พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3002/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ: ศาลต้องออกคำบังคับเพื่อให้มีการส่งมอบทรัพย์สินให้แผ่นดิน
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เงินและ/หรือทรัพย์สินอื่นจำนวน 12,000,000 บาทของผู้คัดค้านซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน ผู้คัดค้านจึงหมดสิทธิที่จะยึดถือครอบครองเงินและ/หรือทรัพย์สินดังกล่าวไว้เป็นของตนอีกต่อไป ต้องส่งมอบให้แก่แผ่นดิน เมื่อผู้คัดค้านยังไม่ส่งมอบให้แก่แผ่นดินก็จำเป็นต้องมีการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาโดยเป็นหน้าที่ของผู้ร้องจะต้องเป็นผู้ดำเนินการ เมื่อตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการฯ มิได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าจะบังคับอย่างไรจึงต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 และ มาตรา 272 วรรคหนึ่ง
ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลชั้นต้นเพียงแต่จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านฟังแล้ว แต่ยังมิได้ออกคำบังคับกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขให้ผู้คัดค้านนำเงินดังกล่าวมาส่งมอบให้แก่แผ่นดิน จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกคำบังคับและกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับเพื่อให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 272 วรรคหนึ่ง
ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลชั้นต้นเพียงแต่จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านฟังแล้ว แต่ยังมิได้ออกคำบังคับกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขให้ผู้คัดค้านนำเงินดังกล่าวมาส่งมอบให้แก่แผ่นดิน จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกคำบังคับและกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับเพื่อให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 272 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ: การบังคับใช้กฎหมายและการตกเป็นของแผ่นดิน
การที่นายกรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ ไม่เป็นการตัดอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ป. ที่จะส่งเรื่องให้พนักงาน-อัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน
มีผู้ร้องเรียนกล่าวหาผู้คัดค้านที่ 1 ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ป.ในระหว่างที่ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าผู้คัดค้านที่ 1 ร่ำรวยผิดปกติคณะกรรมการ ป.ป.ป. จึงได้ทำการสืบสวนสอบสวนเรื่อยมาและได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาล เป็นการกระทำเกี่ยวพันสืบต่อกันมาโดยมุ่งหมายถึงทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้มาในระหว่างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ แม้ขณะยื่นคำร้องผู้คัดค้านที่ 1 เกษียณอายุราชการแล้วก็ตาม ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 นั้น ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแทนผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ตกเป็นของแผ่นดิน
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 มาตรา 20 ที่บัญญัติให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้มาโดยมิชอบตกเป็นของแผ่นดินนั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการอันเป็นวิธีการทางวินัยเท่านั้น มิใช่เป็นการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดทางอาญาอันจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของหลักกฎหมายที่ว่าบุคคลจะต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้ ดังนั้น กฎหมายนี้ย้อนหลังไปบังคับถึงทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้มาโดยมิชอบและยังคงมีอยู่ในขณะที่กฎหมายนี้ใช้บังคับได้เพราะการได้ทรัพย์สินมาโดยมิชอบด้วยหน้าที่นั้นเป็นการผิดวินัยตั้งแต่ที่ได้รับมา
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 มาตรา 21 จัตวา เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจคณะกรรมการสอบสวนโดยมีกำหนดระยะเวลา มิใช่มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่ออกจากราชการไปแล้ว
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน แม้เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นไม่ได้แสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.2524 ก็ตาม
มีผู้ร้องเรียนกล่าวหาผู้คัดค้านที่ 1 ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ป.ในระหว่างที่ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าผู้คัดค้านที่ 1 ร่ำรวยผิดปกติคณะกรรมการ ป.ป.ป. จึงได้ทำการสืบสวนสอบสวนเรื่อยมาและได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาล เป็นการกระทำเกี่ยวพันสืบต่อกันมาโดยมุ่งหมายถึงทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้มาในระหว่างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ แม้ขณะยื่นคำร้องผู้คัดค้านที่ 1 เกษียณอายุราชการแล้วก็ตาม ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 นั้น ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแทนผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ตกเป็นของแผ่นดิน
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 มาตรา 20 ที่บัญญัติให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้มาโดยมิชอบตกเป็นของแผ่นดินนั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการอันเป็นวิธีการทางวินัยเท่านั้น มิใช่เป็นการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดทางอาญาอันจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของหลักกฎหมายที่ว่าบุคคลจะต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้ ดังนั้น กฎหมายนี้ย้อนหลังไปบังคับถึงทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้มาโดยมิชอบและยังคงมีอยู่ในขณะที่กฎหมายนี้ใช้บังคับได้เพราะการได้ทรัพย์สินมาโดยมิชอบด้วยหน้าที่นั้นเป็นการผิดวินัยตั้งแต่ที่ได้รับมา
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 มาตรา 21 จัตวา เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจคณะกรรมการสอบสวนโดยมีกำหนดระยะเวลา มิใช่มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่ออกจากราชการไปแล้ว
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน แม้เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นไม่ได้แสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.2524 ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยร่ำรวยผิดปกติของ ป.ป.ป. เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีสิทธิฟ้องร้องก่อนถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 ไม่มีบทบัญญัติใดบัญญัติให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งถูกกล่าวหาว่า ทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการใช้สิทธิทางศาล การที่คณะกรรมการ ป.ป.ป. วินิจฉัยว่าโจทก์ร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติย่อมมีผลเพียงว่าคณะกรรมการ ป.ป.ป. จะต้องแจ้งพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินแล้วเสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งหรือดำเนินการให้มีการสั่งลงโทษโจทก์ ซึ่งจะมีการดำเนินการดังกล่าวหรือไม่อยู่ที่การพิจารณาของพนักงานอัยการหรือนายกรัฐมนตรีแล้วแต่กรณีอีกชั้นหนึ่ง จึงเป็นเรื่องเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งโจทก์คาดคะเนเอาเองยังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งให้ทรัพย์สินเป็นของแผ่นดินในคดีร่ำรวยผิดปกติ ต้องพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าสูงกว่าฐานะและรายได้จริง
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการฯ มาตรา 20 วรรคสาม บัญญัติว่าทรัพย์สินที่คณะกรรมการ ป.ป.ป. วินิจฉัยว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกตินั้น ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้วินิจฉัยว่าทรัพย์สินเป็นของแผ่นดิน เห็นได้ว่า หากจะลงโทษทางวินัยคณะกรรมการ ป.ป.ป. จะต้องสอบสวนให้ได้ความว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ร่ำรวยผิดปกติ แต่จะขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินของผู้นั้นเป็นของแผ่นดินได้เฉพาะที่คณะกรรมการ ป.ป.ป. วินิจฉัยว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติเท่านั้น หาใช่ว่า เมื่อคณะกรรมการฯลงมติว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดเป็นผู้ร่ำรวยผิดปกติแล้วศาลจะต้องสั่งให้ทรัพย์สินของผู้นั้นเป็นของแผ่นดินไม่การแปลกฎหมายดังนั้นเท่ากับเป็นการห้ามมิให้ศาลตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการฯอันเป็นองค์กรฝ่ายบริหาร ย่อมไม่เป็นการสอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย และหากฟังไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติแล้วศาลก็ไม่อาจสั่งให้ทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดินได้โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นหาต้องพิสูจน์ว่าได้ทรัพย์สินในทางที่ชอบไม่ ทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกตินั้น หมายถึงทรัพย์สินที่มีจำนวนมากผิดปกติเมื่อคำนึงถึงฐานะและรายได้ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเจ้าของทรัพย์สินนั้น ซึ่งอาจได้มาในทางที่ชอบและไม่ชอบหรือทั้งสองอย่างรวมกันศาลจะสั่งให้เป็นของแผ่นดินได้เฉพาะทรัพย์สินที่ได้มาในทางที่ไม่ชอบการสั่งว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์ที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติหรือไม่ จึงมิใช่พิจารณา จากเหตุที่ทรัพย์สินนั้นได้มาในทางที่ชอบ หรือมิชอบแต่อย่างใด ผู้ร้องอ้างว่าผู้คัดค้านได้รับโอนหุ้นของบริษัทการบิน อ.198,000 หุ้น มีมูลค่าตามที่จดทะเบียนไว้หุ้นละ 100 บาทถือว่าผู้คัดค้านมีทรัพย์สินราคา 19,800,000 บาทอันเป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติผู้คัดค้านโต้แย้งว่าขณะรับโอนหุ้นมา หุ้นไม่มีมูลค่ามีราคาไม่เกิน 2 บาทดังนี้ เมื่อพยานหลักฐานของผู้คัดค้านฟังได้ว่าหุ้นดังกล่าวไม่มีราคาตามมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ แต่จะมีราคาเท่าใดผู้ร้องไม่นำสืบให้ปรากฏกรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่าหุ้นดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ศาลไม่อาจสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านเป็นของแผ่นดินได้