คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 93

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนสหภาพแรงงาน: สิทธิและอำนาจฟ้องคดี
ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 91 เป็นกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าคำขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานและร่างข้อบังคับเมื่อแรกจัดตั้งสหภาพแรงงานไม่ถูกต้อง ก็ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและให้สิทธิผู้ขอจดทะเบียนอุทธรณ์คำสั่งต่อรัฐมนตรีได้ มาตรา 106 เป็นกรณีนายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้กรรมการผู้ใดผู้หนึ่งหรือคณะกรรมการของสหภาพแรงงานออกจากตำแหน่ง และมาตรา107 ให้สิทธิกรรมการผู้นั้นหรือคณะกรรมการอุทธรณ์คำสั่งต่อรัฐมนตรีได้ ซึ่งกรณีตามมาตรา 91, 106 และ 107 ไม่ใช่การนำรายชื่อคณะกรรมการไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ส่วนมาตรา 93 แม้จะเป็นกรณีนำรายชื่อคณะกรรมการไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน แต่เป็นรายชื่อคณะกรรมการที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกหลังจากจดทะเบียนสหภาพแรงงาน แต่กรณีนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการซึ่งพ้นตำแหน่งไปตามข้อบังคับ และเป็นการนำรายชื่อคณะกรรมการที่ได้รับเลือกตั้งใหม่ไปขอจดทะเบียน แต่การขอจดทะเบียนรายชื่อคณะกรรมการทั้งสองกรณีดังกล่าวมาตรา 93 ไม่ได้กำหนดขั้นตอนไว้ดังเช่นที่กำหนดไว้ตามมาตรา 91 และ 107ทั้งไม่มีมาตราใดกำหนดขั้นตอนไว้ให้ผู้ยื่นคำขออุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีได้ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไม่มีหน้าที่ต้องสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จำเลยไม่สั่งอุทธรณ์ของโจทก์ กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย จึงชอบที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์เฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการสหภาพแรงงานและการไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 91เป็นกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าคำขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานและร่างข้อบังคับเมื่อแรกจัดตั้งสหภาพแรงงานไม่ถูกต้องก็ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและให้สิทธิผู้ขอจดทะเบียนอุทธรณ์คำสั่งต่อรัฐมนตรีได้ มาตรา 106เป็นกรณีนายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้กรรมการผู้ใดผู้หนึ่งหรือคณะกรรมการของสหภาพแรงงานออกจากตำแหน่ง และมาตรา 107 ให้สิทธิกรรมการผู้นั้นหรือคณะกรรมการอุทธรณ์คำสั่งต่อรัฐมนตรีได้ ซึ่งกรณีตามมาตรา 91,106 และ 107ไม่ใช่การนำรายชื่อคณะกรรมการไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ส่วนมาตรา 93 แม้จะเป็นกรณีนำรายชื่อคณะกรรมการไปขอจดทะเบียน ต่อนายทะเบียน แต่เป็นรายชื่อคณะกรรมการที่ได้รับเลือก จากที่ประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกหลังจากจดทะเบียนสหภาพแรงงาน แต่กรณีนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการซึ่งพ้นตำแหน่ง ไปตามข้อบังคับ และเป็นการนำรายชื่อคณะกรรมการที่ได้รับ เลือกตั้งใหม่ไปขอจดทะเบียน แต่การขอจดทะเบียนรายชื่อ คณะกรรมการทั้งสองกรณีดังกล่าว มาตรา 93 ไม่ได้กำหนดขั้นตอน ไว้ดังเช่นที่กำหนดไว้ตามมาตรา 91 และ 107 ทั้งไม่มีมาตราใด กำหนดขั้นตอนไว้ให้ผู้ยื่นคำขออุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียน ต่อรัฐมนตรีได้ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง ไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไม่มีหน้าที่ ต้องสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม จำเลยไม่สั่งอุทธรณ์ของโจทก์ กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจ ฟ้องจำเลย จึงชอบที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์ เฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการสภาแรงงาน การจดทะเบียน และอำนาจฟ้องร้องตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
การนำรายชื่อคณะกรรมการที่ได้รับเลือกตั้งใหม่ไปขอจดทะเบียนนั้นพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 93 ไม่ได้กำหนดขั้นตอนไว้ดังมาตรา 91 และ 107 ทั้งไม่มีมาตราใดกำหนดขั้นตอนไว้ให้ผู้ยื่นคำขออุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนดังกล่าวต่อรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไม่มีหน้าที่ต้องสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ไม่สั่งอุทธรณ์ของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการสหภาพแรงงาน: สิทธิอุทธรณ์และการฟ้องร้องจำเลยที่ 1
การนำรายชื่อคณะกรรมการที่ได้รับเลือกตั้งใหม่ไปขอจดทะเบียนนั้นพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 93 ไม่ได้กำหนดขั้นตอนไว้ดังมาตรา 91 และ 107 ทั้งไม่มีมาตราใดกำหนดขั้นตอนไว้ให้ผู้ยื่นคำขออุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนดังกล่าวต่อรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไม่มีหน้าที่ต้องสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ไม่สั่งอุทธรณ์ของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3731/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างมีผลเมื่อที่ประชุมใหญ่ลงมติ แม้ยังมิได้จดทะเบียน การลงโทษกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาล
การจดทะเบียนคณะกรรมการของสหภาพแรงงานเป็นเพียงวิธีการทางกฎหมายเพื่อให้ปรากฏหลักฐานทางทะเบียน เมื่อที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานได้ลงมติแต่งตั้งคณะกรรมการสหภาพแรงงาน และนายจ้างได้ทราบผลการประชุมของคณะกรรมการ สหภาพฯดังกล่าวแล้วว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานบ้าง จึงถือได้ว่าคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวเป็นคณะกรรมการสหภาพแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 แล้วจึงมีอำนาจตั้งคณะกรรมการลูกจ้างได้ จำเลยไม่อาจลงโทษโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3731/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการสหภาพแรงงาน: การจดทะเบียนเป็นเพียงหลักฐานแสดงเจตนา การลงมติที่ประชุมใหญ่มีผลผูกพัน
การจดทะเบียนคณะกรรมการของสหภาพแรงงานเป็นเพียงวิธีการทางกฎหมายเพื่อให้ปรากฏหลักฐานทางทะเบียน เมื่อที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานได้ลงมติแต่งตั้งคณะกรรมการสหภาพแรงงาน และนายจ้างได้ทราบผลการประชุมของคณะกรรมการ สหภาพฯดังกล่าวแล้วว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานบ้าง จึงถือได้ว่าคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวเป็นคณะกรรมการสหภาพแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 แล้วจึงมีอำนาจตั้งคณะกรรมการลูกจ้างได้ จำเลยไม่อาจลงโทษโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยไม่ได้รับ-อนุญาตจากศาลแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3985-3987/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการสหภาพแรงงาน: ความคุ้มกันตามกฎหมาย แม้ยังมิได้จดทะเบียน
ที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานได้เลือกตั้งผู้ใดเป็นกรรมการสหภาพแรงงานแม้จะยังมิได้มีการแจ้งจดทะเบียนต่อนายทะเบียนก็ตามผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่าเป็นกรรมการสหภาพแรงงานตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา121แล้วความคุ้มกันประการใดที่มาตราดังกล่าวบัญญัติไว้เพื่อปกป้องกรรมการสหภาพแรงงานความคุ้มกันนั้นๆย่อมตกแก่กรรมการสหภาพแรงงานผู้ได้รับเลือกตั้งนั้นทุกอย่างทุกประการ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3985-3987/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีผลทันทีเมื่อที่ประชุมใหญ่เลือกตั้ง แม้ยังมิได้จดทะเบียนต่อ นายทะเบียน
ที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานได้เลือกตั้งผู้ใดเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน แม้จะยังมิได้มีการแจ้งจดทะเบียนต่อนายทะเบียนก็ตาม ผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่าเป็นกรรมการสหภาพแรงงานตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 แล้ว ความคุ้มกันประการใดที่มาตราดังกล่าวบัญญัติไว้เพื่อปกป้องกรรมการสหภาพแรงงาน ความคุ้มกันนั้น ๆ ย่อมตกแก่กรรมการสหภาพแรงงานผู้ได้รับเลือกตั้งนั้นทุกอย่างทุกประการ
of 2