คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรักษ์ เอื้ออังกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6763/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าหมดอายุ ผู้รับโอนที่ดินไม่ผูกพันข้อตกลงต่อสัญญาเดิม ผู้เช่าไม่มีสิทธิเรียกร้อง
แม้สัญญาระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยที่กำหนดให้อาคารสิ่งปลูกสร้างตกเป็นของผู้ให้เช่าเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้วจะเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาและโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ให้เช่าตกลงจะให้จำเลยได้เช่าที่ดิน และอาคารพิพาทต่อไปเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสัญญาเดิมในอัตราค่าเช่าที่เป็นธรรมก็ตาม แต่ข้อตกลงที่จะให้จำเลยเช่าต่อนั้นเป็นเพียงข้อตกลงต่างหากนอกเหนือไป จากสัญญาเช่าซึ่งเป็นเพียงบุคคลสิทธิ คงมีผลผูกพันเฉพาะ คู่สัญญาคือโจทก์ร่วมกับจำเลยเท่านั้น ไม่มีผลผูกพัน โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับโอนที่ดินพิพาทจากโจทก์ร่วม เพราะไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ตกลงยอมรับข้อผูกพันดังกล่าวในการรับโอนที่ดินพิพาทแต่อย่างใดนอกจากนี้เมื่อโจทก์มีหนังสือเสนอให้จำเลยเช่าที่ดินและอาคารพิพาทหลังจากครบกำหนดตามสัญญาเช่าเดิมซึ่งเป็นคำเสนอใหม่ของโจทก์แต่จำเลยก็มิได้สนองรับข้อเสนอ ดังกล่าวของโจทก์ ข้อเสนอของโจทก์ดังกล่าวสิ้นผลไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้โจทก์ต่อสัญญาเช่าให้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6678/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ ต้องมีหนี้ประธานก่อนบังคับจำนอง โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันมีคำพิพากษาตามยอม
หนี้จำนองโดยสภาพเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ซึ่งจะต้องมีหนี้ที่จะต้องชำระแก่กันอันเป็นหนี้ประธานเสียก่อนการบังคับจำนองเอาแก่ทรัพย์จำนองจึงจะกระทำได้ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ทำสัญญาจำนองอันดับที่ 1 กับจำเลยไว้ก่อนก็ตาม แต่เมื่อการไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมซึ่งเป็นหนี้ประธานในคดีนี้เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังวันทำสัญญาจำนองดังกล่าว ดังนี้โจทก์จะคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญาจำนองหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(1)เป็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระแต่กรณีของโจทก์เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จึงไม่ใช่กรณีที่จะบังคับเอาดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี ตามมาตราดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมไปจนกว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจะได้รับชำระครบถ้วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6678/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ ดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันพิพากษาตามยอม การบังคับชำระหนี้ตามสัญญาจำนอง
หนี้จำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ซึ่งจะต้องมีหนี้ประธานเสียก่อนการบังคับจำนองจึงจะกระทำได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ทำสัญญาจำนองอันดับที่ 1 กับจำเลยตั้งแต่วันที่17 พฤษภาคม 2520 และวันที่ 10 มิถุนายน 2520 ก็ตามแต่เมื่อการไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมซึ่งเป็นหนี้ประธานเพิ่งเกิดขึ้นภายหลังวันทำสัญญาจำนองดังกล่าวโจทก์จึงคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญาจำนองหาได้ไม่ ต้องคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอม
บุริมสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 เป็นบุริมสิทธิที่จะบังคับเอาจากทรัพย์จำนองไม่เกินวงเงินที่จำนองตามสัญญาจำนอง ซึ่งรวมเป็นต้นเงินจำนวน35,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเท่านั้นจะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิเกินกว่านั้นหาได้ไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 เป็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระแต่กรณีของโจทก์เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จึงไม่ใช่กรณีที่จะบังคับเอาดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมไปจนกว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจะได้รับชำระครบถ้วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6678/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ ต้องมีหนี้ประธานก่อนบังคับจำนอง ดอกเบี้ยเริ่มนับจากคำพิพากษาตามยอม
หนี้จำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ซึ่งจะต้องมีหนี้ประธานเสียก่อนการบังคับจำนองจึงจะกระทำได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ทำสัญญาจำนองอันดับที่ 1 กับจำเลยตั้งแต่วันที่17 พฤษภาคม 2520 และวันที่ 10 มิถุนายน 2520 ก็ตามแต่เมื่อการไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมซึ่งเป็นหนี้ประธานเพิ่งเกิดขึ้นภายหลังวันทำสัญญาจำนองดังกล่าวโจทก์จึงคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญาจำนองหาได้ไม่ ต้องคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอม
บุริมสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 เป็นบุริมสิทธิที่จะบังคับเอาจากทรัพย์จำนองไม่เกินวงเงินที่จำนองตามสัญญาจำนอง ซึ่งรวมเป็นต้นเงินจำนวน35,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเท่านั้นจะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิเกินกว่านั้นหาได้ไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 เป็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระแต่กรณีของโจทก์เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จึงไม่ใช่กรณีที่จะบังคับเอาดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมไปจนกว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจะได้รับชำระครบถ้วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6678/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจำนอง: เริ่มนับจากวันพิพากษาเมื่อหนี้ประธานเกิดขึ้นหลังสัญญาจำนอง
หนี้จำนองโดยสภาพเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ซึ่งจะต้องมีหนี้ที่จะต้องชำระแก่กันอันเป็นหนี้ประธานเสียก่อน การบังคับจำนองเอาแก่ทรัพย์จำนองจึงจะกระทำได้ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ทำสัญญาจำนองอันดับที่ 1 กับจำเลยไว้ก่อนก็ตาม แต่เมื่อการไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมซึ่งเป็นหนี้ประธานในคดีนี้เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังวันทำสัญญาจำนองดังกล่าว ดังนี้โจทก์จะคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญาจำนองหาได้ไม่
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/33(1) เป็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระแต่กรณีของโจทก์เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จึงไม่ใช่กรณีที่จะบังคับเอาดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี ตามมาตราดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมไปจนกว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจะได้รับชำระครบถ้วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6658/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อใด, ดอกเบี้ยทบต้น, และการหักกลบลบหนี้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยรวมอยู่ ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี มีกำหนดเวลา 12 เดือนเมื่อครบกำหนดเวลาแล้วมีการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไป อีก 12 เดือน ครบกำหนดในวันที่ 6 สิงหาคม 2535แล้วหลังจากนั้นไม่มีการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ออกไปอีกและจำเลยก็ไม่ได้เบิกและถอนเงินออกจากบัญชีอีกเพียงแต่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์รวม4 ครั้ง เท่านั้น ดังนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงในวันที่6 สิงหาคม 2535 หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม 2535 โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงคิดดอกเบี้ยได้ตามธรรมดา โดยไม่ทบต้นเท่านั้น และดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิ คิดจากจำเลยต้องเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6658/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและผลต่อการคิดดอกเบี้ย
สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี มีกำหนดเวลา 12 เดือน เมื่อครบกำหนดเวลาแล้วมีการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไปอีก 12 เดือน ครบกำหนดในวันที่ 6 สิงหาคม 2535 แล้วหลังจากนั้นไม่มีการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไปอีก และจำเลยก็ไม่ได้เบิกและถอนเงินออกจากบัญชีอีก เพียงแต่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์รวม4 ครั้ง เท่านั้น ดังนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 6 สิงหาคม 2535 หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม 2535โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงคิดดอกเบี้ยได้ตามธรรมดาโดยไม่ทบต้นเท่านั้น และดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยต้องเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6602/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 และผลกระทบต่อสิทธิในการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองค้างชำระหนี้แก่โจทก์ นับถึงวันฟ้องคิดเป็นต้นเงิน 960,000 บาท และดอกเบี้ย 49,106.32 บาท รวมเป็นเงิน1,009,106.32 บาท โจทก์อุทธรณ์ว่า นับถึงวันฟ้องจำเลยทั้งสองค้างชำระดอกเบี้ย54,826.87 บาท เมื่อรวมกับต้นเงิน 960,000 บาท แล้ว เป็นเงินทั้งสิ้น1,014,826.87 บาท ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าอุทธรณ์ของโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าวให้ยกคำร้อง ดังนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 236 วรรคหนึ่งโจทก์จึงหามีสิทธิฎีกาโต้แย้งปัญหาดังกล่าวอีกได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6602/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง: ศาลอุทธรณ์ตัดสินถูกต้องตามกฎหมาย แม้โจทก์อ้างยอดหนี้ไม่ตรงตามคำพิพากษาชั้นต้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองค้างชำระหนี้แก่โจทก์ นับถึงวันฟ้องคิดเป็นต้นเงิน 960,000 บาท และดอกเบี้ย 49,106.32 บาท รวมเป็นเงิน 1,009,106.32 บาทโจทก์อุทธรณ์ว่า นับถึงวันฟ้องจำเลยทั้งสองค้างชำระดอกเบี้ย 54,826.87 บาท เมื่อรวมกับต้นเงิน 960,000 บาท แล้ว เป็นเงินทั้งสิ้น 1,014,826.87 บาท ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าอุทธรณ์ของโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าวให้ยกคำร้อง ดังนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงหามีสิทธิฎีกาโต้แย้งปัญหาดังกล่าวอีกได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6478/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังหย่า: สัญญาเพื่อชำระหนี้ต่อบุตรมีผลผูกพันแม้ไม่ได้จดทะเบียน
ในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า กับบันทึกการหย่าซึ่งโจทก์จำเลยได้ทำขึ้นต่างหาก มีข้อความระบุว่าโจทก์จำเลยตกลงยินยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 7 แปลงให้แก่บุตรทั้งสอง โดยระบุหมายเลขที่ดินทุกแปลงไว้อย่างชัดแจ้งการที่จำเลยทำข้อตกลงดังกล่าวโดยโจทก์เป็นคู่สัญญาจึงเป็นการทำสัญญาเพื่อชำระหนี้แก่บุตรทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคหนึ่ง แม้จะไม่ได้นำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายย่อมผูกพันจำเลยให้ปฏิบัติตาม ข้อตกลงนั้น กรณีหาใช่การให้หรือคำมั่นว่าจะให้ อสังหาริมทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525,526 ไม่ ภายหลังที่โจทก์จำเลยทำบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าแล้ว จำเลยผิดสัญญาไม่ยอมไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่บุตรทั้งสอง โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่บุตรทั้งสอง ตามข้อสัญญาแต่จำเลยเพิกเฉย จึงถือว่าโจทก์ในฐานะ คู่สัญญาและได้กระทำการแทนบุตรทั้งสองซึ่งเป็น ผู้เยาว์ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่จะถือเอาประโยชน์ จากข้อตกลงในสัญญานั้นแล้วจำเลยจะยกเหตุว่า บุตรทั้งสองยังไม่ได้แสดงเจตนามายังจำเลยเพื่อให้ ระงับสิทธินั้นหาได้ไม่ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 375
of 18