คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรักษ์ เอื้ออังกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3344/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าไม้ซุง: ผู้ประกอบการค้าอุตสาหกรรมป่าไม้ และหนังสือรับสภาพหนี้
เมื่อพระราชบัญญัติกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้พ.ศ. 2499 มาตรา 6(2) กำหนดให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมป่าไม้ และเพื่อให้โจทก์สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ มาตรา 7(2) กำหนดให้โจทก์มีอำนาจรวมถึงการค้า ผลิตผลและผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมป่าไม้ด้วย ดังนั้น การที่ โจทก์ทำสัญญาขายไม้ซุงให้แก่จำเลยจึงเป็นการประกอบธุรกิจ หรือดำเนินกิจการในวัตถุประสงค์ของโจทก์และการที่จำเลยที่ 1 ซื้อไม้ซุงจากโจทก์ก็เพื่อนำไปใช้ผลิตเป็นไม้แปรรูปออกจำหน่ายอันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) การที่โจทก์ ฟ้องเรียกราคาไม้ซุงที่ค้างชำระจากจำเลยจึงต้องใช้อายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(5) อายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(1) ซึ่งบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ฯลฯ เรียกเอาของที่ได้ส่งมอบ ฯลฯ" นั้นกฎหมายมุ่งหมายถึง เจ้าหนี้ซึ่งได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเรียกร้องในฐานะ ที่เป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้อง ของตน หาใช่หมายถึงจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าไม้ส่วนที่ค้างชำระไปชำระแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้โดยไม่มีตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ประทับก็ตามแต่จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในฐานะส่วนตัวกับจำเลยที่ 1 ด้วย ซึ่งตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนก็ไม่มีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการและไม่มีข้อกำหนดว่าการลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ต้องประทับตราของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจทำการแทน จำเลยที่ 1 และมีผลทำให้อายุความสะดุดลงในวันที่ทำบันทึก ตาม มาตรา 193/14(1) และให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่ เวลานั้น ตามมาตรา 193/15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3344/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการค้าและการรับสภาพหนี้: การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ผู้ประกอบการค้าและการสะดุดหยุดของอายุความ
เมื่อ พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ พ.ศ.2499มาตรา 6 (2) กำหนดให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมป่าไม้ และเพื่อให้โจทก์สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ มาตรา 7 (2) กำหนดให้โจทก์มีอำนาจรวมถึงการค้าผลิตผลและผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมป่าได้ด้วย ดังนั้น การที่โจทก์ทำสัญญาขายไม้ซุงให้แก่จำเลยจึงเป็นการประกอบธุรกิจหรือดำเนินกิจการในวัตถุประสงค์ของโจทก์และการที่จำเลยที่ 1 ซื้อไม้ซุงจากโจทก์ก็เพื่อนำไปใช้ผลิตเป็นไม้แปรรูปออกจำหน่ายอันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1)การที่โจทก์ฟ้องเรียกราคาไม้ซุงที่ค้างชำระจากจำเลยจึงต้องใช้อายุความ 5 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/33 (5)
ส่วนอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1)ซึ่งบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ฯลฯ เรียกเอาของที่ได้ส่งมอบ ฯลฯ"นั้น กฎหมายมุ่งหมายถึงเจ้าหนี้ซึ่งได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเรียกร้องในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องของตน หาใช่หมายถึงจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่
โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าไม้ส่วนที่ค้างชำระไปชำระแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้โดยไม่มีตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ประทับก็ตามแต่จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในฐานะส่วนตัวกับจำเลยที่ 1 ด้วย ซึ่งตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนก็ไม่มีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ และไม่มีข้อกำหนดว่าการลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ต้องประทับตราของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 และมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันที่ทำบันทึกตาม มาตรา 193/14 (1) และให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ตามมาตรา 193/15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกระทงจากเหตุการณ์เดียวกัน: การพิจารณาโทษจำเลยในคดีฆ่าและพยายามฆ่า
โจทก์ร่วมมิได้เป็นผู้เสียหายในส่วนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้ตายย่อมหมายความว่าให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้ตายเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80 โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย จำเลยเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายรวม 4 นัดก่อน แล้วจึงยิงผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายวิ่งหนีจำนวน 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าท้องของผู้เสียหาย แสดงว่าในการยิงปืนแต่ละนัดความประสงค์และจุดมุ่งหมายในการยิงของจำเลยแยกออกจากกันได้ว่า กระสุนนัดใดจำเลยจะยิงผู้ตายกระสุนนัดใดจะยิงผู้เสียหาย เมื่อจำเลยมีเจตนาเฉพาะเจาะจงลงมือกระทำผิดต่อผู้ตายกับผู้เสียหายโดยแยกออกจากกันและกระสุนปืนที่จำเลยยิงนั้นถูกผู้ตายจนถึงแก่ความตายและถูกผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส จึงเป็นการกระทำผิดหลายกระทงต่างกรรมต่างวาระกัน เมื่อจำเลยต้องรับผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนากับพยายามฆ่า ผู้เสียหาย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลย มีความผิดเพียงกรรมเดียวและโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทให้ถูกต้องแต่ศาลฎีกาไม่แก้โทษที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโจทก์ร่วม, ความผิดหลายกระทง, เจตนาเฉพาะเจาะจง, การปรับบทอาญา
โจทก์ร่วมมิได้เป็นผู้เสียหายในส่วนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้ตาย ย่อมหมายความว่าให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้ตายเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายตาม ป.อ.มาตรา288, 80 โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
จำเลยเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายรวม 4 นัดก่อน แล้วจึงยิงผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายวิ่งหนีจำนวน 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าท้องของผู้เสียหาย แสดงว่า ในการยิงปืนแต่ละนัดความประสงค์และจุดมุ่งหมายในการยิงของจำเลยแยกออกจากกันได้ว่า กระสุนนัดใดจำเลยจะยิงผู้ตาย กระสุนนัดใดจะยิงผู้เสียหาย เมื่อจำเลยมีเจตนาเฉพาะเจาะจงลงมือกระทำผิดต่อผู้ตายกับผู้เสียหายโดยแยกออกจากกัน และกระสุนปืนที่จำเลยยิงนั้นถูกผู้ตายจนถึงแก่ความตายและถูกผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส จึงเป็นการกระทำผิดหลายกระทงต่างกรรมต่างวาระกัน
เมื่อจำเลยต้องรับผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนากับพยายามฆ่าผู้เสียหาย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดเพียงกรรมเดียวและโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทให้ถูกต้อง แต่ศาลฎีกาไม่แก้โทษที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีเงิน การหักกลบลบหนี้ และการเลิกกันตาม พ.ร.บ.เช็ค
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเฉพาะฐานความผิดในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในทางแพ่งมาด้วย ดังนั้น การจะหักกลบลบหนี้กันได้หรือไม่เพียงใดย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในทางแพ่ง จำเลยจึงนำเอาเงินที่จำเลยผ่อนชำระแก่โจทก์มาหักกลบลบหนี้กับโจทก์ในคดีนี้มิได้
กรณีความผิดจะเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการคือ (1) ผู้กระทำความผิดใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงหรือแก่ธนาคารภายใน 30 วันนับแต่ได้รับคำบอกกล่าวว่าธนาคารไม่ใช้เงิน และ (2) หนี้ที่ผู้กระทำผิดได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อการผ่อนชำระหนี้ของจำเลยในคดีนี้ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์ตามเช็คฉบับใดคดีจึงยังไม่เลิกกัน
จำเลยออกเช็คจำนวน 6 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าปูนซิเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์ ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายจำเลยจึงต้องมีความผิดตามเช็คทั้งหกฉบับ ต้องลงโทษทุกกระทงความผิดรวม 6 กระทงการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดเพียง 5 กระทง ยังไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเฉพาะการปรับบทและการลงโทษเสียให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่ไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาทุจริต การหักกลบลบหนี้ และการสิ้นผลผูกพันของเช็ค
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเฉพาะฐานความผิดในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในทางแพ่งมาด้วยดังนั้น การจะหักกลบลบหนี้กันได้หรือไม่เพียงใดย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในทางแพ่งจำเลยจึงนำเอาเงินที่จำเลยผ่อนชำระแก่โจทก์มา หักกลบลบหนี้กับโจทก์ในคดีนี้มิได้ กรณีความผิดจะเลิกกันตาม พระราชบัญญัติว่าด้วย ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ คือ (1) ผู้กระทำความผิดใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงหรือแก่ธนาคารภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับคำบอกกล่าวว่า ธนาคารไม่ใช้เงิน และ (2) หนี้ที่ผู้กระทำผิดได้ออกเช็ค เพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษา ถึงที่สุดเมื่อการผ่อนชำระหนี้ของจำเลยในคดีนี้ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์ตามเช็คฉบับใดคดีจึงยังไม่เลิกกัน จำเลยบอกเช็คจำนวน 6 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าปูนซิเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์ ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายจำเลยจึงต้องมีความผิดตามเช็คทั้งหกฉบับ ต้องลงโทษทุกกระทงความผิดรวม 6 กระทง การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดเพียง 5 กระทง ยังไม่ถูกต้องแม้โจทก์จะไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเฉพาะการปรับบทและการลงโทษเสียให้ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 แต่ไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2921/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจนฐานวิ่งราวทรัพย์ ศาลลงโทษฐานลักทรัพย์ได้
ศาลชั้นต้นปรับลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อปรากฏว่าคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยชิงทรัพย์ของผู้เสียหายไปในเวลากลางคืน แต่ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า จำเลยฉกฉวยพาทรัพย์หนีไปต่อหน้า อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ ศาลจึงลงโทษจำเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ตามที่ได้ความในทางพิจารณาไม่ได้คงลงโทษจำเลยได้ในความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตาม มาตรา 335(1) วรรคแรก เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2921/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ศาลลงโทษได้เฉพาะความผิดฐานลักทรัพย์
ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 336 วรรคหนึ่งแต่เมื่อปรากฏว่าคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 339 โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยชิงทรัพย์ของผู้เสียหายไปในเวลากลางคืน แต่ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า จำเลยฉกฉวยพาทรัพย์หนีไปต่อหน้า อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ ศาลจึงลงโทษจำเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ตามที่ได้ความในทางพิจารณาไม่ได้ คงลงโทษจำเลยได้ในความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตามมาตรา 335 (1) วรรคแรก เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับบัตรประชาชนและการมีส่วนร่วมทางอาญา: จำเลยไม่มีส่วนร่วมโดยตรง
การที่มีผู้ไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานปกครองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนว่า บัตรประจำตัวประชาชนของ ด.สูญหายไป และผู้ที่มาร้องขอทำบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่สูญหายไป คือ ด. ความจริงบัตรประจำตัวประชาชนของ ด.ไม่ได้สูญหายไป และผู้ที่แจ้งไม่ใช่ ด. ทำให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่และทำให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งมีข้อความอันเป็นเท็จไป เมื่อปรากฏว่าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทางทะเบียนทั่วไปและบัตรประจำตัวประชาชน ได้ตรวจสอบคำร้องขอและสอบสวนผู้ร้องขอแล้วจึงได้มีคำสั่งอนุมัติให้ทำบัตรใหม่ได้ แม้ว่าในวันเกิดเหตุจำเลยไปที่ที่ว่าการอำเภอที่เกิดเหตุ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีส่วนร่วมในการที่ผู้ร้องขอยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการออกบัตรประจำตัวประชาชน ออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ใหม่อันเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานดังกล่าว หรือมีส่วนร่วมในการแจ้งให้เจ้าพนักงานดังกล่าวจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่แต่อย่างใด และแม้ว่าในวันเกิดเหตุ จำเลยได้พาเพื่อนของจำเลยมาให้ จ.ลงชื่อรับรองว่าเป็น ด.เพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชน และจ.ได้รับรองให้ก็ตาม แต่ จ.มีตำแหน่งเป็นพัฒนาการอำเภอที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นเพียงข้าราชการเท่านั้น จ.มิได้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนประจำที่ว่าการอำเภอที่เกิดเหตุ ทั้ง จ.มิได้สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จ.จึงมิใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย การที่จำเลยพาเพื่อนของจำเลยมาให้ จ.รับรองในการขอทำบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวจึงไม่ถือว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนการที่ จ.จะรับรองบุคคลที่มาขอทำบัตรประจำตัวประชาชนต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ออกบัตรประจำตัวประชาชนใหม่หรือไม่ เป็นเรื่องที่ จ.จะต้องมีวิจารณญาณและความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเพื่อออกบัตรประชาชนปลอม จำเลยไม่มีส่วนร่วมโดยตรงในการแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงาน
การที่มีผู้ไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานปกครอง ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนว่า บัตรประจำตัวประชาชนของด.สูญหายไป และผู้ที่มาร้องขอทำบัตรประชาชนฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่สูญหายไปคือ ด.ความจริงบัตรประจำตัวประชาชนของด.ไม่ได้สูญหายไป และผู้ที่แจ้งไม่ใช่ ด. ทำให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่และทำให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งมีข้อความอันเป็นเท็จไป เมื่อปรากฏว่าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทางทะเบียนทั่วไปและบัตรประจำตัวประชาชนได้ตรวจสอบคำร้องขอและสอบสวนผู้ร้องขอแล้วจึงได้มีคำสั่งอนุมัติให้ทำบัตรใหม่ได้ แม้ว่าในวันเกิดเหตุจำเลยไปที่ที่ว่าการอำเภอที่เกิดเหตุ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีส่วนร่วมในการที่ผู้ร้องขอยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการออกบัตรประจำตัวประชาชนออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ใหม่อันเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานดังกล่าว หรือมีส่วนร่วมในการแจ้งให้เจ้าพนักงานดังกล่าวจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่แต่อย่างใด และแม้ว่าในวันเกิดเหตุ จำเลยได้พาเพื่อนของจำเลยมาให้ จ.ลงชื่อรับรองว่าเป็นด.เพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชน และจ.ได้รับรองให้ก็ตามแต่จ.มีตำแหน่งเป็นพัฒนาการอำเภอที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นเพียงข้าราชการเท่านั้น จ.มิได้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนประจำที่ว่าอำเภอที่เกิดเหตุ ทั้งจ.มิได้สังกัดกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย จ.จึงมิใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายการที่จำเลยพาเพื่อนของจำเลยมาให้ จ. รับรองให้การขอทำบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวจึงไม่ถือว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานส่วนการที่ จ.จะรับรองบุคคลที่มาขอทำบัตรประจำตัวประชาชนต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ออกบัตรประจำตัวประชาชนใหม่หรือไม่ เป็นเรื่อง ที่จ.จะต้องมีวิจารณญาณและความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง
of 18