คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วินัส เรืองอำพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอรับรองตั๋วแลกเงินผูกพันลูกหนี้ สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 10 ปี ไม่ขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปีนับถัดจากวันที่ตั๋วแลกเงินแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงิน ตามป.พ.พ.มาตรา 1002 แต่คำขอของลูกหนี้ที่ 3 ที่ขอให้เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงินในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534วันที่ 20 พฤศจิกายน 2534 และวันที่ 5 ธันวาคม 2534 กำหนดใช้เงินในวันที่ 7มกราคม 2535 วันที่ 19 มกราคม 2535 และวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2535 ให้แก่บริษัทซ.ซึ่งแต่ละฉบับทำขึ้นในวันเวลาเดียวกันกับที่ลูกหนี้ได้ออกตั๋วแลกเงิน แม้ลูกหนี้จะลงลายมือชื่อแต่ฝ่ายเดียว ก็ถือได้ว่าเป็นคำเสนอขอให้เจ้าหนี้รับรองและยินยอมต่อเจ้าหนี้ ให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ตามจำนวนเงินตามตั๋วแลกเงินที่ได้สั่งจ่ายแต่ละฉบับตามคำขอให้เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงิน และลูกหนี้ยังได้เสนอให้สิทธิต่อเจ้าหนี้จะยอมชดใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้จนครบถ้วน ถ้าหากเรียกคืนตามตั๋วแลกเงินที่ยังขาดอยู่พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนอกเหนือจากตั๋วแลกเงิน ตลอดจนลูกหนี้ยินยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เจ้าหนี้ต้องจ่ายเงินไปเกี่ยวกับการที่เจ้าหนี้ต้องรับผิดแทนลูกหนี้ ทั้งยังยินยอมให้เจ้าหนี้หักเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ ถ้ามีเงินฝากอยู่กับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบล่วงหน้า ครั้นเมื่อครบกำหนด 60 วัน นับแต่วันออกตั๋วแลกเงินแต่ละฉบับ เจ้าหนี้ได้จ่ายเงินให้แก่บริษัท ซ. ตามที่ลูกหนี้ขอให้เจ้าหนี้จ่ายเงิน ถือได้ว่าเจ้าหนี้ตกลงหรือยินยอมปฏิบัติตามคำขอของลูกหนี้ เป็นการสนองความประสงค์ของลูกหนี้แล้ว จึงเกิดเป็นสัญญาผูกพันกันตามที่ตกลงนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะปฏิเสธว่าคำขอให้รับรองตั๋วแลกเงินของลูกหนี้ไม่มีความผูกพันหรือเป็นเพียงเอกสารประกอบการขอให้รับรองตั๋วแลกเงินโดยสิ้นความผูกพันไปพร้อมกับอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1002 ไม่ได้ สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากคำขอให้รับรองตั๋วแลกเงินที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้กับเจ้าหนี้ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 (เดิม) หรือมาตรา 193/30(ใหม่) คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2541)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายโดยไม่สุจริตและการรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและจำนอง
จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลายโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ ของบริษัทล.โดยจำเลยไม่บรรยายฟ้องถึงวงเงินที่โจทก์ค้ำประกัน และได้บรรยายต่อไปว่าโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่จำเลยภายในวงเงิน 200,000 บาท ต่อมาจำเลยไม่ประสงค์ให้บริษัทล.กู้เงินอีกต่อไปจึงเรียกให้บริษัทล.ชำระหนี้เป็นเงิน15,332,017.82 บาท โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวจำเลยตีราคาทรัพย์จำนองเป็นเงิน 316,500 บาท เมื่อหักกับจำนวนหนี้แล้วโจทก์ยังต้องรับผิด ร่วมกับบริษัทล.อีก 15,015,517.82 บาท ตอนจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระหนี้ และบอกกล่าวบังคับจำนองก็แจ้งระบุว่ามีหนี้ค้างชำระณวันที่ 15 กรกฎาคม 2534 เป็นเงิน 14,904,532 บาท ในชั้นพิจารณาคดีล้มละลายผู้รับมอบอำนาจจำเลยก็เบิกความว่า โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับบริษัทล.ถึงวันฟ้องคดีล้มละลายเป็นเงิน 15,332,071.82 บาททั้ง ๆ ที่ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันของโจทก์มีเพียงไม่เกิน 1,000,000 บาท กับดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวและสัญญาค้ำประกันหนี้สินทุกประเภทก็ทำขึ้นตามแบบพิมพ์ ของจำเลย ซึ่งต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดและพิพากษาให้โจทก์ เป็นบุคคลล้มละลายเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อในการคำนวณยอดหนี้ของโจทก์ และใช้สิทธิในการฟ้องคดีล้มละลายโดยไม่สุจริต ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ตามสัญญาค้ำประกันนั้น โจทก์และส.ร่วมกันค้ำประกันหนี้ของบริษัทล.โดยยอมเข้าร่วมรับผิดร่วมกับบริษัทล.ความรับผิดระหว่างโจทก์กับส.ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเป็นความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 682 วรรคสอง ส่วนการที่โจทก์และ ส.ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อจำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้ โดยยอมร่วมรับผิดร่วมกับบริษัทล.ผู้เป็นลูกหนี้นั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการ ที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้และต่อผู้ค้ำประกัน ยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันเป็นผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้นลูกหนี้ยังคงต้องรับผิด ต่อเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 685 โจทก์และส.ค้ำประกันหนี้ของบริษัทล.ภายในวงเงิน 1,000,000 บาทความรับผิดของโจทก์และ ส. ย่อมจำกัดอยู่เพียงจำนวนเงิน 1,000,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยของต้นเงิน 1,000,000 บาท ตามอัตราดอกเบี้ยที่บริษัทล.ต้องรับผิดต่อจำเลย แต่อัตราดอกเบี้ยนั้นต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยมีสิทธิคิดได้ตามกฎหมาย ส.ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้จำเลย 1,800,000 บาท และจำเลยปลดหนี้ ค้ำประกันให้ ส.ทำให้โจทก์ซึ่งมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับส.ได้รับประโยชน์จากการชำระหนี้ของส.ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่ง,293 โจทก์ทำสัญญาจำนองแก่จำเลยเป็นประกันเงินกู้และหรือหนี้สินประเภทอื่น ๆ ของบริษัทล.และหรือของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท แม้บริษัทล.เป็นหนี้จำเลยอยู่ ในขณะที่จำเลยยื่นฟ้องโจทก์ในคดีล้มละลายเป็นเงิน 15,332,019.82 บาท ก็ตาม แต่โจทก์ มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้แก่จำเลยตามสัญญาจำนองในวงเงิน 200,000 บาท และดอกเบี้ย ที่คิดจากต้นเงิน 200,000 บาท ตามอัตราที่บริษัทล.ต้องรับผิดต่อจำเลยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายโดยไม่สุจริตและการคำนวณหนี้ผิดพลาด จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลาย โดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของบริษัท ล. โดยจำเลยไม่บรรยายฟ้องถึงวงเงินที่โจทก์ค้ำประกันและได้บรรยายต่อไปว่าโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่จำเลยภายในวงเงิน 200,000 บาท ต่อมาจำเลยไม่ประสงค์ให้บริษัท ล. กู้เงินอีกต่อไปจึงเรียกให้บริษัท ล.ชำระหนี้เป็นเงิน 15,332,017.82 บาท โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าว จำเลยตีราคาทรัพย์จำนองเป็นเงิน 316,500 บาท เมื่อหักกับจำนวนหนี้แล้วโจทก์ยังต้องรับผิดร่วมกับบริษัท ล. อีก15,015,517.82 บาท ตอนจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองก็แจ้งระบุว่ามีหนี้ค้างชำระ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2534 เป็นเงิน14,904,532 บาท ในชั้นพิจารณาคดีล้มละลายผู้รับมอบอำนาจจำเลยก็เบิกความว่า โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับบริษัท ล.ถึงวันฟ้องคดีล้มละลายเป็นเงิน 15,332,071.82 บาททั้ง ๆ ที่ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันของโจทก์มีเพียงไม่เกิน 1,000,000 บาท กับดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวและสัญญาค้ำประกันหนี้สินทุกประเภทก็ทำขึ้นตามแบบพิมพ์ของจำเลย ซึ่งต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดและพิพากษาให้โจทก์เป็นบุคคลล้มละลายเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อในการคำนวณ ยอดหนี้ของโจทก์และใช้สิทธิในการฟ้องคดีล้มละลายโดยไม่สุจริต ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ฐานละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยฟ้องล้มละลายโดยคำนวณหนี้ผิดพลาดและไม่สุจริต ศาลแก้ให้ชดใช้ค่าเสียหาย
เมื่อโจทก์และ ส. ร่วมกันค้ำประกันหนี้ของบริษัท ล.ในวงเงิน 1,000,000 บาท ความรับผิดของโจทก์และ ส.ย่อมจำกัดอยู่เท่าวงเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราที่ บริษัทล. ต้องรับผิดต่อจำเลย แต่ไม่เกินอัตราที่จำเลยมีสิทธิคิดได้ตามกฎหมาย การที่ ส. ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้จำเลย 1,800,000 บาท และจำเลยปลดหนี้ให้ ส. เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2533 ทำให้โจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับ ส. ได้ประโยชน์ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่ง,293 แม้ต่อมาอีก 2 ปี 11 เดือน 23 วัน จำเลยได้ฟ้องโจทก์ล้มละลาย แต่วงเงินที่โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยก็ถูกจำกัดอยู่เพียง 1,000,000 บาท ตามสัญญาค้ำประกันกับทั้ง ส.ก็ได้ชำระหนี้ให้จำเลยตามสัญญาค้ำประกันแล้วถึง 1,800,000 บาท และแม้โจทก์จะมีความรับผิดตามสัญญาจำนองประกันหนี้ของ บริษัท ล. อีกในวงเงิน 200,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยด้วยก็ตามยอดหนี้ที่โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยเมื่อรวมทั้งเงินต้นและ ดอกเบี้ยแล้วก็ไม่มีทางถึง 15,332,017.82 บาทได้ การที่จำเลยบรรยายฟ้องในคดีล้มละลายว่าโจทก์ยังต้องรับผิดต่อจำเลยร่วม กับบริษัทล. อีก 15,015,517.82 บาท โดยไม่บรรยายถึงวงเงินที่โจทก์ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ทั้งว. ผู้รับมอบอำนาจของจำเลยยังได้เบิกความในชั้นพิจารณาอีกด้วยว่า โจทก์ต้อง ร่วมรับผิดกับบริษัท ล. ถึงวันฟ้องเป็นเงิน15,332,071.82 บาท จนศาลชั้นต้นพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการ กระทำโดยประมาทเลินเล่อในการคำนวณยอดหนี้ของโจทก์ และเป็นการ ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การฟ้องล้มละลายโดยไม่สุจริต, การคำนวณหนี้ผิดพลาด
ตามสัญญาค้ำประกันหนี้สินทุกประเภทนั้น โจทก์และ ส.ร่วมกันค้ำประกันหนี้ของบริษัท ล.ภายในวงเงิน 1,000,000 บาท โดยยอมเข้ารับผิดร่วมกับบริษัท ล. ความรับผิดระหว่างโจทก์กับ ส.ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเป็นความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 682 วรรคสองส่วนการที่โจทก์และ ส.ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อจำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้โดยยอมรับผิดร่วมกับบริษัท ล.ผู้เป็นลูกหนี้นั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้และต่อผู้ค้ำประกันยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันเป็นผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้นลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 685 เมื่อโจทก์และ ส.ค้ำประกันหนี้ของบริษัท ล.ภายในวงเงิน 1,000,000 บาทความรับผิดของโจทก์และ ส.ย่อมจำกัดอยู่เพียงจำนวนเงิน 1,000,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยของต้นเงิน 1,000,000 บาท ตามอัตราดอกเบี้ยที่บริษัท ล.ต้องรับผิดต่อจำเลย แต่อัตราดอกเบี้ยนั้นต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดได้ตามกฎหมาย การที่ ส.ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้จำเลย1,800,000 บาท และจำเลยปลดหนี้ค้ำประกันให้ ส.เมื่อวันที่ 18 เมษายน2533 ทำให้โจทก์ซึ่งมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับ ส.ได้รับประโยชน์จากการชำระหนี้ของ ส.ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 วรรคหนึ่ง, 293 ดังนั้นถึงอย่างไรโจทก์ก็คงรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาค้ำประกันไม่ถึง 1,000,000บาท ต่อมาอีก 2 ปี 11 เดือน 23 วัน จำเลยได้ฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลายไม่ว่าจะคำนวณดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่โจทก์ยังต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันอย่างไรยอดหนี้รวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องคดีล้มละลายก็ไม่มีทางถึง 15,332,017.82 บาท ตามที่จำเลยฟ้อง ส่วนหนี้ตามสัญญาจำนองนั้นตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันและหนังสือสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นประกัน โจทก์ทำสัญญาจำนองแก่จำเลยเป็นประกันเงินกู้และหรือหนี้สินประเภทอื่น ๆ ของบริษัท ล.และหรือของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท แม้บริษัท ล.เป็นหนี้จำเลยอยู่ในขณะที่จำเลยยื่นฟ้องโจทก์ในคดีล้มละลายเป็นเงิน 15,332,019.82 บาท ก็ตามแต่โจทก์มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้แก่จำเลยตามสัญญาจำนองในวงเงิน200,000 บาท และดอกเบี้ยที่คิดจากต้นเงิน 200,000 บาท ตามอัตราที่บริษัท ล.ต้องรับผิดต่อจำเลยแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี เท่านั้นและหนี้ดังกล่าวหลักทรัพย์ที่โจทก์จำนองไว้ก็มีราคาประมาณ 300,000 บาทเท่านั้น เมื่อพิจารณาสัญญาจำนองแล้วมูลหนี้ตามสัญญาจำนองในขณะนั้นเมื่อเทียบเคียงกันมีราคาใกล้กับราคาที่ดินที่จำนองเป็นประกัน การที่จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลายโดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของบริษัท ล.โดยจำเลยไม่บรรยายฟ้องถึงวงเงินที่โจทก์ค้ำประกัน และได้บรรยายต่อไปว่าโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่จำเลยภายในวงเงิน 200,000 บาท ต่อมาจำเลยไม่ประสงค์ให้บริษัท ล.กู้เงินอีกต่อไปจึงเรียกให้บริษัท ล.ชำระหนี้เป็นเงิน 15,332,017.82 บาทโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าว จำเลยตีราคาทรัพย์จำนองเป็นเงิน 316,500 บาท เมื่อหักกับจำนวนหนี้แล้วโจทก์ยังต้องรับผิดร่วมกับบริษัท ล.อีก 15,015,517.82 บาท ตอนจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองก็แจ้งระบุว่ามีหนี้ค้างชำระ ณ วันที่15 กรกฎาคม 2534 เป็นเงิน 14,904,532 บาท ในชั้นพิจารณาคดีล้มละลายผู้รับมอบอำนาจจำเลยก็เบิกความว่า โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับบริษัท ล.ถึงวันฟ้องคดีล้มละลายเป็นเงิน 15,332,071.82 บาท ทั้ง ๆ ที่ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันของโจทก์มีเพียงไม่เกิน 1,000,000 บาท กับดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าว และสัญญาค้ำประกันหนิ้สินทุกประเภท ก็ทำขึ้นตามแบบพิมพ์ของจำเลย ซี่งต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดและพิพากษาให้โจทก์เป็นบุคคลล้มละลายเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อในการคำนวณยอดหนี้ของโจทก์และใช้สิทธิในการฟ้องคดีล้มละลายโดยไม่สุจริต ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานมีธนบัตรปลอม การพิจารณาพฤติการณ์ของผู้ต้องหาเพื่อพิสูจน์เจตนา
หากจำเลยรู้ว่าธนบัตรที่นำมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทย เป็นธนบัตรปลอมแล้วจำเลยน่าจะนำไปแลกที่ร้านค้า หรือสถานที่รับแลกเปลี่ยนเงินแห่งอื่นและแลกเปลี่ยนครั้งเดียว เพื่อที่ผู้รับแลกเปลี่ยนเงินจากจำเลยจะได้จำจำเลยไม่ได้ และจำเลยจะได้หลบหนีไปให้ไกลจากสถานที่ดังกล่าวไม่น่า จะนำมาแลกที่สถานที่ที่ตนเคยมารับประทานอาหารและเดินเล่น กับทำการแลกถึง 3 ครั้ง ภายในระยะเวลาประมาณ 13 ชั่วโมงทั้งเมื่อแลกได้แล้วก็มิได้หลบหนีไปไหน ซึ่งผิดวิสัยของผู้ที่ กระทำผิดทั่วไปที่จะไม่กระทำผิดในสถานที่ที่ตนเคยไป และเมื่อกระทำผิดมาแล้วก็จะรีบหลบหนีไปให้ไกลจากสถานที่นั้น ๆ ทั้งส.และธ. ซึ่งมีหน้าที่รับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศต่างรับว่าธนบัตรที่จำเลยนำมาแลกดูไม่ออกว่าเป็นธนบัตรปลอมและตอนที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปจับจำเลยนั้นไม่ปรากฏว่า จำเลยมีอาการผิดปกติแต่อย่างใด ตามพฤติการณ์น่าเชื่อว่า จำเลยไม่รู้ว่าธนบัตรที่นำมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยเป็น ธนบัตรปลอม พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมารับฟังลงโทษจำเลยในข้อหามีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งเงินตราของ รัฐบาลต่างประเทศอันตนได้มาโดยรู้ว่าเป็นของปลอมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลอกลวงจัดหางานไปทำงานต่างประเทศ – ความผิดฐานฉ้อโกงและ พ.ร.บ. จัดหางานฯ – กรรมเดียว
จำเลยกับพวกไม่ได้รับใบอนุญาตจัดหางานให้คนหางาน ไปทำงานในต่างประเทศจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง อีกทั้งจำเลยกับพวกไม่สามารถที่จะส่งผู้ใดไปทำงานในต่างประเทศ ดังกล่าวได้ และทั้งไม่มีงานรออยู่ที่ประเทศดังกล่าวตามที่แจ้งแก่ ผู้เสียหายทั้งเจ็ด อันเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่า จำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายคงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 การที่จำเลยกับพวกหลอกลวงประชาชนและผู้เสียหายทั้งเจ็ดว่า จำเลยกับพวกสามารถหางานให้แก่คนหางานทั่วไปรวมทั้งผู้เสียหาย ทั้งเจ็ดและส่งคนหางานทั่วไปและผู้เสียหายทั้งเจ็ดไปทำงานที่ ไต้หวัน และเกาหลีได้โดยผู้ที่จะไปทำงานที่เกาหลีต้องเสียเงินค่าบริการจัดการให้แก่จำเลยกับพวกคนละ 80,000 บาท และผู้เสียหายทั้งเจ็ดได้มอบเงินคนละ 80,000 บาท ให้แก่จำเลยกับพวกไปก็เพราะผู้เสียหายทั้งเจ็ดเชื่อตาม ที่จำเลยกับพวกหลอกลวงนั่นเอง การกระทำของจำเลยจึง เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯมาตรา 91 ตรี และเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกงตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงขัดกับคำรับสารภาพ และการไม่ได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทินเนื่องจากพ้นโทษช้ากว่ากำหนด
อุทธรณ์ของจำเลยข้อที่ว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องจำเลยให้การรับสารภาพเพราะสงสารเพื่อนที่ไปด้วยและพนักงานสอบสวนให้คำมั่นสัญญาว่าจำเลยจะไม่ถูกลงโทษจำคุกนั้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย ต้องถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539 มาตรา 4ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลที่จะได้รับการล้างมลทินและถือว่าไม่เคยถูกลงโทษในความผิดตามคำพิพากษานั้น นอกจากต้องเป็นผู้ต้องโทษที่ได้กระทำผิดก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 แล้ว ยังต้องเป็นผู้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ 11 กันยายน 2539 อันเป็นวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยถูกจำคุกครบกำหนดโทษและถูกปล่อยตัวเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2539 อันเป็นเวลาภายหลังพ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์เรื่องการรับสารภาพและผลกระทบของพ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษ
อุทธรณ์ของจำเลยข้อที่ว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องจำเลยให้การรับสารภาพเพราะสงสาร เพื่อนที่ไปด้วยและพนักงานสอบสวนให้คำมั่นสัญญา ว่าจำเลยจะไม่ถูกลงโทษจำคุกนั้น เป็นอุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพ ของจำเลย ต้องถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว จึงชอบแล้ว ตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 มาตรา 4 ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษา ของศาลที่จะได้รับการล้างมลทินและถือว่าไม่เคยถูกลงโทษ ในความผิดตามคำพิพากษานั้น นอกจากต้องเป็น ผู้ต้องโทษที่ได้กระทำผิดก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 แล้ว ยังต้องเป็นผู้พ้นโทษไปแล้วก่อน หรือในวันที่ 11 กันยายน 2539 อันเป็นวันที่ พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับด้วย เมื่อปรากฏว่า จำเลยถูกจำคุกครบกำหนดโทษและถูกปล่อยตัวเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2539 อันเป็นเวลาภายหลังพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีวัตถุออกฤทธิ์ในครอบครองเพื่อขาย โจทก์ต้องพิสูจน์เจตนาจำเลย แม้มีของกลางจำนวนมาก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีอีเฟดรีนจำนวน 195 เม็ดไว้ในครอบครองเพื่อขาย โจทก์ย่อมมีหน้าที่ต้องนำสืบแสดง พยานหลักฐานต่อศาล เพื่อให้เห็นสมจริงว่าจำเลยมี อีเฟดรีน ของกลางไว้เพื่อขาย การยึดได้ของกลางจำนวนดังกล่าวนี้ไม่แน่ว่าจำเลยจะมีไว้เพื่อขายเสมอไป และไม่อาจ สันนิษฐานว่าจำเลยมีของกลางไว้ในครอบครองเพื่อขายได้ เพราะพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ไม่มีบทบัญญัติให้สันนิษฐานไว้เช่นนั้น ทั้งในชั้นพิจารณาจำเลยก็ปฏิเสธ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องสืบให้ได้ความเช่นนั้นแต่ข้อนำสืบนั้นต้องมิใช่ส่วนหนึ่งของคำรับที่จำเลยเคยให้การไว้ในชั้นจับกุมหรือสอบสวนเมื่อโจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยจำหน่ายจ่ายแจกหรือมีไว้ซึ่งของกลางเพื่อขายกรณียังมีข้อสงสัยตามสมควร จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัย ให้จำเลย คดีรับฟังได้เพียงว่าจำเลยมีอีเฟดรีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
of 17