คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วินัส เรืองอำพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การพิสูจน์ภาระหนี้สินล้นพ้นตัวและความสามารถในการชำระหนี้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ตกลงเห็นชอบยอมรับคำขอประนอมหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 ย่อมไม่ถูกจำกัดอำนาจโดยมีบุคคลอื่นจัดการทรัพย์สินหรือกิจการแทน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 58 กรณีต้องถือว่าคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้นเป็นอันยกเลิกไปในตัว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมกลับเป็นผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์สินหรือกิจการของตนขึ้นตามเดิมและมีความสามารถประกอบกิจการหรือจัดการทรัพย์สินของตนได้ต่อไป
จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ไม่มีความสามารถชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและศาลเห็นชอบด้วยก็ตามแต่การประนอมหนี้ดังกล่าวไม่ทำให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 หลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 59
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่นำมาเป็นมูลฟ้องคดีนี้เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาคดีแพ่งซึ่งอยู่ภายในกำหนดอายุความตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ย่อมมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่ง ตามวิธีการที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติไว้โดยเฉพาะ อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) ระยะเวลาภายหลังจากนั้นจึงไม่นับเข้าเป็นอายุความด้วย กรณีไม่ใช่เรื่องการบังคับคดี จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความแพ่ง มาตรา 271 มาใช้บังคับและหาใช่เป็นการฟ้องคดีเพื่อขยายอายุความในคดีแพ่งไม่ ส่วนสิทธิในการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาโดยอาศัยและตามคำบังคับนั้น เป็นปัญหาในชั้นที่โจทก์จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ จึงไม่มีผลต่ออำนาจของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สภาพนิติบุคคลห้างหุ้นส่วนเลิกแล้ว การชำระบัญชีไม่เสร็จ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างต่อนายทะเบียนไว้แล้วก่อนจะถูกโจทก์ฟ้องให้ล้มละลายแต่การชำระบัญชีก็ยังไม่เสร็จ ถือได้ว่าสภาพนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ยังคงมีอยู่ต่อไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 หรือไม่โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 แต่ข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย ย่อมต้องห้าม อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาลศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่เฉพาะเกี่ยวกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2126/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ลายมือชื่อปลอมในคดีอาญา ศาลฎีกาชี้ว่าความเห็นผู้เชี่ยวชาญเป็นเพียงข้อมูลประกอบ ไม่ผูกพันศาล
แม้ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญผู้ตรวจพิสูจน์จะเห็นว่าลายมือ มีคุณลักษณะและรูปลักษณะของการเขียนแตกต่างกัน น่าจะไม่ใช่ ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันก็ตาม เมื่อพิจารณาโดยตลอดแล้วการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อโจทก์ที่ปรากฎอยู่ในหนังสือ รับสภาพหนี้เป็นเอกสารที่ทำไว้เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2536 ไม่ปรากฎว่าโจทก์มีเอกสารที่ได้ทำขึ้นในช่วง ระยะใกล้เคียงกับวันดังกล่าวซึ่งเป็นการเขียนแบบบรรจงส่งไปตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบลายมือชื่อโจทก์ด้วยทั้งรูปแบบการเขียนลายมือชื่อโจทก์ที่ระยะเวลาใกล้เคียงกับเอกสารที่จะต้องตรวจพิสูจน์ก็ไม่มี ดังนั้น ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเพียงความเห็นตามหลักวิชาการเท่านั้น เนื่องจากลายมือชื่อโจทก์มีคุณสมบัติการเขียนรูปลักษณะของตัวอักษรแตกต่างกับลายมือชื่อโจทก์ในใบแต่งทนายความซึ่งเป็นลายมือเขียนหวัดและเวลาเขียนต่างกันตามกาลเวลา ผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อโจทก์จึงเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธและยืนยันว่าเป็นลายมือชื่อโจทก์ และการวินิจฉัยลายมือชื่อในเอกสารว่าเป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ ไม่มี กฎหมายบังคับให้ศาลต้องฟังตามข้อสันนิษฐานหรือข้อพิสูจน์เป็นหลักฐานของผู้เชี่ยวชาญก่อนแต่อย่างใด ทั้งมิใช่ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นอย่างไรแล้วศาลต้องฟังเสมอไป เมื่อโจทก์ยังมี ภาระหน้าที่นำสืบว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำความผิด การที่โจทก์รับว่าเช็คทั้งสามฉบับอยู่ในความครอบครองของ จำเลยที่ 1 ตลอดมาย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นในลักษณะ ลายมือชื่อโจทก์มาก่อนที่มีการทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ จึงไม่มีเหตุผลประการใดที่จำเลยทั้งสองจะทำการปลอมลายมือชื่อ ของโจทก์เป็นแบบตัวบรรจงให้แตกต่างออกไปให้เห็นได้โดยประจักษ์พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักมั่นคงพอที่จะฟังลงโทษจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินรวมเมื่อตกลงแบ่งไม่ได้ แม้จำเลยวางเงินค่าเสียหายแล้ว
จำเลยเพียงแต่แถลงขอวางเงินค่าเสียหาย ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาส่วนหนึ่งเท่านั้น ส่วนการปฏิบัติตามคำพิพากษาในเรื่องกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและบ้านตามคำพิพากษายังมิได้มีการตกลงแบ่งกันตามลำดับขั้นตอนให้เสร็จสิ้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์และจำเลยตกลงจะไปทำการแบ่งทรัพย์สินตามคำพิพากษา แต่เมื่อถึงกำหนดตามที่ตกลงไว้ก็ยังไม่มีการตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินดังกล่าวกันดังนั้น โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมย่อมมีสิทธิขอให้บังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าว ไม่เป็นการบังคับคดีเกินกว่าที่ศาลพิพากษา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์ จำเลยก็ให้การต่อสู้อ้างกรรมสิทธิ์ และฟังได้ว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและบ้านตามส่วน และจะต้องมีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสามตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องว่าไม่อาจตกลงแบ่งกันได้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ขอให้แบ่งทรัพย์ตามลำดับขั้นตอนอย่างใด ดังนั้น เมื่อการบังคับไม่อาจดำเนินการตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดตามป.พ.พ.มาตรา 1364 กรณีย่อมบังคับโดยวิธีการขายทอดตลาดตามที่โจทก์ขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: คำนวณจากหนี้ที่บังคับได้จริง ไม่ใช่ราคาทรัพย์ที่ยึด
ตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ได้ กำหนดเรื่องค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีเมื่อยึด ทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย โดย ให้เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึดนั้น คำว่า ราคาทรัพย์สินที่ยึด หมายถึง ราคาทรัพย์สินที่ยึดซึ่ง ต้องไม่เกินจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดีด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 26,957.13 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 13.5 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 7 กันยายน 2522 เป็นต้นไป เมื่อคิดคำนวณยอดหนี้พร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองจะต้อง รับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาโดยคิดถึงวันที่ 13 มกราคม 2538 อันเป็นวันที่โจทก์ขอถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยเนื่องจากจำเลย ได้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ยังมีจำนวนไม่ถึง 160,000 บาท อันเป็นราคาทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดและเจ้าพนักงานบังคับคดี ประเมินราคาไว้ในครั้งแรก โจทก์จึงต้องเสียค่าธรรมเนียม การยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายร้อยละ 3 ครึ่ง ของจำนวนหนี้ ที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดในการบังคับคดีอันมีจำนวนน้อยกว่า ราคาทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดดังกล่าว ดังนั้น ไม่ว่าราคาทรัพย์สิน ที่โจทก์นำยึดทรัพย์จะมีราคาประเมินจำนวน 160,000 บาท หรือ จำนวน 2,527,300 บาท ก็ไม่มีผลทำให้ความรับผิดในค่าธรรมเนียม เจ้าพนักงานบังคับคดีของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาชำระหนี้จากการประมูลซื้อทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีดุลพินิจในการพิจารณาคำร้องขอขยายเวลา
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อนุญาตให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ประมูลซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดขยายระยะเวลานำเงินค่าซื้อทรัพย์มาวางครั้งหนึ่งแล้ว แต่ผู้ร้องไม่ใช้ประโยชน์จากระยะเวลาที่ขยายให้นั้นดำเนินการชำระเงินค่าซื้อทรัพย์ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่กลับมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอีกโดยอ้างเหตุเดียวกับที่ขอขยายระยะเวลาในครั้งแรก เนื่องจากการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาดังกล่าวเป็นดุลพินิจ ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งจะพิจารณาสั่งตามที่เห็น สมควรตามพฤติการณ์แห่งคดี เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขยายระยะเวลาให้ผู้ร้องครั้งหนึ่งแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะ กำหนดเวลาให้ผู้ร้องนำเงินค่าซื้อทรัพย์ไปชำระเพราะเท่ากับเป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: กรณีธนาคารคิดดอกเบี้ยเกินประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและกฎหมาย
แม้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์จะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเงินกู้ได้ในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ซึ่งอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นอัตราที่โจทก์สามารถคิดได้แต่เฉพาะกับลูกหนี้ซึ่งผิดนัดชำระหนี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขของสัญญากู้มิใช่อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไป ซึ่งตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะนั้นกำหนดไว้ไม่เกินอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี แต่ขณะทำสัญญาโจทก์คิดดอกเบี้ยกับจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าทั่วไปในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ คดีโจทก์มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งเมื่อโจทก์นำสืบยืนยันว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยกับจำเลยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี การที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยกับจำเลยเพียงในอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่โจทก์ฟ้องและนำสืบซึ่งศาลอุทธรณ์รับฟังมาเป็นการต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานนำสืบพยานเท็จในคดีแพ่ง โจทก์เป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีตาม ป.อ.มาตรา 180 หรือไม่ ความผิดฐานดังกล่าวโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ข้อนี้จึงมีผลเป็นการสั่งรับเฉพาะฎีกาของจำเลยที่ 1เท่านั้น
การที่จำเลยเบิกความเป็นพยานในคดีแพ่งที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์ผิดสัญญาซื้อขาย ขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 1531ให้แก่จำเลย และจำเลยอ้างส่งสัญญาซื้อขายต่อศาลชั้นต้นในคดีแพ่งดังกล่าวนั้นแม้จำเลยอ้างว่าการเบิกความเป็นพยานและการส่งสัญญาซื้อขายดังกล่าว จำเลยกระทำต่อศาลชั้นต้น มิใช่กระทำต่อโจทก์ก็ตาม แต่คดีแพ่งดังกล่าวโจทก์ถูกจำเลยฟ้องโจทก์จึงเป็นคู่ความในคดีด้วย และสัญญาซื้อขายตามที่จำเลยอ้างส่งก็เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับโจทก์ การที่จำเลยนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานดังกล่าวย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิหรือส่วนได้เสียของโจทก์โดยตรงเช่นนี้ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำของจำเลยในความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดี เพราะอาจมีผลให้โจทก์ถูกบังคับคดีในคดีแพ่งดังกล่าว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย และมีอำนาจฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (4) และมาตรา 28 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 198/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาบังคับคดีและการฟ้องล้มละลาย: การนับอายุความและการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องดำเนินการบังคับคดีเอากับลูกหนี้ตามคำพิพากษาภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาล มีคำพิพากษาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมให้ จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์เป็นงวด ๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนดเริ่มชำระงวดแรกวันที่ 2 พฤษภาคม 2529 หากผิดนัดให้บังคับคดีได้ทันที และจำเลยทั้งสองผิดนัดตั้งแต่ งวดแรกดังนี้ กำหนดระยะเวลา 10 ปี ที่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องเริ่มบังคับคดีเอากับจำเลยทั้งสองในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่3 พฤษภาคม 2529 ซึ่งเป็นวันแรกที่โจทก์อาจขอให้บังคับคดีเอากับจำเลยทั้งสองได้เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2535จึงยังอยู่ภายในกำหนด 10 ปี ที่โจทก์มีสิทธิที่จะบังคับคดี เอากับจำเลยทั้งสองโจทก์จึงสามารถนำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินหลังศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด การดำเนินการของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามคำพิพากษาเท่านั้น
ในประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดที่ดินพิพาทไว้โดยชอบหรือไม่ ซึ่งต่อมาศาลฎีกามีคำวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นที่สุดว่าการอายัดที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ดังนี้มีผลเท่ากับว่าที่ดินพิพาทต้องถูกอายัดต่อไปเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นมีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินให้ดำเนินการออกใบแทน น.ส.3 ก. สำหรับที่ดินพิพาท แล้วจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนชื่อเจ้าของที่ดินจากผู้ร้องเป็นจำเลยที่ 3 ทั้ง ๆที่ผู้ร้องยังโต้แย้งว่าจำเลยที่ 3 มิได้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับ ส. ย่อมไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากการเพิกถอนการโอนต้องเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังคงต้องถือว่าการโอนที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับ ส. เป็นไปโดยชอบผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีชื่ออยู่ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทจึงยังมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินแก้ไขเปลี่ยนแปลงทะเบียนน.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยที่ 3 เป็นการไม่ถูกต้อง ทั้งยังไม่มีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการออกใบแทน น.ส.3 ก. สำหรับที่ดินพิพาท
of 17