คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 192 วรรคสาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4762/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานยักยอก แม้โจทก์ฟ้องขอลงโทษฐานฉ้อโกงประชาชน เพราะความผิดฐานยักยอกเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานฉ้อโกง
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา343แต่ความผิดดังกล่าวมีองค์ประกอบมาจากความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341ด้วยเมื่อทางพิจารณาได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา352ซึ่งโจทก์ไม่ได้ขอลงโทษศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ความผิดฐานประมาท, การแก้ไขคำฟ้อง, และการรอการลงโทษจำคุก
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะการสอบสวนไม่ชอบเนื่องจากพนักงานสอบสวนมิได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมต่อจำเลยโจทก์มีพนักงานสอบสวนเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่าพยานได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมแล้วส่วนจำเลยเพียงแต่กล่าวอ้างลอยๆในอุทธรณ์และฎีกาเท่านั้นข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาว่าจำเลยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายแตกต่างจากฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยกระทำผิดฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเป็นการแตกต่างในข้อที่มิใช่สาระสำคัญและที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฆ่าผู้อื่นจำเลยต่อสู้ว่ากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาอย่างดีไม่หลงต่อสู้ศาลพิพากษาลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสองและวรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษฐานรับของโจร แม้ศาลล่างพิพากษายกฟ้องในความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ยกฟ้องฐานรับของโจรจำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้เป็นผู้ใช้ให้นาย ว. กระทำความผิดฐานลักทรัพย์แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจรศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสาม(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจร แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษในความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ยกฟ้องฐานรับของโจร จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้เป็นผู้ใช้ให้นาย ว.กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจร ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทฐานความผิดจากใช้ให้ผู้อื่นลักทรัพย์เป็นรับของโจร ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐาน ลักทรัพย์หรือ รับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานลักทรัพย์ยกฟ้องฐานรับของโจรจำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ฎีกาศาลฎีกาวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานลักทรัพย์แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจรดังนี้แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจะต่างกันระหว่างการกระทำผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจรก็ไม่ถือว่าต่างกันในสาระสำคัญและจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ทั้งข้อเท็จจริงดังกล่าวศาลล่างทั้งสองก็ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วเพียงแต่ปรับบทฐานความผิดต่างกันเท่านั้นศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐาน รับของโจรตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสามไม่ถือว่าพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงผู้อื่นให้ได้บัตรเอทีเอ็มและเบิกถอนเงิน ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกง แม้ฟ้องฐานลักทรัพย์
การที่จำเลยรับอาสาว่าจะนำบัตรบริการเงินด่วนของผู้เสียหายไปตรวจสอบยอดเงินในบัญชีเงินฝากแต่กลับนำบัตรบริการเงินด่วนดังกล่าวไปเบิกถอนเงินจากตู้เอ.ที.เอ็ม.ของธนาคารเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าจำเลยหลอกลวงเอาบัตรบริการเงินด่วนของผู้เสียหายเพื่อนำไปใช้เบิกถอนเอาเงินจากตู้เอ.ที.เอ็ม.และการที่จำเลยใช้บัตรบริการเงินด่วนของผู้เสียหายเบิกถอนเงินถือได้ว่าเงินที่จำเลยเบิกถอนจากตู้เอ.ที.เอ็ม.เป็นเงินของผู้เสียหายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์แต่ทางพิจารณาได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกงศาลก็ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงเพื่อเบิกถอนเงินโดยใช้บัตรผู้อื่นเป็นความผิดฐานฉ้อโกง แม้ฟ้องเป็นลักทรัพย์
การที่จำเลยรับอาสาว่าจะนำบัตรบริการเงินด่วนของผู้เสียหายไปตรวจสอบยอดเงินในบัญชีเงินฝาก แต่กลับนำบัตรบริการเงินด่วนดังกล่าวไปเบิกถอนเงินจากตู้ เอ.ที.เอ็ม. ของธนาคาร เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าจำเลยหลอกลวงเอาบัตรบริการเงินด่วนของผู้เสียหายเพื่อนำไปใช้เบิกถอนเอาเงินจากตู้เอ.ที.เอ็ม. และการที่จำเลยใช้บัตรบริการเงินด่วนของผู้เสียหายเบิกถอนเงินถือได้ว่าเงินที่จำเลยเบิกถอนจากตู้ เอ.ที.เอ็ม. เป็นเงินของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์แต่ทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ศาลก็ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายให้ได้บัตรเอทีเอ็มไปเบิกถอนเงิน ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกง แม้ฟ้องในความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยอาสานำบัตรบริการเงินด่วนของผู้เสียหายไปตรวจสอบยอดเงินในบัญชีเงินฝากแต่กลับนำบัตรไปเบิกถอนเงินจากตู้เอ.ที.เอ็ม.ของธนาคารไปถือว่าจำเลยหลอกเอาบัตรบริการเงินด่วนของผู้เสียหายไปเพื่อเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากในธนาคารของผู้เสียหายจากตู้เอ.ที.เอ็ม.ของธนาคารเงินที่เบิกถอนนั้นเป็นของผู้เสียหายจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงเงินของผู้เสียหายแม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ศาลก็ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9339/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาแก้โทษจากยักยอกเป็นฉ้อโกง ประเด็นอายุความ และอำนาจศาลในการปรับบท
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยจำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายได้และจำเลยก็อุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายด้วยในชั้นอุทธรณ์จึงมิใช่มีอุทธรณ์แต่ในปัญหาข้อกฎหมายดังนั้นศาลอุทธรณ์จึงไม่ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงแตกต่างกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นย่อมไม่ขัดต่อบทบัญญัติของมาตรา194แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำเลยได้ติดต่อให้โจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทท. แบบระยะเวลาเอาประกันภัย21ปีในวงเงินเอาประกันภัย100,000บาทผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยไม่ต้องจ่ายเป็นรายปีและได้รับส่วนลดเป็นพิเศษโจทก์ร่วมตกลงทำสัญญาประกันชีวิตต่อบริษัทท. กับจำเลยโดยโจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตตนเอง1กรมธรรม์และทำสัญญาประกันชีวิตให้ม. อีก1กรมธรรม์โจทก์ร่วมได้ชำระเงินเบี้ยประกันภัยทั้ง2กรมธรรม์ให้แก่จำเลยไปแล้วทั้งหมดรวมเป็นเงิน179,500บาทแต่ปรากฏว่าบริษัทท. ได้รับชำระเบี้ยประกันภัยของโจทก์ร่วมและม. เป็นเงินเพียง10,584บาทและ8,659บาทตามลำดับซึ่งเป็นการชำระเบี้ยประกันภัยแบบเอาประกันภัยในระยะเวลาเพียง1ปีและโจทก์ร่วมกับม. จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปีปีละครั้งแสดงว่าโจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้จำเลยไปโดยหลงเชื่อว่าจำเลยจะจัดให้โจทก์ร่วมและม. ทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทท. แบบชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยมีระยะเวลาเอาประกันภัย21ปีแต่จำเลยไม่ได้จัดให้มีการทำสัญญาประกันชีวิตในแบบดังกล่าวกลับนำสืบปฏิเสธว่าจำเลยไม่เคยรับเงินจากโจทก์ร่วมและจำเลยเป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ร่วมและม. ด้วยพฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฉ้อโกงโจทก์ร่วมจำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้องคดีนี้แม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกโดยโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสาม เมื่อโจทก์ร่วมรู้ว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตไม่ได้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ดังกล่าวจึงทักท้วงต่อจำเลยจำเลยได้ขอเวลาแก้ไขให้ภายใน1เดือนในระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ร่วมย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่เพราะการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตอาจมีข้อบกพร่องผิดพลาดโดยไม่ได้เจตนาก็เป็นได้ต่อเมื่อโจทก์ร่วมพบกับจำเลยอีกครั้งในวันที่24กันยายน2534และจำเลยได้ปฏิเสธว่าโจทก์ร่วมและม. ไม่ได้ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยและจำเลยไม่ได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากบุคคลทั้งสองนับแต่วันนั้นจึงถือได้ว่าโจทก์ร่วมรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเมื่อโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่9ธันวาคม2534คดีของโจทก์ร่วมจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9339/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฉ้อโกงและการขาดอายุความในคดีฉ้อโกง การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาและการพิพากษา
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายได้ และจำเลยก็อุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายด้วย ในชั้นอุทธรณ์จึงมิใช่มีอุทธรณ์แต่ในปัญหาข้อกฎหมาย ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงไม่ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงแตกต่างกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ย่อมไม่ขัดต่อบทบัญญัติของมาตรา 194 แห่ง ป.วิ.อ.
จำเลยได้ติดต่อให้โจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี ในวงเงินเอาประกันภัย 100,000 บาทผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยไม่ต้องจ่ายเป็นรายปี และได้รับส่วนลดเป็นพิเศษ โจทก์ร่วมตกลงทำสัญญาประกันชีวิตต่อบริษัท ท.กับจำเลย โดยโจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตตนเอง 1 กรมธรรม์ และทำสัญญาประกันชีวิตให้ ม.อีก 1 กรมธรรม์ โจทก์ร่วมได้ชำระเงินเบี้ยประกันภัยทั้ง 2 กรมธรรม์ ให้แก่จำเลยไปแล้วทั้งหมดรวมเป็นเงิน 179,500 บาท แต่ปรากฏว่าบริษัท ท.ได้รับชำระเบี้ยประกันภัยของโจทก์ร่วมและ ม.เป็นเงินเพียง 10,584 บาท และ 8,659 บาทตามลำดับ ซึ่งเป็นการชำระเบี้ยประกันภัยแบบเอาประกันภัยในระยะเวลาเพียง 1 ปีและโจทก์ร่วมกับ ม.จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี ปีละครั้ง แสดงว่าโจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้จำเลยไปโดยหลงเชื่อว่าจำเลยจะจัดให้โจทก์ร่วมและม.ทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยมีระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี แต่จำเลยไม่ได้จัดให้มีการทำสัญญาประกันชีวิตในแบบดังกล่าว กลับนำสืบปฏิเสธว่าจำเลยไม่เคยรับเงินจากโจทก์ร่วม และจำเลยเป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ร่วมและ ม.ด้วยพฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฉ้อโกงโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง คดีนี้แม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกโดยโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคสาม
เมื่อโจทก์ร่วมรู้ว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตไม่ได้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ดังกล่าว จึงทักท้วงต่อจำเลย จำเลยได้ขอเวลาแก้ไขให้ภายใน1 เดือน ในระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ร่วมย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ เพราะการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตอาจมีข้อบกพร่องผิดพลาดโดยไม่ได้เจตนาก็เป็นได้ ต่อเมื่อโจทก์ร่วมพบกับจำเลยอีกครั้งในวันที่24 กันยายน 2534 และจำเลยได้ปฏิเสธว่า โจทก์ร่วมและ ม.ไม่ได้ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยและจำเลยไม่ได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากบุคคลทั้งสองนับแต่วันนั้นจึงถือได้ว่าโจทก์ร่วมรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด เมื่อโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 9 ธันวาคม 2534 คดีของโจทก์ร่วมจึงไม่ขาดอายุความ
of 15