พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เคยวินิจฉัยแล้วเด็ดขาด แม้มีการอ้างเหตุครอบครองปรปักษ์ก็ไม่เปลี่ยนแปลง
คดีก่อนมีประเด็นว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา เป็นของโจทก์หรือจำเลย คู่ความตกลงท้ากันด้วยวิธีการรังวัดที่ดินพิพาทเป็นข้อแพ้ชนะคดีโดยไม่มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นพิพาทและสืบพยาน ผลการรังวัดปรากฏว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน กรณีย่อมถือว่าประเด็นพิพาทแห่งคดีที่ว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา เป็นของโจทก์หรือจำเลยในคดีก่อนนั้นเป็นประเด็นโดยตรงได้รับการวินิจฉัยในคดีก่อนและคดีถึงที่สุดไปแล้ว การที่โจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนกลับมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนอีกว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา ในคดีก่อนเป็นของโจทก์ แม้คดีนี้โจทก์จะอ้างการครอบครองปรปักษ์มาด้วย ก็หาได้แตกต่างกับคดีก่อนที่อ้างว่าโจทก์ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่อย่างใดไม่ และไม่ทำให้ประเด็นพิพาทที่ว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นกรณีคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาในคดีล้มละลาย แม้ขาดอายุความ ก็ยังขอรับชำระหนี้ได้ หากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
ในการตรวจคำขอรับชำระหนี้และทำความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอต่อศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเต็มที่ที่จะสอบสวนและมีความเห็นในเรื่องหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ และศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาสั่งตามมาตรา106 และมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 แม้มูลหนี้เดิมตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะขาดอายุความตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเสนอความเห็นต่อศาลก็ตาม แต่มูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้โดยสภาพแห่งหนี้มิใช่หนี้ที่เจ้าหนี้จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ให้ชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ทั้งก่อนที่เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ได้อาศัยหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย ลูกหนี้ก็ไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่ามูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ขาดอายุความ จนศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดคดีแพ่งและคดีล้มละลายถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ หนี้ตามคำขอรับชำระหนี้รายนี้ย่อมมิใช่หนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้จึงไม่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามความในมาตรา 94(1) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะยกอายุความเป็นเหตุ ขอให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาศาล แม้ขาดอายุความเดิม ก็ยังขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
ในการตรวจคำขอรับชำระหนี้และทำความเห็นของ จ.พ.ท.เสนอต่อศาล จ.พ.ท.มีอำนาจเต็มที่ที่จะสอบสวนและมีความเห็นในเรื่องหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ และศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาสั่งตามมาตรา 106 และมาตรา 107แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483
แม้มูลหนี้เดิมตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะขาดอายุความตามที่จ.พ.ท.สอบสวนเสนอความเห็นต่อศาลก็ตาม แต่มูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้โดยสภาพแห่งหนี้มิใช่หนี้ที่เจ้าหนี้จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ให้ชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ทั้งก่อนที่เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ได้อาศัยหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย ลูกหนี้ก็ไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่ามูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ขาดอายุความ จนศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด คดีแพ่งและคดีล้มละลายถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ หนี้ตามคำขอรับชำระหนี้รายนี้ย่อมมิใช่หนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ จึงไม่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามความในมาตรา94 (1) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 จ.พ.ท.จะยกอายุความมาเป็นเหตุขอให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้หาได้ไม่
แม้มูลหนี้เดิมตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะขาดอายุความตามที่จ.พ.ท.สอบสวนเสนอความเห็นต่อศาลก็ตาม แต่มูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้โดยสภาพแห่งหนี้มิใช่หนี้ที่เจ้าหนี้จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ให้ชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ทั้งก่อนที่เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ได้อาศัยหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย ลูกหนี้ก็ไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่ามูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ขาดอายุความ จนศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด คดีแพ่งและคดีล้มละลายถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ หนี้ตามคำขอรับชำระหนี้รายนี้ย่อมมิใช่หนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ จึงไม่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามความในมาตรา94 (1) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 จ.พ.ท.จะยกอายุความมาเป็นเหตุขอให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายคดีแพ่ง: การตีความมาตรา 1562 และ 1547 อย่างเคร่งครัด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาเป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิ ต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งหมายความว่าห้ามเฉพาะบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้นโจทก์เป็นบุตรที่จำเลยรับรองแล้วแต่จำเลยและมารดาโจทก์มิได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยต่อเมื่อจำเลยและมารดาโจทก์สมรสกันภายหลังหรือจำเลยได้จดทะเบียนว่าโจทก์เป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547เมื่อไม่มีการดำเนินการดังกล่าว โจทก์จึงมิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยานหลักฐานแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีไม่ได้ขอให้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง20 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก) เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลดังกล่าวเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายคดีแพ่ง: การตีความมาตรา 1562 ป.พ.พ. ที่จำกัดสิทธิ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 โจทก์จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยต่อเมื่อจำเลยและมารดาโจทก์ได้สมรสกันในภายหลัง หรือจำเลยได้จดทะเบียนว่าโจทก์เป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร แม้โจทก์เป็นบุตรที่จำเลยรับรองแล้ว แต่จำเลยและมารดาโจทก์มิได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์จึงเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย และตามมาตรา 1562 ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญานั้น เป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งต้องหมายความว่าห้ามเฉพาะบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินรวมในคดีล้มละลาย: สิทธิของผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมและการขายทอดตลาด
ปัญหาที่ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดเพื่อนำออกขายทอดตลาดแล้วกันเงินกึ่งหนึ่งที่ได้จากการขายทอดตลาดตามสิทธิของผู้ร้องทั้งสี่ให้แก่ผู้ร้องทั้งสี่ได้หรือไม่นั้นแม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกเป็นข้อคัดค้านในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 เมื่อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมีผู้ร้องทั้งสี่กับจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยมีบ้านเลขที่ 113/10ปลูกคร่อมอยู่โดยไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ร้องทั้งสี่ได้ครอบครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างส่วนใดมาก่อน แสดงว่าผู้ร้องทั้งสี่กับจำเลยมิได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดผู้คัดค้านซึ่งมีหน้าที่จัดการและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยจึงมีสิทธิยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดเพื่อนำออกขายทอดตลาดได้ จะเจาะจงให้ผู้คัดค้านยึดเฉพาะส่วนของจำเลยและให้ขายทอดตลาดเฉพาะส่วนของจำเลยไม่มีทางจะกระทำได้ เรื่องเช่นนี้ แม้แต่ในกรณีระหว่างผู้ร้องทั้งสี่กับจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ถ้าการแบ่งกันเองไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนัก ศาลก็ต้องสั่งให้ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 วรรคสอง เมื่อผู้คัดค้านยืนยันให้ขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดจึงชอบที่จะปฏิบัติไปตามนั้นและผู้ร้องทั้งสี่ย่อมมีทางจะร้องขอให้แบ่งส่วนของตนตามสิทธิของผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในทางการบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2851/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ผลผูกพันคำพิพากษา: สัญญาซื้อขายยังไม่เลิก ผลของคำพิพากษาผูกพันคู่ความ โจทก์มีสิทธิบังคับตามสัญญา
จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยซึ่งอยู่ทาง ด้านทิศใต้ให้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาและบอกเลิกสัญญา โจทก์จึงได้ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายและค่ามัดจำคืนจากจำเลยศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดไปแล้ว แม้โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกโดยอ้างสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดียวกันกันที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีก่อนก็ตาม แต่โจทก์ก็อ้างเหตุที่ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทในคดีนี้ว่า หลังจากคดีก่อนถึงที่สุดแล้ว น.ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลขอให้บังคับจำเลยยื่นเรื่องราวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทำการรังวัดและจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวจำนวนครึ่งแปลงให้เป็นกรรมสิทธิ์ของน. และ พ. ซึ่งต่อมาปรากฏว่าจำเลยกับ น. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาล ตกลงจะทำการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์กันให้ที่ดินครึ่งแปลงทางด้านทิศเหนือเป็นส่วนของน. และ พ. และให้ที่ดินทางด้านทิศใต้เป็นส่วนของจำเลยเจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดที่ดินตามคำสั่งศาลผลการรังวัดสามารถคำนวณเนื้อที่ดินพิพาททั้งแปลงได้แล้วทำให้โจทก์กับจำเลยทราบจำนวนเนื้อที่ดินซึ่งจำเลยตกลงขายให้แก่โจทก์แน่นอนและสามารถคำนวณเงินราคาที่ดินตามจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอน โจทก์จึงบอกกล่าวถึงจำเลยอีกครั้งหนึ่ง และขอให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินส่วนซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนที่โจทก์อ้างเหตุ ในการขอเลิกสัญญาแก่จำเลยว่าจำเลยไม่ทำการรังวัดแบ่งแยก กรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อให้ทราบจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอนโจทก์ จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย ดังนั้น เมื่อประเด็นของคดีเดิมและคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ คดีก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่เลิกกัน และการ ที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเป็นการไม่ชอบ คำพิพากษาย่อมผูกพันทั้งโจทก์และจำเลยทุกส่วน มิใช่ผูกพันเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งเมื่อคำพิพากษาผูกพันโจทก์จำเลยและต้องถือว่า สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติ ตามสัญญาได้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามต้องถือว่าจำเลย เป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2851/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ สัญญาซื้อขายที่ดิน: เหตุต่างกัน ฟ้องได้ แม้คดีก่อนศาลยกฟ้อง
จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ให้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาและบอกเลิกสัญญา โจทก์จึงได้ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายและค่ามัดจำคืนจากจำเลยศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดไปแล้ว แม้ที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกโดยอ้างสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีก่อนก็ตาม แต่โจทก์ก็อ้างเหตุที่ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทในคดีนี้ว่า หลังจากคดีก่อนถึงที่สุดแล้วน.ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลขอให้บังคับจำเลยยื่นเรื่องราวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทำการรังวัดและจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวจำนวนครึ่งแปลงให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ น.และ พ. ซึ่งต่อมาปรากฏว่าจำเลยกับ น.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาล ตกลงจะทำการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์กันให้ที่ดินครึ่งแปลงทางด้านทิศเหนือเป็นส่วนของ น. และ พ. และให้ที่ดินทางด้านทิศใต้เป็นส่วนของจำเลย เจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดที่ดินตามคำสั่งศาล ผลการรังวัดสามารถคำนวณเนื้อที่ดินพิพาททั้งแปลงได้แล้ว ทำให้โจทก์กับจำเลยทราบจำนวนเนื้อที่ดินซึ่งจำเลยตกลงขายให้แก่โจทก์แน่นอนและสามารถคำนวณเงินราคาที่ดินตามจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอน โจทก์จึงบอกกล่าวถึงจำเลยอีกครั้งหนึ่งและขอให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินส่วนซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนที่โจทก์อ้างเหตุในการขอเลิกสัญญาแก่จำเลยว่าจำเลยไม่ทำการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อให้ทราบจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอนโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย ดังนั้น เมื่อประเด็นของคดีเดิมและคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่เลิกกัน และการที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเป็นการไม่ชอบ คำพิพากษาย่อมผูกพันทั้งโจทก์และจำเลยทุกส่วน มิใช่ผูกพันเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง เมื่อคำพิพากษาผูกพันโจทก์จำเลยและต้องถือว่า สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คดีก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่เลิกกัน และการที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเป็นการไม่ชอบ คำพิพากษาย่อมผูกพันทั้งโจทก์และจำเลยทุกส่วน มิใช่ผูกพันเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง เมื่อคำพิพากษาผูกพันโจทก์จำเลยและต้องถือว่า สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2723/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเอาเอกสารสิทธิไปเสีย ทำให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของเอกสาร
โจทก์ร่วมทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยโอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลยนำไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันค่าเสียหายที่จำเลยไปทำงานเป็นพนักงานเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแต่จำเลยนำไปจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลยซึ่งไม่ตรงกับเจตนาของโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมมิได้ยินยอมยกให้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเอาไปเสียซึ่งเอกสารสิทธิของโจทก์ร่วมในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 188
ตามบทบัญญัติลักษณะ 3 ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรมหมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรมนั้น มิได้บัญญัติโดยมุ่งหมายเฉพาะการกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรมเท่านั้น แต่ยังบัญญัติโดยมุ่งหมายไปในทางพยานหลักฐานแห่งคดีอีกด้วย การที่จำเลยเอาไปเสียซึ่งเอกสารหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ร่วมในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม จึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 188
ตามบทบัญญัติลักษณะ 3 ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรมหมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรมนั้น มิได้บัญญัติโดยมุ่งหมายเฉพาะการกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรมเท่านั้น แต่ยังบัญญัติโดยมุ่งหมายไปในทางพยานหลักฐานแห่งคดีอีกด้วย การที่จำเลยเอาไปเสียซึ่งเอกสารหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ร่วมในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม จึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 188
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2723/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเอกสารสิทธิไปจดทะเบียนโอนโดยไม่ได้รับความยินยอม ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188
โจทก์ร่วมทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยโอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลยนำไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันค่าเสียหายที่จำเลยไปทำงานเป็นพนักงานเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแต่จำเลยนำไปจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลยซึ่งไม่ตรงกับเจตนาของโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมมิได้ยินยอมยกให้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเอาไปเสียซึ่งเอกสารสิทธิของโจทก์ร่วมในการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 ตามบทบัญญัติลักษณะ 3 ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรมหมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรมนั้นมิได้บัญญัติโดยมุ่งหมายเฉพาะการกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรมเท่านั้น แต่ยังบัญญัติโดยมุ่งหมายไปในทางพยานหลักฐานแห่งคดีอีกด้วยการที่จำเลยเอาไปเสียซึ่งเอกสารหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ร่วมในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188