คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วินัส เรืองอำพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการรอการลงโทษและคุมความประพฤติหลังตรวจพบสารเสพติด จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 6 เดือน และปรับ 10,000 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ให้คุมความประพฤติจำเลยมีกำหนด 1 ปี ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาททุกชนิด และให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ต่อมามีการตรวจพบสารเสพติดให้โทษประเภทเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะของจำเลย ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งยกเลิกการคุมประพฤติและเปลี่ยนโทษจากรอการลงโทษจำคุกเป็นไม่รอการลงโทษ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ดังนี้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมเป็นที่สุด ตามพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 มาตรา 17 วรรคสอง จำเลยจะฎีกาไม่ได้ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกา และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6949/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาและสิทธินำสืบพยานหักล้างสัญญากู้ การนำสืบที่เจือสมกับประเด็นข้อพิพาท
จำเลยให้การตอนแรกว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินและรับเงินจากโจทก์ตามฟ้อง สัญญากู้เป็นเอกสารปลอมลายมือชื่อช่องผู้กู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย โจทก์ทำขึ้นเองเป็นคำให้การที่แสดงการปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่า จำเลยไม่ได้กู้เงินและรับเงินกู้ไปจากโจทก์ รวมทั้งอ้างเหตุแห่งการนั้นว่าสัญญากู้ที่โจทก์อ้างเป็นเอกสารปลอม ส่วนที่ จำเลยให้การตอนหลังว่า หากศาลฟังว่าสัญญากู้เป็น เอกสารที่แท้จริง โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามกฎหมายนั้น ก็มิใช่เป็นคำให้การที่ยอมรับหรือถือว่าจำเลยได้กู้เงินจากโจทก์จริง จึงมิได้ขัดแย้งกันเองหรือไม่ชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างในคำฟ้องโจทก์คำให้การของจำเลยจึงแสดงโดยชัดแจ้งว่าปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งหมด จำเลยย่อมมีสิทธินำพยานเข้าสืบตามคำให้การได้ และนำพยานบุคคลเข้าสืบหักล้างสัญญากู้ตามฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทำสัญญากู้และรับเงินไป จากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ การที่จำเลยนำสืบยอมรับว่า ทำสัญญากู้จริงถือว่าสละประเด็นเรื่องสัญญากู้ปลอมแล้ว อันเป็นการเจือสมกับที่โจทก์นำสืบให้ฟังได้ว่ามีการ ทำสัญญากู้กันจริง แม้จะแตกต่างกับคำให้การแต่ก็ เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงไม่ เป็นการนอกเหนือจากคำให้การ ส่วนที่จำเลยนำสืบถึง การที่โจทก์และจำเลยเป็นหุ้นส่วนซื้อที่ดินกันแล้วขายแบ่ง กำไรกันเพื่อให้เห็นที่มาของสัญญากู้เงินว่าเป็นมาอย่างไร จำเลยย่อมนำสืบเรื่องดังกล่าวได้ เพราะเป็นรายละเอียด เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว จำเลยหาจำต้อง ระบุในคำให้การไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6949/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำให้การและการนำสืบพยาน: การเปลี่ยนแปลงคำให้การไม่ถือเป็นการขัดแย้งหากยังคงอยู่ในประเด็นข้อพิพาทเดิม
จำเลยให้การตอนแรกว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินและรับเงินจากโจทก์ตามฟ้อง สัญญากู้เป็นเอกสารปลอม ลายมือชื่อช่องผู้กู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย โจทก์ทำขึ้นเอง เป็นคำให้การที่แสดงการปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินและรับเงินกู้ไปจากโจทก์ รวมทั้งอ้างเหตุแห่งการนั้นว่าสัญญากู้ที่โจทก์อ้างเป็นเอกสารปลอม ส่วนที่จำเลยให้การตอนหลังว่า หากศาลฟังว่าสัญญากู้เป็นเอกสารที่แท้จริง โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามกฎหมายนั้น ก็มิใช่เป็นคำให้การที่ยอมรับหรือถือว่าจำเลยได้กู้เงินจากโจทก์จริง จึงมิได้ขัดแย้งกันเองหรือไม่ชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างในคำฟ้องโจทก์ คำให้การของจำเลยจึงแสดงโดยชัดแจ้งว่าปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งหมด จำเลยย่อมมีสิทธินำพยานเข้าสืบตามคำให้การได้ และนำพยานบุคคลเข้าสืบหักล้างสัญญากู้ตามฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทำสัญญากู้และรับเงินไปจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ การที่จำเลยนำสืบยอมรับว่าทำสัญญากู้จริงถือว่าสละประเด็นเรื่องสัญญากู้ปลอมแล้ว อันเป็นการเจือสมกับที่โจทก์นำสืบให้ฟังได้ว่ามีการทำสัญญากู้กันจริง แม้จะแตกต่างกับคำให้การแต่ก็เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงไม่เป็นการนอกเหนือจากคำให้การ ส่วนที่จำเลยนำสืบถึงการที่โจทก์และจำเลยเป็นหุ้นส่วนซื้อที่ดินกันแล้วขายแบ่งกำไรกันเพื่อให้เห็นที่มาของสัญญากู้เงินว่าเป็นมาอย่างไรจำเลยย่อมนำสืบเรื่องดังกล่าวได้ เพราะเป็นรายละเอียดเกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว จำเลยหาจำต้องระบุในคำให้การไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6948/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องตามสัญญารับชำระหนี้แยกต่างหากจากตั๋วสัญญาใช้เงิน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรกลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2527 และทำสัญญารับชำระหนี้ให้แก่โจทก์โดยตกลงชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินคืนภายใน 134 วันและออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับหลัง ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2528และทำสัญญารับชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โดยตกลงจะชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินคืนให้แก่โจทก์ภายใน 90 วัน เห็นได้ว่ามูลหนี้แม้จะเกิดจากตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับ แต่การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ได้ทำสัญญารับชำระหนี้คืนให้แก่โจทก์ ในเมื่อมีการผิดนัดตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับนั้นเป็นข้อตกลงอันเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งอันเป็นสัญญารับชำระหนี้แยกต่างหากจากตั๋วสัญญาใช้เงินห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. จึงต้องผูกพันตามสัญญารับชำระหนี้ดังนั้น แม้จะฟังว่าสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งมีอายุความ 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1001 จะขาดอายุความฟ้องร้องแล้วทั้งสองฉบับแต่ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ยังต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องอันเกิดแก่สัญญารับชำระหนี้ สิทธิเรียกร้องตามสัญญารับชำระหนี้ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะมีสิทธิยกข้ออ้างตามมาตรา 694ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้แต่เมื่อฟังได้ว่า ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6948/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแยกต่างหากทำลายอายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน ผู้ค้ำประกันต้องรับผิด
แม้มูลหนี้ในคดีนี้จะเกิดจากตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่ข้อความที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ได้ตกลงทำสัญญารับชำระหนี้คืนให้แก่โจทก์ในกรณีที่มีการผิดนัดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นข้อตกลงอันเป็นสัญญาอีกฉบับ เรียกว่าสัญญารับชำระหนี้แยกต่างหากจากตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนั้น แม้จะฟังว่าสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1001 ก็ตาม แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากสัญญารับชำระหนี้ ซึ่งไม่มีบทกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 จำเลยจึงยังคงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6936/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเลิกกันเนื่องจากประนีประนอมยอมความก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด ทำให้สิทธิฟ้องระงับ
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ร่วมและจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 7 สิทธิของโจทก์และโจทก์ร่วมในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์และโจทก์ร่วม จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6936/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเช็คเลิกกันตามกฎหมาย เนื่องจากมีการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้เดียวกัน
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ร่วมและจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7สิทธิของโจทก์และโจทก์ร่วมในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับ ไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์และโจทก์ร่วมจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6875/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องและการสิ้นสุดผลการอายัดที่ดินตาม ป.ที่ดิน
การที่ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องภายหลังที่จำเลยยื่นคำให้การแล้ว ป.วิ.พ.มาตรา 175 วรรคสอง เพียงให้ศาลต้องฟังคำแถลงของจำเลยก่อน จากนั้นเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจว่าจะสมควรอนุญาตหรือไม่ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 คัดค้านว่า การที่จำเลยที่ 4 ไปตกลงกับโจทก์อาจทำให้จำเลยที่ 4 ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3ไม่มีส่วนรับรู้ข้อตกลงด้วย และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะต้องรับผิดชอบต่อจำเลยที่ 4ด้วยหรือไม่ก็ตาม เป็นอีกกรณีหนึ่งตามมูลความแห่งคดีเดิม ทั้งการที่โจทก์ขอถอนฟ้องเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย นอกจากนี้ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องก็เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจตามลักษณะของคดี เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความแล้วจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบ
โจทก์ขออายัดที่ดินของจำเลยไว้ก่อนโจทก์ฟ้องคดีและเจ้าพนักงานที่ดินได้รับอายัดไว้แล้ว ต่อมาโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 60 วัน ซึ่งตาม ป.ที่ดินมาตรา 83 วรรคสอง ให้ถือว่าการอายัดมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด คำขออายัดที่ดินของโจทก์จึงมีผลตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินได้รับอายัด เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องแล้วและโจทก์ได้นำสำเนาคำฟ้องมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน คำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานที่ดินย่อมมีผลต่อเนื่องไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัด หรือถ้าไม่มีคำสั่งให้ถอนการอายัดก็มีผลไปจนกว่าศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุด
ป.ที่ดิน มาตรา 83 มีความมุ่งหมายเพื่อจะคุ้มครองประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินไว้ชั่วกำหนดระยะเวลาหนึ่งจนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือจะมีคำวินิจฉัยคดีอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นแล้วก็เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียหรือของผู้ขออายัดและเจ้าของที่ดิน การสิ้นผลของการอายัดตามมาตรา 83 วรรคสอง เป็นเจตนารมณ์ของการอายัดที่ดินตาม ป.ที่ดินจึงใช้ถ้อยคำว่าจนกว่าศาลจะมีคำสั่งให้ถอนการอายัด หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด ดังนั้น การอายัดที่ดินจะสิ้นสุดลงได้ก็ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งเท่านั้นจึงหาต้องให้คดีถึงที่สุดเสียก่อนไม่ เมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งให้ถอนการอายัดที่ดินตามที่โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินขอให้เพิกถอนการอายัด คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6875/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องหลังจำเลยให้การ และการสิ้นสุดผลการอายัดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน
การที่ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้อง ภายหลังที่จำเลยยื่นคำให้การแล้วประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง เพียงให้ศาลต้องฟังคำแถลงของจำเลยก่อน จากนั้นเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจว่าจะสมควรอนุญาตหรือไม่ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 คัดค้านว่าการที่จำเลยที่ 4 ไปตกลงกับโจทก์อาจทำให้จำเลยที่ 4ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 ไม่มีส่วนรับรู้ข้อตกลงด้วย และจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 จะต้องรับผิดชอบต่อจำเลยที่ 4 ด้วยหรือไม่ก็ตามเป็นอีกกรณีหนึ่งตามมูลความแห่งคดีเดิม ทั้งการที่โจทก์ขอถอนฟ้องเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย นอกจากนี้ศาลจะอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องก็เป็นอำนาจของศาลชั้นต้น ที่จะใช้ดุลพินิจตามลักษณะของคดี เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ ถอนฟ้องและสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความแล้วจึงเป็นการ ใช้ดุลพินิจที่ชอบ โจทก์ขออายัดที่ดินของจำเลยไว้ก่อนโจทก์ฟ้องคดีและเจ้าพนักงานที่ดินได้รับอายัดไว้แล้ว ต่อมาโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 60 วัน ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 83 วรรคสอง ให้ถือว่าการอายัดมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด คำขออายัดที่ดินของโจทก์จึงมีผลตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดิน ได้รับอายัด เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องแล้วและโจทก์ ได้นำสำเนาคำฟ้องมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน คำสั่งดังกล่าว ของเจ้าพนักงานที่ดินย่อมมีผลต่อเนื่องไปจนกว่าศาลจะสั่ง ให้ถอนการอายัด หรือถ้าไม่มีคำสั่งให้ถอนการอายัดก็มีผล ไปจนกว่าศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุด ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 มีความมุ่งหมายเพื่อจะคุ้มครองประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินไว้ชั่วกำหนดระยะเวลาหนึ่งจนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือจะมีคำวินิจฉัยคดีอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นแล้วก็เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียหรือของผู้ขออายัดและเจ้าของที่ดินการสิ้นผลของการอายัดตามมาตรา 83 วรรคสอง เป็นเจตนารมณ์ ของการอายัดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินจึงใช้ถ้อยคำว่า จนกว่าศาลจะมีคำสั่งให้ถอนการอายัด หรือมีคำพิพากษา หรือคำสั่งถึงที่สุด ดังนั้น การอายัดที่ดินจะสิ้นสุดลงได้ ก็ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งเท่านั้น จึงหาต้องให้คดีถึงที่สุด เสียก่อนไม่ เมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งให้ถอน การอายัดที่ดินตามที่โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้เพิกถอนการอายัด คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6669/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินติดจำนองไม่ตัดสิทธิการเป็นบุคคลล้มละลาย หากยังมีทรัพย์สินอื่นและรายได้เพียงพอ
แม้ทรัพย์สินของจำเลยจะติดจำนองธนาคารก็ถือว่าทรัพย์สินดังกล่าวยังเป็นทรัพย์สินของจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าธนาคารอื่น ๆ ที่รับจำนองทรัพย์สินของจำเลยไว้มีการบังคับจำนองบ้างแล้วหรือไม่ หรือมีจำนวนหนี้จำนองท่วมราคาทรัพย์หรือไม่ก็ไม่มีหลักฐานปรากฏ ประกอบกับจำเลยได้พยายามติดต่อโจทก์เพื่อขอชำระหนี้มิได้หลบหนี ดังนั้น เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยเพื่อจัดการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยนำเงินมาชำระหนี้ ทั้งการฟ้องคดีล้มละลายที่จะขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายมิใช่เป็นการฟ้องคดีเพื่อบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้โดยตรง แต่เป็นเพียงวิธีการจัดการทรัพย์ของลูกหนี้เพื่อชำระหนี้แก่บรรดาเจ้าหนี้ของลูกหนี้ด้วยแล้ว เมื่อจำเลยยังมีทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์และจำเลยยังมีอาชีพประกอบกิจการค้าขายยังพอมีรายได้จึงมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
of 17