พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 การประเมินภาษีหลังพระราชกำหนดมีผล
มาตรา 30 วรรคหก (2) แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ได้บัญญัติมิให้นำมาตรา 30 ดังกล่าว มาใช้แก่บุคคลที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากร โดยได้ทำการประเมินหรือสั่งก่อนวันที่พระราชกำหนดดังกล่าวใช้บังคับ ปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือลงวันที่30 เมษายน 2529 แจ้งให้โจทก์นำภาษีเงินได้นิติบุคคลไปชำระอันเป็นเวลาภายหลังที่พระราชกำหนดดังกล่าวใช้บังคับแล้ว ทั้งโจทก์ก็ได้ยื่นคำขอตามแบบ อ.1 และชำระภาษีอากรตามจำนวนที่ต้องเสียภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด โจทก์จึงชอบที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความผิดตาม ป.รัษฎากร เมื่อโจทก์ได้สิทธิประโยชน์ตามมาตรา 30 ของพระราชกำหนดดังกล่าวโดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรแล้ว การประเมินและคำสั่งของจำเลยตามหนังสือลงวันที่30 เมษายน 2529 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลบังคับ เสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการประเมินและไม่มีคำสั่งของเจ้าพนักงานที่โจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 442/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอ้างพยานเพิ่มเติมหลังวันชี้สองสถาน หากมีเหตุสมควรและเป็นพยานสำคัญต่อประเด็นคดี
เมื่อมีเหตุอันสมควรแสดงได้ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ขออนุญาตอ้างเพิ่มเติมภายหลังวันชี้สองสถาน โจทก์ไม่ทราบว่าได้มีอยู่ก่อนวันชี้สองสถาน และปรากฏว่าพยานหลักฐานนั้นเป็นพยานหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี จำเป็นจะต้องสืบเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม ศาลก็ควรอนุญาตให้โจทก์อ้างพยานหลักฐานดังกล่าวเพิ่มเติมได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยไม่มีอำนาจตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร และสิทธิในการฟ้องคดีโดยไม่ต้องอุทธรณ์
มาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 เป็นบทบัญญัติให้ผู้ต้องเสียภาษีที่ยังไม่ได้เสียภาษีอากรหรือเสียไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรสำหรับเงินได้หรือรายรับที่มีอยู่ก่อนปีภาษี 2527 หรือในปีภาษี 2527 นั้น โดยให้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในเดือนกรกฎาคม2529 หากผู้ใดยื่นคำขอเสียภาษีภายในเวลาดังกล่าวและได้ชำระภาษีอากรภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดนั้นแล้วก็เป็นอันได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบไต่สวนการประเมินหรือคำสั่งให้เสียภาษีอากรตลอดจนได้รับยกเว้นความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร แต่ความตอนท้ายของมาตรา 30 แห่งหพระราชกำหนดดังกล่าวก็บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า ผู้ใดที่ยังไม่เสียภาษีอากรหรือเสียไว้ไม่หถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ถ้าเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับแล้ว ผู้นั้นย่อมไม่ได้รับการผ่อนผันสำหรับเงินได้หรือรายรับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการหประเมินหรือสั่งให้เสียไว้นั้น
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์เพื่อตรวจสอบไต่สวนภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ.2524 ก่อนวันที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับ แต่เพิ่งทำการประเมินและส่งหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบภายหลังจากที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับแล้ว และอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ผ่อนผันให้เสียภาษีได้อยู่ เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินนั้นโจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดภายในระยะเวลาที่มาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 บัญญัติไว้โจทก์ย่อมได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวนและการประเมินภาษีอากรตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์สำหรับปีภาษี พ.ศ.2524 จึงเป็นการประเมินที่ไม่มีอำนาจ จึงไม่มีผลบังคับ
กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 มาตรา 30 โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์.
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์เพื่อตรวจสอบไต่สวนภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ.2524 ก่อนวันที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับ แต่เพิ่งทำการประเมินและส่งหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบภายหลังจากที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับแล้ว และอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ผ่อนผันให้เสียภาษีได้อยู่ เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินนั้นโจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดภายในระยะเวลาที่มาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 บัญญัติไว้โจทก์ย่อมได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวนและการประเมินภาษีอากรตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์สำหรับปีภาษี พ.ศ.2524 จึงเป็นการประเมินที่ไม่มีอำนาจ จึงไม่มีผลบังคับ
กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 มาตรา 30 โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยไม่มีอำนาจและการผ่อนผันภาษีตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
มาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 เป็นบทบัญญัติให้ผู้ต้องเสียภาษีที่ยังไม่ได้เสียภาษีอากรหรือเสียไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรสำหรับเงินได้หรือรายรับที่มีอยู่ก่อนปีภาษี 2527 หรือในปีภาษี 2527 นั้น โดยให้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในเดือนกรกฎาคม 2529 หากผู้ใดยื่นคำขอเสียภาษีภายในเวลาดังกล่าวและได้ชำระภาษีอากรภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดนั้นแล้ว ก็เป็นอันได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบไต่สวนการประเมินหรือคำสั่งให้เสียภาษีอากรตลอดจนได้รับยกเว้นความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร แต่ความตอนท้ายของมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวก็บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า ผู้ใดที่ยังไม่เสียภาษีอากรหรือเสียไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ถ้าเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับแล้ว ผู้นั้นย่อมไม่ได้รับการผ่อนผันสำหรับเงินได้หรือรายรับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียไว้นั้น
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์เพื่อตรวจสอบไต่สวนภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ.2524 ก่อนวันที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับ แต่เพิ่งทำการประเมินและส่งหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบภายหลังจากที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับแล้ว และอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ผ่อนผันให้เสียภาษีได้อยู่ เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินนั้นโจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดภายในระยะเวลาที่มาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 บัญญัติไว้โจทก์ย่อมได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวนและการประเมินภาษีอากรตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์สำหรับปีภาษี พ.ศ.2524 จึงเป็นการประเมินที่ไม่มีอำนาจ จึงไม่มีผลบังคับ
กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 มาตรา 30 โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์เพื่อตรวจสอบไต่สวนภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ.2524 ก่อนวันที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับ แต่เพิ่งทำการประเมินและส่งหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบภายหลังจากที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับแล้ว และอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ผ่อนผันให้เสียภาษีได้อยู่ เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินนั้นโจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดภายในระยะเวลาที่มาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 บัญญัติไว้โจทก์ย่อมได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวนและการประเมินภาษีอากรตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์สำหรับปีภาษี พ.ศ.2524 จึงเป็นการประเมินที่ไม่มีอำนาจ จึงไม่มีผลบังคับ
กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 มาตรา 30 โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์