คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วินัส เรืองอำพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพิจารณาคดีโดยวิธีปิดประกาศไม่ชอบ หากยังส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดาได้
คดีอาญา ศาลชั้นต้นส่งประเด็นไปสืบพยานโจทก์ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ตามที่โจทก์ขอ โจทก์ร่วมแถลงไม่ตาม ประเด็นไป ศาลอาญากรุงเทพใต้สืบพยานประเด็นโจทก์ แล้วส่งประเด็นคืน ศาลชั้นต้นนัดฟังประเด็นกลับตามวันเวลานัด ที่ผู้แทนโจทก์และจำเลยขอ และนัดสืบพยานจำเลยโดยโจทก์ร่วม ไม่มาศาล ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยในวันนัดดังกล่าวและคดีเสร็จ การพิจารณา จึงนัดฟังคำพิพากษา ครั้นถึงวันนัดศาลชั้นต้นยังทำ คำพิพากษาไม่เสร็จจึงเลื่อนคดีไป ทั้งนี้ศาลชั้นต้นแจ้ง วันนัดสืบพยานจำเลยและวันนัดฟังคำพิพากษาดังกล่าวแต่ละครั้ง ให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาล เมื่อการส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นแทนการส่งหมายโดยวิธีธรรมดาให้แก่คู่ความตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 15 ต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 ถึง 78 แล้ว ถ้ายัง สามารถส่งหมายนัดให้แก่คู่ความโดยวิธีธรรมดาได้ การส่งหมายนัด ให้แก่คู่ความโดยวิธีอื่นตามมาตรา 79 ย่อมเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยก็ดี วันนัดฟัง คำพิพากษาก็ดีให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาล โดยไม่ได้ดำเนินการส่งหมายนัดดังกล่าวให้โจทก์ร่วมทราบ โดยวิธีธรรมดาก่อน ทั้ง ๆ ที่โจทก์ร่วมและทนายโจทก์ร่วม มีภูมิลำเนาปรากฏอยู่ในสำนวนชัดแจ้ง แม้วันนัดสืบพยาน ประเด็นโจทก์นัดแรกที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ตัวโจทก์ร่วม ไปศาลก็ตาม แต่ศาลอาญากรุงเทพใต้ก็เลื่อนคดีไปเนื่องจาก ไม่มีพยานโจทก์มาศาล หลังจากนั้นโจทก์ร่วมไม่ได้ไปศาลอีก กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมทราบวันนัดดังกล่าว กรณีมีเหตุอนุญาต ให้โจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 15 วัน ตามคำร้องของโจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ความขัดแย้งระหว่างผู้จัดการมรดกที่เป็นคู่กรณีในคดีอาญา และพฤติการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ
ในระหว่างที่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ ม. มารดาผู้ตายเป็นผู้ดูแลให้การอุปการะแก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสามของผู้ตายมาโดยตลอด หลังจากผู้ตายตายได้เพียงไม่กี่วันญาติผู้คัดค้านได้รับ ตัวบุตรผู้เยาว์ทั้งสามของผู้ตายไป ทั้ง ๆ ที่ผู้คัดค้านอ้างว่า ขณะนั้นยังไม่ทราบข่าวการตายของผู้ตาย แสดงให้เห็นว่า ผู้คัดค้านไม่เป็นบุคคลที่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยลำพังแต่ผู้เดียว นอกจากนั้นยังได้ความว่าในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องผู้คัดค้านเป็นจำเลยในข้อหาฆ่าผู้ตาย คดีอยู่ระหว่าง พิจารณานั้น ผู้ร้องได้คัดค้านการขอประกันตัวต่อของผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าว ในเมื่อคดีมีผู้ร้องกับผู้คัดค้าน เพียงสองคนเท่านั้นขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อคำนึงถึงสาเหตุ การตายของผู้ตายและพฤติการณ์ของผู้คัดค้านที่ปรากฏในคดีอาญา แล้วถือว่าคนทั้งสองเป็นปฏิปักษ์ต่อกันในระหว่างที่คดีอาญา ยังไม่ถึงที่สุดถ้าจะให้จัดการมรดกร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 การจัดการมรดก คงจะไม่เป็นผลดีแก่กองมรดกและแก่ประโยชน์ของทายาท ผู้ตายเพราะจะทำให้การดำเนินการจัดการรวบรวมทรัพย์เพื่อ จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกหรือทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและ แบ่งปันมรดกล่าช้าได้ แม้ผู้ร้องมีอายุมาก พูดและเขียนภาษาไทยไม่สะดวก ก็ไม่เป็นเหตุต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกจึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพียงคนเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ฐานะลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวในคดีล้มละลาย ต้องมีหลักฐานแสดงทรัพย์สินทั่วประเทศ ไม่ใช่แค่ในเขตศาล
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(5)เป็นเพียงข้อสันนิษฐานถึงพฤติการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือเป็น เพียงเหตุหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของโจทก์นั้น ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงด้วยว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพียงใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 14 โดยคำนึงถึงเหตุอื่นประกอบที่พอแสดงให้เห็นว่าจำเลย ตกอยู่ในภาวะดังกล่าวจริง เดิมศาลจังหวัดนนทบุรีพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้จำนวน 170,784 บาทแก่โจทก์คดีถึงที่สุด แต่โจทก์ไม่สามารถสืบหาทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำยึดมาชำระหนี้ได้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) ซึ่งโจทก์นำสืบให้เห็นแต่เพียงว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินในเขตจังหวัดนนทบุรีและไม่เคยชำระหนี้ให้โจทก์ แต่หานำสืบให้เห็นด้วยว่าในเขตจังหวัดนครสวรรค์จำเลยก็ไม่มีทรัพย์สินเช่นเดียวกัน อีกทั้งเหตุที่โจทก์อ้างเป็นเหตุฟ้องจำเลยให้ล้มละลายนี้สืบเนื่องจากกล่าวอ้างว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้โดยโจทก์ไม่มีหลักฐานอื่น สนับสนุนหรือนำมาประกอบให้เพียงพอที่จะแสดงหรือพิสูจน์ ให้เห็นได้เป็นข้อสำคัญว่า จำเลยไม่มีความสามารถชำระหนี้ หรือเป็นบุคคลตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยยังเป็นลูกหนี้บุคคลอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถจักรยานยนต์ในความผิดฐานกรรโชกทรัพย์: พิจารณาบทบาทยานพาหนะ vs. ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
จำเลยกับพวกขับรถจักรยานยนต์ของกลางแล่นตามรถยนต์ ผู้เสียหายจนทันแล้วแซงขึ้นหน้าไปจอดขวางให้หยุด กับขู่เข็ญ ผู้เสียหายจนยอมมอบเงินแก่จำเลยกับพวกรถจักรยานยนต์ของกลาง จึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยกับพวกใช้ก่อนที่จะกระทำความผิด ฐานกรรโชก อีกทั้งจำเลยกับพวกก็ร่วมกันขู่เข็ญผู้เสียหายว่า หากไม่ยอมให้เงินจำเลยกับพวกจะทำการระเบิดและพังรถยนต์ ของผู้เสียหายเท่านั้น รถจักรยานยนต์ของกลางจึงหาใช่ทรัพย์ ที่จำเลยกับพวกได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกรรโชกทรัพย์ไม่ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 646/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาจำเลยที่ไม่สามารถโต้แย้งข้อเท็จจริงที่รับสารภาพในชั้นศาลได้ และการพิจารณาโทษลักทรัพย์ของนายจ้าง
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ระบุมาตราที่ยกขึ้นปรับในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(11) วรรคแรก,83(ที่ถูกมาตรา 335(7)(11) วรรคสาม) จำคุกคนละ 4 ปี ข้อความภายในวงเล็บที่ว่า "ที่ถูกมาตรา 335(7)(11) วรรคสาม" เป็นเพียงข้อความที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองให้ตรงตามคำรับสารภาพตามฟ้องซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องระบุว่าจำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันลักทรัพย์ของนายจ้างของจำเลยทั้งสองอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7)(11) วรรคสาม เท่านั้น แต่ศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขโทษจำเลยทั้งสองให้สูงขึ้น จึงมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองอันจักต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 หรือพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง ตามมาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 215
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังคำฟ้องของโจทก์จำเลยจะมาโต้แย้งหรือโต้เถียงในชั้นฎีกาอีกว่า จำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยขาดเจตนาทุจริตนั้นหาได้ไม่ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 646/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษตามคำรับสารภาพ และการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ระบุบทมาตราที่ยกขึ้นปรับในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335 (11)วรรคแรก, 83 (ที่ถูกมาตรา 335 (7) (11) วรรคสาม) จำคุกคนละ 4 ปีข้อความภายในวงเล็บที่ว่า "ที่ถูกมาตรา 335 (7) (11) วรรคสาม" เป็นเพียงข้อความที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองให้ตรงตามคำรับสารภาพตามฟ้องซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องระบุว่าจำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันลักทรัพย์ของนายจ้างของจำเลยทั้งสองอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335 (7) (11) วรรคสามเท่านั้น แต่ศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขโทษจำเลยทั้งสองให้สูงขึ้น จึงมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองอันจักต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 212 หรือพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง ตามมาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 215
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังคำฟ้องของโจทก์ จำเลยจะมาโต้แย้งหรือโต้เถียงในชั้นฎีกาอีกว่า จำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยขาดเจตนาทุจริตนั้นหาได้ไม่ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627-645/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าซื้อเมื่อลูกหนี้ล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโอนกรรมสิทธิ์หากผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน
เมื่อผู้ร้องได้ชำระค่าเช่าซื้อที่ดินให้แก่ลูกหนี้ครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว ลูกหนี้ย่อมไม่มีสิทธิใดที่จะได้รับจากผู้ร้องอีก ลูกหนี้คงมีแต่เพียงหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อคือการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้ร้องต่อไป ผู้ร้องจึงเป็นฝ่ายมีสิทธิอันจะพึงได้รับตามสัญญาเช่าซื้อ หาใช่เป็นสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมาไม่ กรณี ดังกล่าวจึงไม่อยู่ในวิสัยที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะมาพิจารณาว่า สิทธิตามสัญญาที่ผู้ร้องจะพึงได้รับไปนี้ มีภาระเกินควรกว่าประโยชน์อันจะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122 หรือไม่
เมื่อครบกำหนดชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ผู้ร้องที่ 68 ได้ติดต่อกับลูกหนี้เพื่อให้โอนกรรมสิทธิ์และรับเงินงวดสุดท้ายแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่ชำระเงินเองและไม่สามารถดำเนินการโอนที่ดินตามสัญญาให้แก่ผู้ร้องที่ 68 ได้ เนื่องจากลูกหนี้ได้นำที่ดินที่ให้เช่าซื้อไปจำนองไว้แก่ธนาคารและบุคคลอื่นแล้ว ดังนั้น ย่อมถือได้ว่าลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ต่อผู้ร้องที่ 68 แม้ต่อมาลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและผู้คัดค้านเข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมายแล้ว แต่ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ซึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะอ้างอำนาจตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 122 เพื่อไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อต่อผู้ร้องซึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ย่อมเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น เมื่อผู้ร้องประสงค์จะขอรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าซื้อและชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านชอบที่จะต้องโอนที่ดินตามสัญญาให้ผู้ร้องและรับชำระราคาส่วนที่เหลือจากผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาผูกพันจากการรับรองตั๋วแลกเงิน: อายุความ 10 ปี ไม่ใช่ 1 ปี
ลูกหนี้ที่ 3 เป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินให้แก่บริษัท ซ.มีเจ้าหนี้เป็นผู้รับรองตั๋วแลกเงินตามคำขอของลูกหนี้ที่ 3โดยมีข้อตกลงว่าหากเจ้าหนี้ต้องรับผิดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินดังกล่าว ลูกหนี้ที่ 3 ยินยอมรับผิดชดใช้ให้แก่เจ้าหนี้จนครบพร้อมด้วยดอกเบี้ยต่อมาเจ้าหนี้จ่ายเงินให้แก่บริษัท ซ.ตามจำนวนในตั๋วแลกเงิน แต่ลูกหนี้ที่ 3 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ ดังนี้เมื่อคำขอของลูกหนี้ที่ 3 ที่ขอให้เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงินให้แก่บริษัท ซ. ทำขึ้นในวันเวลาเดียวกันกับที่ลูกหนี้ที่ 3 ได้ออกตั๋วแลกเงิน จึงถือได้ว่าเป็นคำเสนอให้เจ้าหนี้รับรองและยินยอมต่อเจ้าหนี้ให้เจ้าหนี้มีสิทธิจะเรียกร้องให้ลูกหนี้ที่ 3 รับผิดต่อเจ้าหนี้ตามจำนวนเงินในตั๋วแลกเงินที่ได้สั่งจ่าย อีกทั้งลูกหนี้ที่ 3 ยังเสนอ ให้สิทธิต่อเจ้าหนี้ยินยอมจะชดใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้จนครบถ้วนหากเรียกคืนตามตั๋วแลกเงินที่ยังขาดอยู่พร้อมดอกเบี้ยซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนอกเหนือจากตั๋วแลกเงิน ตลอดจนลูกหนี้ที่ 3ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เจ้าหนี้ต้องจ่ายเงินไปเกี่ยวกับการที่เจ้าหนี้ต้องรับผิดแทนลูกหนี้ที่ 3 และยอมให้เจ้าหนี้หักเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่ 3 ถ้ามีเงินฝากอยู่กับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ที่ 3 ทราบล่วงหน้าอีกด้วยการที่เจ้าหนี้ได้จ่ายเงินให้แก่บริษัท ซ. ตามที่ลูกหนี้ที่ 3ขอให้เจ้าหนี้จ่ายเงิน ถือได้ว่าเจ้าหนี้ตกลงหรือยินยอมปฏิบัติตามคำขอของลูกหนี้ที่ 3 เป็นการสนองความประสงค์ของลูกหนี้ที่ 3 แล้ว เกิดเป็นสัญญาผูกพันกันตามที่ตกลงนั้น เมื่อสิทธิเรียกร้อง อันเกิดจากคำขอให้รับรองตั๋วแลกเงินที่ลูกหนี้ที่ 3 ได้ตกลง ไว้กับเจ้าหนี้ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้รับรองตั๋วแลกเงิน: สัญญาผูกพันจากการเสนอขอรับรองตั๋วแลกเงินมีอายุความ 10 ปี
แม้ว่าเจ้าหนี้จะมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับถัดจากวันที่ตั๋วแลกเงินแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1002 ก็ตาม แต่คำขอของลูกหนี้ที่ 3 ที่ขอให้ เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงินตามเอกสารหมาย จ.21 ถึง จ.23ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2534และวันที่ 5 ธันวาคม 2534 กำหนดใช้เงินในวันที่ 7 มกราคม 2535 วันที่ 19 มกราคม 2535 และ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2535 ให้แก่บริษัท ซ. ตามเอกสารหมายจ.9 ถึง จ.11 หนังสือคำขอให้เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงิน ทั้งสามฉบับดังกล่าวซึ่งแต่ละฉบับทำขึ้นในวันเวลาเดียวกัน กับที่ลูกหนี้ได้ออกตั๋วแลกเงิน แม้ลูกหนี้จะลงลายมือชื่อ แต่ฝ่ายเดียว ก็ถือได้ว่าเป็นคำเสนอขอให้เจ้าหนี้ รับรองและยินยอมต่อเจ้าหนี้ให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้อง ให้ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ตามจำนวนเงินตาม ตั๋วแลกเงินที่ได้สั่งจ่ายแต่ละฉบับตามคำขอให้เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงินเอกสารหมาย จ.21 ถึง จ.23 ข้อ 1 และลูกหนี้ยังได้เสนอให้สิทธิต่อเจ้าหนี้จะยอมชดใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้จนครบถ้วนถ้าหากเรียกคืนตามตั๋วแลกเงินที่ยังขาดอยู่พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนอกเหนือจากตั๋วแลกเงิน ตลอดจนลูกหนี้ยินยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เจ้าหนี้ต้องจ่ายเงินไปเกี่ยวกับการที่เจ้าหนี้ต้องรับผิดแทนลูกหนี้ ทั้งยังยินยอมให้เจ้าหนี้หักเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ ถ้ามีเงินฝากอยู่กับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบล่วงหน้า ครั้นเมื่อครบกำหนด 60 วันนับแต่วันออกตั๋วแลกเงินแต่ละฉบับ เจ้าหนี้ได้จ่ายเงินให้แก่บริษัท ซ. ตามที่ลูกหนี้ขอให้เจ้าหนี้จ่ายเงิน ถือได้ว่าเจ้าหนี้ตกลงหรือยินยอมปฏิบัติตามคำขอของลูกหนี้เป็นการสนองความประสงค์ของลูกหนี้แล้ว จึงเกิดเป็นสัญญาผูกพันกันตามที่ตกลงนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะปฏิเสธว่าคำขอให้รับรองตั๋วแลกเงินของลูกหนี้ไม่มีความผูกพันหรือเป็นเพียงเอกสารประกอบการขอให้รับรองตั๋วแลกเงินโดยสิ้นความผูกพันไปพร้อมกับอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ไม่ได้สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากคำขอให้รับรองตั๋วแลกเงินที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้กับเจ้าหนี้ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) หรือมาตรา 193/30(ใหม่) คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอรับรองตั๋วแลกเงินผูกพันลูกหนี้ สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 10 ปี ไม่ขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปีนับถัดจากวันที่ตั๋วแลกเงินแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงิน ตามป.พ.พ.มาตรา 1002 แต่คำขอของลูกหนี้ที่ 3 ที่ขอให้เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงินในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534วันที่ 20 พฤศจิกายน 2534 และวันที่ 5 ธันวาคม 2534 กำหนดใช้เงินในวันที่ 7มกราคม 2535 วันที่ 19 มกราคม 2535 และวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2535 ให้แก่บริษัทซ.ซึ่งแต่ละฉบับทำขึ้นในวันเวลาเดียวกันกับที่ลูกหนี้ได้ออกตั๋วแลกเงิน แม้ลูกหนี้จะลงลายมือชื่อแต่ฝ่ายเดียว ก็ถือได้ว่าเป็นคำเสนอขอให้เจ้าหนี้รับรองและยินยอมต่อเจ้าหนี้ ให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ตามจำนวนเงินตามตั๋วแลกเงินที่ได้สั่งจ่ายแต่ละฉบับตามคำขอให้เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงิน และลูกหนี้ยังได้เสนอให้สิทธิต่อเจ้าหนี้จะยอมชดใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้จนครบถ้วน ถ้าหากเรียกคืนตามตั๋วแลกเงินที่ยังขาดอยู่พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนอกเหนือจากตั๋วแลกเงิน ตลอดจนลูกหนี้ยินยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เจ้าหนี้ต้องจ่ายเงินไปเกี่ยวกับการที่เจ้าหนี้ต้องรับผิดแทนลูกหนี้ ทั้งยังยินยอมให้เจ้าหนี้หักเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ ถ้ามีเงินฝากอยู่กับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบล่วงหน้า ครั้นเมื่อครบกำหนด 60 วัน นับแต่วันออกตั๋วแลกเงินแต่ละฉบับ เจ้าหนี้ได้จ่ายเงินให้แก่บริษัท ซ. ตามที่ลูกหนี้ขอให้เจ้าหนี้จ่ายเงิน ถือได้ว่าเจ้าหนี้ตกลงหรือยินยอมปฏิบัติตามคำขอของลูกหนี้ เป็นการสนองความประสงค์ของลูกหนี้แล้ว จึงเกิดเป็นสัญญาผูกพันกันตามที่ตกลงนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะปฏิเสธว่าคำขอให้รับรองตั๋วแลกเงินของลูกหนี้ไม่มีความผูกพันหรือเป็นเพียงเอกสารประกอบการขอให้รับรองตั๋วแลกเงินโดยสิ้นความผูกพันไปพร้อมกับอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1002 ไม่ได้ สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากคำขอให้รับรองตั๋วแลกเงินที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้กับเจ้าหนี้ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 (เดิม) หรือมาตรา 193/30(ใหม่) คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2541)
of 17