คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วินัส เรืองอำพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีและการใช้ดุลพินิจของศาลเมื่อมีเหตุจำเป็นหรือไม่สมควร
คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 40 วรรคหนึ่ง และการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนการสืบพยานจำเลยมาแล้ว 2 ครั้งครั้งแรกทนายจำเลยอ้างว่าจำเลยป่วย ครั้งที่สองทนายจำเลยอ้างว่า ไปงานเลี้ยงดึกและตอนเช้าท้องเสีย ไม่สามารถสืบพยานได้ ศาลชั้นต้นให้โอกาสจำเลยโดยกำชับทนายจำเลยไว้ทั้ง 2 ครั้ง ว่าให้เตรียมพยานมาให้พร้อม เมื่อถึงวันนัดครั้งที่สามผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยนำคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยมายื่นต่อศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าทนายจำเลยไม่สามารถมาว่าความได้เพราะได้ว่าความในตอนเช้าและมีอาการปวดศีรษะเนื่องจากความดันโลหิตสูง แต่ทนายจำเลยไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าอาการปวดศีรษะดังกล่าวเป็นความเจ็บป่วยจนถึงกับไม่สามารถมาศาลได้อันจะเป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และทนายจำเลยก็ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่าถ้าศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีล่าช้าโดยปราศจากเหตุอันสมควรจึงเป็นการประวิงคดี
การที่ศาลชั้นต้นจะตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้ที่มาศาลไม่ได้ว่าผู้นั้นป่วยจริงหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41 วรรคหนึ่งต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับเด็ดขาดให้ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยเสมอไป ดังนี้เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้นั้นและศาลชั้นต้นพิจารณาถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ และเห็นว่าผู้นั้นยังสามารถมาศาลได้ เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าไม่สมควรมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยนั่นเอง คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดี – ดุลพินิจศาล – เจตนาประวิงคดี – การตรวจอาการป่วยของทนาย
คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ ต้องเป็นกรณีที่มี เหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่งและการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลแม้ตามคำร้องทนายจำเลยอ้างว่าปวดศีรษะแต่ไม่มี ใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าเป็นความเจ็บป่วยจนถึงกับไม่สามารถ มาศาลได้ นอกจากนี้ ทนายจำเลยก็ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจ ของศาลชั้นต้นว่าถ้าศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรม ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลย มีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีล่าช้าปราศจากเหตุอันสมควร จึงเป็นการประวิงคดี ศาลชั้นต้นจะตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการ เจ็บป่วยของทนายจำเลยว่าทนายจำเลยป่วยจริงหรือไม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลชั้นต้นจึงจะมีคำสั่งได้ แต่กรณีไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอ การที่ศาลชั้นต้น พิจารณาถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ และเห็นว่าทนายจำเลยยังสามารถ ว่าความได้ ไม่เชื่อว่าทนายจำเลยป่วยจริงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าไม่สมควรมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของทนายจำเลย ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะ ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความคลาดเคลื่อนวันเกิดเหตุลักทรัพย์ ไม่กระทบคำพิพากษา หากจำเลยรับสารภาพและเข้าใจข้อหา
จำเลยเข้าใจดีว่าเหตุลักทรัพย์เกิดวันที่ 2 มิถุนายน 2540การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเหตุลักทรัพย์เกิดเมื่อวันที่2 มิถุนายน 2530 เห็นได้ว่าเกิดจากการที่พิมพ์ผิดพลาดซึ่งวันเวลาที่เกิดเหตุเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้อง กล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาเท่านั้น มิใช่ข้อสาระสำคัญ โดยวันเวลา ที่เกิดเหตุหมายถึงวัน เดือน ปี มิใช่หมายถึงเฉพาะชั่วโมง นาที ทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้และให้การรับสารภาพ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ได้ จำเลยให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ ดังนั้น จะฎีกาโต้เถียงว่ามิได้กระทำผิดฐานลักทรัพย์ไม่ได้ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งเป็นการยกข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1205/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายและอำนาจฟ้องของผู้สืบสันดาน รวมถึงความผิดฐานยักยอกและหน้าที่ผู้จัดการมรดก
แม้ตามสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านกับสำเนาทะเบียนนักเรียนระบุว่า ล. เป็นบิดาโจทก์ ทั้งปรากฏว่าโจทก์ไม่เคยใช้นามสกุลของผู้ตายก็ตาม แต่การที่ผู้ตายรับโจทก์มาอยู่กับผู้ตายที่บ้านและจำเลยที่ 3 ระบุในบัญชีเครือญาติว่าโจทก์เป็นบุตรเจ้ามรดกต่างมารดาเท่ากับยอมรับว่าโจทก์เป็นบุตรของผู้ตาย เมื่อได้ความว่าผู้ตายได้อุปการะเลี้ยงดูและให้โจทก์เรียนตัดเย็บเสี้อผ้า ทั้งผู้ตายยังเป็นเจ้าภาพแต่งงานให้โจทก์ด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวที่ผู้ตายแสดงต่อโจทก์ให้เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าโจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของผู้ตายที่ผู้ตายได้รับรองแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลของผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4), 28 (2)
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำผิดในฐานที่เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 354 ประกอบมาตรา 83 แต่มีมูลความผิดตามมาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 และเมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีมูลความผิดตามมาตรา 352, 83 แล้ว ในการกระทำอันเดียวกันนั้น ย่อมไม่มีมูลความผิดตามมาตรา 354 ประกอบ 86 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1205/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายเป็นทายาท และความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดก
แม้ตามสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านกับสำเนาทะเบียน นักเรียนระบุว่า ล. เป็นบิดาโจทก์ ทั้งปรากฏว่าโจทก์ไม่เคยใช้นามสกุลของผู้ตายก็ตาม แต่การที่ผู้ตายรับโจทก์มาอยู่กับผู้ตายที่บ้านและจำเลยที่ 3 ระบุในบัญชีเครือญาติว่าโจทก์เป็นบุตรเจ้ามรดกต่างมารดาเท่ากับยอมรับว่าโจทก์เป็นบุตรของผู้ตาย เมื่อได้ความว่าผู้ตายได้อุปการะเลี้ยงดูและให้โจทก์เรียนตัดเย็บเสื้อผ้า ทั้งผู้ตายยังเป็นเจ้าภาพแต่งงานให้โจทก์ด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวที่ผู้ตายแสดงต่อโจทก์ให้เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าโจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของผู้ตายที่ผู้ตายได้รับรองแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลของผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(4),28(2) หนังสือสัญญาพินัยกรรมระบุว่าผู้ตายเป็นผู้ออกเงินซื้อที่ดินตามฟ้องทั้ง 3 แปลง แต่ใส่ชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2แทน โดยมีจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มิได้นำที่ดินทั้ง 3 แปลงไปเป็นมรดกของผู้ตายโดยมิได้ระบุในรายการทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้าง การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงมีมูลความผิดฐานยักยอก ส่วนผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นมิได้เป็นทายาทของผู้ตายและมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาพินัยกรรมด้วยเชื่อว่าที่ดินทั้ง 3 แปลงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมิได้นำมาระบุไว้เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2ได้กระทำผิดในฐานที่เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 ประกอบมาตรา 83 แต่มีมูลความผิดตามมาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 และเมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีมูลความผิดตามมาตรา 352,83แล้ว ในการกระทำอันเดียวกันนั้น ย่อมไม่มีมูลความผิดตามมาตรา 354 ประกอบ 86 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำสั่งศาลฎีกา & สิทธิการขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์: การทำนิติกรรมขัดคำสั่ง
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาให้ บ.โจทก์ในคดีนั้นมีสิทธิ์ซื้อที่ดินคืนจากจำเลย หากจำเลยไม่ยอมขายให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีการะหว่างฎีกาจำเลยขอทุเลาการบังคับ ศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับคดีไว้ แต่ห้ามจำเลยทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในระหว่างฎีกา เมื่อปรากฏว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์กับคำสั่งให้ทุเลาการบังคับคดีของศาลฎีกาที่อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับคดีโดยมีเงื่อนไขห้ามจำเลยทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในระหว่างฎีกานั้น มีผลบังคับอยู่ก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เมื่อยังไม่มีการยกเลิก คำสั่งดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลย การที่จำเลยไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ในคดีนี้ดังกล่าวจึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลฎีกา อีกทั้งโจทก์ในคดีนี้ก็มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นคดีหลังนี้ให้มีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรีให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้ได้ เพราะเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นในคดีนี้ยกเลิกคำสั่งของศาลฎีกาในคดีแพ่งเรื่องก่อน ซึ่งเป็นคนละคดีกันและถึงที่สุดไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความขัดแย้งกับคำสั่งศาลฎีกาที่ทุเลาการบังคับคดีและห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน
คำสั่งของศาลฎีกาที่อนุญาตให้จำเลยในคดีนี้ทุเลาการบังคับคดีในคดีอื่น โดยมีเงื่อนไขห้ามจำเลยทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทระหว่างฎีกานั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยตกลงโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และศาลพิพากษาตามยอม ในระหว่างที่คำสั่งดังกล่าวยังมีผลบังคับ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการ ฝ่าฝืนคำสั่งของศาลฎีกา อีกทั้งโจทก์คดีนี้ก็มิได้เป็นคู่ความ ในคดีก่อน ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์นั้นถือได้ว่าเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นในคดีนี้ยกเลิกคำสั่งของศาลฎีกาเกี่ยวกับการทุเลาการบังคับคดีซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นคดีนี้ยกเลิกคำสั่ง ของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความขัดต่อคำสั่งศาลฎีกาและผลกระทบต่อการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
คดีก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้บ.โจทก์ในคดีนั้นมีสิทธิซื้อที่ดินคืนจากจำเลย หากจำเลยไม่ยอมขายให้ถือเอาคำพิพากษา แทนการแสดงเจตนา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา ระหว่างฎีกาจำเลยขอทุเลาการบังคับ ศาลฎีกามีคำสั่ง อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับคดีไว้ แต่ห้ามจำเลยทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในระหว่างฎีกา เมื่อปรากฏว่าคำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์กับคำสั่งให้ทุเลาการบังคับคดีของศาลฎีกา ที่อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับคดีโดยมีเงื่อนไขห้ามจำเลย ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในระหว่างฎีกานั้นมีผลบังคับอยู่ก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อยังไม่มีการยกเลิก คำสั่งดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยการที่จำเลยไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ในคดีหลังนี้ จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลฎีกา อีกทั้งโจทก์ในคดีนี้ก็มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นคดีหลังนี้ให้มีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้ได้ เพราะเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นในคดีนี้ยกเลิกคำสั่งของศาลฎีกาในคดีแพ่งเรื่องก่อนซึ่งเป็นคนละคดีกันและถึงที่สุดไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพิจารณาคดีโดยวิธีปิดประกาศไม่ชอบ หากยังส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดาได้
คดีอาญา ศาลชั้นต้นส่งประเด็นไปสืบพยานโจทก์ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ตามที่โจทก์ขอ โจทก์ร่วมแถลงไม่ตาม ประเด็นไป ศาลอาญากรุงเทพใต้สืบพยานประเด็นโจทก์ แล้วส่งประเด็นคืน ศาลชั้นต้นนัดฟังประเด็นกลับตามวันเวลานัด ที่ผู้แทนโจทก์และจำเลยขอ และนัดสืบพยานจำเลยโดยโจทก์ร่วม ไม่มาศาล ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยในวันนัดดังกล่าวและคดีเสร็จ การพิจารณา จึงนัดฟังคำพิพากษา ครั้นถึงวันนัดศาลชั้นต้นยังทำ คำพิพากษาไม่เสร็จจึงเลื่อนคดีไป ทั้งนี้ศาลชั้นต้นแจ้ง วันนัดสืบพยานจำเลยและวันนัดฟังคำพิพากษาดังกล่าวแต่ละครั้ง ให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาล เมื่อการส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นแทนการส่งหมายโดยวิธีธรรมดาให้แก่คู่ความตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 15 ต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 ถึง 78 แล้ว ถ้ายัง สามารถส่งหมายนัดให้แก่คู่ความโดยวิธีธรรมดาได้ การส่งหมายนัด ให้แก่คู่ความโดยวิธีอื่นตามมาตรา 79 ย่อมเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยก็ดี วันนัดฟัง คำพิพากษาก็ดีให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาล โดยไม่ได้ดำเนินการส่งหมายนัดดังกล่าวให้โจทก์ร่วมทราบ โดยวิธีธรรมดาก่อน ทั้ง ๆ ที่โจทก์ร่วมและทนายโจทก์ร่วม มีภูมิลำเนาปรากฏอยู่ในสำนวนชัดแจ้ง แม้วันนัดสืบพยาน ประเด็นโจทก์นัดแรกที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ตัวโจทก์ร่วม ไปศาลก็ตาม แต่ศาลอาญากรุงเทพใต้ก็เลื่อนคดีไปเนื่องจาก ไม่มีพยานโจทก์มาศาล หลังจากนั้นโจทก์ร่วมไม่ได้ไปศาลอีก กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมทราบวันนัดดังกล่าว กรณีมีเหตุอนุญาต ให้โจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 15 วัน ตามคำร้องของโจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดโดยปิดประกาศที่ไม่ชอบ ศาลต้องส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดาก่อน หากทราบที่อยู่คู่ความ
การส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นแทนการส่งหมายโดยวิธีธรรมดา ให้แก่คู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 นั้น ต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดโดย วิธีธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 ถึง 78 แล้วการที่ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยกับวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ร่วมทราบโดยปิดประกาศไว้ที่หน้าศาลโดยมิได้ส่งหมายนัดดังกล่าวให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีธรรมดาก่อนทั้ง ๆ ที่โจทก์ร่วมและทนายโจทก์ร่วมมีภูมิลำเนาปรากฏอยู่ในสำนวนอย่างชัดแจ้ง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 2 เมษายน 2540 แล้วกรณีมีเหตุอนุญาตให้โจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์ภายใน 15 วันนับแต่วันยื่นคำร้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2540
of 17