พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2823/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารและเบียดบังเงินโดยทุจริต: การลงโทษกรรมเดียว
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสาร กรอกข้อความลงในเอกสาร ดูแลรักษาเอกสารเกี่ยวกับการเงินและบัญชี ควบคุมดูแลเงินและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเงินทุกประเภทของโรงเรียน พ. จำเลยได้กรอกข้อความและลงลายมือชื่อของข้าราชการหลายคนในสัญญารับรองการยืมเงินว่า บุคคลเหล่านั้นยืมเงินค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียนอันเป็นความเท็จ และปลอมลายมือชื่อของผู้อำนวยการโรงเรียนกับพวกเป็นผู้อนุมัติให้ยืมเงิน อีกทั้งปลอมสัญญารับรองการยืมเงินของบุคคลดังกล่าวโดยเพิ่มเติมข้อความหรือแก้ไขตัวเลขให้สูงขึ้น แล้วเบียดบังเงินส่วนนั้นไปเป็นของตนโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 161 และ147 แต่การที่จำเลยปลอมและใช้เอกสารปลอมก็โดยมีเจตนาที่จะใช้เป็นหลักฐานในการเบียดบังเงินเป็นของตน การที่จำเลยเบียดบังเงินแต่ละครั้งจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 147 อันเป็นบทหนักที่สุดตามมาตรา 90
จำเลยกระทำความผิดรวม 36 กระทง เท่านั้น แต่การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยในความผิดตามมาตรา 147 และมาตรา 161เป็นความผิดหลายกรรมและพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 147 รวม 36 กระทงกับมาตรา 161 รวม 36 กระทงนั้นไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
จำเลยกระทำความผิดรวม 36 กระทง เท่านั้น แต่การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยในความผิดตามมาตรา 147 และมาตรา 161เป็นความผิดหลายกรรมและพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 147 รวม 36 กระทงกับมาตรา 161 รวม 36 กระทงนั้นไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2823/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารและเบียดบังเงินของเจ้าพนักงาน การลงโทษความผิดหลายกรรม
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสารกรอกข้อความลงในเอกสาร ดูแลรักษาเอกสารเกี่ยวกับการเงินและบัญชี ควบคุมดูแลเงินและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเงินทุกประเภทของโรงเรียน พ. จำเลยได้กรอกข้อความและลงลายมือชื่อของข้าราชการหลายคนในสัญญารับรองการยืมเงินว่า บุคคลเหล่านั้นยืมเงินค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียนอันเป็นความเท็จ และปลอมลายมือชื่อของผู้อำนวยการ โรงเรียนกับพวกเป็นผู้อนุมัติให้ยืมเงิน อีกทั้งปลอมสัญญารับรองการยืมเงินของบุคคลดังกล่าวโดยเพิ่มเติมข้อความหรือแก้ไขตัวเลขให้สูงขึ้น แล้วเบียดบังเงินส่วนนั้นไปเป็นของตนโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 และ 147 แต่การที่จำเลยปลอมและใช้เอกสารปลอมก็โดยมีเจตนาที่จะใช้เป็นหลักฐานในการเบียดบังเงินเป็นของตนการที่จำเลยเบียดบังเงินแต่ละครั้งจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 147อันเป็นบทหนักที่สุดตามมาตรา 90 จำเลยกระทำความผิดรวม 36 กระทง เท่านั้นแต่การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการกระทำ ของจำเลยในความผิดตามมาตรา 147 และมาตรา 161 เป็นความผิดหลายกรรมและพิพากษาลงโทษจำเลย ตามมาตรา 147 รวม 36 กระทงกับมาตรา 161 รวม 36 กระทงนั้นไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการอุทธรณ์คำพิพากษาอาญา: การอนุญาตอุทธรณ์ข้ามลำดับศาลไม่ชอบ
เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 4 ลักษณะ 1อุทธรณ์ มาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายโดยให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะแล้วจึงนำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิมาอนุโลมบังคับใช้กับกรณีตามอุทธรณ์ของจำเลยที่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับการริบรถยนต์ของกลางโดยตรงมายังศาลฎีกาไม่ได้เป็นการยื่นอุทธรณ์ข้ามลำดับของศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการอุทธรณ์คำพิพากษาคดีอาญา: การยื่นอุทธรณ์ข้ามลำดับ
เมื่อ ป.วิ.อ.ภาค 4 ลักษณะ 1 อุทธรณ์ มาตรา 193 วรรคหนึ่งได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายโดยให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงจะนำ ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิมาอนุโลมบังคับใช้กับกรณีตามอุทธรณ์ของจำเลยที่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับการริบรถยนต์ของกลางโดยตรงมายังศาลฎีกาไม่ได้ เป็นการยื่นอุทธรณ์ข้ามลำดับของศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด: สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันเจ้าของที่ดิน แม้ไม่มีการระบุตัวแทนหรือตัวการในสัญญา
เมื่อฟังได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทได้เชิด ให้ท. เป็นตัวแทนทำสัญญาประนีประนอมยอมความขายที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนั้น แม้สัญญาจะมิได้ระบุว่าท. ได้รับมอบหมายจากจำเลยหรือระบุว่าจำเลยเป็นตัวการในการขายที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ก็ตามก็ไม่เป็นเหตุทำให้จำเลยซึ่งเป็นตัวการพ้นความรับผิด ตามสัญญาที่ทำขึ้น และเนื่องจากกรณีนี้เป็นเรื่องตัวแทนเชิดมิใช่การแต่งตั้งตัวแทนตามปกติ การตั้งตัวแทนดังกล่าวจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือตามนัยที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาวางหลักประกันชั่วคราวหลังคดีถึงที่สุด ศาลพิจารณาพฤติการณ์พิเศษตามมาตรา 23
คำสั่งศาลชั้นต้นให้โจทก์วางเงินประกันค่าเสียหายเพิ่มภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งซึ่งต่อมาศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น เป็นกรณีที่ศาลกำหนดระยะเวลาโดยอาศัยอำนาจศาลที่มีอยู่ทั่วไปในการดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะหรือห้ามไว้ไปในทางที่เห็นว่ายุติธรรมและสมควร แต่เมื่ออ่านคำพิพากษาฎีกาแล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งอีกครั้งหนึ่งให้โจทก์วางประกันเพิ่มภายในกำหนด 45 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 และศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวได้แต่การขยายระยะเวลาเช่นว่านี้ให้พึงกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย โจทก์อ้างเหตุผลตามคำร้องของโจทก์ในการขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23แต่เพียงว่า จำนวนเงินที่ต้องวางศาลมีจำนวนสูงถึง70,000,000 บาท โจทก์พยายามหาเงินเพื่อนำมาวางศาลให้ทันในกำหนดแต่หาไม่ทัน ทั้งโจทก์ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ นอกจาก รายได้พอใช้จ่ายเป็นเดือน ๆ เท่านั้นเหตุผลในคำร้องของโจทก์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะ เวลาการวางเงินประกันค่าเสียหายให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาวางเงินประกันค่าเสียหาย: พฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะพิจารณา
คำสั่งศาลชั้นต้นให้โจทก์วางเงินประกันค่าเสียหายเพิ่มภายใน45 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ซึ่งต่อมาศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น เป็นกรณีที่ศาลกำหนดระยะเวลาโดยอาศัยอำนาจศาลที่มีอยู่ทั่วไปในการดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะหรือห้ามไว้ไปในทางที่เห็นว่ายุติธรรมและสมควร แต่เมื่ออ่านคำพิพากษาฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอีกครั้งหนึ่งให้โจทก์วางประกันเพิ่มภายในกำหนด 45 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของศาลชั้นต้น ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องอขยายระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 และศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวได้แต่การขยายระยะเวลาเช่นว่านี้ให้พึงกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย
โจทก์อ้างเหตุผลตามคำร้องของโจทก์ในการขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 แต่เพียงว่า จำนวนเงินที่ต้องวางศาลมีจำนวนสูงถึง70,000,000 บาท โจทก์พยายามหาเงินเพื่อนำมาวางศาลให้ทันในกำหนดแต่หาไม่ทัน ทั้งโจทก์ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ นอกจากรายได้พอใช้จ่ายเป็นเดือน ๆ เท่านั้นเหตุผลในคำร้องของโจทก์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาการวางเงินประกันค่าเสียหายให้โจทก์ได้
โจทก์อ้างเหตุผลตามคำร้องของโจทก์ในการขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 แต่เพียงว่า จำนวนเงินที่ต้องวางศาลมีจำนวนสูงถึง70,000,000 บาท โจทก์พยายามหาเงินเพื่อนำมาวางศาลให้ทันในกำหนดแต่หาไม่ทัน ทั้งโจทก์ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ นอกจากรายได้พอใช้จ่ายเป็นเดือน ๆ เท่านั้นเหตุผลในคำร้องของโจทก์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาการวางเงินประกันค่าเสียหายให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2722/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จ: ศาลมีดุลพินิจไม่ไต่สวนมูลฟ้องได้หากข้อเท็จจริงฟังได้ชัดเจนจากคำบอกเล่าที่ไม่ได้รับการยืนยัน
ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโดยไม่นัดไต่สวนมูลฟ้อง หรือนัดไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้อง หรือไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องก็ได้ทั้งสิ้น เพราะเป็นดุลพินิจในการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีเสร็จสิ้นไปโดยเร็วและชอบด้วยกฎหมายเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้โดยชัดแจ้งว่า จำเลยทราบสิ่งที่เบิกความในคดีเดิมจากคำบอกเล่าของ จ. ข้อความที่ จ.เล่าให้จำเลยฟังนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่ จำเลยไม่ได้ยืนยันดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานเบิกความเท็จคดีโจทก์ไม่มีมูลความผิดดังฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยมิได้ไต่สวนมูลฟ้องก่อนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตาโต่งดักปลา-ความประมาทของผู้ตาย-จำเลยไม่ต้องรับผิด
จำเลยวางตาโต่งไว้ในคลองที่เกิดเหตุมาเป็นเวลานานประมาณ10 ปีแล้ว การวางตาโต่งดังกล่าวต้องผูกกับฐานไม้ขนาดใหญ่ที่ปักอยู่ในน้ำซึ่งสูงพ้นผิวน้ำประมาณ 10 เมตร ซึ่งชาวบ้านที่ไปใช้ท่าน้ำสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนตาโต่งอยู่ห่างจากท่าน้ำที่ชาวบ้านและเด็กลงอาบน้ำและตักน้ำไปใช้ประมาณ 30 เมตรชาวบ้านไปใช้ท่าน้ำดังกล่าวตลอดมา แต่ไม่เคยมีผู้ใดได้รับอันตรายจากตาโต่งดังกล่าวในการใช้น้ำและอาบน้ำตามปกติวิสัยมาก่อน เพราะในบริเวณท่าน้ำนั้นน้ำไหลไม่แรงสามารถลงอาบน้ำได้โดยปลอดภัย หากผู้ตายทั้งสองเล่นน้ำอยู่ในบริเวณท่าน้ำก็จะไม่ตกลงไปในตาโต่งถึงแก่ความตายเนื่องจากอยู่ห่างพอสมควร ผู้ตายทั้งสองก็ทราบดีถึงการติดตั้งตาโต่งอันเกิดเหตุ ประกอบกับการตกตาโต่งของผู้ตายมิใช่ลงอาบน้ำหรือเล่นน้ำที่ท่าน้ำแล้วตกลงไปในตาโต่ง แต่เหตุเกิดเนื่องจากผู้ตายนั่งห่วงยางเล่นน้ำแล้วห่วงยางไหลไปกระทบกับเสาตาโต่งเป็นเหตุให้ผู้ตายตกลงไปในตาโต่งโดยผู้ตายปราศจากความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ ซึ่งเป็นความประมาทของผู้ตายเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตาโต่งที่จำเลยวางเพื่อดักปลามิใช่ทรัพย์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้โดยสภาพ อีกทั้งการที่ผู้ตายตกลงไปในตาโต่งจนถึงแก่ความตายก็มิใช่ผลโดยตรงอันเกิดจากการกระทำของจำเลย แม้จำเลยมิได้ทำสัญญาณเครื่องหมายแสดงว่ามีการลงอวนตาโต่งเครื่องมือทำประมงหรือทำสิ่งกีดกั้นป้องกันไว้ก็ตาม การกระทำของจำเลยก็ไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทจากการวางตาโต่ง: ศาลยกฟ้องอาญา เหตุผู้ตายประมาทเอง
จำเลยวางตาโต่งไว้ในคลองที่เกิดเหตุมาเป็นเวลานานประมาณ 10 ปีแล้ว การวางตาโต่งดังกล่าวต้องผูกกับฐานไม้ขนาดใหญ่ที่ปักอยู่ในน้ำซึ่งสูงพ้นผิวน้ำประมาณ 10 เมตรซึ่งชาวบ้านที่ไปใช้ท่าน้ำสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนตาโต่งอยู่ห่างจากท่าน้ำที่ชาวบ้านและเด็กลงอาบน้ำและตักน้ำไปใช้ประมาณ 30 เมตร ชาวบ้านไปใช้ท่าน้ำดังกล่าวตลอดมาแต่ไม่เคยมีผู้ใดได้รับอันตรายจากตาโต่งดังกล่าวในการใช้น้ำและอาบน้ำตามปกติวิสัยมาก่อน เพราะในบริเวณท่าน้ำนั้นน้ำไหลไม่แรงสามารถลงอาบน้ำได้โดยปลอดภัย หากผู้ตายทั้งสองเล่นน้ำอยู่ในบริเวณท่าน้ำก็จะไม่ตกลงไปในตาโต่งถึงแก่ความตายเนื่องจากอยู่ห่างพอสมควร ผู้ตายทั้งสองก็ ทราบดีถึงการติดตั้งตาโต่งอันเกิดเหตุประกอบกับการตกตาโต่งของผู้ตายมิใช่ลงอาบน้ำหรือเล่นน้ำที่ท่าน้ำแล้วตกลงไปในตาโต่ง แต่เหตุเกิดเนื่องจากผู้ตายนั่งห่วงยางเล่นน้ำแล้วห่วงยางไหลไปกระทบกับเสาตาโต่งเป็นเหตุให้ผู้ตายตกลงไปในตาโต่งโดยผู้ตายปราศจากความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ ซึ่งเป็นความประมาทของผู้ตายเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตาโต่งที่จำเลยวางเพื่อดักปลามิใช่ทรัพย์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้โดยสภาพ อีกทั้งการที่ผู้ตายตกลงไปในตาโต่งจนถึงแก่ความตายก็มิใช่ผลโดยตรงอันเกิดจากการกระทำของจำเลย แม้จำเลยมิได้ทำสัญญาณเครื่องหมายแสดงว่ามีการลงอวน ตาโต่งเครื่องมือทำประมงหรือทำสิ่งกีดกั้นป้องกันไว้ก็ตาม การกระทำของจำเลยก็ไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย