คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรักษ์ เอื้ออังกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาปลูกสร้างบนที่ธรณีสงฆ์ที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยบอกเลิกสัญญาได้ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้เท่านั้น
วัดจำเลยโดยพระอธิการ ช.เจ้าอาวาส ได้ทำสัญญาให้โจทก์เป็นผู้ลงทุนปลูกสร้างอาคารในที่ธรณีสงฆ์ มีสาระสำคัญว่า เมื่อโจทก์ปลูกสร้างอาคารต่างๆตามสัญญาเสร็จแล้วให้กรรมสิทธิ์ในอาคารต่างๆ ที่โจทก์ปลูกสร้างขึ้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทันที และให้โจทก์มีสิทธิเช่าอาคารต่าง ๆ จากจำเลยเป็นระยะเวลา30 ปี ต่อมาจำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ ดังนี้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ.2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ข้อ 2 ระบุว่าการกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อกรมการศาสนาเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากมหาเณรสมาคม และข้อ 4 ระบุว่า การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ที่กัลปนาหรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดระยะเวลาการเช่าเกิน 3 ปี จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่ใช่เป็นสัญญาเช่าโดยตรง หากแต่เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขในอนาคต เพราะขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ และอาคารต่าง ๆ เหล่านั้นก็ยังไม่มี แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็มีผลให้เห็นได้ในอนาคตว่าหากโจทก์ปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ แล้วเสร็จตามสัญญาก็ย่อมจะมีผลให้จำเลยต้องบังคับตามสัญญา คือให้โจทก์มีสิทธิเช่าอาคารต่าง ๆ ได้เป็นเวลา 30 ปี ซึ่งจำเป็นจะต้องขอความเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน ซึ่งโจทก์และจำเลยต่างก็ทราบดี เพราะมีข้อสัญญาระบุว่าตกลงจะชำระเงินให้จำเลยเป็นการตอบแทนจำนวน 1,200,000 บาท ในวันที่กรมการศาสนาให้ความเห็นชอบสัญญานี้ เมื่อปรากฏว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา ตามกฎกระทรวงดังกล่าว สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ยังไม่สามารถจะนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญานี้ได้ แม้จำเลยได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ และไม่ยอมให้โจทก์เข้าปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ ตามสัญญา โดยไม่รอฟังผลการเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน ก็เป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญา โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้เท่านั้น โจทก์หามีสิทธิฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินธรณีสงฆ์ไม่สมบูรณ์หากไม่ได้รับการอนุมัติจากกรมการศาสนา จำเลยผิดสัญญาเมื่อบอกเลิกก่อนได้รับอนุมัติ
ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ข้อ 2 ระบุว่า การกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อกรมการศาสนาเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม และข้อ 4 ระบุว่า การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ที่กัลปนาหรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดระยะเวลาการเช่าเกิน 3 ปี จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมศาสนา ดังนี้ เมื่อพิจารณาสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยแล้วจึงไม่ใช่ เป็นสัญญาเช่าโดยตรง หากแต่เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขในอนาคต เพราะขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ แต่ การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็มีผลให้เห็นได้ในอนาคตว่า หากโจทก์ปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ แล้วเสร็จตามสัญญาก็ย่อมจะ มีผลให้จำเลยต้องบังคับตามสัญญา คือให้โจทก์มีสิทธิเช่า อาคารต่าง ๆ ได้เป็นเวลา 30 ปี อันจำเป็นจะต้องขอความเห็นชอบ จากกรมการศาสนาก่อน ซึ่งโจทก์และจำเลยต่างทราบดีดังจะเห็น ได้จากสัญญาในข้อ 5 ที่ว่าเพื่อเป็นการตอบแทนที่ได้ลงทุน สร้างอาคารในที่ดิน ผู้ลงทุนตกลงชำระเงินบำรุงวัดสุวรรณคีรีวงก์ จำนวน 1,200,000 บาท โดยผู้ลงทุนจะชำระในวันที่กรมการศาสนา ให้ความเห็นชอบสัญญานี้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าสัญญาระหว่าง โจทก์จำเลยยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมศาสนา สัญญาระหว่าง โจทก์และจำเลยจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ยังไม่สามารถ นำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญานี้ได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหลังจากทำสัญญาแล้ว จำเลยได้บอกเลิก สัญญาแก่โจทก์ ไม่ยอมให้โจทก์เข้าปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ โดย ไม่รอฟังผลการเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน จำเลยจึงเป็นฝ่าย ผิดสัญญา โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้เท่านั้น หามีสิทธิฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการสร้างอ่างเก็บน้ำ - ความรับผิดของผู้สร้างและผู้ดูแล - อายุความละเมิดต่อเนื่อง
สำนักนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กรมชลประทานจำเลยที่ 2รับผิดชอบในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำพิพาท โดยงบประมาณการก่อสร้างเป็นของจำเลยที่ 2 เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำดังกล่าว การสร้างอ่างเก็บน้ำพิพาทแม้จะเกิดจากการริเริ่มของสภาตำบล ช. และความประสงค์ของราษฎรในพื้นที่ที่จะได้รับประโยชน์จากการกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้งแต่ก็เกิดผลกระทบต่อราษฎรบางส่วน เพราะทำให้เกิดน้ำท่วมที่ดินของราษฎรด้วย ทางราชการไม่มีเงินสำหรับชดเชยความเสียหายที่ไม่สามารถประกอบอาชีพทำนาและทำไร่ได้ตามปกติ จึงให้จำเลยที่ 1 ตกลงกับราษฎรให้สละที่ดินเสียก่อนจึง ดำเนินการก่อสร้าง จำเลยที่ 2 ได้แจ้งถึงผลกระทบที่จะเกิด หลังก่อสร้างเสร็จให้จำเลยที่ 1 ทราบและให้จำเลยที่ 1 แก้ไขปัญหาให้แก่ราษฎร ผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากการ สร้างอ่างเก็บน้ำ หากแก้ไขไม่ได้ให้จำเลยที่ 1 เสนอให้ระงับ โครงการ แต่จำเลยที่ 1 ยืนยันให้จำเลยที่ 2 ก่อสร้างต่อไป อ้างว่าได้แก้ไขปัญหาเสร็จสิ้นแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำต่อไปจึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนผิด ในงานที่ทำ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ที่ดินของโจทก์ถูกน้ำท่วมตลอดมาตั้งแต่ปี 2528 จนถึงวันฟ้อง เป็นการละเมิดต่อเนื่องกันตลอดมาจนถึงวันฟ้องโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2533 คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1789/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับฟังพยานสัญญาซื้อขายสำเนาได้ หากต้นฉบับสูญหาย และมีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน
แม้สัญญาซื้อขายที่โจทก์อ้างเป็นพยานต่อศาลจะเป็นเพียง สำเนาเอกสารแต่เมื่อเป็นกรณีต้นฉบับเอกสารสูญหาย ศาลก็ สามารถรับฟังสำเนาสัญญาซื้อขายดังกล่าวประกอบพยานหลักฐาน อื่นของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดขับรถประมาททำให้ผู้อื่นบาดเจ็บสาหัส และหลบหนีไม่ช่วยเหลือ เป็นความผิดหลายกระทง
จำเลยขับรถยนต์โดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและได้รับอันตรายแก่กายสาหัส กับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายได้รับความเสียหาย เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522มาตรา 43 (4) (8) ประกอบด้วย มาตรา 157 และเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย และได้รับอันตรายแก่กายสาหัส ตาม ป.อ.มาตรา 390, 300การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 300 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90และเมื่อเกิดเหตุแล้ว จำเลยได้หลบหนีและไม่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เสียหาย ไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากการที่จำเลยขับรถยนต์ชนรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายแล้ว ซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนาของจำเลยแยกต่างหากจากการกระทำความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาทอันเป็นเรื่องต่างกรรมกัน จำเลยจึงต้องมีความผิดตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78 ประกอบด้วย มาตรา 160วรรคหนึ่ง อีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดขับรถประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย และหลบหนีไม่ช่วยเหลือผู้เสียหาย เป็นความผิดต่างกรรมกัน
จำเลยขับรถยนต์โดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและได้รับอันตรายแก่กายสาหัส กับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายได้รับความเสียหาย เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4)(8)ประกอบด้วย มาตรา 157 และเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย และได้รับอันตรายแก่กายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390,300 การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 และเมื่อเกิดเหตุแล้ว จำเลยได้หลบหนีและไม่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เสียหาย ไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลัง จากการที่จำเลยขับรถยนต์ชนรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายแล้ว ซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนาของจำเลยแยกต่างหากจากการกระทำความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาทอันเป็นเรื่องต่างกรรมกันจำเลยจึงต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 78 ประกอบด้วย มาตรา 160 วรรคหนึ่งอีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีที่ดิน: ข้อเท็จจริงยุติแล้วห้ามเปลี่ยนแปลง, การยินยอมรับพื้นที่น้อยกว่าที่ตกลงไม่ทำให้เสียหาย
เดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเนื้อที่2 ไร่ 25 ตารางวา จำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทจำนวนเนื้อที่ตามฟ้อง จำเลยซื้อมาจาก ส. และจำเลยได้ทำแผนที่พิพาทแสดงแนวเขตไว้ท้ายคำให้การด้วย โดยไม่ปรากฏข้ออ้างว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 906 ซึ่งจำเลยซื้อจาก ม. คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดังกล่าว ดังนี้จำเลยจะกลับมาเถียงในชั้นบังคับคดีที่ดินพิพาทบางส่วนล้ำเข้าไปในที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 906 อีกหาได้ไม่ เพราะเป็นการเถียงข้อเท็จจริงซึ่งยุติแล้ว คู่ความแถลงรับกันว่า ในการบังคับคดีให้ยึด น.ส.3เลขที่ 117 เป็นหลักโดยวัดจากขอบของที่ดินด้านทิศเหนือขึ้นไปให้ได้เนื้อที่ 2 ไร่ 25 ตารางวา ดังนี้ เมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดที่ดินพิพาทตามข้อตกลง และโจทก์ยินยอมรับเอาที่ดินเพียง 1 ไร่ 1 งาน 20 ตารางวาซึ่งน้อยกว่าที่ตกลงกันและไม่ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เช่นนี้ การบังคับคดีจึงชอบด้วยกฎหมายและตรงตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปรังวัดว่าที่ดินพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 906 ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีที่ดิน: ข้อตกลงระหว่างคู่ความย่อมผูกพัน แม้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ หากไม่ทำให้เกิดความเสียหาย
เดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเนื้อที่ 2 ไร่25 ตารางวา จำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทจำนวนเนื้อที่ตามฟ้อง จำเลยซื้อมาจาก ส.และจำเลยได้ทำแผนที่พิพาทแสดงแนวเขตไว้ท้ายคำให้การด้วย โดยไม่ปรากฏข้ออ้างว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 906 ซึ่งจำเลยซื้อจาก ม.คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดังกล่าว ดังนี้จำเลยจะกลับมาเถียงในชั้นบังคับคดีที่ดินพิพาทบางส่วนล้ำเข้าไปในที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 906 อีกหาได้ไม่ เพราะเป็นการเถียงข้อเท็จจริงซึ่งยุติแล้ว
คู่ความแถลงรับกันว่า ในการบังคับคดีให้ยึด น.ส.3 เลขที่ 117เป็นหลักโดยวัดจากขอบของที่ดินด้านทิศเหนือขึ้นไปให้ได้เนื้อที่ 2 ไร่ 25 ตารางวาดังนี้ เมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดที่ดินพิพาทตามข้อตกลง และโจทก์ยินยอมรับเอาที่ดินเพียขง 1 ไร่ 1 งาน 20 ตารางวา ซึ่งน้อยกว่าที่ตกลงกันและไม่ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เช่นนี้ การบังคับคดีจึงชอบด้วยกฎหมายและตรงตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปรังวัดว่าที่ดินพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 906 ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันเวลาความผิดต่างจากฟ้องไม่เป็นสาระสำคัญ ศาลลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาได้
โจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2536ถึงวันที่ 8 มีนาคม 2536 แต่พยานโจทก์เบิกความว่า เกิดเมื่อระหว่างปี 2535 ถือได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องข้อเท็จจริงดังกล่าวจะเป็นผลให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องนั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดี ดังนั้นการที่พยานโจทก์เบิกความเกี่ยวกับวันเวลากระทำความผิดแตกต่างจากที่โจทก์ฟ้องก็ตาม ซึ่งเป็นเพียงรายละเอียด และเมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างวันเวลากระทำผิดในฟ้อง ไม่ถึงสาระสำคัญ ศาลลงโทษตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้
โจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2536 ถึงวันที่ 8มีนาคม 2536 แต่พยานโจทก์เบิกความว่า เกิดเมื่อระหว่างปี 2535 ถือได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องข้อเท็จจริงดังกล่าวจะเป็นผลให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องนั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดี ดังนั้นการที่พยานโจทก์เบิกความเกี่ยวกับวันเวลากระทำความผิดแตกต่างจากที่โจทก์ฟ้องก็ตาม ซึ่งเป็นเพียงรายละเอียด และเมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม
of 18