจะต้องยอมให้โจทก์ทั้งสองชำระหนี้แทนลูกหนี้ตามที่ขอที่ดินพิพาทก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ส. อยู่ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่โจทก์ทั้งสองและจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดล่าช้าเกินกำหนด 8 วัน ผู้ร้องขาดสิทธิขอให้ยกเลิกการขาย
เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2538 และผู้ร้องก็ทราบว่ามีการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทในวันดังกล่าว แต่ไม่ได้มาคัดค้านเพราะป่วยเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ผู้ร้องได้ไปตรวจสอบที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจำศาล จึงทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ไปในราคาต่ำกว่าราคาที่ประเมินไว้ ดังนี้ ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งยกเลิกการบังคับคดีที่ผู้ร้องเห็นว่าไม่ถูกต้องได้ภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ 19พฤษภาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่ผู้ร้องทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์โดยไม่ถูกต้อง แต่ปรากฏว่าผู้ร้องเพิ่งมายื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดีต่อศาล ขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อวันที่ 8มิถุนายน 2538 ซึ่งล่วงพ้นกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องทราบการฝ่าฝืนนั้นแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง
แม้ระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสองนั้น ศาลมีอำนาจขยายให้ได้ก็ตาม แต่จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ตามมาตรา 23 เมื่อผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอีกทั้งกรณีตามคำร้องก็ไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัย จึงไม่อาจยื่นคำร้องเกินกำหนดระยะเวลา 8 วันได้ ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่าเชื่อตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ว่ายื่นคำร้องเกินกำหนดได้ก็เป็นข้ออ้างที่ปราศจากเหตุผลให้รับฟัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดล่าช้า: ผู้มีส่วนได้เสียต้องยื่นคำร้องภายใน 8 วันนับจากวันที่ทราบการฝ่าฝืน
เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2538 และผู้ร้องก็ทราบว่ามีการขายทอดตลาดทรัพย์สินพิพาทในวันดังกล่าวแต่ไม่ได้มาคัดค้านเพราะป่วยเนื่องจากประสบอุบัติเหตุหลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ผู้ร้องได้ไปตรวจสอบที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจำศาล จึงทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ไปในราคาต่ำกว่าราคา ที่ประเมินไว้ ดังนี้ ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งยกเลิกการบังคับคดีที่ผู้ร้องเห็นว่าไม่ถูกต้องได้ภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2538ซึ่งเป็นวันที่ผู้ร้องทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์โดยไม่ถูกต้อง แต่ปรากฏว่าผู้ร้องเพิ่งมายื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดีต่อศาล ขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดของ เจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2538 ซึ่งล่วงพ้นกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องทราบการฝ่าฝืนนั้นแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง แม้ระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง นั้นศาลมีอำนาจขยายให้ได้ก็ตาม แต่จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ตามมาตรา 23 เมื่อผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอีกทั้งกรณีตามคำร้องก็ไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัยจึงไม่อาจยื่นคำร้องเกินกำหนดระยะเวลา 8 วันได้ ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่าเชื่อตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ว่ายื่นคำร้องเกินกำหนดได้ก็เป็นข้ออ้างที่ปราศจากเหตุผลให้รับฟัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4623/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับในสัญญา: ศาลมีอำนาจปรับลดเบี้ยปรับที่สูงเกินสมควรตามหลักเกณฑ์กฎหมาย แม้มีข้อตกลงในสัญญา
ค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างเป็นค่าเสียหายซึ่งกำหนดไว้ล่วงหน้า อาจจะน้อยกว่าหรือสูงกว่าค่าเสียหายแท้จริงก็ได้ ซึ่งต้องปรับด้วย ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคแรก ดังนั้น แม้จะได้กำหนดวงเงินตายตัวไว้ในสัญญาและคู่สัญญาต่างสมัครใจทำขึ้นและเป็นข้อสัญญาที่ไม่ขัดต่อกฎหมายก็ตาม แต่ก็หาได้ตัดอำนาจศาลที่จะพิจารณาหลักเกณฑ์ตามกฎหมายในการลดเบี้ยปรับที่เรียกสูงเกินส่วนลงเป็นจำนวนที่พอสมควรตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ เพราะมิฉะนั้นบทบัญญัติที่ให้ศาลพิจารณาลดเบี้ยปรับนั้น ก็จะไม่มีผลบังคับ จะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้จะต้องชดใช้ค่าปรับหรือค่าปรับที่เจ้าหนี้กำหนดไว้สูงเกินสมควรโดยไม่มีเหตุผล
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาลงวันที่ 4 เมษายน 2537 ให้จำเลยนำเงินค่าปรับมาชำระภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันได้รับหนังสือ จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าววันที่ 6 เมษายน 2537 ครบกำหนดชำระค่าปรับตามหนังสือบอกกล่าววันที่21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2537และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันดังกล่าวตามป.พ.พ.มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4610/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินและขอบเขตการแบ่งแยกโฉนด การไม่พิพากษาฟ้องแย้งเป็นเหตุให้ต้องแก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป.และ จ.ฟ้องจำเลยออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 14613 เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 93 ตารางวา ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ป.และ จ. อ้างว่าจำเลยขออาศัยปลูกบ้านอยู่ชั่วคราว ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินดังกล่าว จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของกว่า 10 ปีแล้ว การออกโฉนดที่ดินแปลงพิพาทดังกล่าวกระทำโดยมิชอบ จำเลยขอให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นของจำเลยให้จำเลย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินภายในเส้นสีแดงตามแผนที่สังเขปท้ายคำให้การและฟ้องแย้งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย และเพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ดินของจำเลย เมื่อตามคำฟ้องแย้งและคำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นการกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์อันเป็นคดีมีทุนทรัพย์ และศาลชั้นต้นให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทปรากฏว่าคู่ความแถลงรับกันตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าที่ดินที่จำเลยอ้างว่าจำเลยครอบครองอยู่และโจทก์ออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของจำเลยนั้นมีจำนวนเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวา เจ้าพนักงานที่ดินประเมินราคาที่ดิน-พิพาทราคาไร่ละ 60,000 บาท และศาลชั้นต้นกำหนดราคาตามที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินเป็นราคาทรัพย์สินที่พิพาท ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวาดังนั้นราคาทรัพย์สินที่พิพาททั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจึงมีราคาจำนวนละ 107,400บาท ไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนกันมาโดยมิได้พิพากษาในส่วนฟ้องแย้งโดยให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยด้วยนั้น เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4610/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินและการครอบครองปรปักษ์ ศาลฎีกายกฟ้องแย้ง แต่แก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้อง
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. และ จ. ฟ้องจำเลยออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 14613 เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 93 ตารางวาซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ป. และ จ. อ้างว่าจำเลยขออาศัยปลูกบ้านอยู่ชั่วคราว ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินดังกล่าว จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของกว่า 10 ปีแล้ว การออกโฉนดที่ดินแปลงพิพาทดังกล่าวกระทำโดยมิชอบ จำเลยขอให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นของจำเลยให้จำเลย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินภายในเส้นสีแดงตามแผนที่สังเขปท้ายคำให้การและฟ้องแย้งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย และเพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ดินของจำเลย เมื่อตามคำฟ้องแย้งคำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นการกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์อันเป็นคดีมีทุนทรัพย์ และศาลชั้นต้นให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทปรากฎว่าคู่ความแถลงรับกันตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าที่ดินที่จำเลยอ้างว่าจำเลยครอบครองอยู่และโจทก์ออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของจำเลยนั้นมีจำนวนเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 16ตารางวา เจ้าพนักงานที่ดินประเมินราคาที่ดินพิพาทราคาไร่ละ60,000 บาท และศาลชั้นต้นกำหนดราคาตามที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินเป็นราคาทรัพย์สินที่พิพาท ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่1 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวา ดังนั้นราคาทรัพย์สินที่พิพาททั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจึงมีราคาจำนวนละ 107,400 บาทไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนกันมาโดยมิได้พิพากษาในส่วนฟ้องแย้งโดยให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยด้วยนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ตามศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4552/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า vs. สัญญาจะซื้อจะขาย: สิทธิการฟ้องขับไล่และค่าเสียหายเมื่อมีการตกลงซื้อขายก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุด
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากมารดาโจทก์เพื่อปลูกสร้างเป็นสถานที่ประกอบการค้าอาหาร มีกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาตกลงค่าเช่าเดือนละ 2,500 บาท ต่อมามารดาโจทก์ได้ทำบันทึกตกลงจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยและข้อความในบันทึกดังกล่าวเข้าแบบเป็นหนังสือตกลงจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ดังนี้ แม้จำเลยจะไม่ได้ชำระค่าเช่าแก่โจทก์ตามสัญญาเช่าที่ทำไว้ก็ตาม โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและผู้รับโอนมรดกที่ดินแปลงพิพาทมาจากมารดาโจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพราะเหตุที่จำเลยผิดสัญญาเช่าได้เพราะสิทธิตามสัญญาเช่าระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยได้ยกเลิกไปโดยปริยายและเกิดข้อผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่มารดาโจทก์ผู้จะขายตกลงยินยอมให้จำเลยผู้จะซื้อเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทก่อนที่จะมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ กรณีเช่นนี้โจทก์จะต้องไปบังคับว่ากล่าวแก่จำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายนั้นต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4552/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและสัญญาจะซื้อจะขาย: ผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องเมื่อมีการตกลงกันก่อนการจดทะเบียน
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากมารดาโจทก์เพื่อปลูกสร้างเป็นสถานที่ประกอบการค้าอาหาร มีกำหนด 5 ปีนับแต่วันทำสัญญาดังกล่าวค่าเช่าเดือนละ 2,500 บาท ต่อมามารดาโจทก์ได้ทำบันทึกตกลงจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยและข้อความในบันทึกดังกล่าวเข้าแบบเป็นหนังสือตกลงจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ดังนี้ แม้จำเลยจะไม่ได้ชำระค่าเช่าแก่โจทก์ตามสัญญาเช่าที่ทำไว้ก็ตาม โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและผู้รับโอนมรดกที่ดินแปลงพิพาทมาจากมารดาโจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพราะเหตุที่จำเลยผิดสัญญาเช่าได้เพราะสิทธิตามสัญญาเช่าระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยได้ยกเลิกไปโดยปริยายและเกิดข้อผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่มารดาโจทก์ผู้จะขายตกลงยินยอมให้จำเลยผู้จะซื้อเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทก่อนที่จะมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ กรณีเช่นนี้โจทก์จะต้องไปบังคับว่ากล่าวแก่จำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายนั้นต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4361/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์ไม้ยืนตามคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ – การปฏิบัติตามเงื่อนไข ป.วิ.พ.มาตรา 234
เมื่อคำสั่งศาลอุทธรณ์ไม่ใช่คำสั่งยืนตามคำปฎิเสธของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 236 วรรคแรก แต่เป็นคำสั่งในกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์มิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามป.วิ.พ.มาตรา 234 คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุด จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้
ป.วิ.พ.มาตรา 234 ที่บัญญัติว่า ถ้าศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นและนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาล โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล จึงถือว่าจำเลยไม่ปฎิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยจะฎีกาอ้างว่า เหตุที่จำเลยไม่นำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา เพราะกำลังมีการโต้แย้งกันอยู่และศาลมิได้มีคำสั่งหาได้ไม่
of 18