พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขนส่งทอดสุดท้ายรับผิดชอบความเสียหายสินค้าสูญหาย การบังคับใช้กฎหมายไทยเมื่อมูลคดีเกิดในไทย
เมื่อเรือซึ่งบรรทุกสินค้าพิพาทมาถึงการท่าเรือแห่งประเทศไทย บริษัทจำเลยเป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทให้ผู้ซื้อสินค้าทราบ ยื่นคำร้องต่อการท่าเรือฯ ขออนุมัตินำเรือเข้าจอดเทียบท่า ยื่นแสดงรายการสินค้าเพื่อขออนุมัตินำสินค้าพิพาทไปเก็บในคลังสินค้า ว่าจ้างการท่าเรือฯ ให้ยกตู้สินค้าขึ้นจากเรือนำไปวางที่ลานพักตู้สินค้าขออนุญาตกรมศุลกากรเปิดตู้สินค้า ตรวจนับและจดรายการสินค้าเพื่อป้องกันการลักสินค้าและส่งมอบรายการสินค้าดังกล่าวให้แก่การท่าเรือฯเพื่อเป็นหลักฐานในการรับมอบสินค้า จ้าง การท่าเรือฯ นำสินค้าขึ้นรถบรรทุกไปเก็บไว้ที่คลังสินค้า มอบใบรับสินค้าแก่ผู้ซื้อสินค้าเพื่อใช้แสดงต่อกรมศุลกากรในการดำเนินพิธีการศุลกากรและใช้แสดงต่อการท่าเรือฯ เพื่อรับสินค้าซึ่งหากไม่มีใบรับสินค้าก็ไม่สามารถจะไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือฯ ได้ ดังนี้ การดำเนินการของจำเลยดังกล่าวเป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่ง เพราะหากปราศจากการดำเนินการดังกล่าวสินค้าพิพาทย่อมไม่อาจถึงมือของผู้ซื้อสินค้า พฤติการณ์ของจำเลยมีลักษณะเป็นการร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาทกับผู้ขนส่ง อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการรับขนของทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายจำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล.
แม้ปรากฏว่าผู้ขายสินค้าพิพาทจะมีสัญชาติญี่ปุ่นและส่งสินค้าพิพาทจากประเทศญี่ปุ่น โดยว่าจ้างสายการเดินเรือ อ. ซึ่งมีสัญชาติฮ่องกงเป็นผู้ขนส่งสินค้ามายังประเทศไทย แต่การขายสินค้ารายนี้เป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อในประเทศไทย การขนส่งสินค้าทอดสุดท้ายมายังประเทศไทยก็กระทำโดยบริษัทจำเลยซึ่งจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทย เมื่อสินค้าเกิดสูญหายขึ้นในประเทศไทย และบริษัทรับประกันภัยโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ซื้อแล้วรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับตามกฎหมายไทย หามีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่า พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 ให้ใช้กฎหมายใดบังคับไม่.
แม้ปรากฏว่าผู้ขายสินค้าพิพาทจะมีสัญชาติญี่ปุ่นและส่งสินค้าพิพาทจากประเทศญี่ปุ่น โดยว่าจ้างสายการเดินเรือ อ. ซึ่งมีสัญชาติฮ่องกงเป็นผู้ขนส่งสินค้ามายังประเทศไทย แต่การขายสินค้ารายนี้เป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อในประเทศไทย การขนส่งสินค้าทอดสุดท้ายมายังประเทศไทยก็กระทำโดยบริษัทจำเลยซึ่งจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทย เมื่อสินค้าเกิดสูญหายขึ้นในประเทศไทย และบริษัทรับประกันภัยโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ซื้อแล้วรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับตามกฎหมายไทย หามีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่า พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 ให้ใช้กฎหมายใดบังคับไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขนส่งทอดสุดท้าย: จำเลยมีหน้าที่รับผิดชอบการขนส่งขึ้นลงจากเรือ ถือเป็นผู้ขนส่งตามกฎหมาย
จำเลยได้ติดต่อว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ทำการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือ โดยจำเลยเป็นผู้แจ้งให้ผู้ขนถ่ายทราบว่าเป็นเรือลำไหนและจอดที่ใด จำเลยเป็นผู้ชำระค่าจ้างให้ห้าง ส.และหากห้างส. พบความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งจะแจ้งความเสียหายให้จำเลยทราบ จำเลยเป็นผู้เช่าเครื่องมือในการขนถ่ายสินค้าขึ้นลงจากเรือและชำระค่าเช่าให้แก่การท่าเรือฯจำเลยเป็นผู้ยื่นคำร้องขอนำเรือเข้าเทียบท่าแจ้งข่าวการมาถึงของเรือให้ผู้ซื้อและกรมศุลกากรทราบ เมื่อผู้ซื้อนำใบตราส่งมาที่บริษัทจำเลย จำเลยจะออกใบปล่อยสินค้าให้ ซึ่งจำเลยได้ดำเนินการดังกล่าวเฉพาะในประเทศไทย โดยได้รับมอบหมายจากบริษัทด. ผู้ขนส่งทุกครั้งไป ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายขึ้นลงจากเรือไปส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 ส่วนการกล่าวอ้างเอกสารที่ระบุข้อความว่าจำเลยเป็นตัวแทน หรือจำเลยอ้างว่าเป็นตัวแทนก็เป็นเรื่องของจำเลยเองในการดำเนินการค้าระหว่างผู้ขนส่งกับจำเลยโดยจำเลยได้รับบำเหน็จตอบแทนตามอัตราทางการค้าปกติของตน หามีผลทำให้ฐานะของจำเลยที่เป็นผู้ขนส่งเปลี่ยนแปลงไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขนส่งทอดสุดท้าย: จำเลยมีหน้าที่รับผิดชอบการขนส่งและส่งมอบสินค้า จึงถือเป็นผู้ขนส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 608
จำเลยได้ติดต่อว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ทำการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือเล็ก โดยจำเลยเป็นผู้แจ้งให้ผู้ขนถ่ายทราบว่าเป็นเรือลำไหนและจอดที่ใดจำเลยเป็นผู้ชำระค่าจ้างให้ห้าง ส.และหากห้างส. พบความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งจะแจ้งความเสียหายให้จำเลยทราบ จำเลยเป็นผู้เช่าเครื่องมือในการขนถ่ายสินค้าขึ้นลงจากเรือและชำระค่าเช่าให้แก่การท่าเรือ ฯจำเลยเป็นผู้ยื่นคำร้องขอนำเรือเข้าเทียบท่า แจ้งข่าวการมาถึงของเรือให้ผู้ซื้อและกรมศุลกากรทราบ เมื่อผู้ซื้อนำใบตราส่งมาที่บริษัทจำเลย จำเลยจะออกใบปล่อยสินค้าให้ ซึ่งจำเลยได้ดำเนินการดังกล่าวเฉพาะในประเทศไทยโดยได้รับมอบหมายจากบริษัท ด. ผู้ขนส่งทุกครั้งไป ดังนี้พฤติการณ์ของจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายขึ้นลงจากเรือไปส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ขนส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา608 ส่วนการกล่าวอ้างเอกสารที่ระบุข้อความว่าจำเลยเป็นตัวแทน หรือจำเลยอ้างว่าเป็นตัวแทนก็เป็นเรื่องของจำเลยเองในการดำเนิน การค้าระหว่างผู้ขนส่งกับจำเลยโดยจำเลยได้รับบำเหน็จตอบแทนตามอัตราทาง การค้าปกติของตน หามีผลทำให้ฐานะของจำเลยที่เป็นผู้ขนส่งเปลี่ยนแปลงไปไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1709/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล: การนำบทบัญญัติรับขนของมาปรับใช้
การที่บริษัทเดินเรือขนสินค้าจากประเทศญี่ปุ่นมายังท่าเรือของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นท่าเรือปลายทางเป็นการรับขนของทางทะเลซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 609วรรคท้าย บัญญัติให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น ปัจจุบันกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลของประเทศไทยยังไม่มี ในเรื่องอายุความฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าหรือสิ่งของที่ขนส่งทางทะเล ต้องนำ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในบรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 ว่าด้วยรับขนของอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งปรับคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 วรรคสาม.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องค่าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล: ใช้ พ.พ.พ.มาตรา 624 หากยังไม่มีกฎหมายเฉพาะ
การที่บริษัท ป. ขนสินค้าจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มายังท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นท่าเรือปลายทางเป็นการรับขนของทางทะเล ป.พ.พ. มาตรา 609 วรรคท้ายบัญญัติว่า รับขนทางทะเลให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้นแต่ปัจจุบันกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลของประเทศไทยยังไม่มี ในเรื่องอายุความฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าหรือสิ่งของที่ขนส่งทางทะเลจึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 624 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในบรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 ว่าด้วยรับขนของ อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับคดีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสาม ซึ่งในข้อความรับผิดของผู้ขนส่งห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่วันส่งมอบของ เมื่อปรากฏว่าผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับตราส่งรับสินค้าไปเมื่อ พ.ศ. 2524 โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันภัยรับช่วงสิทธิเรียกร้องมาจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับตราส่งมาฟ้องเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2526 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล: ประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 624
การที่บริษัทเดินเรือขนสินค้าจากประเทศอินเดียมายังท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นท่าเรือปลายทาง เป็นการรับขนของทางทะเล ซึ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609วรรคท้าย ให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้นปัจจุบันกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลของประเทศไทยยังไม่มี ในเรื่องอายุความฟ้องร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าหรือสิ่งของที่ขนส่งทางทะเล ต้องนำ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา624 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในบรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 ว่าด้วยรับขนของ อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับคดีตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสามเมื่อปรากฏว่าผู้ซื้อสินค้าตามฟ้องหรือผู้รับตราส่งรับสินค้าไปเมื่อ พ.ศ. 2522 และ 2523 โจทก์รับช่วงสิทธิเรียกร้องมาจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับตราส่งมาฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายและบุบสลายของสินค้าเมื่อวันที่23 สิงหาคม 2526 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 624.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล: จำเลยไม่ต้องรับผิดในความเสียหาย หากไม่ได้มีส่วนร่วมในการขนส่งโดยตรง แม้จะดำเนินการทางพิธีการต่างๆ แทนเจ้าของเรือ
การที่จำเลยได้ดำเนินการติดต่อกรมเจ้าท่าและการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อการนำร่องเรือ น. ซึ่งบรรทุกสินค้ารายพิพาทเข้าสู่ท่าและขอที่จอดเทียบเรือ กับติดต่อกรมศุลกากรเพื่อให้พนักงานศุลกากรไปตรวจสินค้าในเรือรวมทั้งแจ้งเวลาเรือเข้าให้ผู้รับตราส่งทราบ กิจการเหล่านี้เป็นกิจการที่เจ้าของเรือ น. และบริษัท ฟ. ผู้ขนส่งจะต้องกระทำโดยตนเองซึ่งได้มอบอำนาจให้บริษัท ซ. เป็นผู้กระทำการแทน แต่บริษัท ซ. มีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ จึงได้มอบอำนาจช่วงให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการเหล่านั้นแทน การที่จำเลยกระทำไปดังกล่าวยังไม่พอให้ถือได้ว่าจำเลยได้ทำหน้าที่เป็นผู้เข้าร่วมขนส่งกับเรือ น. และบริษัท ฟ. และเพียงแต่จำเลยได้ร่วมตรวจสอบสินค้ารายพิพาทกับพนักงานตรวจสอบสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย รับมอบใบตราส่งคืน แล้วออกใบรับของให้แก่ผู้รับตราส่งกับแจ้งไปยังผู้อำนวยการกองการตรวจสอบสินค้าขาเข้า กรมศุลกากรขอแก้บัญชีสินค้าเพื่อให้ผู้รับตราส่งไปดำเนินพิธีการศุลกากร ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยอยู่ในฐานะเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้ขนส่งทางทะเล: ข้อตกลงต้องชัดเจนและมีผลผูกพันตามกฎหมายไทย
มูลคดีตามฟ้องเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับกันตามกฎหมายแห่งประเทศไทย ไม่อาจนำ พระราชบัญญัติ เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางทะเล ค.ศ. 1936 ของประเทศสหรัฐอเมริกา มาใช้บังคับเพื่อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง บัญญัติว่ารับขนของทางทะเล ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับและไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขน ในหมวดรับขนของ อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4(5)แห่ง พระราชบัญญัติ รับขนของทางทะเล ค.ศ. 1936 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เท่ากับเป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 แม้จะมีตราประทับชื่อของบริษัทผู้ส่งและมีการลงลายมือชื่อไว้ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าผู้ลงลายมือชื่อเป็นใคร มีอำนาจกระทำแทนบริษัทผู้ส่งอย่างไรหรือไม่ อีกทั้งไม่มีข้อความระบุว่าลงลายมือชื่อเพื่อจุดหมายใด อาจเป็นการลงลายมือชื่อรับคู่ฉบับหรือสำเนาเอกสารก็ได้ เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันบริษัทผู้รับตราส่งซึ่งได้รับสิทธิมาจากผู้ส่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง.(ที่มา-ส่งเสริม)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง บัญญัติว่ารับขนของทางทะเล ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับและไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขน ในหมวดรับขนของ อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4(5)แห่ง พระราชบัญญัติ รับขนของทางทะเล ค.ศ. 1936 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เท่ากับเป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 แม้จะมีตราประทับชื่อของบริษัทผู้ส่งและมีการลงลายมือชื่อไว้ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าผู้ลงลายมือชื่อเป็นใคร มีอำนาจกระทำแทนบริษัทผู้ส่งอย่างไรหรือไม่ อีกทั้งไม่มีข้อความระบุว่าลงลายมือชื่อเพื่อจุดหมายใด อาจเป็นการลงลายมือชื่อรับคู่ฉบับหรือสำเนาเอกสารก็ได้ เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันบริษัทผู้รับตราส่งซึ่งได้รับสิทธิมาจากผู้ส่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาค้ำประกัน, และค่าทนายความที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่แสดง โดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเป็นการยกถ้อยคำในกฎหมายมาอ้าง โดยมิได้บรรยายว่าสภาพแห่งข้อหาคำขอคำบังคับหรือข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ข้อใดที่ไม่ชัดแจ้ง และไม่ชัดแจ้งอย่างไร คำให้การจำเลยจึงแสดงเหตุไม่ชัดแจ้ง ไม่มีประเด็นว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ก่อนโจทก์จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหาโดยมิได้ระบุมูลค่าแห่งความรับผิดไว้แน่นอนเพื่อให้โจทก์ประกันผู้ต้องหาในคดีอาญาจากศาล โดยทำสัญญาไว้ว่า ถ้าผู้ต้องหาหลบหนีและนายประกันถูกปรับ จำเลยรับชดใช้ค่าปรับแทนจนครบถ้วน สัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบจำเลยแต่ประการใด เพราะหากโจทก์ไม่นำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหา สัญญาค้ำประกันที่ทำกันไว้ก็ไม่มีผลบังคับ ส่วนจำนวนความรับผิดก็เป็นไปตามที่ศาลจะตีราคาประกันและสั่งปรับเมื่อผิดสัญญาประกันต่อไป สัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
สัญญาค้ำประกันดังกล่าวกำหนดว่า 'หากข้าพเจ้าปล่อยให้จำเลยหลบหนีด้วยเหตุใด ๆ ก็ดี ถ้านายประกันถูกปรับหรือถูกริบทรัพย์ ข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับชดใช้ค่าปรับแทนนายประกันจนครบถ้วนและจะเป็นผู้รับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่จำนองประกันคืนแก่นายประกันโดยมิชักช้า' ดังนี้เพียงแต่โจทก์ถูกศาลสั่งปรับจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าปรับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่ประกันคืนแก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ต้องรอให้มีการขายทรัพย์อันเป็นหลักประกันก่อน
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมาย และสั่งในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161, 167 และตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนี้การที่สัญญาค้ำประกันกำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากกฎหมาย อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับมิได้ ข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ก่อนโจทก์จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหาโดยมิได้ระบุมูลค่าแห่งความรับผิดไว้แน่นอนเพื่อให้โจทก์ประกันผู้ต้องหาในคดีอาญาจากศาล โดยทำสัญญาไว้ว่า ถ้าผู้ต้องหาหลบหนีและนายประกันถูกปรับ จำเลยรับชดใช้ค่าปรับแทนจนครบถ้วน สัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบจำเลยแต่ประการใด เพราะหากโจทก์ไม่นำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหา สัญญาค้ำประกันที่ทำกันไว้ก็ไม่มีผลบังคับ ส่วนจำนวนความรับผิดก็เป็นไปตามที่ศาลจะตีราคาประกันและสั่งปรับเมื่อผิดสัญญาประกันต่อไป สัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
สัญญาค้ำประกันดังกล่าวกำหนดว่า 'หากข้าพเจ้าปล่อยให้จำเลยหลบหนีด้วยเหตุใด ๆ ก็ดี ถ้านายประกันถูกปรับหรือถูกริบทรัพย์ ข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับชดใช้ค่าปรับแทนนายประกันจนครบถ้วนและจะเป็นผู้รับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่จำนองประกันคืนแก่นายประกันโดยมิชักช้า' ดังนี้เพียงแต่โจทก์ถูกศาลสั่งปรับจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าปรับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่ประกันคืนแก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ต้องรอให้มีการขายทรัพย์อันเป็นหลักประกันก่อน
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมาย และสั่งในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161, 167 และตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนี้การที่สัญญาค้ำประกันกำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากกฎหมาย อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับมิได้ ข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาค้ำประกัน, และค่าทนายความที่ขัดต่อกฎหมาย
จำเลยให้การว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่แสดง โดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็น หลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเป็นการยกถ้อยคำในกฎหมายมาอ้าง โดยมิได้บรรยายว่าสภาพแห่งข้อหาคำขอคำบังคับหรือข้ออ้างในคำฟ้อง ของโจทก์ข้อใดที่ไม่ชัดแจ้ง และไม่ชัดแจ้งอย่างไร คำให้การจำเลย จึงแสดงเหตุไม่ชัดแจ้ง ไม่มีประเด็นว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ก่อนโจทก์จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหาโดยมิได้ระบุมูลค่าแห่งความรับผิดไว้แน่นอน เพื่อให้โจทก์ประกันผู้ต้องหาในคดีอาญาจากศาล โดยทำสัญญาไว้ว่า ถ้าผู้ต้องหาหลบหนีและนายประกันถูกปรับ จำเลยรับชดใช้ค่าปรับแทน จนครบถ้วน สัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบจำเลย แต่ประการใด เพราะหากโจทก์ไม่นำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหา สัญญาค้ำประกันที่ทำกันไว้ก็ไม่มีผลบังคับ ส่วนจำนวนความรับผิด ก็เป็นไปตามที่ศาลจะตีราคาประกันและสั่งปรับเมื่อผิดสัญญาประกัน ต่อไปสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้หา ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
สัญญาค้ำประกันดังกล่าวกำหนดว่า 'หากข้าพเจ้าปล่อยให้จำเลยหลบหนีด้วยเหตุใด ๆ ก็ดี ถ้านายประกันถูกปรับหรือถูกริบทรัพย์ ข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับชดใช้ค่าปรับแทนนายประกันจนครบถ้วนและจะเป็น ผู้รับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่จำนองประกันคืนแก่นายประกันโดยมิชักช้า' ดังนี้เพียงแต่โจทก์ถูกศาลสั่งปรับจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าปรับ ไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่ประกันคืนแก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับ จำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ต้องรอให้มีการขายทรัพย์อันเป็น หลักประกันก่อน
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมาย และสั่งในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161,167 และตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนี้การที่สัญญาค้ำประกันกำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากกฎหมาย อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับมิได้ ข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ก่อนโจทก์จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหาโดยมิได้ระบุมูลค่าแห่งความรับผิดไว้แน่นอน เพื่อให้โจทก์ประกันผู้ต้องหาในคดีอาญาจากศาล โดยทำสัญญาไว้ว่า ถ้าผู้ต้องหาหลบหนีและนายประกันถูกปรับ จำเลยรับชดใช้ค่าปรับแทน จนครบถ้วน สัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบจำเลย แต่ประการใด เพราะหากโจทก์ไม่นำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหา สัญญาค้ำประกันที่ทำกันไว้ก็ไม่มีผลบังคับ ส่วนจำนวนความรับผิด ก็เป็นไปตามที่ศาลจะตีราคาประกันและสั่งปรับเมื่อผิดสัญญาประกัน ต่อไปสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้หา ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
สัญญาค้ำประกันดังกล่าวกำหนดว่า 'หากข้าพเจ้าปล่อยให้จำเลยหลบหนีด้วยเหตุใด ๆ ก็ดี ถ้านายประกันถูกปรับหรือถูกริบทรัพย์ ข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับชดใช้ค่าปรับแทนนายประกันจนครบถ้วนและจะเป็น ผู้รับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่จำนองประกันคืนแก่นายประกันโดยมิชักช้า' ดังนี้เพียงแต่โจทก์ถูกศาลสั่งปรับจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าปรับ ไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่ประกันคืนแก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับ จำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ต้องรอให้มีการขายทรัพย์อันเป็น หลักประกันก่อน
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมาย และสั่งในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161,167 และตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนี้การที่สัญญาค้ำประกันกำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากกฎหมาย อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับมิได้ ข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย