คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรักษ์ เอื้ออังกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนองเหนือทรัพย์สินก่อนการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองได้
ผู้ร้องอ้างว่า เมื่อประมาณปี 2514 ผู้ร้องได้ซื้อที่ดินเนื้อที่ 84 ตารางเมตรพร้อมตึกแถว 2 คูหา เลขที่ 2741ซึ่งปลูกบนที่ดินดังกล่าวอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่4783 ที่จำเลยได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์ ผู้ร้องชำระราคาแล้ว ผู้ร้องและครอบครัวได้เข้าไปอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทตั้งแต่ปี 2515 แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และต่อมาผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์แต่โจทก์รับจำนองที่ดินโฉนดเลขที่4783 ทั้งแปลงจากจำเลยเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2516จึงเห็นได้ว่าโจทก์ย่อมได้สิทธิจำนองอันครอบไปถึงที่ดินโฉนดเลขที่ 4783 ทั้งแปลงโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วตั้งแต่ก่อนที่ผู้ร้องจะสามารถอ้างได้ว่ามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาท สิทธิจำนองนี้เป็นสิทธิครองเหนือทรัพย์จำนองทั้งหมดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 716ทรัพย์ส่วนที่ผู้ร้องได้ไปโดยการครอบครองปรปักษ์นับเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์ที่จำนอง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองที่ดินทั้งแปลงได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ผู้รับจำนองได้รับจำนองได้รับจำนองที่ดินและตึกแถวพิพาทไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนและได้ทะเบียนจำนองโดยสุจริต ผู้ร้องซึ่งได้กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองที่ยังไม่ได้จดทะเบียนจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับจำนองไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนองเหนือทรัพย์ที่ถูกครอบครองปรปักษ์: สิทธิจำนองยังคงมีผลเหนือทรัพย์ส่วนที่ได้มาจากการครอบครองปรปักษ์
ผู้ร้องอ้างว่า เมื่อประมาณปี 2514 ผู้ร้องได้ซื้อที่ดินเนื้อที่84 ตารางเมตรพร้อมตึกแถว 2 คูหา เลขที่ 2741 ซึ่งปลูกบนที่ดินดังกล่าวอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 4783 ที่จำเลยได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์ผู้ร้องชำระราคาแล้ว ผู้ร้องและครอบครัวได้เข้าไปอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทตั้งแต่ปี 2515 แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และต่อมาผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์แต่โจทก์รับจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 4783 ทั้งแปลงจากจำเลยเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม2516 จึงเห็นได้ว่าโจทก์ย่อมได้สิทธิจำนองอันครอบไปถึงที่ดินโฉนดเลขที่ 4783ทั้งแปลงโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วตั้งแต่ก่อนที่ผู้ร้องจะสามารถอ้างได้ว่ามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาท สิทธิจำนองนี้เป็นสิทธิครองเหนือทรัพย์จำนองทั้งหมดด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 716 ทรัพย์ส่วนที่ผู้ร้องได้ไปโดยการครอบครองปรปักษ์นับเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์ที่จำนอง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองที่ดินทั้งแปลงได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ผู้รับจำนองได้รับจำนองที่ดินและตึกแถวพิพาทไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนและได้ทะเบียนจำนองโดยสุจริต ผู้ร้องซึ่งได้กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองที่ยังไม่ได้จดทะเบียนจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับจำนองไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลาง (กัญชา) ที่ศาลลืมวินิจฉัย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้ริบกัญชาของกลาง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับกัญชาของกลางดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วย ป.อ.มาตรา 32 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 (9) เมื่อกัญชาของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ดังกล่าว จึงต้องริบกัญชาของกลางตาม ป.อ.มาตรา 32ปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและสั่งให้ริบได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลาง (ยาเสพติด) ที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์มิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้ริบกัญชาของกลาง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับกัญชาของกลางดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 32 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 186(9) เมื่อกัญชาของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงต้องริบกัญชาของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 ปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและสั่งให้ริบได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความและการย้ายทางภาระจำยอม การสิทธิภาระจำยอมยังคงอยู่แม้มีการเปลี่ยนแปลงสัญญา
เดิม ค.สามีโจทก์ที่ 1 และโจทก์ทั้งสองได้ใช้ทางเดินบนที่ดินของ พ.ทางด้านทิศตะวันออกออกสู่ทางสาธารณะโดยสงบและเปิดเผยติดต่อกันเกินกว่า10 ปี ที่ดินของ พ.ดังกล่าวจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของ ค.ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบกับมาตรา 1382 ต่อมา พ.ขอให้ ค.ย้ายทางภาระจำยอมเดิมมายังทางพิพาทเพื่อประโยชน์ของ พ. ซึ่งประสงค์จัดสรรที่ดินขาย ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแทนทางเดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1392 เมื่อโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินสามยทรัพย์มาจาก ค. และโจทก์ที่ 2 ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสามยทรัพย์มาจากโจทก์ที่ 1 โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินจาก พ.ซึ่งมีทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์ให้เปิดทางพิพาทและจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองได้ เพราะการจดทะเบียนภาระจำยอมนั้นถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมประการหนึ่ง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1391วรรคแรก
โจทก์ทั้งสองใช้ทางเดินในที่ดินของ พ.โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมมิใช่ถือวิสาสะ จนได้ภาระจำยอมโดยอายุความแล้ว แม้โจทก์ที่ 1 จะทราบหรือไม่ทราบระหว่างโจทก์ที่ 1 หรือ ค.เจ้าของที่ดินเดิมที่โจทก์ที่ 1 รับโอนที่ดินมา ผู้ใดเป็นผู้ได้สิทธิภาระจำยอมตามกฎหมาย ก็ไม่ใช่สาระสำคัญ
เหตุที่ พ.ขอให้ ค.ย้ายทางภาระจำยอมนั้นเนื่องจาก พ.จะนำที่ดินแปลงที่เป็นภารยทรัพย์มาจัดสรรขาย ดังนั้นการย้ายทางภาระจำยอมไปใช้ทางพิพาทจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ พ. การย้ายทางภาระจำยอมดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ และการที่ ค.เจ้าของที่ดินแปลงที่เป็นสามยทรัพย์ตกลงจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ พ.ก็เป็นค่าตอบแทนในส่วนที่ค.จะได้ใช้ทางพิพาทกว้างขึ้นจากเดิมนั้น คู่กรณีย่อมสามารถตกลงกันด้วยความสมัครใจได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1392 โจทก์ทั้งสองจึงสามารถสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงดังกล่าวเพื่ออธิบายประกอบให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของคู่กรณีได้
โจทก์ทั้งสองได้ใช้ทางพิพาทจนได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินของจำเลยโดยอายุความ และโจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิที่ได้ภาระจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ มิใช่ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่าง ค.กับโจทก์ แม้ว่า ค.จะผิดสัญญาการชำระเงินหรือไม่ก็ตาม ก็หาทำให้สิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทของโจทก์ทั้งสองที่มีอยู่สิ้นไปไม่
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองทุกแปลง ตามรายละเอียดในแผนที่เอกสารหมาย จ.1 ที่โจทก์อ้างส่ง แต่ในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ระบุเลขโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 1 ไม่ครบทุกแปลงโดยไม่ระบุที่ดินตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 ด้วย ย่อมทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ดินของโจทก์ที่ 1 แปลงดังกล่าวนั้นไร้ผล เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความและการย้ายทางภารจำยอม การได้มาซึ่งภารจำยอมโดยการใช้ทางต่อเนื่อง และผลของการย้ายทางภารจำยอม
เดิม ค. สามีโจทก์ที่ 1 และโจทก์ทั้งสองได้ใช้ทางเดินบนที่ดินของ พ. ทางด้านทิศตะวันออกสู่ทางสาธารณะโดยสงบและเปิดเผยติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี ที่ดินของ พ.ดังกล่าวจึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของ ค. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบกับมาตรา 1382ต่อมา พ.ขอให้ค. ย้ายทางภารจำยอมเดิมมายังทางพิพาทเพื่อประโยชน์ของ พ. ซึ่งประสงค์จัดสรรที่ดินขายทางพิพาทจึงตกเป็นภารจำยอมแทนทางเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 เมื่อโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินสามยทรัพย์มาจาก ค. และโจทก์ที่ 2ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสามยทรัพย์มาจากโจทก์ที่ 1โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินจาก พ. ซึ่งมีทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์ให้เปิดทางพิพาทและจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองได้ เพราะการจดทะเบียนภารจำยอมนั้นถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมประการหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 วรรคแรก โจทก์ทั้งสองใช้ทางเดินในที่ดินของ พ. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภารจำยอมมิใช่ถือวิสาสะจนได้ภารจำยอมโดยอายุความแล้ว แม้โจทก์ที่ 1 จะทราบหรือไม่ทราบระหว่างโจทก์ที่ 1 หรือ ค. เจ้าของที่ดินเดิมที่โจทก์ที่ 1 รับโอนที่ดินมา ผู้ใดเป็นผู้ได้สิทธิภารจำยอมตามกฎหมาย ก็ไม่ใช่สาระสำคัญ เหตุที่ พ.ขอให้ค. ย้ายทางภารจำยอมนั้นเนื่องจากพ. จะนำที่ดินแปลงที่เป็นภารยทรัพย์มาจัดสรรขาย ดังนั้นการย้ายทางภารจำยอมไปใช้ทางพิพาทจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ พ. การย้ายทางภารจำยอมดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ และการที่ค. เจ้าของที่ดินแปลงที่เป็นสามยทรัพย์ตกลงจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ พ.ก็เป็นค่าตอบแทนในส่วนที่ค.จะได้ใช้ทางพิพาทกว้างขึ้นจากเดิมนั้น คู่กรณีย่อมสามารถตกลงกันด้วยความสมัครใจได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1392 โจทก์ทั้งสองจึงสามารถสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงดังกล่าวเพื่ออธิบายประกอบให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของคู่กรณีได้ โจทก์ทั้งสองได้ใช้ทางพิพาทจนได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของจำเลยโดยอายุความ และโจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิที่ได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ มิใช่ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่าง ค. กับโจทก์แม้ว่า ค. จะผิดสัญญาการชำระเงินหรือไม่ก็ตาม ก็หาทำให้สิทธิภารจำยอมในทางพิพาทของโจทก์ทั้งสองที่มีอยู่สิ้นไปไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองทุกแปลง ตามรายละเอียดในแผนที่เอกสารหมาย จ.1 ที่โจทก์อ้างส่ง แต่ในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ระบุเลขโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 1 ไม่ครบทุกแปลงโดยไม่ระบุที่ดินตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 ด้วย ย่อมทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ดินของโจทก์ที่ 1 แปลงดังกล่าวนั้นไร้ผล เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี พยานหลักฐานสอดคล้อง แม้ไม่พบร่องรอยบาดแผล
โจทก์มีผู้เสียหายเบิกความยืนยันว่า ตนถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเรารวม 3 ครั้ง โดยผู้เสียหายได้เบิกความถึง รายละเอียดของการกระทำของจำเลยก่อนทำการข่มขืนกระทำชำเรากับสภาพที่เกิดเหตุ ทั้งได้ลำดับเรื่องราวเป็นลำดับไปและหลังเกิดเหตุแล้วผู้เสียหายได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ ว.ทราบ ต่อมา ว. เล่าเรื่องให้ ป. มารดาผู้เสียหายทราบ ป. จึงได้สอบถามผู้เสียหายอีกครั้งหนึ่ง ผู้เสียหายรับว่าเป็นความจริง ซึ่ง ว. กับ ป. ได้เบิกความยืนยันข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นดังกล่าวไว้ คำของพยานโจทก์เบิกความสอดคล้องกันมีเหตุผลน่าเชื่อฟัง เพราะผู้เสียหายเป็นเด็กสาววัยรุ่นขณะเกิดเหตุอายุ 14 ปีเศษ และไม่มีประสบการณ์ในเรื่องเพศสัมพันธ์มาก่อน หากไม่เป็นความจริงคงไม่กล้านำเอาเรื่องที่น่าอับอายมาเล่าให้ผู้อื่นฟังและได้ความว่าผู้เสียหายเป็นคนมีสติปัญญาไม่ดีแต่พูดจารู้เรื่อง ไม่น่าจะมีความคิดบิดเบือนความจริงหรือแต่งเรื่องขึ้นมาเองเพื่อกล่าวหาจำเลยให้ได้รับโทษเป็นแน่ จากการตรวจร่างกายผู้เสียหายไม่พบร่องรอยใด ๆ เช่นรอยฟกช้ำหรือรอยบาดแผลที่อวัยวะเพศทั้งภายนอกภายในก็ตาม แต่แพทย์เบิกความอธิบายว่า ถ้าผู้หญิงถูกผู้ชายวัย 25 ถึง 30 ปี ข่มขืนกระทำชำเราทุกวันในเวลา 5 วัน ความบอบช้ำของอวัยวะเพศของ ผู้เสียหายก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้เสียหายเคยผ่านการร่วมเพศมาหรือไม่ ความรุนแรงในการร่วมเพศและร่างกายถูกทำร้ายด้วยหรือไม่ ถ้าผู้เสียหายมาให้ตรวจร่างกายในระยะเวลาไม่นานหลังจากถูกข่มขืนกระทำชำเราก็อาจจะหาร่องรอยการข่มขืนได้ร่องรอยการถูกข่มขืนจะน้อยหรือมากก็แล้วแต่ความรุนแรงของการถูกข่มขืน ถ้าข่มขืนไม่รุนแรงร่องรอยก็อาจหายในเวลาเพียง 7 ถึง 10 วัน จึงแสดงให้เห็นว่าหากผู้เสียหายมาให้ตรวจร่างกายภายหลังเกิดเหตุประมาณ 10 วันแล้ว และการข่มขืนไม่รุนแรงก็จะไม่พบร่องรอยการถูกข่มขืนดังกล่าวได้ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้เสียหายถูกข่มขืนกระทำชำเรามาแล้วประมาณ 10 วัน แล้วจึงมาให้แพทย์ตรวจร่องรอยดังกล่าวกับปรากฎว่าจำเลยมีภริยาแล้วอาจอาศัยเคยผ่านประสบการณ์การร่วมเพศมาก่อนจึงกระทำการไม่รุนแรงต่อผู้เสียหายในขณะร่วมเพศก็เป็นได้ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่พบร่องรอยหรือบาดแผลที่อวัยวะเพศของผู้เสียหาย นอกจากนี้จากการตรวจร่างกายของผู้เสียหายปรากฎว่าพบเยื่อพรหมจารีของผู้เสียหายมีรอยฉีกขาดแต่ไม่มีรอยบาดแผลหรือแผลหายแล้วนั่นเอง แสดงว่าภายหลังผู้เสียหายถูกกระทำชำเราล่วงพ้นไปแล้ว10 วัน รอยบาดแผลของเยื่อพรหมจารีของผู้เสียหายก็จะหายไปเองดังนั้น พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาฟังได้มั่นคงว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8398/2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8238/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถา ต้องยื่นภายใน 7 วัน มิฉะนั้นขาดอายุความ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย จำเลยอาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่ง ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย แต่จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อเกินกำหนดระยะเวลา7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าว จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8238/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ทันกำหนดระยะเวลา ทำให้ต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย จำเลยอาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่ง ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา156 วรรคท้าย แต่จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อเกินกำหนดระยะเวลา7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ยกคำร้องดังกล่าว จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว
of 18