คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วินัส เรืองอำพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์เอกสารปลอมและผลต่อการกู้ยืมเงิน สัญญาที่ไม่สมบูรณ์ทำให้สิทธิเรียกร้องตกไป
เมื่อสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้ว โจทก์แถลง ขอส่งสัญญากู้เงินเอกสารฉบับพิพาทไปให้กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจตรวจพิสูจน์ว่าข้อความหมึกสีดำกับข้อความหมึกสีน้ำเงิน เป็นลายมือของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต พันตำรวจโทก. ผู้เชี่ยวชาญ ของ ศาล ได้ ตรวจ พิจารณา แล้ว ลงความเห็นว่า ไม่ใช่ ลายมือ ของ บุคคล คนเดียวกัน การ ที่ ศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ มี การ ตรวจ พิสูจน์ เอกสาร โดย ผู้เชี่ยวชาญ ตาม ความประสงค์ ของ โจทก์ และ ผู้เชี่ยวชาญ ของ ศาล ได้ ตรวจ และ ทำ ความเห็น โดย ละเอียด ชัดแจ้ง แล้ว เพียงแต่ ผู้เชี่ยวชาญ แสดงความเห็น ไม่ สม ความประสงค์ ของ โจทก์ ย่อม ไม่ เป็น เหตุ พอ ที่ จะ ให้ ผู้เชี่ยวชาญ อื่น ตรวจ พิสูจน์ เอกสาร อีก เพราะ เป็น การ ตรวจ พิสูจน์ ซ้ำ ไม่มี ผล เปลี่ยนแปลง จาก เดิม เป็นการฟุ่มเฟือย และ ประวิง คดี ให้ ล่าช้า จึงชอบ ที่ ศาล จะ มี คำสั่งยกคำร้อง ของ โจทก์ ที่ ขอ ให้ ส่ง เอกสาร ไปให้ ผู้เชี่ยวชาญ อื่นตรวจ พิสูจน์ ใหม่ ดังกล่าว จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 40,000 บาท โดยจำเลยลงลายมือชื่อ ในสัญญากู้ฉบับพิพาทในช่องผู้กู้และเขียนข้อความอื่นซึ่ง เขียนด้วยหมึกสีดำส่วนจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืนและดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินจำเลยไม่ได้เขียนแต่มีการกรอกข้อความที่ระบุจำนวนเงินเป็น 250,000 บาทกำหนดเวลาใช้คืน และดอกเบี้ย ซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินเพิ่มเติมขึ้นโดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้เงินฉบับพิพาทจึงเป็นเอกสารปลอมถือว่าการกู้ยืมเงินคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจพิสูจน์เอกสารและการพิสูจน์การกู้ยืมเงินในสัญญาที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
เมื่อสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้ว โจทก์แถลงขอส่งสัญญากู้เงินเอกสารฉบับพิพาทไปให้กองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจตรวจพิสูจน์ว่าข้อความหมึกสีดำกับข้อความหมึกสีน้ำเงินเป็นลายมือของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต พันตำรวจโท ก. ผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจพิจารณาแล้วลงความเห็นว่า ไม่ใช่ลายมือของบุคคลคนเดียวกัน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้มีการตรวจพิสูจน์เอกสารโดยผู้เชี่ยวชาญตามความประสงค์ของโจทก์ และผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจและทำความเห็นโดยละเอียดชัดแจ้งแล้ว เพียงแต่ผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นไม่สมความประสงค์ของโจทก์ ย่อมไม่เป็นเหตุพอที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจพิสูจน์เอกสารอีกเพราะเป็นการตรวจพิสูจน์ซ้ำ จึงไม่น่าจะมีผลเปลี่ยนแปลงจากเดิม เป็นการฟุ่มเฟือย และประวิงคดีให้ล่าช้า จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจพิสูจน์ใหม่อีก
จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 40,000 บาท โดยจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ฉบับพิพาทในช่องผู้กู้และเขียนข้อความอื่นซึ่งเขียนด้วยหมึกสีดำส่วนจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืนและดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินจำเลยไม่ได้เขียน แต่มีการกรอกข้อความที่ระบุจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืน และดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินซึ่งจำนวนเงินเกินไปจากความจริง โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้เงินฉบับพิพาทจึงเป็นเอกสารปลอม ถือว่าการกู้ยืมเงินคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1885/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: ความสามารถในการชำระหนี้ แม้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ศาลพิจารณาจากรายได้และพฤติการณ์
เมื่อโจทก์บังคับคดีแล้ว จำเลยทั้งสองได้ผ่อนชำระเงินให้แก่ โจทก์ครั้งละ 10,000 บาทบ้าง ครั้งละ 15,000 บาทบ้างเป็นระยะเวลานานถึง 13 ครั้ง แสดงว่าจำเลยทั้งสองได้ขวนขวายรวบรวมเงินที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ยังมิได้ละเลยที่จะไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาแม้จำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ แต่การที่จะให้บุคคลใดสมควรเป็นบุคคลล้มละลายนั้น ใช่แต่ฟังว่าลูกหนี้เป็นหนี้แล้วต้องเป็นบุคคลล้มละลายเสมอไป ทั้งพฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ก็สืบเนื่องมาจาก การค้าขายขาดทุน ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองประกอบกิจการ หรือก่อหนี้โดยทุจริตหรือประพฤติเล่นการพนัน จำเลยทั้งสอง มิได้เป็นหนี้เจ้าหนี้รายอื่น ๆ อีก โดยสภาพหากให้จำเลยทั้งสองต้องเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว นอกจากจำเลยทั้งสองต้อง ออกจากการทำงาน จำเลยทั้งสองยังต้องขาดสภาพที่จะหาเงิน มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์และยังก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ ครอบครัวทั้งหมดอีกด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งมีที่ทำงานที่แน่นอนมีรายได้ตามภาวะเศรษฐกิจ ที่จะยังชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนได้ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสอง ยังมีความสามารถในการรวบรวมเงินชำระหนี้ กรณีจึงเป็นเหตุอื่น ที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ (จำเลยทั้งสอง) ล้มละลายตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแจ้งให้โอนคืน แต่ไม่สร้างหนี้ได้
หนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเป็นเพียงหนังสือแจ้งเตือนให้ผู้ร้องรับรู้ว่าการรับโอนที่ดินระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับ อ.และระหว่างอ.กับผู้ร้องเป็นการโอนขายที่ดินภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาด แม้จะมีถ้อยคำขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1ภายใน 30 วัน อยู่ด้วยก็ตาม แต่เมื่อผลถึงที่สุดแล้วหากผู้ร้องไม่ปฏิบัติตาม ผู้คัดค้านหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 ก็หามีอำนาจที่จะถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นเด็ดขาดไม่เพราะไม่ถือว่าการที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวคืนเป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่ 1 ที่มีมาก่อนการขอให้ลูกหนี้ที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับความเสียหายตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิของบุคคลภายนอกและขอบเขตอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
หนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ขอให้ ผู้ร้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 สืบเนื่องมาจากการสอบสวนของผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์และทราบมาว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้ทำนิติกรรม โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 4 แปลง ให้แก่ อ.ต่อมาอ. กับบุคคลอื่นได้รวมโฉนดที่ดินทั้ง 4 แปลง เข้าด้วยกัน เป็นโฉนดเดียว แล้วแบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงหรือหลายโฉนด โอนขายให้ผู้ร้อง 8 แปลง การโอนที่ดินระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับ อ.และระหว่างอ. กับผู้ร้องเป็นการโอนภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดการที่ผู้คัดค้านมีความเห็นว่าการที่ลูกหนี้ที่ 1 โอนที่ดิน ให้แก่ อ. และที่ อ. โอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายล้มละลายนั้น แต่การกระทำดังกล่าวที่เกี่ยวกับผู้ร้องต้องถือว่าผู้ร้อง เป็นบุคคลภายนอก และสิทธิของบุคคลภายนอกหากจะได้รับ ผลกระทบถึง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินคดี ขอให้เพิกถอนต่อไป แต่หนังสือของผู้คัดค้านที่มีไปถึงผู้ร้อง แจ้งหรือเตือนให้ผู้ร้องรับรู้ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินดังกล่าวทั้ง 8 แปลง ไม่ชอบเท่านั้น แม้จะมีถ้อยคำ ขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ภายใน 30 วัน ไว้ด้วยก็ตาม แต่เมื่อผลถึงที่สุดแล้ว หากผู้ร้องไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ของลูกหนี้ก็หามีอำนาจที่จะถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สิน ของลูกหนี้เป็นเด็ดขาดไม่ เพราะไม่ถือว่าการที่จะต้อง โอนที่ดินดังกล่าวคืนเป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีมาก่อนการขอให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้อง จึงยังไม่ได้รับความเสียหายตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ดังนี้ ผู้ร้องจะยื่นคำร้อง ขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิของบุคคลภายนอกและขอบเขตอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
หนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ขอให้ผู้ร้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 สืบเนื่องมาจากการสอบสวนของผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และทราบมาว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้ทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 4 แปลง ให้แก่ อ. ต่อมา อ.กับบุคคลอื่นได้รวมโฉนดที่ดินทั้ง 4 แปลง เข้าด้วยกันเป็นโฉนดเดียว แล้วแบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงหรือหลายโฉนดโอนขายให้ผู้ร้อง 8 แปลง การโอนที่ดินระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับ อ.และระหว่างอ.กับผู้ร้องเป็นการโอนภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดการที่ผู้คัดค้านมีความเห็นว่าการที่ลูกหนี้ที่ 1 โอนที่ดินให้แก่ อ.และที่ อ.โอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายล้มละลายนั้น แต่การกระทำดังกล่าวที่เกี่ยวกับผู้ร้องต้องถือว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอก และสิทธิของบุคคลภายนอกหากจะได้รับผลกระทบถึง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินคดีขอให้เพิกถอนต่อไป แต่หนังสือของผู้คัดค้านที่มีไปถึงผู้ร้องแจ้งหรือเตือนให้ผู้ร้องรับรู้ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวทั้ง 8 แปลง ไม่ชอบเท่านั้น แม้จะมีถ้อยคำขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ภายใน 30 วัน ไว้ด้วยก็ตาม แต่เมื่อผลถึงที่สุดแล้วหากผู้ร้องไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ก็หามีอำนาจที่จะถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นเด็ดขาดไม่ เพราะไม่ถือว่าการที่จะต้องโอนที่ดินดังกล่าวคืนเป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีมาก่อนการขอให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับความเสียหายตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ดังนี้ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องคดีอาญาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งหมายเรียกจำเลย แม้จะอ้างความพลั้งเผลอ ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประทับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยไว้พิจารณาและมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกจำเลยมาให้การ ในวันเดียวกันกับวันนัดสืบพยานโจทก์โดยกำหนดให้โจทก์ นำส่งหมายภายใน 7 วัน หากไม่มีผู้รับหมายเรียกโดยชอบให้ปิดหมาย โจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาลแล้ว เมื่อนับตั้งแต่วัน ฟังคำสั่งศาลชั้นต้น จนถึงวันที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดี โจทก์จากสารบบความ เป็นเวลานานถึง 48 วัน แสดงว่าโจทก์ เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ เพื่อการนั้นโดยชอบ จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) โจทก์ปล่อยปละละเลยไม่สนใจที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาลจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี โจทก์จึงมายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นทบทวนคำสั่งจำหน่ายคดีแต่คำร้อง ของ โจทก์ดังกล่าวก็หาได้แสดงเหตุอันสมควรให้เห็นว่า กรณีมีพฤติการณ์พิเศษหรือเป็นกรณีที่มีเหตุ สุดวิสัยอย่างใดที่ทำให้โจทก์ไม่สามารถดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด กลับอ้างแต่เพียงความพลั้งเผลอหรือ หลงลืมของโจทก์เท่านั้น ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องคดีเนื่องจากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลและเพิกเฉยต่อการดำเนินคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประทับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยไว้พิจารณาและมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกจำเลยมาให้การในวันเดียวกันกับวันนัดสืบพยานโจทก์โดยกำหนดให้โจทก์นำส่งหมายภายใน 7 วัน หากไม่มีผู้รับหมายเรียกโดยชอบให้ปิดหมาย โจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาลแล้ว เมื่อนับตั้งแต่วันฟังคำสั่งศาลชั้นต้น จนถึงวันที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความ เป็นเวลานานถึง 48 วัน แสดงว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบ จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 15 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา174 (2)
โจทก์ปล่อยปละละเลยไม่สนใจที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาลจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี โจทก์จึงมายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นทบทวนคำสั่งจำหน่ายคดี แต่คำร้องของโจทก์ดังกล่าวก็หาได้แสดงเหตุอันสมควรให้เห็นว่า กรณีมีพฤติการณ์พิเศษหรือเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยอย่างใดที่ทำให้โจทก์ไม่สามารถดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด กลับอ้างแต่เพียงความพลั้งเผลอหรือหลงลืมของโจทก์เท่านั้น ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาบุคคลล้มละลาย: การมีหนี้สินล้นพ้นตัวและการประกอบอาชีพหารายได้
แม้จำเลยจะเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วซึ่งเป็นหนี้ที่ผูกพันจำเลยอันถือว่าเป็นหนี้จำนวนแน่นอนและเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาทก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์ของจำเลยแล้วและได้ถอนการยึดทรัพย์เสียกรณีจึงไม่เข้าข้อที่จะสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(5) เมื่อโจทก์ขอถอนการ ยึดทรัพย์แล้ว ต่อมาจำเลยได้นำเงินจำนวน 170,000 บาท มาชำระแก่โจทก์ ซึ่งเป็นจำนวนที่ยังไม่ครบตามคำพิพากษา ประกอบกับภายหลังที่โจทก์บังคับคดียึดทรัพย์แล้ว โจทก์ไม่ได้ ยึดทรัพย์ของจำเลยรายการอื่น ๆ อีก แม้ภายหลังที่โจทก์ ฟ้องคดีแล้วจะทราบว่าจำเลยมีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นทรัพย์ที่จำนองไว้กับโจทก์ยังเป็นทรัพย์ติดจำนองอยู่ แต่จำเลยก็ได้ผ่อนชำระเป็นรายเดือนมาโดยตลอดประกอบกับปัจจุบันจำเลยมีอาชีพเป็นผู้จัดการเขตของบริษัท ท.จำเลยยังมีทรัพย์สินและประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งมีรายได้แน่นอนเพียงพอที่จะขวนขวายนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ทั้งไม่มีข้อเท็จจริงใด ๆ ที่พอจะแสดงได้ว่าจำเลยยังเป็นหนี้บุคคลหรือเจ้าหนี้รายอื่นอีก ข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานโจทก์จึงยังไม่เพียงพอแก่การพิจารณาหาความจริงว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวและสมควรจะเป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดี – ดุลพินิจศาล – เจตนาประวิงคดี – การตรวจอาการป่วยของทนาย
คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ ต้องเป็นกรณีที่มี เหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่งและการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลแม้ตามคำร้องทนายจำเลยอ้างว่าปวดศีรษะแต่ไม่มี ใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าเป็นความเจ็บป่วยจนถึงกับไม่สามารถ มาศาลได้ นอกจากนี้ ทนายจำเลยก็ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจ ของศาลชั้นต้นว่าถ้าศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรม ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลย มีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีล่าช้าปราศจากเหตุอันสมควร จึงเป็นการประวิงคดี ศาลชั้นต้นจะตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการ เจ็บป่วยของทนายจำเลยว่าทนายจำเลยป่วยจริงหรือไม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลชั้นต้นจึงจะมีคำสั่งได้ แต่กรณีไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอ การที่ศาลชั้นต้น พิจารณาถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ และเห็นว่าทนายจำเลยยังสามารถ ว่าความได้ ไม่เชื่อว่าทนายจำเลยป่วยจริงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าไม่สมควรมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของทนายจำเลย ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะ ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานได้
of 17