พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2879/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่ออนาจาร, การรับสารภาพ, และการพิจารณาโทษเมื่อมีการสมรส
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา176ที่ว่าถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องให้ศาลพิพากษาไปได้โดยไม่ต้องสืบพยานนั้นมิได้หมายความว่าเมื่อจำเลยรับสารภาพแล้วจะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยเสมอไปถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา185โดยเฉพาะข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา317วรรคสามกำหนดอัตราโทษขั้นต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่5ปีขึ้นไปศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้คดีนี้ศาลชั้นต้นสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยแล้วจึงพิพากษาคดีเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบจนเป็นที่น่าพอใจว่าจำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา317วรรคสามดังนี้จำเลยจึงมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ พฤติการณ์ที่ผู้เสียหายขอให้จำเลยพากลับบ้านโดยนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของจำเลยออกไปแต่จำเลยไม่พาผู้เสียหายกลับบ้านแต่พาไปที่บ้านเพื่อนจำเลยที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมผู้เสียหายพักอยู่ที่บ้านดังกล่าวหลายวันและจำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายหลายครั้งแสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายเต็มใจไปกับจำเลยหากผู้เสียหายไม่เต็มใจไปกับจำเลยผู้เสียหายก็มีโอกาสจะขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นได้เพราะก่อนที่จำเลยจะพาผู้เสียหายไปที่อำเภอสามพรานจำเลยยังแวะบ้านเพื่อนจำเลยที่หนองแขมก่อนและปรากฎว่าบ้านที่อำเภอสามพรานที่ผู้เสียหายพักอยู่กับจำเลยนั้นมีคนอื่นอยู่ร่วมด้วยผู้เสียหายก็มิได้ขอความช่วยเหลือแต่เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าขณะที่จำเลยพาผู้เสียหายไปนั้นจำเลยมีความประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้เสียหายดังนั้นการที่จำเลยพาผู้เสียหายซึ่งมีอายุ14ปีเศษจากกรุงเทพมหานครไปอำเภอสามพราน และได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายถือได้ว่าเป็นการพรากเด็กอายุไม่เกิน15ปีไปเสียจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองเพื่อการอนาจารโดยปราศจากเหตุอันสมควรจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา317วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าบริการ: สัญญาจ้างบริการแยกจากสัญญาเช่า สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)
การบริการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างบริการที่พิพาทเช่นการรักษาความปลอดภัย การบริการให้มีน้ำประปาใช้ในบริเวณห้องสุขาสาธารณะการบำรุงรักษาอาคารและสาธารณูปโภค เป็นต้นเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารผู้ให้เช่าจัดการสิ่งบริการต่าง ๆ ดังกล่าวให้แก่จำเลยผู้เช่าอาคาร โดยโจทก์เรียกเก็บค่าบริการเป็นรายเดือนจากจำเลย อันเป็นการดำเนินการประจำเป็นปกติธุระ ถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) มีอายุความสองปี ข้อความที่ระบุในสัญญาเช่าอาคารให้ถือว่าสัญญาจ้างบริการเป็นส่วนหนึ่งของอายุการเช่าเท่านั้น มิใช่ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อสัญญาเช่าอาคารทั้งหมด ดังนี้จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(3)(4)(5) หรือมาตรา 193/34(1) มาใช้บังคับมิได้ ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความแต่เพียงว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(เดิม)563 โดยมิได้ให้เหตุผลประกอบข้ออ้างแต่อย่างใด ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทนั้น เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์มิได้กล่าวแก้ยกประเด็นข้อนี้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าบริการ: สัญญาจ้างบริการต่างจากสัญญาเช่า และอายุความตามลักษณะธุรกิจ
การบริการต่างๆตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างบริการที่พิพาทเช่นการรักษาความปลอดภัยการบริการให้มีน้ำประปาใช้ในบริเวณห้องสุขาสาธารณะการบำรุงรักษาอาคารและสาธารณูปโภคเป็นต้นเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารผู้ให้เช่าจัดการสิ่งบริการต่างๆดังกล่าวให้แก่จำเลยผู้เช่าอาคารโดยโจทก์เรียกเก็บค่าบริการเป็นรายเดือนจากจำเลยอันเป็นการดำเนินการประจำเป็นปกติธุระถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(7)มีอายุความสองปี ข้อความที่ระบุในสัญญาเช่าอาคารให้ถือว่าสัญญาจ้างบริการเป็นส่วนหนึ่งของอายุการเช่าเท่านั้นมิใช่ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อสัญญาเช่าอาคารทั้งหมดดังนี้จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33(3)(4)(5)หรือมาตรา193/34(1)มาใช้บังคับมิได้ ฎีกาโจทก์ที่ว่าจำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความแต่เพียงว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(เดิม)563โดยมิได้ให้เหตุผลประกอบข้ออ้างแต่อย่างใดไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทนั้นเมื่อจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโจทก์มิได้กล่าวแก้ยกประเด็นข้อนี้ในคำแก้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างบริการแยกจากสัญญาเช่า: ศาลฎีกาตัดสินเรื่องอายุความต่างกัน
การบริการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างบริการที่พิพาทเช่นการรักษาความปลอดภัย การบริการให้มีน้ำประปาใช้ในบริเวณห้องสุขาสาธารณะการบำรุงรักษาอาคารและสาธารณูปโภค เป็นต้น เป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารผู้ให้เช่าจัดการสิ่งบริการต่าง ๆ ดังกล่าวให้แก่จำเลยผู้เช่าอาคาร โดยโจทก์เรียกเก็บค่าบริการเป็นรายเดือนจากจำเลย อันเป็นการดำเนินการประจำเป็นปกติธุระ ถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (7) มีอายุความสองปี
ข้อความที่ระบุในสัญญาเช่าอาคารให้ถือว่าสัญญาจ้างบริการเป็นส่วนหนึ่งของอายุการเช่าเท่านั้น มิใช่ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อสัญญาเช่าอาคารทั้งหมด ดังนี้จะนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193 /33 (3) (4) (5)หรือมาตรา 193/34 (1) มาใช้บังคับมิได้
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความแต่เพียงว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 (เดิม), 563 โดยมิได้ให้เหตุผลประกอบข้ออ้างแต่อย่างใด ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทนั้น เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์มิได้กล่าวแก้ยกประเด็นข้อนี้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อความที่ระบุในสัญญาเช่าอาคารให้ถือว่าสัญญาจ้างบริการเป็นส่วนหนึ่งของอายุการเช่าเท่านั้น มิใช่ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อสัญญาเช่าอาคารทั้งหมด ดังนี้จะนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193 /33 (3) (4) (5)หรือมาตรา 193/34 (1) มาใช้บังคับมิได้
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความแต่เพียงว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 (เดิม), 563 โดยมิได้ให้เหตุผลประกอบข้ออ้างแต่อย่างใด ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทนั้น เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์มิได้กล่าวแก้ยกประเด็นข้อนี้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้และเช็ค: ความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
หนังสือรับสภาพหนี้มีใจความว่า ข้าฯ นางสาวพรทิพย์ ณ สงขลา(จำเลย) ขอรับสภาพหนี้ว่า ข้าฯ เป็นหนี้พันตำรวจโทอาวุธ ปุรินทราภิบาล(ผู้เสียหาย) กรณีกู้ยืมเงินกัน 300,000 บาทจริง และข้าฯยินยอมขอชำระหนี้พร้อมกันนี้ ข้าฯได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่พันตำรวจโทอาวุธ ปุรินทราภิบาล (ผู้เสียหาย)เป็นเช็คธนาคารมหานคร จำกัด สาขาหาดใหญ่ ตามเช็คเลขที่ 0038097 สั่งจ่ายเงินจำนวน 300,000 บาท ตามที่เป็นหนี้กัน สั่งจ่ายเงินวันที่ 30 ธันวาคม 2537หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวมีข้อความชัดแจ้งว่า จำเลยเป็นหนี้ผู้เสียหายอยู่จริงและจำเลยยอมชำระหนี้ดังกล่าวให้ผู้เสียหายโดยเช็ค ทั้งจำเลยและผู้เสียหายได้ลงลายมือชื่อไว้ หนังสือดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานที่ผู้เสียหายสามารถนำไปฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดในทางแพ่งได้โดยตรงและถือเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินได้
จำเลยสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมตามหนังสือรับสภาพหนี้จึงเป็นการสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
จำเลยสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมตามหนังสือรับสภาพหนี้จึงเป็นการสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2509/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองบังคับชำระหนี้: ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในส่วนที่ขาด หากสัญญาจำนองไม่ได้ระบุ
สัญญาจำนองไม่มีข้อความว่าหากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ลูกหนี้จึงไม่ต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา733 ปัญหาที่ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวนในกรณีบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในศาลชั้นต้นก็มีสิทธิยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2492/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเช็คและการลงโทษทางอาญา กรณีเช็คไม่มีเงินรองรับ
ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์อ้างว่า เช็คฉบับที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้ตามมูลหนี้เดียวกับเช็คตามฟ้องทั้ง 2 ฉบับ แต่ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ โจทก์ยังหาเช็คและใบคืนเช็คฉบับที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่พบ ต่อมาโจทก์พบเช็คและใบคืนเช็คดังกล่าวในแฟ้มเก็บเอกสารเรื่องอื่น โจทก์จึงมาขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง ดังนี้ ถือได้ว่ามีเหตุอันควร และโจทก์ได้ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้อง ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบโจทก์จึงขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 163 วรรคหนึ่ง และมาตรา 164
ศาลชั้นต้น (ศาลแขวง) พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ1 ปี เรียงกระทงลงโทษรวมจำคุก 3 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยกระทงละ6 เดือน รวม 1 ปี 6 เดือน เมื่อผลสุดท้ายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยกระทงละ6 เดือน จึงไม่เกินอำนาจผู้พิพากษาคนเดียว ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา15 และมาตรา 22 (5)
โจทก์บรรยายฟ้องและแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า จำเลยบังอาจออกเช็คจำนวนเงินฉบับละ 205,000 บาท รวม 3 ฉบับ ให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่ารับเหมาก่อสร้าง เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนดโจทก์นำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า บัญชีปิดแล้ว เป็นการออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง และการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ โดยโจทก์ไม่ต้องอ้าง ป.อ.มาตรา 91 มาในฟ้อง เพราะ ป.อ.มาตรา 91 ไม่ใช่กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (6)นอกจากนี้ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ก็ได้อ้าง ป.อ.มาตรา 91มาด้วย ซึ่งศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องแล้ว
ศาลชั้นต้น (ศาลแขวง) พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ1 ปี เรียงกระทงลงโทษรวมจำคุก 3 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยกระทงละ6 เดือน รวม 1 ปี 6 เดือน เมื่อผลสุดท้ายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยกระทงละ6 เดือน จึงไม่เกินอำนาจผู้พิพากษาคนเดียว ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา15 และมาตรา 22 (5)
โจทก์บรรยายฟ้องและแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า จำเลยบังอาจออกเช็คจำนวนเงินฉบับละ 205,000 บาท รวม 3 ฉบับ ให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่ารับเหมาก่อสร้าง เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนดโจทก์นำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า บัญชีปิดแล้ว เป็นการออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง และการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ โดยโจทก์ไม่ต้องอ้าง ป.อ.มาตรา 91 มาในฟ้อง เพราะ ป.อ.มาตรา 91 ไม่ใช่กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (6)นอกจากนี้ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ก็ได้อ้าง ป.อ.มาตรา 91มาด้วย ซึ่งศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2492/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, การลงโทษหลายกระทง, และอำนาจศาลในการพิพากษาคดีเช็ค
ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์อ้างว่า เช็คฉบับที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้ตามมูลหนี้เดียวกับเช็คตามฟ้องทั้ง 2 ฉบับ แต่ขณะโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ยังหาเช็คและใบคืนเช็คฉบับที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่พบ ต่อมาโจทก์พบเช็คและใบคืนเช็คดังกล่าวในแฟ้มเอกสารโจทก์จึงมาขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง ถือได้ว่ามีเหตุอันควรและโจทก์ได้ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้อง ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ โจทก์จึงขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคหนึ่ง และมาตรา 164
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 ปี เรียงกระทงลงโทษ รวมจำคุก 3 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุกจำเลยกระทงละ 6 เดือน รวม 1 ปี 6 เดือน เมื่อผลสุดท้ายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยกระทงละ 6 เดือน จึงไม่เกินอำนาจผู้พิพากษาคนเดียวตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 และมาตรา 22(5)
จำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง และการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ โดยโจทก์ไม่ต้องอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) เพราะประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ไม่ใช่กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 ปี เรียงกระทงลงโทษ รวมจำคุก 3 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุกจำเลยกระทงละ 6 เดือน รวม 1 ปี 6 เดือน เมื่อผลสุดท้ายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยกระทงละ 6 เดือน จึงไม่เกินอำนาจผู้พิพากษาคนเดียวตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 และมาตรา 22(5)
จำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง และการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ โดยโจทก์ไม่ต้องอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) เพราะประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ไม่ใช่กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเช็คชั่วคราวและการบังคับคดี: การไม่ดำเนินการตามกำหนดทำให้หมายอายัดสิ้นผล
ภายหลังที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลไต่สวนบริษัทย.ที่ปฏิเสธนำเงินตามเช็คมาวางต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี คดีถึงที่สุด และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีต่อไปภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบังคับ ดังนั้นหมายอายัดเช็คตามคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ในระหว่างพิจารณานั้น ย่อมยกเลิกไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(2)การที่โจทก์ฎีกาเกี่ยวกับคำร้องของโจทก์ที่คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้น โดยอ้างว่าอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ยื่นไม่พ้นกำหนดเวลา1 เดือน ตามกฎหมายนั้น จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีที่จะได้รับการวินิจฉัยอีกต่อไป จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ล่าช้า และผลกระทบต่อหมายอายัดชั่วคราวเมื่อคดีถึงที่สุด
ภายหลังที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลไต่สวนบริษัทย.ที่ปฏิเสธนำเงินตามเช็คมาวางต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีคดีถึงที่สุดและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีต่อไปภายใน15วันนับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบังคับดังนั้นหมายอายัดเช็คตามคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ในระหว่างพิจารณานั้นย่อมยกเลิกไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา260(2)การที่โจทก์ฎีกาเกี่ยวกับคำร้องของโจทก์ที่คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ยื่นไม่พ้นกำหนดเวลา1เดือนตามกฎหมายนั้นจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีที่จะได้รับการวินิจฉัยอีกต่อไปจึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลฎีกา