พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา: เงื่อนไขและข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญานั้นมีบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา30และ31เฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการหรือพนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายในคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้นนอกเหนือจากสองกรณีนี้แล้วการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่อาจจะมีได้ดังนั้นเมื่อผู้เสียหายคนหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีแล้วผู้เสียหายอื่นจะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงไม่อาจกระทำได้และจะอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(2)ซึ่งบัญญัติให้สิทธิบุคคลภายนอกในกรณีร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์หรือจำเลยร่วมประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15มาอนุโลมบังคับใช้ในกรณีนี้ก็ไม่ได้เช่นเดียวกันเพราะอำนาจฟ้องดังกล่าวถือว่ากฎหมายได้กำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะในมาตรา30และ31แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้วดังนั้นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้ การให้วินิจฉัยปัญหาโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกานั้นเป็นอำนาจและหน้าที่ของประธานศาลฎีกาโดยเฉพาะคู่ความจะร้องขอขึ้นมาหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องโจทก์ร่วมในคดีอาญา: จำกัดเฉพาะตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30, 31 เท่านั้น
การร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งกฎหมายบัญญัติให้มีได้เฉพาะในกรณีตามป.วิ.อ.มาตรา30,31เท่านั้นการที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาผู้เสียหายอื่นจะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมมิได้เพราะไม่ต้องด้วยมาตรา30,31ดังกล่าวทั้งจะอาศัยป.วิ.พ.มาตรา57(2)ซึ่งบัญญัติให้สิทธิบุคคลภายนอกร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยมาบังคับใช้โดยอนุโลมตามป.วิ.อ.มาตรา15ก็ไม่ได้ ปัญหาใดควรจะนำเข้าสู่การวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาหรือไม่ย่อมอยู่ในอำนาจหน้าที่ของประธานศาลฎีกาโดยตรงคู่ความจะร้องขอขึ้นมาหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา: เงื่อนไขและข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญานั้น มีบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30 และ 31 เฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการหรือพนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายในคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น นอกเหนือจากสองกรณีนี้แล้ว การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่อาจจะมีได้ ดังนั้น เมื่อผู้เสียหายคนหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีแล้ว ผู้เสียหายอื่นจะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงไม่อาจกระทำได้ และจะอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2) ซึ่งบัญญัติให้สิทธิบุคคลภายนอกในกรณีร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์หรือจำเลยร่วม ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาอนุโลมบังคับใช้ในกรณีนี้ก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน เพราะอำนาจฟ้องดังกล่าวถือว่ากฎหมายได้กำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะในมาตรา 30 และ 31 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้
การให้วินิจฉัยปัญหาโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกานั้น เป็นอำนาจและหน้าที่ของประธานศาลฎีกาโดยเฉพาะ คู่ความจะร้องขอขึ้นมาหาได้ไม่.
การให้วินิจฉัยปัญหาโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกานั้น เป็นอำนาจและหน้าที่ของประธานศาลฎีกาโดยเฉพาะ คู่ความจะร้องขอขึ้นมาหาได้ไม่.