คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 ม. 20

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไล่ออกขรก. กรณีร่ำรวยผิดปกติ ศาลฎีกายกคำร้องริบทรัพย์สิน ไม่กระทบคำสั่งไล่ออก
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518มาตรา 20 จำแนกวิธีดำเนินการไว้เป็น 2 ส่วน กล่าวคือ ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคหนึ่ง ต้องได้ความว่าผู้นั้นร่ำรวยผิดปกติและไม่สามารถแสดงได้ว่าร่ำรวยขึ้นในทางที่ชอบ ให้ถือว่าผู้นั้นใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งลงโทษไล่ออกมีลักษณะครอบคลุมกว้างขวางถึงพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหา มิใช่มุ่งเฉพาะแต่ตัวทรัพย์สินที่ตรวจสอบพบและให้ถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งเป็นการลงโทษตามบทกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่อง แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคสุดท้าย หากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นแสดงให้ศาลเห็นว่าตนได้ทรัพย์สินนั้นมาในทางที่ชอบ ศาลก็ไม่อาจริบทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดิน จึงเป็นเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับตัวทรัพย์สินตามคำร้องขอซึ่งมีปัญหาเพียงว่า สมควรริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับปัญหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบตามความในวรรคหนึ่ง ดังนั้น คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่เป็นคำสั่งตามความในมาตรา 20 วรรคหนึ่ง เป็นคนละส่วนแยกต่างหากจากวรรคสุดท้าย โจทก์จึงมิอาจยกคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่เกี่ยวเฉพาะตัวทรัพย์สินตามคำร้องตามความในวรรคสุดท้ายขึ้นอ้างเพื่อหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่าตนร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบได้
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ และโดยใช้ดุลพินิจตามขั้นตอน มีกฎหมายรองรับ ทั้งไม่ปรากฏว่ากระบวนการในการออกคำสั่งนั้นไม่ชอบ คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งไล่ออกข้าราชการกรณีร่ำรวยผิดปกติ: แยกพิจารณาเรื่องทรัพย์สินกับเรื่องการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ในวงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 จำแนกวิธีดำเนินการไว้เป็น 2 ส่วน กล่าวคือ ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคหนึ่ง ต้องได้ความว่าผู้นั้นร่ำรวยผิดปกติและไม่สามารถแสดงได้ว่าร่ำรวยขึ้นในทางที่ชอบ ให้ถือว่าผู้นั้นใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบนายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งลงโทษไล่ออก มีลักษณะครอบคลุมกว้างขวางถึงพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหา มิใช่มุ่งเฉพาะแต่ตัวทรัพย์สินที่ตรวจสอบพบและให้ถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ โดยมิชอบ ซึ่งเป็นการลงโทษตามบทกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่อง แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคสุดท้าย หากเจ้าหน้าที่ ของรัฐผู้นั้นแสดงให้ศาลเห็นว่าตนได้ทรัพย์สินนั้นมาในทางที่ชอบศาลก็ไม่อาจริบทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดิน จึงเป็นเรื่องเฉพาะ เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินตามคำร้องขอ ซึ่งมีปัญหาเพียงว่า สมควรริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับ ปัญหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่า เป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบตามความในวรรคหนึ่ง ดังนั้น คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่เป็นคำสั่งตามความใน มาตรา 20 วรรคหนึ่ง เป็นคนละส่วนแยกต่างหากจากวรรคสุดท้าย โจทก์จึงไม่อาจยกคำวินิจฉัยของศาลซึ่งถึงที่สุดที่เกี่ยวเฉพาะตัว ทรัพย์สินตามคำร้องตามความในวรรคสุดท้ายขึ้นอ้างเพื่อหักล้าง ข้อเท็จจริงที่ว่าตนร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบ และถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบได้ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ ของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ โดยใช้ดุลพินิจตามขั้นตอน และมีกฎหมายรองรับทั้งไม่ปรากฏว่ากระบวนการในการออกคำสั่ง นั้นไม่ชอบ คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งไล่ออกเจ้าหน้าที่รัฐฐานร่ำรวยผิดปกติเป็นคำสั่งชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลวินิจฉัยทรัพย์สินนั้นมาโดยชอบ
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง และวรรคสุดท้าย บัญญัติจำแนกวิธีดำเนินการ ไว้เป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคหนึ่งต้องได้ความว่า ผู้นั้นร่ำรวยผิดปกติและไม่สามารถแสดงได้ว่าร่ำรวยขึ้น ในทางที่ชอบ ให้ถือว่าผู้นั้นใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งลงโทษไล่ออก มีลักษณะครอบคลุม กว้างขวางถึงพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหา มิใช่มุ่งเฉพาะ ตัวทรัพย์สินที่ตรวจสอบพบและให้ถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ โดยมิชอบ ซึ่งเป็นการลงโทษตามบทกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่อง แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคสุดท้ายหากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นแสดงให้ศาลเห็นว่าตนได้ทรัพย์สินนั้นมาในทางที่ชอบ ศาลก็ไม่อาจริบทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดิน จึงเป็นเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับตัวทรัพย์สินตามคำร้องขอซึ่งมีปัญหาเพียงว่า สมควรริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับปัญหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบตามความในวรรคหนึ่ง อันเป็นคนละส่วน แยกต่างหากจากวรรคสุดท้าย โจทก์จึงมิอาจยกคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่เกี่ยวเฉพาะตัวทรัพย์สินตามคำร้องตามความในวรรคสุดท้ายขึ้นอ้าง เพื่อหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่าตน ร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ โดยมิชอบ เมื่อคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 54/2530 ที่ให้ไล่โจทก์ออกจากราชการเป็นคำสั่งซึ่งมีลักษณะ เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะโดยใช้ดุลพินิจ ตามขั้นตอนและมีกฎหมายรองรับ ทั้งโจทก์ก็มิได้โต้แย้ง ว่ากระบวนการในการออกคำสั่งนั้นไม่ชอบแต่อย่างใด คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาล เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจและผลของการสั่งลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐร่ำรวยผิดปกติแยกจากกรณีการริบทรัพย์สิน
ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 จำแนกวิธีดำเนินการไว้เป็น 2 ส่วนกล่าวคือ ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคหนึ่ง ต้องได้ความว่าผู้นั้นร่ำรวยผิดปกติและไม่สามารถแสดงได้ว่าร่ำรวยขึ้นในทางที่ชอบ ให้ถือว่าผู้นั้นใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งลงโทษไล่ออก มีลักษณะครอบคลุมกว้างขวางถึงพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหา มิใช่มุ่งเฉพาะแต่ตัวทรัพย์สินที่ตรวจสอบพบและให้ถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งเป็นการลงโทษตามบทกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่อง แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคสุดท้าย หากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นแสดงให้ศาลเห็นว่าตนได้ทรัพย์สินนั้นมาในทางที่ชอบ ศาลก็ไม่อาจริบทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดิน จึงเป็นเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับตัวทรัพย์สินตามคำร้องขอ ซึ่งมีปัญหาเพียงว่า สมควรริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับปัญหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบตามความในวรรคหนึ่ง ดังนั้น คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่เป็นคำสั่งตามความในมาตรา 20 วรรคหนึ่ง เป็นคนละส่วนแยกต่างหากจากวรรคสุดท้าย โจทก์จึงมิอาจยกคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่เกี่ยวเฉพาะตัวทรัพย์สินตามคำร้องตามความในวรรคสุดท้ายขึ้นอ้างเพื่อหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่าตนร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ โดยใช้ดุลพินิจตามขั้นตอนและมีกฎหมายรองรับ ทั้งไม่ปรากฏว่ากระบวนการในการออกคำสั่งนั้นไม่ชอบ คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ แม้พ้นจากตำแหน่งแล้ว และผลย้อนหลังของกฎหมายป้องกันการทุจริต
การที่นายกรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ไม่เป็นการตัดอำนาจของคณะกรรมการป.ป.ป.ที่จะส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน มีผู้ร้องเรียนกล่าวหาผู้คัดค้านที่1ต่อคณะกรรมการป.ป.ป.ในระหว่างที่ผู้คัดค้านที่1เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าผู้คัดค้านที่1ร่ำรวยผิดปกติคณะกรรมการป.ป.ป.จึงได้ทำการสืบสวนสอบสวนเรื่อยมาและได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลเป็นการกระทำเกี่ยวพันสืบต่อกันมาโดยมุ่งหมายถึงทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่1ได้มาในระหว่างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐแม้ขณะยื่นคำร้องผู้คัดค้านที่1เกษียณอายุราชการแล้วก็ตามส่วนผู้คัดค้านที่2และที่3นั้นไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐแต่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแทนผู้คัดค้านที่1ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่1ตกเป็นของแผ่นดินพระราชบัญญัติญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการพ.ศ.2518มาตรา20ที่บัญญัติให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้มาโดยมิชอบตกเป็นของแผ่นดินนั้นเป็นเพียงวิธีการที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการอันเป็นวิธีการทางวินัยเท่านั้นมิใช่เป็นการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดทางอาญาอันจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของหลักกฎหมายที่ว่าบุคคลจะต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้ดังนั้นกฎหมายนี้ย้อนหลังไปบังคับถึงทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้มาโดยมิชอบและยังคงมีอยู่ในขณะที่กฎหมายนี้ใช้บังคับได้เพราะการได้ทรัพย์สินมาโดยมิชอบด้วยหน้าที่นั้นเป็นการผิดวินัยตั้งแต่ที่ได้รับมาพระราชบัญญัติญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการพ.ศ.2518มาตรา21จัตวาเป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจคณะกรรมการสอบสวนโดยมีกำหนดระยะเวลามิใช่มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่ออกจากราชการไปแล้วพระราชบัญญัติญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการพ.ศ.2518ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนแม้เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นไม่ได้แสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐพ.ศ.2524ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่ได้มาจากการทำมาหากิน และทรัพย์สินที่ได้มาจากการให้ของผู้อื่น การพิสูจน์ที่มาของทรัพย์สินเพื่อประกอบการพิจารณาคดี
การ ที่ นายกรัฐมนตรี จะ สั่ง ลงโทษ เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ผู้ร่ำรวยผิดปกติ หรือไม่ ไม่เป็น การ ตัด อำนาจ ของ คณะกรรมการ ป.ป.ป. ที่จะ ส่ง เรื่อง ให้ พนักงาน อัยการ ยื่น คำร้อง ต่อ ศาล เพื่อ ให้ศาล สั่ง ให้ ทรัพย์สิน ของ ผู้นั้น ตกเป็น ของ แผ่นดิน มี ผู้ร้องเรียน กล่าวหา ผู้คัดค้าน ที่ 1 ต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ป.ใน ระหว่าง ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็น เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ร่ำรวย ผิด ปกติ คณะกรรมการ ป.ป.ป. จึง ได้ ทำการ สืบสวนสอบสวน เรื่อยมา และ ได้ ส่ง เรื่อง ให้ พนักงาน อัยการ ผู้ร้องยื่น คำร้อง ต่อ ศาล เป็น การ กระทำ เกี่ยวพัน สืบ ต่อ กัน มา โดยมุ่งหมาย ถึง ทรัพย์สิน ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ได้ มา ใน ระหว่าง เป็นเจ้าหน้าที่ ของ รัฐ แม้ ขณะ ยื่น คำร้อง ผู้คัดค้าน ที่ 1 เกษียณอายุราชการ แล้ว ก็ ตาม ส่วน ผู้คัดค้าน ที่ 2 และ ที่ 3 นั้น ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ แต่ เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ใน ทรัพย์สิน แทนผู้คัดค้าน ที่ 1 ผู้ร้อง จึง มี อำนาจ ยื่น คำร้อง ขอ ให้ ศาล มีคำสั่ง ให้ ทรัพย์สิน ของ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ตกเป็น ของ แผ่นดิน พระราชบัญญัติ ป้องกัน และ ปราบปราม การ ทุจริต และประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 ที่ บัญญัติให้ ศาล สั่ง ทรัพย์สิน ที่ เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ได้ มา โดย ไม่ชอบตกเป็น ของ แผ่นดิน เป็น เพียง วิธีการ ที่ จะ ป้องกัน และปราบปราม การ ทุจริต และ ประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ อัน เป็นวิธี การ ทาง วินัย เท่านั้น มิใช่ เป็น การ ลงโทษ แก่ ผู้กระทำความผิด ทาง อาญา อัน จะ ต้อง อยู่ ภายใต้ บังคับ ของหลัก กฎหมาย ที่ ว่า บุคคล จะ ต้อง รับ โทษ ทาง อาญา ต่อ เมื่อได้ กระทำ การ อัน กฎหมาย ที่ ใช้ ใน ขณะ กระทำ นั้น บัญญัติเป็น ความผิด และ ได้ กำหนด โทษ ไว้ ดังนั้น กฎหมาย นี้ ย้อนหลังไป บังคับ ถึง ทรัพย์สิน ของ เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ที่ ได้ มา โดยมิชอบ และ ยัง คง มี อยู่ ใน ขณะ ที่ กฎหมาย นี้ ใช้ บังคับ ได้ เพราะ การ ได้ ทรัพย์สิน มา โดย มิชอบ ด้วย หน้าที่ นั้น เป็นการ ผิด วินัย ตั้งแต่ ที่ ได้ รับ มา พระราชบัญญัติ ป้องกัน และ ปราบปราม การ ทุจริต และประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 21 จัตวาเป็น บท บัญญัติ ที่ ให้ อำนาจ คณะกรรมการ สอบสวน โดย มีกำหนด ระยะ เวลา มิใช่ ไม่ ให้ ใช้ บังคับ กฎหมาย ดังกล่าวแก่ ผู้ที่ ออก จาก ราชการ ไป แล้ว พระราชบัญญัติ ป้องกัน และ ปราบปราม การ ทุจริต และประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ พ.ศ. 2518 ใช้ บังคับ แก่เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ทุก คน แม้ เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ผู้นั้น ไม่ได้แสดง สินทรัพย์ และ หนี้สิน ตาม พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการ แสดง สินทรัพย์ และ หนี้สิน ของ เจ้าหน้าที่ ของ รัฐพ.ศ. 2524 ก็ ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติของเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องพิจารณาทั้งมูลค่าและที่มาของทรัพย์สิน
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราบการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 มาตรา 20 วรรคสามที่บัญญัติว่า "บรรดาทรัพย์สินที่คณะกรรมการวินิจฉัยว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกตินั้น ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลวินิจฉัยสั่งว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดิน เว้นแต่ผู้นั้นจะแสดงให้ศาลเห็นว่าตนได้ทรัพย์สินนั้นมาในทางที่ชอบ.........." นั้น เห็นได้ว่าการขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ร่ำรวยผิดปกติเป็นของแผ่นดินได้ เฉพาะกรณีที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (คณะกรรมการ ป.ป.ป.) วินิจฉัยว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติเท่านั้น และให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยเสียก่อนที่จะมีคำสั่ง มิได้หมายความว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ป. ที่ว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นผิดปกติเป็นที่สุด ศาลจะต้องสั่งให้ ทรัพย์สินของผู้นั้นเป็นของแผ่นดินและวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ซึ่งเท่ากับเป็นการแปลกฎหมายห้ามมิให้ศาลตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ป. อันเป็นองค์กรฝ่ายบริหาร ย่อมไม่ชอบ และหากฟังไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขั้นโดยผิดปกติแล้ว ศาลก็ไม่อาจสั่งให้ทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดินได้ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นหาต้องพิสูจน์ว่าได้ทรัพย์สินมาในทางที่ชอบไม่
ทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกตินั้นหมายถึงทรัพย์สินที่มีจำนวนมากผิดปกติ เมื่อคำนึงถึงฐานะและรายได้ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเจ้าของทรีพย์สินนั้น ซึ่งอาจได้มาในทางที่ชอบและไม่ชอบหรือทั้งสองอย่างรวมกัน ศาลจะสั่งให้เป็นของแผ่นดินได้ เฉพาะทรัพย์สินที่ได้มาในทางที่ไม่ชอบ การสั่งว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์ที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติหรือไม่ จึงไม่ใช่พิจารณาจากเหตุที่ทรัพย์สินนั้นได้มาในทางที่ชอบหรือไม่ชอบแต่อย่างใด
พนักงานอัยการผู้ร้องอ้างว่า ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับโอนหุ้นจากบริษัทการยินแอร์ - สยาม จำกัด จำนวน 198,000 หุ้น มีมูลค่าตามที่จดทะเบียนไว้ หุ้นละ 100 บาท ถือว่าผู้คัดค้านมีทรัพย์สินราคา 19,800,000 บาท อันเป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านร่ำรวยขึ้นผิดปกติ ผู้คัดค้านโต้แย้งว่าขณะที่รับโอนหุ้นมานั้น หุ้นทั้งหมดไม่มีมูลค่า มีราคาไม่เกิน 2 บาท ดังนี้ เมื่อพยานหลักฐานของผู้คัดค้านฟังได้ว่าหุ้นดังกล่าวไม่มีราคาถึงหุ้นละ 100 บาท ตามมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ แต่จะมีราคาเท่าใด ผู้ร้องไม่นำสืบให้ปรากฏ กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่าหุ้นดังกล่าวเป็นทรัพน์สินที่ร่ำรวยขึ้นผิดปกติดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ศาลไม่อาจสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านเป็นของแผ่นดินได้