คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรักษ์ เอื้ออังกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4207/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง – การแย่งการครอบครอง – สิทธิโต้แย้ง – ความสงบเรียบร้อย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยที่ 4 และที่ 5อ้างว่าเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มาพบโจทก์และพูดขอแบ่งที่ดินพิพาทจากโจทก์ แต่โจทก์ไม่ยินยอม ต่อมาจำเลยที่ 2 สั่งการให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 พร้อมกับเจ้าพนักงานตำรวจมาทำการรังวัดที่ดินพิพาทเป็นการแย่งสิทธิครอบครองโดยพลการ โจทก์เกรงกลัวอันตราย ขอให้ห้ามจำเลยทั้งห้าและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาท ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าได้เข้าไปแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกจำเลยทั้งห้ารบกวนการครอบครองที่จะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งห้า เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท-ระงับสิทธิฟ้อง: คดีผลิตและครอบครองยาเสพติด
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) มุ่งหมายถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความผิดอันหนึ่ง ๆ ในคราวเดียวกัน หาได้หมายถึงฐานความผิดที่ขอให้ลงโทษไม่ เฮโรอีนจำนวนที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับเฮโรอีน ที่จำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองตามคดีอาญาเรื่องก่อน เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในคราวเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ทั้งโจทก์บรรยาย ฟ้องคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตเฮโรอีน โดยแบ่งเฮโรอีนจากหลอดพลาสติกขนาดใหญ่จำนวน 3 หลอด บรรจุในหลอดกาแฟที่ตัดเป็นท่อนสั้น ๆ จำนวน 5 หลอด และที่โจทก์ บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายก็เป็นเฮโรอีนจำนวนเดียวกับที่ฟ้องว่าจำเลยผลิตดังนี้ เมื่อเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตกับเฮโรอีนที่ จำเลยทั้งสามมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 หาเป็นความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งไม่เมื่อการกระทำของ จำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนเป็นการกระทำกรรมเดียวในวาระเดียวกันและศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ไปแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิด ที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยสั่งในเรื่องของกลางย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไข เฮโรอีนของกลางเป็นทรัพย์สินที่ผู้ใดมีไว้เป็นความผิดส่วนของกลางอื่นก็เป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานผลิตเฮโรอีนจึงเป็นทรัพย์ที่พึงริบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 32,33(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท – การระงับสิทธิฟ้องคดีซ้ำ – การริบของกลาง
บทบัญญัติตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) มุ่งหมายถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความผิดอันหนึ่ง ๆ ในคราวเดียวกัน หาได้หมายถึงฐานความผิดที่ขอให้ลงโทษไม่
เฮโรอีนจำนวนที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับเฮโรอีนที่จำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองตามคดีอาญาเรื่องก่อน เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในคราวเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตเฮโรอีนโดยแบ่งเฮโรอีนจากหลอดพลาสติกขนาดใหญ่จำนวน3 หลอด บรรจุในหลอดกาแฟที่ตัดเป็นท่อนสั้น ๆ จำนวน 5 หลอด และที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็เป็นเฮโรอีนจำนวนเดียวกับที่ฟ้องว่าจำเลยผลิต ดังนี้ เมื่อเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตกับเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามป.อ.มาตรา 90 หาเป็นความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งไม่เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนเป็นการกระทำกรรมเดียวในวาระเดียวกันและศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2ไปแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยสั่งในเรื่องของกลางย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไข
เฮโรอีนของกลางเป็นทรัพย์สินที่ผู้ใดมีไว้เป็นความผิด ส่วนของกลางอื่นก็เป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานผลิตเฮโรอีนจึงเป็นทรัพย์ที่พึงริบ ตาม ป.อ.มาตรา 32, 33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3993/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การแย่งการครอบครองต้องเกิดในที่ดินของผู้อื่น การครอบครองที่ดินรกร้างไม่เป็นเหตุแย่งการครอบครอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่รกร้างมีน้ำขังตลอดปีเป็นที่ดินหัวไร่ปลายนา ไม่มีผู้ใดครอบครองทำประโยชน์ โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาติดต่อกันเป็นเวลา 8 ปีเศษ เป็นการยืนยันว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น แม้จำเลยจะให้การว่าโจทก์เข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทของจำเลยหลังจากเจ้าพนักงานที่ดินมีคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่พิพาทแก่จำเลยแล้ว ซึ่งเป็นเวลาไม่ถึงหนึ่งปีก็ตาม คดีก็ไม่อาจมีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากจำเลย โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิตามป.พ.พ.มาตรา 1375 ได้ เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3993/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การแย่งการครอบครองต้องเกิดขึ้นในที่ดินของผู้อื่น การครอบครองเดิมเป็นเจ้าของย่อมไม่มีการแย่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่รกร้างมีน้ำขัง ตลอดปีเป็นที่ดินหัวไร่ปลายนา ไม่มีผู้ใดครอบครองทำประโยชน์ โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาติดต่อกันเป็นเวลา 8 ปีเศษเป็นการยืนยันว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมาตั้งแต่ต้น ดังนั้นแม้จำเลยจะให้การว่าโจทก์เข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทของจำเลยหลังจากเจ้าพนักงานที่ดินมีคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่พิพาทแก่จำเลยแล้ว ซึ่งเป็นเวลาไม่ถึง หนึ่งปีก็ตาม คดีก็ไม่อาจมีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากจำเลย โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ได้เพราะการแบ่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกรรมการและผลกระทบต่อสัญญาค้ำประกัน: การยกเลิกสัญญาค้ำประกันโดยปริยาย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาฉบับพิพาทค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 4 ได้ขายหุ้นทั้งหมดและลาออกจากการเป็นกรรมการ ซึ่งที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติให้จำเลยที่ 4 ลาออก และให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นกรรมการแทน โดยมีการนำมติดังกล่าวไปจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้ว นับแต่นั้นจำเลยที่ 4 จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการจำเลยที่ 1ให้โจทก์ทราบแล้ว การที่ต่อมาโจทก์ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ใหม่ภายหลังจากโจทก์ทราบเรื่องที่จำเลยที่ 4 ออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 และจำนวนผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดิมลดน้อยลงโดยโจทก์ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพิ่มวงเงินที่ค้ำประกันสูงขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวในหนังสือค้ำประกันฉบับใหม่ ประกอบกับหนังสือค้ำประกันดังกล่าวมิได้ระบุว่าเป็นการค้ำประกันจำเลยที่ 1 เพิ่มเติมจากหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม เห็นได้ชัดว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 4 ต้องผูกพันตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทต่อไปอีก ดังนั้นสัญญาค้ำประกันเดิมจึงเป็นอันยกเลิกเพิกถอนไปในตัวโดยปริยาย โดยโจทก์ไม่จำต้องทำหนังสือเพิกถอนสัญญาค้ำประกันในส่วนของจำเลยที่ 4 อีก
หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่สัญญาค้ำประกันเดิมเพิกถอนแล้ว จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 4 ทำบันทึกข้อตกลงถึงโจทก์ เสนอขอชำระหนี้จำนวน 400,000 บาท เพื่อให้โจทก์ปลดเปลื้องภาระผูกพันของจำเลยที่ 4 ในสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาท เพราะเข้าใจว่ากรรมการบริหารใหม่ของจำเลยที่ 1 มิได้ปลดภาระผูกพันให้แก่จำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 4ไม่มีหน้าที่ต้องชำระ การทำบันทึกดังกล่าวจึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดผลผูกพันตามสัญญาค้ำประกันหลังเปลี่ยนแปลงกรรมการและทำสัญญาใหม่ ย่อมทำให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากความรับผิด
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาฉบับพิพาทค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 4 ได้ขายหุ้นทั้งหมดและลาออกจากการเป็นกรรมการ ซึ่งที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติให้จำเลยที่ 4 ลาออกและให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นกรรมการแทน โดยมีการนำมติดังกล่าว ไปจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้ว นับแต่นั้นจำเลยที่ 4 จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการ จำเลยที่ 1 ให้โจทก์ทราบแล้ว การที่ต่อมาโจทก์ให้จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ใหม่ภายหลังจากโจทก์ ทราบเรื่องที่จำเลยที่ 4 ออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของ จำเลยที่ 1 และจำนวนผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดิม ลดน้อยลงโดยโจทก์ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพิ่มวงเงินที่ ค้ำประกันสูงขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวในหนังสือค้ำประกันฉบับใหม่ ประกอบกับหนังสือค้ำประกันดังกล่าวมิได้ระบุว่าเป็นการค้ำประกัน จำเลยที่ 1 เพิ่มเติมจากหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม เห็นได้ชัดว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 4 ต้องผูกพัน ตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทต่อไปอีก ดังนั้น สัญญาค้ำประกันเดิมจึงเป็นอันดับยกเลิกเพิกถอนไปในตัวโดยปริยาย โดยโจทก์ไม่จำต้องทำหนังสือเพิกถอนสัญญาค้ำประกันในส่วนของจำเลยที่ 4 อีก หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่สัญญาค้ำประกันเดิมเพิกถอนแล้วจำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 4 ทำบันทึกข้อตกลงถึงโจทก์ เสนอขอชำระหนี้จำนวน 400,000 บาท เพื่อให้โจทก์ปลดเปลื้องภาระผูกพันของจำเลยที่ 4 ในสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาท เพราะเข้าใจว่ากรรมการบริหารใหม่ ของจำเลยที่ 1 มิได้ปลดภาระผูกพันให้แก่จำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่มีหน้าที่ต้องชำระ การทำบันทึกดังกล่าว จึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3685/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยในคดีอาญาไม่มีสิทธิขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ แม้เป็นเจ้าของทรัพย์สินและไม่ได้รู้เห็นผิด
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36แม้จะไม่ได้บัญญัติไว้โดยตรงห้ามจำเลยขอคืนของกลางที่ศาล สั่งริบก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าเป็นเรื่องให้สิทธิแก่บุคคลภายนอก ซึ่งไม่ใช่จำเลยในคดีนั้นเท่านั้นที่จะมีสิทธิขอคืนทรัพย์สิน ของกลางที่ศาลสั่งริบโดยอ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดมิใช่ให้สิทธิ แก่จำเลยในคดีที่จะใช้สิทธิเช่นนั้นได้ด้วย เพราะหากจำเลย เป็นเจ้าของอันแท้จริงในทรัพย์สินของกลางและมิได้ รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จำเลยก็ย่อมมีสิทธิ นำพยานเข้าสืบในชั้นพิจารณาคดีนั้น เพื่อแสดงว่าจำเลย เป็นเจ้าของทรัพย์สินของกลางแท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดและมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลที่สั่งริบทรัพย์สินของกลางได้อยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อผู้ร้องเป็นจำเลยที่ 1 ในคดีที่ศาลมีคำสั่งริบอาวุธปืนของกลางและคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนอาวุธปืนของกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็นและภาระจำยอม: การรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางผ่านเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดิน
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า หลังจากโจทก์และบุคคลอื่นซื้อที่ดินจากจำเลยแล้ว โจทก์กับบริวารและบุคคลอื่นใช้ทางภาระจำยอมและทางจำเป็นตามพื้นสีแดงเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นทางพิพาททั้งแปลง โดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะเข้าออกสู่ทางสาธารณะเรื่อยมา ต่อมาจำเลยได้ทำประตูรั้วโลหะขึ้นบนทางภาระจำยอมและทางจำเป็นกับนำโซ่มาคล้องประตูและปิดล็อกใส่กุญแจ จนทางพิพาทถูกปิดกั้นทำให้โจทก์กับบริวารไม่สามารถใช้ประโยชน์ถนนทางพิพาทได้ดังเดิมฟ้องโจทก์แสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า ที่ดินโจทก์และบุคคลอื่นถูกที่ดินแปลงอื่นที่จำเลยแบ่งแยกออกนั้นล้อมไว้โดยรอบ ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธาณะได้ คงมีทางออกทางเดียวคือทางพิพาทที่จำเลยปิดกั้น ทางพิพาทจึงเข้าลักษณะเป็นทางจำเป็นทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนประตูรั้วโลหะหรือสิ่งปลูกสร้างในทางถนน และทำให้ทางถนนนั้นกลับคืนดีในสภาพเดิมเพื่อให้โจทก์และบริวารใช้ทางถนนนั้นได้อีกต่อไป การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นไม่เป็นการเกินคำขอ
เมื่อความประสงค์ของจำเลยตั้งแต่เดิมยินยอมให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงรวมทั้งโจทก์ใช้ทางพิพาททางกว้าง 5 เมตร และจำเลยยินยอมจดทะเบียนให้ที่ดินของจำเลยแปลงคงเหลือทั้งแปลงเป็นภาระจำยอมในเรื่องทางเดินทางรถยนต์กับประปา และสาธารณูปโภคอื่น ๆ เพื่อให้เจ้าของที่ดินบางรายในบริเวณนั้นใช้เป็นทางเดินผ่านสู่ทางสาธารณะ ดังนั้น การให้ใช้กว้าง 5 เมตร จึงถือว่าเป็นการใช้พอควรแก่ความจำเป็นที่โจทก์กับบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะผ่านทางพิพาทให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุดในสภาพเป็นถนนให้โจทก์กับบริวารใช้รถยนต์แล่นผ่านทางพิพาทได้เข้าออกได้โดยสะดวก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม
จำเลยฎีกาว่า ค่าทดแทนเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งจะต้องช่วยกันทำถนนทางพิพาทออกสู่ซอยสาธารณะ แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือก็บังคับได้ในฐานะเป็นบุคคสิทธิ แต่ตามคำฟ้องแย้งของจำเลยขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าทดแทน เนื่องจากโจทก์ได้ใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลย ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น-ภาระจำยอม: ศาลยืนตามสิทธิใช้ทางเดิม กว้าง 5 เมตร แม้จำเลยอ้างความเสียหาย
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า หลังจากโจทก์และบุคคลอื่นซื้อที่ดินจากจำเลยแล้ว โจทก์กับบริวารและบุคคลอื่นใช้ทางภารจำยอมและทางจำเป็นตามพื้นสีแดงเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นทางพิพาททั้งแปลง โดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะเข้าออกสู่ทางสาธารณะเรื่อยมา ต่อมาจำเลยได้ทำประตูรั้วโลหะขึ้นบนทางภาระจำยอมและทางจำเป็น กับนำโซ่มาคล้องประตูและปิดล็อกใส่กุญแจ จนทางพิพาทถูกปิดกั้น ทำให้โจทก์กับบริวารไม่สามารถใช้ประโยชน์ถนนทางพิพาทได้ ดังเดิมฟ้องโจทก์แสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า ที่ดินโจทก์ และบุคคลอื่นถูกที่ดินแปลงอื่นที่จำเลยแบ่งแยกออกนั้นล้อมไว้ โดยรอบ ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ คงมีทางออกทางเดียวคือทางพิพาทที่จำเลยปิดกั้น ทางพิพาทจึงเข้าลักษณะเป็นทางจำเป็นทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนประตูรั้วโลหะหรือสิ่งปลูกสร้างในทางถนน และทำให้ทางถนนนั้นกลับคืนดีในสภาพเดิมเพื่อให้โจทก์และบริวารใช้ ทางถนนนั้นได้อีกต่อไป การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นไม่เป็นการเกินคำขอ เมื่อความประสงค์ของจำเลยตั้งแต่เดิมยินยอมให้เจ้าของ ที่ดินข้างเคียงรวมทั้งโจทก์ใช้ทางพิพาททางกว้าง 5 เมตร และจำเลยยินยอมจดทะเบียนให้ที่ดินของจำเลยแปลงคงเหลือ ทั้งแปลงเป็นภาระจำยอมในเรื่องทางเดินทางรถยนต์กับประปา และสาธารณูปโภคอื่น ๆ เพื่อให้เจ้าของที่ดินบางรายในบริเวณ นั้นใช้เป็นทางเดินผ่านสู่ทางสาธารณะ ดังนั้น การให้ใช้ กว้าง 5 เมตร จึงถือว่าเป็นการใช้พอสมควรแก่ความจำเป็นที่ โจทก์กับบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะผ่านทางพิพาทให้เกิดความ เสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุดในสภาพเป็นถนนให้โจทก์กับบริวาร ใช้รถยนต์แล่นผ่านทางพิพาทได้เข้าออกได้โดยสะดวก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสาม จำเลยฎีกาว่า ค่าทดแทนเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างโจทก์ กับจำเลยซึ่งจะต้องช่วยกันทำถนนทางพิพาทออกสู่ซอยสาธารณะ แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือก็บังคับได้ในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ แต่ตามคำฟ้องแย้งของจำเลยขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าทดแทน เนื่องจากโจทก์ได้ใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลย ฎีกาของจำเลย ในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 18