คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ข้อ 11

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โครงสร้างค่าจ้างรัฐวิสาหกิจ, ดุลยพินิจเลื่อนขั้น, และสิทธิเงินบำเหน็จเมื่อเลิกจ้าง
มติคณะรัฐมนตรีเรื่องโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือนของพนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจกำหนดไว้ด้วยว่าในการปรับอัตราเงินเดือนนั้นรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งต้องคำนึงถึงฐานะและความสามารถทางการเงินประกอบด้วยโดยให้ได้รับเพิ่มขึ้นไม่เกินไปกว่าตารางปรับค่าจ้างเงินเดือนโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือนดังกล่าวเป็นอัตราขั้นสูงที่รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งจะพิจารณาปรับให้ลูกจ้างของตนได้มิใช่อัตราตายตัวที่รัฐวิสาหกิจทุกแห่งจะต้องปรับแก่ลูกจ้างของตนเมื่อปรากฏว่ากิจการโรงงานกระสอบของจำเลยขาดทุนจำเลยย่อมมีอำนาจปรับค่าจ้างเงินเดือนให้แก่ลูกจ้างต่ำกว่าขั้นสูงของโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือนได้. ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยการเลื่อนขั้นเงินเดือนมิใช่เป็นสิทธิอันเด็ดขาดที่โจทก์จะได้รับเสมอไปกรณีย่อมต้องอยู่ในดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาว่าควรจะเลื่อนขั้นเงินเดือนให้หรือไม่ด้วยเมื่อจำเลยต้องปิดกิจการโรงงานกระสอบโดยที่ยังไม่ทันได้มีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับผิดในเงินเดือนที่ยังไม่ได้พิจารณาเพิ่มให้หาได้ไม่และศาลไม่มีอำนาจบังคับให้จำเลยใช้ดุลยพินิจเลื่อนเงินเดือนให้โจทก์ได้. โจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะโรงงานกระสอบขาดทุนจนต้องปิดกิจการกรณีจึงต้องด้วยข้อบังคับโรงงานกระสอบกระทรวงการคลังว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ.2521ข้อ11ซึ่งโจทก์จะได้รับเงินบำเหน็จอย่างมากไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย180วันตามข้อ11.3แต่โจทก์ได้รับเงินบำเหน็จไปแล้วสูงกว่าสิทธิอันพึงได้แม้นำเอาค่าครองชีพมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จก็ยังได้ไม่เท่ากับเงินที่โจทก์ได้รับไปแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเพิ่มอีกได้.