พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าล่วงหน้าต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรา 18 ทวิ และต้องประเมินก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ
การที่โจทก์มิได้นำเอกสารหลักฐานใดมาแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินหรือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติตัดสิทธิว่าโจทก์สละสิทธิที่จะแสดงหลักฐานเช่นว่านั้น และในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติ ดังกล่าว ดังนั้น คู่ความย่อมมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 85 เมื่อโจทก์ได้ยื่นพยานหลักฐานดังกล่าวถูกต้องตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรในชั้นพิจารณาคดีแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ประกอบการวินิจฉัยคดีได้ การประเมินภาษีการค้าล่วงหน้า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ทวิ วรรคแรก จะต้องเป็นการประเมินก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ ซึ่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีการค้านั้น ประมวลรัษฎากรมาตรา 84 วรรคแรก และมาตรา 85 ทวิ ได้กำหนดไว้แน่นอนแล้วทั้งนี้ไม่ว่าผู้ประกอบการค้าจะมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าหรือไม่ ก็ต้องยื่นแบบแสดงรายการทุกเดือนภาษีภายในวันที่ 15ของเดือนถัดจากเดือนภาษีและกำหนดเวลายื่นรายการนั้น อาจเปลี่ยนแปลงได้เฉพาะเมื่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นสมควรให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปตามประมวลรัษฎากรมาตรา 3 อัฏฐ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ในปี พ.ศ. 2528 และ 2529อธิบดีกรมสรรพากรหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มีประกาศให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไป ดังนั้น กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในเดือนใดของปี พ.ศ. 2528 และ 2529 จึงถึงกำหนดเวลายื่นรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แต่ปรากฏว่า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับ เมื่อวันที่14 มิถุนายน 2531 โดยประเมินเป็นภาษีการค้าสำหรับเดือนมกราคม 2528ถึงเดือนธันวาคม 2529 จึงเป็นการประเมิน หลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าไปสำหรับเดือนภาษีในปี พ.ศ. 2528 และ 2529 แล้วและเป็นการประเมินย้อนหลัง มิใช่ประเมินล่วงหน้าถึงกำหนดเวลายื่นรายการ จึงเป็นการประเมินที่ขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีล่วงหน้าต้องก่อนกำหนดเวลายื่นรายการ การประเมินหลังกำหนดเวลาเป็นโมฆะ
การประเมินเรียกเก็บภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ทวิจะต้องประเมินก่อนถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการตามมาตรา 17และมาตรา 84 เว้นแต่อธิบดีหรือรัฐมนตรีเห็นเป็นการสมควรตามความจำเป็นให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการตามมาตรา 3 อัฏฐการที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลย ประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับที่เกิดขึ้นสำหรับวันที่ 1 มกราคม 2527ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2528 จากโจทก์ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2531จึงเป็นการประเมินหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี พ.ศ. 2527 และ 2528 เป็นการประเมินย้อนหลังมิใช่กรณีประเมินล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ ทั้งไม่ปรากฏว่ารอบระยะเวลาบัญชี ปี พ.ศ. 2527 และ 2528 ได้มีประกาศของอธิบดีหรือรัฐมนตรีให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการแต่อย่างใด การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงมิชอบขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 18 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ภาษีอากร การระบุวัตถุประสงค์การชำระ และสิทธิในการได้รับประโยชน์จากประกาศขยายเวลาชำระ
แถลงการณ์กระทรวงการคลัง เรื่องเปิดโอกาสให้เสียภาษีอากรเพิ่มเติม ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2525 ข้อ 4 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรที่ได้รับแจ้งการประเมิน แต่ยังมิได้ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมิน และพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากได้นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในวันที่ 31พฤษภาคม 2525 ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ดังนี้การที่โจทก์ชำระภาษีอากรให้แก่จำเลยด้วยเช็ค จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้าย กล่าวคือหนี้ภาษีอากรจะระงับต่อเมื่อเช็คนั้นได้ใช้เงินแล้ว เมื่อปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หนี้ภาษีอากรย่อมไม่ระงับสิ้นไปแม้ว่าต่อมาวันที่ 15 มิถุนายน 2525 โจทก์จะได้นำแคชเชียร์เช็คไปชำระหนี้ให้จำเลยแทนเช็คเดิมที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และจำเลยได้รับชำระหนี้ตามแคชเชียร์เช็คนั้นก็ตามแต่ก็เป็นการล่วงเลยเวลาวันที่ 31 พฤษภาคม 2528 ตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามแถลงการณ์ฉบับดังกล่าว ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2528 ข้อ 3วรรคแรก กำหนดว่า ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรได้รับแจ้งการประเมิน แต่ยังมิได้ชำระ หรือยังมิได้ชำระเฉพาะเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มให้ครบถ้วน ตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมินและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากได้นำภาษีอากรที่ค้างอยู่นั้นไปชำระภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2528 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2528 ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น และวรรคสองกำหนดว่ากรณีที่มีการชำระค่าภาษีอากรไว้แล้วคงค้างอยู่เฉพาะเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่ม ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรยื่นคำร้องขอก็ให้ได้รับสิทธิตามประกาศนี้ด้วย ดังนี้เมื่อปรากฏว่าแคชเชียร์เช็คที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรให้จำเลยไม่เพียงพอที่จะปลดเปลื้องค่าภาษีอากร เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มได้หมดทุกราย อีกทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงินที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้ผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรต้องเสียเป็นกรณีพิเศษ มิใช่เป็นค่าฤชาธรรมเนียมหรือดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 329 ซึ่งลูกหนี้จะต้องชำระก่อนหนี้ภาษีอากร การชำระหนี้รายนี้จึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328วรรคแรก และการที่โจทก์มอบแคชเชียร์เช็คให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีอากร ย่อมแสดงว่าโจทก์ระบุชำระหนี้ค่าภาษีอากรก่อน หนี้ค่าภาษีอากรนั้นเป็นอันได้เปลื้องไป ตามมาตรา 328 วรรคแรก กรณีเช่นนี้จำเลยจะถือปฏิบัติตามระเบียบโดยให้เฉลี่ยชำระหนี้ทั้งค่าภาษีอากรเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ด้วยการจัดการแบ่งเฉลี่ยชำระเองตามที่ต้องการโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วยไม่ได้เมื่อมีการชำระค่าภาษีอากรแล้วคงค้างเฉพาะเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอตามประกาศกระทรวงการคลังเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์ย่อมได้รับสิทธิไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: ชำระหนี้ภาษีอากรครบถ้วนหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ถือเป็นการชำระหนี้โดยสมบูรณ์ ทำให้พ้นจากภาวะล้มละลาย
กรณีผู้เสียภาษีอากรอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีที่ผู้เสียภาษีอากรถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายก็ดี หรือกรณีลูกหนี้ถูกแจ้งการประเมินภาษีและมิได้อุทธรณ์การประเมินนั้นต่อคณะกรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาลในเรื่องการประเมินก็ดี ทั้งสองกรณีไม่อยู่ในเงื่อนไขของแถลงการณ์กระทรวงการคลัง ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2525 ดังนั้น เมื่อลูกหนี้ชำระค่าภาษีอากรค้างให้โจทก์ครบถ้วน และภายในเวลาที่กำหนดลูกหนี้ย่อมได้รับยกเว้นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังดังกล่าว โดยไม่ต้องขอถอนฟ้องก่อน เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่จะได้รับชำระหนี้โดยเสมอภาคแต่คดีที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มีเจ้าหนี้เพียงรายเดียวคือโจทก์ ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้โดยตรงได้ ไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ของลูกหนี้จึงเท่ากับเป็นการชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้เต็ม จำนวน เหตุที่จะให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายหมดไป จึงต้องยกเลิกการล้มละลาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ภาษีอากรหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และผลต่อการยกเลิกการล้มละลาย
แถลงการณ์กระทรวงการคลังระบุว่า "ฯลฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตาม มาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากรจึงขยายเวลาชำระและนำส่งภาษีอากร เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เสียภาษีอากร ฯลฯ ได้ ยื่นชำระภาษีอากร ฯลฯ ถูกต้อง ครบถ้วน โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ ฯลฯ ทั้งนี้ตาม เงื่อนไข ฯลฯข้อ 4 ในกรณีผู้มีหน้าที่เสีย ฯลฯ ภาษีอากร ฯลฯ รับแจ้งการประเมินฯลฯ ก่อนวันที่ที่ลงในแถลงการณ์นี้ แต่ ยังมิได้ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตาม กำหนดเวลา ฯลฯ ในแบบแจ้งการประเมิน ฯลฯ นั้นและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว หากได้ นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในระยะเวลาตาม ข้อ 7 แล้ว ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น ถ้า ภาษีอากรค้างนั้น ค้างอยู่ในชั้น อุทธรณ์ต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อ ศาลผู้เสียภาษีอากรต้อง ขอถอน อุทธรณ์หรือถอน ฟ้องนั้น และได้ รับอนุมัติเสียก่อน ฯลฯ" ดังนั้น กรณีผู้เสียภาษีอากรอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ด ขาดในคดีที่ผู้เสียภาษีอากรถูก ฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายก็ดี หรือกรณีลูกหนี้ถูก แจ้งการประเมินภาษีและมิได้อุทธรณ์การประเมินนั้นต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อ ศาลในเรื่องการประเมินก็ดี ทั้งสองกรณีไม่อยู่ในเงื่อนไขของแถลงการณ์กระทรวงการคลังดังกล่าว ดังนั้น เมื่อลูกหนี้ชำระค่าภาษีอากรค้างให้โจทก์ครบถ้วนและภายในเวลาที่กำหนด ลูกหนี้ย่อมได้ รับยกเว้นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตาม แถลงการณ์กระทรวงการคลังโดย ไม่ต้องขอถอน ฟ้องก่อน เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ ผู้เดียว ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่จะได้ รับชำระหนี้โดย เสมอภาค คดีที่ลูกหนี้ถูก ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มีเจ้าหนี้เพียงรายเดียว คือโจทก์ ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ ไม่ก่อให้เกิดการได้ เปรียบเสียเปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ของลูกหนี้จึงเท่ากับเป็นการชำระหนี้ต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้เต็มจำนวน เหตุที่จะให้ลูกหนี้เป็นคนล้มละลายหมดไป จึงต้อง ยกเลิกการล้มละลาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาการยื่นภาษี, เหตุสุดวิสัย, ความรับผิดของผู้เสียภาษี, อำนาจประเมินภาษี
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อกรมสรรพากรจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ไม่แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบ จะถือว่าจำเลยที่ 1 ได้อนุญาตให้โจทก์ขยายเวลาตามคำร้องของโจทก์โดยปริยายไม่ได้เพราะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 3 อัฏฐ มิได้บัญญัติบังคับให้ต้องแจ้งคำสั่งให้ผู้ร้องทราบ เหมือนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65(ข)
การที่โจทก์ไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 อนุญาตให้ขยายเวลาโดยอ้างว่าผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ไม่ยอมรับรองบัญชีงบดุลซึ่งจะต้องยื่นพร้อมแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เนื่องจากสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีอยู่ที่จำเลยที่ 1ผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ไม่สามารถตรวจสอบได้นั้น ไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัยและไม่ใช่ความบกพร่องของพนักงานของจำเลยที่ 1แต่อย่างใด เพราะผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์สามารถจะไปขออนุญาตตรวจสอบหรือขอถ่ายบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี ณ ที่ทำการของจำเลยที่ 1 ได้
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 ขยายให้ เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1จึงมีอำนาจทำการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) ได้.
การที่โจทก์ไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 อนุญาตให้ขยายเวลาโดยอ้างว่าผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ไม่ยอมรับรองบัญชีงบดุลซึ่งจะต้องยื่นพร้อมแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เนื่องจากสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีอยู่ที่จำเลยที่ 1ผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ไม่สามารถตรวจสอบได้นั้น ไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัยและไม่ใช่ความบกพร่องของพนักงานของจำเลยที่ 1แต่อย่างใด เพราะผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์สามารถจะไปขออนุญาตตรวจสอบหรือขอถ่ายบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี ณ ที่ทำการของจำเลยที่ 1 ได้
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 ขยายให้ เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1จึงมีอำนาจทำการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาการยื่นภาษี, เหตุสุดวิสัย, ความรับผิดของผู้เสียภาษี, และอำนาจการประเมินของเจ้าพนักงาน
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อกรมสรรพากรจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ไม่แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบ จะถือว่าจำเลยที่ 1 ได้อนุญาตให้โจทก์ขยายเวลาตามคำร้องของโจทก์โดยปริยายไม่ได้ เพราะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 3 อัฏฐ มิได้บัญญัติบังคับให้ต้องแจ้งคำสั่งให้ผู้ร้องทราบ เหมือนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 (ข)
การที่โจทก์ไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 อนุญาตให้ขยายเวลาโดยอ้างว่าผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ไม่ยอมรับรองบัญชีงบดุลซึ่งจะต้องยื่นพร้อมแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เนื่องจากสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีอยู่ที่จำเลยที่ 1 ผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ไม่สามารถตรวจสอบได้นั้น ไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัยและไม่ใช่ความบกพร่องของพนักงานของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด เพราะผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์สามารถจะไปขออนุญาตตรวจสอบหรือขอถ่ายบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี ณ ที่ทำการของจำเลยที่ 1 ได้
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 ขยายให้ เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1จึงมีอำนาจทำการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) ได้.
การที่โจทก์ไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 อนุญาตให้ขยายเวลาโดยอ้างว่าผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ไม่ยอมรับรองบัญชีงบดุลซึ่งจะต้องยื่นพร้อมแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เนื่องจากสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีอยู่ที่จำเลยที่ 1 ผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ไม่สามารถตรวจสอบได้นั้น ไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัยและไม่ใช่ความบกพร่องของพนักงานของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด เพราะผู้ตรวจสอบบัญชีของโจทก์สามารถจะไปขออนุญาตตรวจสอบหรือขอถ่ายบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี ณ ที่ทำการของจำเลยที่ 1 ได้
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 ขยายให้ เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1จึงมีอำนาจทำการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) ได้.