พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายคอนกรีตผสมเสร็จ ไม่ใช่สัญญาจ้างทำของ ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียภาษีการค้า
การซื้อขายสินค้านั้นผู้ขายไม่จำเป็นต้องทำสินค้าสำเร็จไว้ล่วงหน้าเสมอไปต้องคำนึงถึงคุณลักษณะพิเศษของสินค้าที่จะขายด้วยโจทก์ทั้งสองประกอบธุรกิจคอนกรีตผสมเสร็จไม่อาจผสมคอนกรีตไว้ก่อนได้ เพราะหากไม่มีผู้ใดซื้อภายใน 1 ชั่วโมง คอนกรีตผสมเสร็จที่ทำไว้จะแข็งตัวไม่อาจนำไปใช้งานได้ สินค้าชนิดนี้จำเป็นต้องขายตามคำสั่งของลูกค้าแต่ละรายไปนอกจากนี้ทั้งลูกค้าของโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 1และโจทก์ที่ 2 กับโจทก์ที่ 1 ต่างมีเจตนาจะมุ่งให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เพื่อตอบแทนการใช้ราคา มิได้หวังผลสำเร็จในการงานเป็นสาระสำคัญ งานที่โจทก์ทั้งสองรับทำจนสำเร็จมิได้สำคัญไปกว่าสัมภาระหรือส่วนผสมที่นำมาใช้ในการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จโจทก์ทั้งสองประกอบธุรกิจเป็นการทั่วไปเป็นปกติธุระมิใช่เป็นการครั้งคราวแม้ลูกค้าจะเป็นผู้กำหนดอัตราส่วนหรือสูตรในการผสมคอนกรีตผสมเสร็จตามที่ลูกค้าต้องการหรือมีการกำหนดรวมค่าขนส่งและกำหนดอัตราค่าจอดรถคอยการเทคอนกรีตลงไว้ด้วย ก็เป็นการกำหนดรายละเอียดไว้เป็นเงื่อนไขในการรับซื้อ เข้าลักษณะเป็นสัญญาซื้อขาย หาใช่สัญญาจ้างทำของไม่โจทก์ทั้งสองจึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4925/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโรงแรมที่จ่ายให้บริษัทต่างประเทศ ถือเป็นค่าจ้างทำของและต้องเสียภาษี
โจทก์จ่ายเงินค่าใช้จ่ายเบิกชดเชยและค่าการตลาดกับค่าส่งเสริมการตลาดตามสัญญาจ้างเป็นที่ปรึกษาและบริการทางเทคนิคให้กับบริษัท พ. ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศ เงินได้ดังกล่าวถือเป็นเงินได้จากการรับทำงานให้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40(2)หาใช่เป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์เองไม่ บริษัท พ. ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาในประเทศไทยเพื่อให้คำปรึกษาแก่โจทก์ ยังถือไม่ได้ว่าบริษัท พ. ประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อโจทก์จ่ายเงินค่าใช้จ่ายเบิกชดเชยและค่าการตลาดกับค่าส่งเสริมการตลาดให้กับบริษัท พ. โจทก์มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วนำส่งกรมสรรพากร ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 โจทก์จ่ายค่าตอบแทนให้บริษัท ฮ. ตามสัญญาจ้างให้บริหารกิจการโรงแรมของโจทก์ แม้โจทก์จะเรียกว่าค่าธรรมเนียม ค่าการตลาดหรือเงินจ่ายคืนให้บริษัท ฮ.สำหรับค่าใช้จ่ายที่บริษัทฮ.ทดรองจ่ายแทนโจทก์ไปก่อนก็มีความหมายอย่างเดียวกับค่าจ้างทำของโจทก์มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้และการค้า ณ ที่จ่ายแล้วนำส่งกรมสรรพากร ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 3 เตรส,78 สัตตรส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4925/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีบริษัทต่างประเทศให้บริการและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการโรงแรม
การที่บริษัท พ.ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศได้จัดส่งคนงานเข้ามาในประเทศไทยเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำแก่โจทก์ในการประกอบกิจการโรงแรมของโจทก์เท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์ผู้จ่ายเงินได้ตามมาตรา 40 (2) ให้แก่บริษัทดังกล่าวจึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 (1)
โจทก์ทำสัญญาจ้างบริษัท ฮ.ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่โจทก์ในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับกิจการโรงแรมของโจทก์ การที่บริษัทดังกล่าวปฏิบัติงานให้โจทก์ตามสัญญานั้น บริษัทดังกล่าวจะต้องมีค่าใช้จ่ายของตนเองเพื่อทำงานให้บรรลุผลตามสัญญา ดังนั้น ค่าใช้จ่ายเบิกชดเชย ค่าการตลาด กับค่าส่งเสริมการตลาดที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัทดังกล่าว จึงเป็นเงินได้จากการที่บริษัทดังกล่าวรับทำงานให้โจทก์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (2) หาใช่เป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ซึ่งบริษัทดังกล่าวทดรองจ่ายไปก่อนแล้วโจทก์จะจ่ายคืนให้ในภายหลังไม่ โจทก์ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่บริษัทดังกล่าวจึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 3 เตรส
การที่โจทก์จ้างบริษัท ฮ.ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมของโจทก์ก็เพื่อให้กิจการโรงแรมของโจทก์เป็นไปด้วยดี ดังนั้นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัทดังกล่าว ก็เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่บริษัทดังกล่าวจะบริหารโรงแรมให้โจทก์ จึงถือเป็นเงินค่าจ้างทำของ แม้โจทก์จะเรียกเงินที่จ่ายนั้นว่าเป็น ค่าการตลาด ค่าธรรมเนียม หรือเงินจ่ายคืนสำหรับค่าใช้จ่ายที่บริษัทดังกล่าวได้ทดรองจ่ายแทนโจทก์ไปก็ตาม แต่แท้จริงแล้วล้วนเป็นเงินค่าจ้างทำของทั้งสิ้น บริษัท ฮ.จึงต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 4 ชนิด 1 (ฉ) โจทก์ผู้จ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่บริษัท ฮ. จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล แล้วนำส่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 สัตตรส ประกอบด้วยมาตรา 78 ปัณรส วรรคสอง
โจทก์ทำสัญญาจ้างบริษัท ฮ.ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่โจทก์ในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับกิจการโรงแรมของโจทก์ การที่บริษัทดังกล่าวปฏิบัติงานให้โจทก์ตามสัญญานั้น บริษัทดังกล่าวจะต้องมีค่าใช้จ่ายของตนเองเพื่อทำงานให้บรรลุผลตามสัญญา ดังนั้น ค่าใช้จ่ายเบิกชดเชย ค่าการตลาด กับค่าส่งเสริมการตลาดที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัทดังกล่าว จึงเป็นเงินได้จากการที่บริษัทดังกล่าวรับทำงานให้โจทก์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (2) หาใช่เป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ซึ่งบริษัทดังกล่าวทดรองจ่ายไปก่อนแล้วโจทก์จะจ่ายคืนให้ในภายหลังไม่ โจทก์ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่บริษัทดังกล่าวจึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 3 เตรส
การที่โจทก์จ้างบริษัท ฮ.ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมของโจทก์ก็เพื่อให้กิจการโรงแรมของโจทก์เป็นไปด้วยดี ดังนั้นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัทดังกล่าว ก็เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่บริษัทดังกล่าวจะบริหารโรงแรมให้โจทก์ จึงถือเป็นเงินค่าจ้างทำของ แม้โจทก์จะเรียกเงินที่จ่ายนั้นว่าเป็น ค่าการตลาด ค่าธรรมเนียม หรือเงินจ่ายคืนสำหรับค่าใช้จ่ายที่บริษัทดังกล่าวได้ทดรองจ่ายแทนโจทก์ไปก็ตาม แต่แท้จริงแล้วล้วนเป็นเงินค่าจ้างทำของทั้งสิ้น บริษัท ฮ.จึงต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 4 ชนิด 1 (ฉ) โจทก์ผู้จ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่บริษัท ฮ. จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล แล้วนำส่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 สัตตรส ประกอบด้วยมาตรา 78 ปัณรส วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4925/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้า: ค่าใช้จ่ายของบริษัทต่างประเทศที่ปรึกษาโรงแรม ถือเป็นเงินได้จากการรับทำงาน
การที่บริษัท พ.ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศได้จัดส่งคนงานเข้ามาในประเทศไทยเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำแก่โจทก์ในการประกอบกิจการโรงแรมของโจทก์เท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์ผู้จ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(2) ให้แก่บริษัทดังกล่าวจึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณที่จ่าย และนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70(1) โจทก์ทำสัญญาจ้างบริษัท ฮ.ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่โจทก์ในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับกิจการโรงแรมของโจทก์ การที่บริษัทดังกล่าวปฏิบัติงานให้โจทก์ตามสัญญานั้น บริษัทดังกล่าวจะต้องมีค่าใช้จ่ายของตนเองเพื่อทำงานให้บรรลุผลตามสัญญา ดังนั้น ค่าใช้จ่ายเบิกชดเชย ค่าการตลาด กับค่าส่งเสริมการตลาดที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัทดังกล่าว จึงเป็นเงินได้จากการที่บริษัทดังกล่าวรับทำงานให้โจทก์ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(2) หาใช่เป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ซึ่งบริษัทดังกล่าวทดรองจ่ายไปก่อนแล้วโจทก์จะจ่ายคืนให้ในภายหลังไม่ โจทก์ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่บริษัทดังกล่าวจึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 3 เตรส การที่โจทก์จ้างบริษัท ฮ.ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมของโจทก์ก็เพื่อให้กิจการโรงแรมของโจทก์เป็นไปด้วยดี ดังนั้นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัทดังกล่าว ก็เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่บริษัทดังกล่าวจะบริหารโรงแรมให้โจทก์ จึงถือเป็นเงินค่าจ้างทำของ แม้โจทก์จะเรียกเงินที่จ่ายนั้นว่าเป็น ค่าการตลาด ค่าธรรมเนียม หรือเงินจ่ายคืนสำหรับค่าใช้จ่ายที่บริษัทดังกล่าวได้ทดรองจ่ายแทนโจทก์ไปก็ตามแต่แท้จริงแล้วล้วนเป็นเงินค่าจ้างทำของทั้งสิ้น บริษัท ฮ.จึงต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 4 ชนิด 1(ฉ) โจทก์ผู้จ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่บริษัท ฮ. จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล แล้วนำส่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 สัตตรสประกอบด้วยมาตรา 78 ปัณรส วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2519/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้าจากรายรับค่าก่อสร้างและค่าเช่าอาคารพาณิชย์
ตัวเลขที่แสดงรายรับตามสมุดบัญชีและเอกสารที่โจทก์อ้างนั้น โจทก์ได้แสดงไว้ในแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.5) และแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้า (ภ.ค. (พ) 4) ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินได้วิเคราะห์แล้ว เห็นว่ารายรับที่โจทก์แสดงต่ำกว่าความเป็นจริง นอกจากนั้นปรากฏว่าเอกสารต่าง ๆ ที่โจทก์ขอให้ศาลหมายเรียกจากจำเลย จำเลยได้จัดส่งศาลตามหมายเรียกที่ส่งไม่ได้บางฉบับจำเลยก็มีหนังสือแจ้งต่อศาลว่า ค้นหาไม่พบ และบางฉบับบุคคลอื่นมิได้ส่งมา ทั้งเอกสารบางฉบับที่จำเลยแจ้งต่อศาลว่าบุคคลอื่นมิได้ส่งมอบแก่จำเลยโจทกก็มิได้ขอให้ศาลออกหมายเรียกจาก บุคคลนั้น ดังนี้ โจทก์จะอาศัยประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 123 ว่าต้องรับฟังข้อเท็จจริงตามที่โจทก์อ้างหาได้ไม่
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินจากทางราชการเพื่อปลูกสร้างอาคารพาณิชย์โดยมีข้อตกลงว่าโจทก์จะต้องเสียค่าตอบแทน บางอย่าง และยกกรรมสิทธิ์อาคารแก่ทางราชการ แต่โจทก์ก็มีสิทธินำอาคารเหล่านั้นไปใช้เช่าช่วงแล้วเก็บเงินค่าก่อสร้างจากผู้เช่าช่วง ย่อมเป็นความประสงค์ของทางราชการได้ว่า ประสงค์ที่จะก่อสร้างอาคารพาณิชย์แล้วนำออกให้เช่านั่นเอง แต่แทนที่จะว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ก่อสร้างโดยตรงแล้วนำออกให้เช่า กลับดำเนินการด้วยวิธีทำความตกลงให้โจทก์เป็นผู้ก่อสร้างแล้วให้โจทก์ไปเรียกค่าก่อสร้างจากผู้เช่าช่วงในรูปแบบของเงินช่วยเหลือก่อสร้าง ฉะนั้น เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ามีวัตถุประสงค์ในการรับเหมาก่อสร้าง โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับ (เงินช่วยเหลือค่าก่อสร้างที่ได้รับจากผู้เช่าช่วง) ของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 4. การรับจ้างทำของ (ค) การปลูกสร้างหรือการก่อสร้างทุกชนิด
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินจากทางราชการเพื่อปลูกสร้างอาคารพาณิชย์โดยมีข้อตกลงว่าโจทก์จะต้องเสียค่าตอบแทน บางอย่าง และยกกรรมสิทธิ์อาคารแก่ทางราชการ แต่โจทก์ก็มีสิทธินำอาคารเหล่านั้นไปใช้เช่าช่วงแล้วเก็บเงินค่าก่อสร้างจากผู้เช่าช่วง ย่อมเป็นความประสงค์ของทางราชการได้ว่า ประสงค์ที่จะก่อสร้างอาคารพาณิชย์แล้วนำออกให้เช่านั่นเอง แต่แทนที่จะว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ก่อสร้างโดยตรงแล้วนำออกให้เช่า กลับดำเนินการด้วยวิธีทำความตกลงให้โจทก์เป็นผู้ก่อสร้างแล้วให้โจทก์ไปเรียกค่าก่อสร้างจากผู้เช่าช่วงในรูปแบบของเงินช่วยเหลือก่อสร้าง ฉะนั้น เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ามีวัตถุประสงค์ในการรับเหมาก่อสร้าง โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับ (เงินช่วยเหลือค่าก่อสร้างที่ได้รับจากผู้เช่าช่วง) ของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 4. การรับจ้างทำของ (ค) การปลูกสร้างหรือการก่อสร้างทุกชนิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจโฆษณาเป็นรับจ้างทำของ ไม่ใช่ตัวแทนหรือนายหน้า ต้องเสียภาษีการค้าร้อยละ 2
โจทก์ประกอบธุรกิจรับจ้างโฆษณาให้แก่ลูกค้า โดยโจทก์ให้ความคิด ให้แปลนความคิดเกี่ยวกับรูปแบบ คำพูด ภาพยนตร์ เทป ซึ่งเป็นเรื่องสร้างสรรค์แนวความคิดในการออกแบบโฆษณาให้มีผู้รู้จักสินค้าของลูกค้ามากที่สุดแล้วโจทก์จ้างสื่อโฆษณาอันได้แก่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ให้ทำการโฆษณาหรือโจทก์จ้างผู้อื่นให้ผลิตวัสดุโฆษณาทำการโฆษณา การประกอบธุรกิจโฆษณาดังกล่าวโจทก์ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นคนกลางช่วยชี้ช่องให้ลูกค้าของโจทก์กับสื่อโฆษณาได้เข้าทำสัญญากันอันเป็นการกระทำของนายหน้า หรือออกเงินทดรองหรือค่าใช้จ่ายแทนลูกค้าอันเป็นการกระทำของตัวแทน จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 10นายหน้าและตัวแทน แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า หากแต่เป็นการรับทำการงานโฆษณาโดยถือผลสำเร็จของงานเป็นสาระสำคัญ จึงเป็นการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 4 ชนิด 1(ฉ)การรับจ้างทำของอย่างอื่น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขาย vs. รับจ้างทำของ: การผลิตอิฐทนไฟตามสั่งเสียภาษีการค้าประเภทใด
ข้อแตกต่างระหว่างการซื้อขายและการรับจ้างทำของนั้นหาได้อยู่ที่เจตนาและกริยาของคู่กรณีที่ประพฤติต่อกันแต่ประการเดียวไม่ แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า สัมภาระกับการงานที่รับทำจนสำเร็จนั้นสิ่งไหนสำคัญกว่ากัน ถ้าการงานที่รับทำจนสำเร็จสำคัญกว่าสัมภาระก็เป็นรับจ้างทำของ แต่ถ้าไม่สำคัญกว่าก็เป็นการซื้อขาย
การผลิตอิฐทนไฟไม่ว่าจะเป็นการผลิตแบบมาตรฐานหรือผลิตตามคำสั่งเป็นการเฉพาะราย วัตถุดิบหรือสัมภาระที่ใช้ได้แก่บล๊อกไซด์ ชามอส อลูมิน่า ดินทนไฟ นำมาผสมกัน เติมด้วยสารเคมีแล้วนาไปอัดเป็นรูปแบบต่าง ๆ จากนั้นจึงนำไปเผาไฟ จึงเห็นได้ว่าอิฐทนไฟที่ผลิตหาได้มีความสำคัญไปกว่าสัมภาระหรือวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตไม่ การผลิตอิฐทนไฟตามคำสั่งเฉพาะรายของลูกค้าจึงมิใช่เป็นการรับจ้างทำของ แต่เป็นการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟเช่นเดียวกับอิฐทนไฟแบบมาตรฐานนั่นเอง ดังนั้นรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟตามคำสั่งของลูกค้าเป็นการเฉพาะราย จึงต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1.การขายของ ชนิด 1 (ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 เช่นเดียวกับรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟแบบมาตรฐาน มิใช่เสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 4.การรับจ้างทำของ ชนิด 1 (ฉ) ในอัตราร้อยละ 2
การผลิตอิฐทนไฟไม่ว่าจะเป็นการผลิตแบบมาตรฐานหรือผลิตตามคำสั่งเป็นการเฉพาะราย วัตถุดิบหรือสัมภาระที่ใช้ได้แก่บล๊อกไซด์ ชามอส อลูมิน่า ดินทนไฟ นำมาผสมกัน เติมด้วยสารเคมีแล้วนาไปอัดเป็นรูปแบบต่าง ๆ จากนั้นจึงนำไปเผาไฟ จึงเห็นได้ว่าอิฐทนไฟที่ผลิตหาได้มีความสำคัญไปกว่าสัมภาระหรือวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตไม่ การผลิตอิฐทนไฟตามคำสั่งเฉพาะรายของลูกค้าจึงมิใช่เป็นการรับจ้างทำของ แต่เป็นการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟเช่นเดียวกับอิฐทนไฟแบบมาตรฐานนั่นเอง ดังนั้นรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟตามคำสั่งของลูกค้าเป็นการเฉพาะราย จึงต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1.การขายของ ชนิด 1 (ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 เช่นเดียวกับรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟแบบมาตรฐาน มิใช่เสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 4.การรับจ้างทำของ ชนิด 1 (ฉ) ในอัตราร้อยละ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขาย vs. รับจ้างทำของ: การผลิตอิฐทนไฟตามสั่งพิจารณาจากความสำคัญของวัตถุดิบและงานสำเร็จ
ข้อแตกต่างระหว่างการซื้อขายและการรับจ้างทำของนั้นหาได้อยู่ที่เจตนาและกิริยาของคู่กรณีที่ประพฤติต่อกันแต่ประการเดียวไม่แต่ความสำคัญอยู่ที่จะต้องพิจารณาว่าสัมภาระกับงานที่รับทำจนสำเร็จนั้นสิ่งไหนสำคัญกว่ากัน ถ้า การงานที่รับทำจนสำเร็จสำคัญกว่าสัมภาระก็เป็นการรับจ้างทำของ แต่ถ้า ไม่สำคัญกว่าก็เป็นการซื้อขาย การผลิตอิฐทนไฟไม่ว่าจะเป็นการผลิตตามแบบมาตรฐานหรือผลิตตามคำสั่งเป็นการเฉพาะรายของโจทก์นั้น วัตถุดิบหรือสัมภาระที่ใช้ในการทำอิฐ ทน ไฟ ได้แก่ บล๊อกไซด์ชามอสอลูมิน่า ดิน ทนไฟ นำมาผสมกันเติม ด้วยสารเคมี แล้วนำไปอัดเป็นรูปแบบต่าง ๆ จากนั้นจึงนำไปเผาไฟ อิฐทนไฟที่ผลิตได้หาได้มีความสำคัญไปกว่าสัมภาระหรือวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตไม่ การผลิตอิฐทนไฟตามคำสั่งเฉพาะรายของลูกค้าจึงหาใช่เป็นการรับจ้างทำของไม่ แต่เป็นการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟเช่นเดียวกันอิฐทนไฟแบบมาตรฐานรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟตามคำสั่งของลูกค้าเป็นการเฉพาะรายจึงต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1.การขายของ ชนิด 1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 เช่นเดียวกับการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟแบบมาตรฐาน จะนำมาแยกเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า4. การรับจ้างทำของ ชนิด 1(ฉ) ในอัตราร้อยละ 2 หาได้ไม่.