คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรักษ์ เอื้ออังกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5942/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รั้ว-ที่ดิน: โจทก์ไม่ใช่เจ้าของรวมรั้วที่สร้างบนที่ดินจำเลย แม้ใช้เป็นแนวแบ่งเขต
กำแพงรั้วพิพาทปลูกสร้างอยู่ในเขตที่ดินของจำเลยโจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของรวมในกำแพงรั้วพิพาท แม้โจทก์จะอาศัย ใช้เป็นแนวแบ่งเขตที่ดินมานานเท่าใด ก็ไม่ทำให้โจทก์ มีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในกำแพงรั้วพิพาท เพราะโจทก์มิได้ ครอบครองกำแพงรั้วพิพาท ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1335 บัญญัติถึงลักษณะของแดน กรรมสิทธิ์ที่ดินว่ากินทั้งเหนือพ้นพื้นดินและใต้พื้นดินเฉพาะในอาณาเขตที่ดินของตนเท่านั้น หาได้หมายความรวมถึงแดน กรรมสิทธิ์เหนือพื้นดินในสิ่งปลูกสร้างที่ปลูกสร้างโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ในเขตที่ดินของผู้อื่นซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกันไม่ เมื่อกำแพงรั้วพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลย และโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม โจทก์จึงไม่เสียแดน กรรมสิทธิ์รวมในการที่ไม่ได้ใช้รั้วพิพาท อีกทั้งการที่จำเลยก่อสร้างผนังอาคารทับแนวรั้วเดิมโดยไม่ได้ขออนุญาต ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือให้จำเลยระงับการก่อสร้างและมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนส่วนที่ ต่อเติมนั้น ก็เป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นคนละประเด็นกับกรณีที่จำเลย ทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทก็เนื่องจากจำเลยไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้างต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หาใช่ประเด็นที่จำเลย ละเมิดต่อโจทก์และโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่นำค่าขึ้นศาลมาวางภายในกำหนดทำให้ศาลไม่รับฎีกา และคำสั่งเพิกถอนคำสั่งไม่รับฎีกาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกับที่โจทก์ยื่นฎีกาให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ขาดมาวางศาลภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ไม่ติดใจฎีกาประกอบกับมีข้อความท้ายฎีกาของโจทก์ปรากฎชัดว่าโจทก์รอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วโดยทนายโจทก์ลงชื่อเป็นผู้ฎีกา โดยโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกาโดยระบุในใบมอบฉันทะว่า นอกจากโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นแล้ว โจทก์ยังมอบฉันทะในเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจนเสร็จการโดยโจทก์ยอมรับผิดชอบในการที่ผู้รับมอบฉันทะได้กระทำไปทุกประการ ถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในวันที่โจทก์ยื่นฎีกานั้นเอง โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว เนื่องจากทนายโจทก์อยู่กรุงเทพมหานคร และแบบพิมพ์ท้ายฎีกาที่มีข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วเป็นเพียงแบบฟอร์มที่ใช้ในศาลเท่านั้น โดยตัวโจทก์มิได้ลงชื่อรับทราบหาได้ไม่การที่โจทก์มิได้นำเงินค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ในส่วนที่ขาดมาชำระต่อศาลชั้นต้นในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจนกระทั่งล่วงเลยเวลามาเป็นเวลานานถึง 1 เดือนศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 18ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 แล้ว
เมื่อมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์โดยผิดหลงหรือเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ส่งไปรับฎีกานั้นได้
เมื่อศาลชั้นต้นตรวจฎีกาของโจทก์และมีคำสั่งไม่รับฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 232 ประกอบมาตรา 247 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไปยังศาลฎีกาตามมาตรา 252 เท่านั้น และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว คดีย่อมไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งฎีกาอีกต่อไปดังนี้ แม้โจทก์จะนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ยังขาดมาวางศาลโดยอ้างในคำร้องว่าเพิ่งทราบคำสั่งศาลที่ไม่รับฎีกา ก็เป็นการนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ขาดมาวางศาลภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว 5 วัน และหลังจากครบกำหนดที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำเงินมาวางศาลเป็นเวลานานถึง 21 วัน ก็โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับฎีกาและมีคำสั่งใหม่เป็นรับฎีกาของโจทก์จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องค่าขึ้นศาล ทำให้ศาลมีคำสั่งไม่รับฎีกา การเพิกถอนคำสั่งไม่รับฎีกาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกับที่โจทก์ยื่นฎีกาให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ขาดมาวางศาลภายใน15 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ไม่ติดใจฎีกาประกอบกับ มีข้อความท้ายฎีกาของโจทก์ปรากฏชัดว่าโจทก์รอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วโดยทนายโจทก์ลงชื่อเป็นผู้ฎีกาโดยโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกาโดยระบุในใบมอบฉันทะว่า นอกจากโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกา ต่อศาลชั้นต้นแล้ว โจทก์ยังมอบฉันทะในเรื่องอื่น ๆที่เกี่ยวข้องจนเสร็จการโดยโจทก์ยอมรับผิดชอบในการที่ผู้รับมอบฉันทะได้กระทำไปทุกประการ ถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในวันที่โจทก์ยื่นฎีกานั้นเอง โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว เนื่องจากทนายโจทก์อยู่กรุงเทพมหานคร และแบบพิมพ์ท้ายฎีกา ที่มีข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่า ทราบแล้วเป็นเพียงแบบฟอร์มที่ใช้ในศาลเท่านั้น โดยตัวโจทก์มิได้ลงชื่อรับทราบหาได้ไม่ การที่โจทก์มิได้นำเงินค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ในส่วนที่ขาดมาชำระต่อศาลชั้นต้น ในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจนกระทั่งล่วงเลยเวลา มาเป็นเวลานานถึง 1 เดือน ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่ง ไม่รับฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 แล้ว เมื่อมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์โดยผิดหลงหรือเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ส่งไปรับฎีกานั้นได้ เมื่อศาลชั้นต้นตรวจฎีกาของโจทก์และมีคำสั่งไม่รับฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 232ประกอบมาตรา 247 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไปยังศาลฎีกาตามมาตรา 252 เท่านั้น และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว คดีย่อมไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งฎีกาอีกต่อไป ดังนี้แม้โจทก์จะนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ยังขาดมาวางศาลโดยอ้างในคำร้องว่าเพิ่งทราบคำสั่งศาลที่ไม่รับฎีกา ก็เป็นการนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ขาดมาวาง ศาลภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว 5 วัน และหลังจากครบกำหนดที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ นำเงินมาวางศาลเป็นเวลานานถึง 21 วัน ก็โดยปราศจาก เหตุผลอันสมควร การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่ง ที่ไม่รับฎีกาและมีคำสั่งใหม่เป็นรับฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5628/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกในคดียาเสพติดและการจำกัดสิทธิในการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี ฐานจำหน่ายเฮโรอีน จำคุก 5 ปี ฐานขายวัตถุออกฤทธิ์จำคุก 5 ปีลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือนรวม 3 กระทงจำคุก 10 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานขายวัตถุออกฤทธิ์เป็นกรรมเดียวกับ ฐานจำหน่ายเฮโรอีน คงจำคุกจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีนเพียง 2 กรรม เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี คดีจึงต้องห้าม มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งจำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5628/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญา: โต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี ฐานจำหน่ายเฮโรอีน จำคุก 5 ปี ฐานขายวัตถุออกฤทธิ์จำคุก 5 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 3 กระทงจำคุก 10 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานขายวัตถุออกฤทธิ์เป็นกรรมเดียวกับฐานจำหน่ายเฮโรอีน คงจำคุกจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีนเพียง 2 กรรม เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5067/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกเคหสถานและการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ เมื่อมีการตกลงคืนทรัพย์สินและขาดเจตนาบุกรุก
จำเลยทั้งสองเข้าไปในบ้านพิพาทตามที่ได้นัดหมายกับ โจทก์ร่วมไว้ และได้รับความยินยอมจากโจทก์ร่วมด้วยจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก เมื่อการที่จำเลยทั้งสองเข้าไปในตัวบ้านพิพาทโดยนัดหมายกับโจทก์ร่วมไว้ไม่เป็นการบุกรุกแม้จะได้ความว่ามีการตัดกระแสไฟฟ้าและถอดมิเตอร์ประปากรณีก็ขาดองค์ประกอบของความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 ซึ่งบัญญัติว่า" ฯลฯ หรือเข้าไปกระทำการใด ๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ฯลฯ" จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก โจทก์ร่วมเช่าบ้านจำเลยทั้งสองเพื่ออยู่อาศัย ต่อมาโจทก์ร่วมตกลงคืนบ้านพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2538 เหตุที่โจทก์ร่วมยังไม่ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านพิพาททั้งหมดก็เนื่องจากจำเลยที่ 1ยังไม่ได้คืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสองที่บุกรุกเข้าไปในบ้านพิพาทในวันที่ 29 สิงหาคม 2538จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามฟ้อง โดยไม่จำต้องวินิจฉัยในข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้กำลังประทุษร้ายผลักอกผู้เสียหายหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5067/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าไปในบ้านหลังมีข้อตกลงคืนบ้าน ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยทั้งสองเข้าไปในบ้านพิพาทตามที่ได้นัดหมายกับโจทก์ร่วมไว้ และได้รับความยินยอมจากโจทก์ร่วมด้วย จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก เมื่อการที่จำเลยทั้งสองเข้าไปในตัวบ้านพิพาทโดยนัดหมายกับโจทก์ร่วมไว้ไม่เป็นการบุกรุกแม้จะได้ความว่ามีการตัดกระแสไฟฟ้าและถอดมิเตอร์ประปา กรณีก็ขาดองค์ประกอบของความผิด ตาม ป.อ.มาตรา 362 ซึ่งบัญญัติว่า "ฯลฯ หรือเข้าไปกระทำการใด ๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ฯลฯ" จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก
โจทก์ร่วมเช่าบ้านจำเลยทั้งสองเพื่ออยู่อาศัย ต่อมาโจทก์ร่วมตกลงคืนบ้านพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2538 เหตุที่โจทก์ร่วมยังไม่ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านพิพาททั้งหมดก็เนื่องจากจำเลยที่ 1ยังไม่ได้คืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสองที่บุกรุกเข้าไปในบ้านพิพาทในวันที่ 29 สิงหาคม 2538 จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามฟ้อง โดยไม่จำต้องวินิจฉัยในข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้กำลังประทุษร้ายผลักอกผู้เสียหายหรือไม่เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4208/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องได้ราคาเหมาะสม หากราคาต่ำกว่าที่ควร ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามคำสั่งศาลนั้นจะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในการประมูลครั้งนั้นต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควร หรือควรที่จะได้ราคาสูงกว่านั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์พิพาทไว้เป็นเงิน186,025 บาท แต่ทรัพย์พิพาทอยู่ติดถนนสาธารณประโยชน์และอยู่ในทำเลที่ดิน แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะกำหนดราคาประเมินทรัพย์พิพาทไว้จำนวน 123,320 บาท แต่ก็เป็นการประเมินเพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าภาษี จึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงทั้งทรัพย์พิพาททำประโยชน์แล้วโดยทำสวนยางมีต้นยางพารา ปลูกเต็มพื้นที่ และสามารถกรีดยางได้แล้ว ดังนั้นขณะขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงควรตั้งราคาขายขั้นต่ำเท่ากับราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประเมินไว้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทให้ผู้คัดค้านไปในราคาเพียง 150,000 บาททั้งที่เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก และมีผู้ซื้อเพียงรายเดียวโดยไม่ปรากฏเหตุผลพิเศษที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรีบด่วนขายไปในราคานี้ การขายทอดตลาดจึงส่อไปในทางรวบรัดและหากมีการ ประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าได้ เมื่อการอนุญาตให้ขาย ของเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาด ย่อมเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนมาตรา 513 ประกอบมาตรา 308 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ชอบที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ในกรณีที่ศาลสั่งปรับนายประกัน นายประกันย่อมตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และผู้เป็นเจ้าหนี้คือแผ่นดิน แผ่นดินย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับชำระเงินค่าขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน ยังไม่ถือว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระเงิน เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งเงินค่าปรับที่ได้จากการขายทอดตลาด และจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายให้ศาลชั้นต้น เพื่อส่งเป็นรายได้แผ่นดินเมื่อเวลา 15 นาฬิกา โดยผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในวันเดียวกันเวลา 9.30 นาฬิกา จึงเป็นการยื่นคำร้องก่อนเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ถือได้ว่าการบังคับคดียังไม่เสร็จลง และผู้ร้องเพิ่งทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2538จึงไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์แห่งการฝ่าฝืนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4208/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ราคาต่ำกว่าเกณฑ์ และระยะเวลาในการยื่นคำร้องเพิกถอน
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามคำสั่งศาลนั้นจะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาด หรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในการประมูลครั้งนั้นต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควร หรือควรที่จะได้ราคาสูงกว่านั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 513
เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์พิพาทไว้เป็นเงิน186,025 บาท แต่ทรัพย์พิพาทอยู่ติดถนนสาธารณประโยชน์และอยู่ในทำเลที่ดี แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะกำหนดราคาประเมินทรัพย์พิพาทไว้จำนวน 123,320 บาท แต่ก็เป็นการประเมินเพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าภาษี จึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงทั้งทรัพย์พิพาททำประโยชน์แล้วโดยทำสวนยางมีต้นยางพาราปลูกเต็มพื้นที่ และสามารถกรีดยางได้แล้ว ดังนั้นขณะขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงควรตั้งราคาขายขั้นต่ำเท่ากับราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประเมินไว้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทให้ผู้คัดค้านไปในราคาเพียง 150,000 บาท ทั้งที่เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก และมีผู้ซื้อเพียงรายเดียว โดยไม่ปรากฏเหตุผลพิเศษที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรีบด่วนขายไปในราคานี้ การขายทอดตลาดจึงส่อไปในทางรวบรัดและหากมีการประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าได้ เมื่อการอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาดย่อมเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนมาตรา 513 ประกอบมาตรา 308 แห่ง ป.วิ.พ. ชอบที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง
ในกรณีที่ศาลสั่งปรับนายประกัน นายประกันย่อมตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และผู้เป็นเจ้าหนี้คือแผ่นดิน แผ่นดินย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับชำระเงินค่าขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน ยังไม่ถือว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระเงิน ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งเงินค่าปรับที่ได้จากการขายทอดตลาด และจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายให้ศาลชั้นต้น เพื่อส่งเป็นรายได้แผ่นดินเมื่อเวลา 15 นาฬิกา โดยผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในวันเดียวกันเวลา 9.30 นาฬิกา จึงเป็นการยื่นคำร้องก่อนเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ถือได้ว่าการบังคับคดียังไม่เสร็จลง และผู้ร้องเพิ่งทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2538 จึงไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์แห่งการฝ่าฝืนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4207/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง – การแย่งการครอบครอง – สิทธิโต้แย้ง – ความสงบเรียบร้อย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยที่ 4 และที่ 5อ้างว่าเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มาพบโจทก์และพูดขอแบ่งที่ดินพิพาทจากโจทก์ แต่โจทก์ไม่ยินยอม ต่อมาจำเลยที่ 2 สั่งการให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 พร้อมกับเจ้าพนักงานตำรวจมาทำการรังวัดที่ดินพิพาทเป็นการแย่งสิทธิครอบครองโดยพลการ โจทก์เกรงกลัวอันตราย ขอให้ห้ามจำเลยทั้งห้าและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาท ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าได้เข้าไปแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกจำเลยทั้งห้ารบกวนการครอบครองที่จะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งห้า เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
of 18