คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 65 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3411/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีไม่ยื่นแบบและไม่ให้ไต่สวน: ใช้อัตรา 5% ของรายรับก่อนหักรายจ่ายได้
จำเลยไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลและจำเลยได้รับหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมาย แล้ว แต่จำเลยมิได้มาให้ไต่สวนและไม่นำบัญชี เอกสารหรือ พยานหลักฐานอื่นมาแสดงเพื่อตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 23 จึงต้องตามบทบัญญัติมาตรา 71(1) เจ้าพนักงาน ประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับ ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบ ระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า และกรณีเช่นนี้ ไม่อาจนำพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วย การกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ซึ่งใช้บังคับสำหรับการคำนวณภาษี เงินได้บุคคลธรรมดามาใช้บังคับโดยอนุโลมเพราะกฎหมายได้ บัญญัติไว้แจ้งชัดโดยเฉพาะแล้ว แม้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 วรรคสอง เจ้าพนักงาน ประเมินจะมีอำนาจเลือกประเมินภาษีตามมาตรา 24 จากฐานกำไร สุทธิแทนฐานรายรับก่อนหักรายจ่ายตามมาตรา 71(1) ก็ตาม แต่ เมื่อการคำนวณภาษีจากฐานกำไรสุทธิไม่อาจหักรายจ่ายเป็นการ เหมาตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในการคำนวณกำไรสุทธิให้จำเลย จึงไม่ชอบ และมีผลทำให้กำไรสุทธิและภาษีที่คำนวณได้ไม่ชอบ ไปด้วย ดังนั้น การเลือกประเมินภาษีตามมาตรา 24 จากฐาน กำไรสุทธิจึงไม่ชอบ การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากกำไรสุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จึงเห็นได้ว่าหากสามารถพิสูจน์แสดงรายจ่ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้มากเท่าใด แล้วนำไปหักออกจากรายได้มากเพียงใด ก็จะเสียภาษีน้อยลง เท่านั้น หรือถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่ายถือว่าขาดทุน ก็ไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้นกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลจึง อยู่ที่การพิสูจน์รายจ่ายตามกฎหมาย หาใช่การไม่ปฏิบัติตาม หมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินทำให้เสียภาษีน้อยกว่าผู้ที่ ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4717/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจน ขาดรายละเอียดการประเมินภาษี ศาลยกฟ้องตาม พ.ร.บ.ศาลภาษีอากร
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าในปี 2523 ถึง 2525 นั้น ปีภาษีใดเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มจำนวนเท่าใด เงินเพิ่มภาษีอีกจำนวนเท่าใด เหตุใดโจทก์จึงต้องเสียเพิ่ม เพราะการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 กำหนดให้เสียเป็นรอบระยะเวลาบัญชีจากกำไรสุทธิซึ่งคำนวณจากรายได้หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรีและเมื่อเจ้าพนักงานประเมินเรียกตรวจสอบไต่สวนและแจ้งการประเมินให้เสียภาษีตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ก็ต้องตรวจสอบไต่สวนและแจ้งการประเมินตามรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว หากผู้ต้องเสียภาษีเห็นว่าการประเมินในส่วนใดมิชอบ ก็มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินนั้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่โจทก์กล่าวในฟ้องคลุมมาว่าเจ้าพนักงานประเมินแจ้ง ให้โจทก์นำเอกสารและบัญชีไปตรวจสอบแต่โจทก์ส่งให้ไม่ครบจึงแจ้งการประเมินให้โจทก์เสียภาษีรวม3 ปีภาษีเป็นเงิน 954,783 บาท โดยมิได้แยกเป็นรายปีให้แจ้งชัดตามสภาพแห่งข้อหา คำขอท้ายฟ้องก็ระบุเพียงว่าขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลย โดยมิได้ระบุว่าเป็นการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเลขที่และลงวันที่เท่าใด เอกสารท้ายฟ้องที่จะแสดงถึงสภาพแห่งข้อหาและการประเมินรวมทั้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ขอให้เพิกถอนดังกล่าวก็ไม่มี เป็นคำฟ้องที่ไม่แจ้งชัดทั้งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ จึงเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การหักลดหย่อนราคาสินค้าคงเหลือที่เสื่อมสภาพ การพิสูจน์ราคาตลาดตามความเป็นจริง
เมื่อสินค้าคงเหลือเป็นสินค้าเสื่อมราคาและมีราคาตลาดเพียงร้อยละ 15 ของราคาทุน การตีราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามราคาตลาดซึ่งต่ำกว่าราคาทุนในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงเป็นไปตามเงื่อนไขของประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4100/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากการขายที่ดินต่ำกว่าราคาตลาด และการหักค่าใช้จ่ายที่สมควร
โจทก์ซื้อที่ดินมาปรับปรุงแล้วแบ่งเป็นแปลงย่อยขาย เป็นการประกอบธุรกิจการค้าหากำไร การที่โจทก์โอนขายที่ดินให้แก่ศ.และส. ไปในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุน แม้บุคคลดังกล่าวจะเป็นผู้มีบุญคุณต่อโจทก์ตามที่กล่าวอ้างก็ย่อมเป็นเหตุอันไม่สมควรในทางการค้า เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินราคาที่ดินที่โจทก์ขายให้แก่ ศ.และส.ตามราคาตลาดในวันที่มีการโอนเพื่อคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) โจทก์มีเงินได้จากการค้าที่ดิน จัดอยู่ในประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) ซึ่งประมวลรัษฎากร มาตรา 46 ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาอันได้แก่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11)พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 155 พ.ศ. 2515 ข้อ 10 ที่กำหนดว่าเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากรแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ที่มิได้ระบุไว้ในมาตรา 8 ให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรทั้งนี้ให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16)พ.ศ. 2502 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และตามหนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0802/6625 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ได้วางแนวทางให้ถือปฏิบัติในการหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้จากการขายที่ดินที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรไว้ดังนี้ 1. ผู้มีเงินได้จะต้องหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 หากผู้มีเงินได้ไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับการใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้หักค่าใช้ให้เจ้าพนักงานประเมินพิจารณาหักค่าใช้จ่ายสำหรับต้นทุนที่ดินและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้ 2. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆที่เกี่ยวข้องให้พิจารณาตามสภาพความเป็นจริงเป็นราย ๆ ไปแต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของราคาขาย เมื่อโจทก์มีเพียงหลักฐานทางบัญชี แต่ไม่มีเอกสารประกอบการลงบัญชีมาแสดง การที่เจ้าพนักงานประเมินฟังว่า เป็นกรณีโจทก์ไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับการใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้และพิจารณาหักค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 10 ของราคาขายจึงเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การจำหน่ายหนี้สูญ, การรับรู้รายได้, ค่าใช้จ่ายที่ไม่สมควร, และการพิสูจน์หลักฐานการจ่ายเงิน
โจทก์ตีราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีโดยวิธีตัดราคาลงตามกฎเกณฑ์ของโจทก์ แต่สินค้าประเภท ชนิดคุณภาพและสภาพเดียวกันกับของโจทก์มิได้มีการซื้อขายกันในท้องตลาดตามราคาที่โจทก์ได้ตีไว้ หรือโจทก์ได้ขายสินค้าในวันตีราคาหรือหลังวันดังกล่าวไปตามราคาที่โจทก์ได้ตีไว้ ราคาสินค้าคงเหลือที่โจทก์ได้ตีไว้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นราคาตลาด การที่โจทก์นำราคาดังกล่าวซึ่งต่ำกว่าราคาทุนมาเป็นราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีจึงไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(6)เป็นเหตุให้การคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์แต่ละรอบระยะเวลาบัญชีคลาดเคลื่อนไป การที่เจ้าพนักงานประเมินปรับปรุงกำไรสุทธิและภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ใหม่ โดยคำนวณราคาสินค้าคงเหลือของโจทก์ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามราคาทุนจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์อ้างว่าโจทก์จ่ายค่านายหน้าตามเอกสารที่มีลายมือชื่อและที่อยู่ของนายหน้า แต่เมื่อเจ้าพนักงานประเมินไม่เชื่อถือเอกสารดังกล่าว ไม่ยอมให้โจทก์ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิโจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และต่อศาล แต่โจทก์มิได้นำนายหน้ามาให้การหรือเบิกความ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จ่ายเงินด้วยเช็คระบุชื่อผู้รับเพื่อให้เป็นหลักฐานว่าโจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่นายหน้าไปจริง ส่วนใหญ่ก็เป็นรายการขายสินค้าให้แก่ทางราชการซึ่งปกติไม่จำเป็นต้องมีค่านายหน้า ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้จ่ายเงินค่านายหน้าให้แก่ผู้รับตามเอกสารที่โจทก์อ้างจึงเป็นกรณีที่โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี(18) โจทก์จึงนำรายจ่ายดังกล่าวมาคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ ใบเสร็จรับเงินค่าซื้อสินค้าที่ไม่ได้ระบุทะเบียนการค้าและสถานการค้าของผู้รับเงินไว้ และเลขบ้านที่ปรากฏในใบเสร็จรับเงินก็ไม่มีอยู่จริงบ้าง เป็นเลขบ้านในสลัมซึ่งมิได้ประกอบการค้าบ้างเป็นเลขบ้านที่บุคคลในบ้านมีชื่อไม่ตรงกับผู้รับเงินและประกอบการค้าต่างชนิดกับสินค้าตามใบเสร็จรับเงินบ้าง ทั้งโจทก์มิได้นำผู้ขายมายืนยันว่าได้ขายสินค้าและรับเงินจากโจทก์ตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์อ้าง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จ่ายเงินด้วยเช็คระบุชื่อผู้ขายทั้ง ๆ ที่สินค้าบางรายการมีราคาถึง 100,000 บาท พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่น่าเชื่อถือ ไม่พอที่จะฟังว่าโจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่ผู้รับตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์อ้าง ถือได้ว่ารายจ่ายค่าซื้อสินค้าดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ กรรมการบริษัทโจทก์ใช้ดุลพินิจในการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้หลังจากที่ให้พนักงานฝ่ายขายติดตามหาลูกหนี้และทวงถามหลายครั้ง และในรายที่จำนวนหนี้สูงก็ให้ทนายความมีหนังสือทวงถาม แต่ไม่ได้รับชำระ ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จึงเป็นการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้โดยชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) ที่ใช้บังคับอยู่ในรอบระยะเวลาบัญชีพิพาท หาจำต้องฟ้องร้องบังคับจนถึงที่สุดก่อน เพราะกฎหมายบัญญัติให้ปฏิบัติการโดยสมควรเท่านั้น ดอกเบี้ยเงินกองทุนในส่วนที่เกิดจากเงินที่พนักงานโจทก์แต่ละคนจ่ายสะสมเข้ากองทุน ไม่ถือเป็นเงินได้ของโจทก์ที่จะต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะเงินสะสมดังกล่าวฝากธนาคารในชื่อของพนักงานเป็นรายบุคคล มีกรรมการผู้จัดการสมุห์บัญชีและผู้จัดการงานบุคคลของโจทก์เป็นผู้ควบคุมในการถอนเงิน โจทก์หาได้ครอบครองตัวเงินไว้เองหรือมีสิทธิได้รับเงินไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยคำนวณจากยอดซื้อขายน้ำมันและกำไรต่อลิตร ยอมรับการประเมินของเจ้าพนักงานแล้วชอบด้วยกฎหมาย
การที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบยอดขายน้ำมันของโจทก์โดยนำเอายอดซื้อคงเหลือต้นปีบวกด้วยยอดซื้อตลอดปี แล้วลบด้วยยอดคงเหลือปลายปี ผลที่ได้ถือเป็นยอดขายของโจทก์ เมื่อปรากฏว่ายอดขายของโจทก์จากการตรวจสอบดังกล่าวสูงกว่ายอดขายตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ส่งมาให้ตรวจสอบ จึงนำยอดขายที่ได้จากใบเสร็จรับเงินลบออกจากยอดขายที่ได้จากการตรวจสอบแล้วถือว่าผลต่างที่ได้เป็นจำนวนน้ำมันที่โจทก์ขายไปโดยไม่มีใบเสร็จรับเงิน และประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มนั้น ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ในชั้นตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีว่ายินยอมให้เพิ่มยอดขายต่อลิตรในอัตราลิตรละ 0.02 บาท จากราคาขายที่แสดงไว้เดิม ดังนี้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินโดยถือเกณฑ์กำไรลิตรละ 0.02 บาทได้โดยชอบ โจทก์อุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นกล่าวไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยอ้างอิงยอดขายที่ตรวจสอบพบและคำยินยอมของผู้แทนโจทก์
ยอดขายน้ำมันของโจทก์ที่ได้จากการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมินโดยนำยอดซื้อคงเหลือต้นปีบวกด้วยยอดซื้อตลอดปี แล้วลบด้วยยอดคงเหลือปลายปี มีจำนวนสูงกว่ายอดขายตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ส่งไปให้ตรวจสอบ เจ้าพนักงานประเมินย่อมนำยอดขายที่ได้จากใบเสร็จรับเงินลบออกจากยอดขายที่ได้จากการตรวจสอบแล้วถือว่าผลต่างที่ได้เป็นจำนวนน้ำมันที่โจทก์ขายไปโดยไม่มีใบเสร็จรับเงินและประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มจากผลต่างดังกล่าวได้ ในชั้นตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีว่ายินยอมให้เพิ่มยอดขายน้ำมันต่อลิตรในอัตราลิตรละ 0.02 บาท จากราคาขายที่แสดงไว้เดิม เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินโดยถือเกณฑ์กำไรลิตรละ 0.02 บาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6425/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายสำนักงานใหญ่ธนาคารพาณิชย์ที่เฉลี่ยมายังสาขาในประเทศไทย ไม่อาจนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ
รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะจะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ รายจ่ายอันเป็นเงินเดือน เบี้ยเลี้ยงพนักงานโจทก์สำนักงานใหญ่ค่าใช้จ่ายของสำนักงานใหญ่ ค่าเครื่องเขียน แบบพิมพ์ ค่าตอบแทนกรรมการและผู้ตรวจสอบบัญชีของสำนักงานใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ฮ่องกง เป็นรายจ่ายที่โจทก์ใช้จ่ายเพื่อประโยชน์แก่สาขาต่าง ๆทั่วโลก โจทก์คิดเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวให้สาขาต่าง ๆ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยอาศัยการคำนวณเฉลี่ยรายจ่ายของสาขาทั่วโลกตามรายได้ของแต่ละสาขา รวมทั้งสาขาในประเทศไทยด้วย จึงไม่ใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ เพียงแต่อาจจะมีส่วนหนึ่งที่เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ เมื่อโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์หรือแยกให้เห็นว่า รายจ่ายส่วนใดบ้างที่เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ โจทก์จะเหมาเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยทั้งหมดและนำมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหาได้ไม่ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ถ้าผู้เสียภาษีหลีกเลี่ยงหรือเสียไม่ถูกต้อง เมื่อทำการประเมินผู้เสียภาษีต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 22 เมื่อประเมินแล้วไม่เสียภายในกำหนดก็ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 27 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5519/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินภาษีหลังการแบ่งส่วนราชการ และการรับฟังพยานเอกสาร การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
พ.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี 7 ได้รับคำสั่งกรมสรรพากรให้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบและประเมินภาษีอากรประจำสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 8 อันเป็นสำนักงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2515 ย่อมถือว่าเป็นเจ้าพนักงานประเมินผู้ได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 121) เรื่อง ประกาศยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากร ที่กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปเป็นเจ้าพนักงานประเมิน การแบ่งส่วนราชการภายในของกรมสรรพากรเป็นเรื่องการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพในปัจจุบันไม่กระทบถึงอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบภาษีที่ทำต่อเนื่องกันมา ดังนั้น เมื่อกองภาษีการค้าซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับภาษีของโจทก์ถูกยุบเลิกไป โดยมีการจัดตั้งสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ขึ้นมาแทน และปรากฏว่าภูมิลำเนาและสถานที่ประกอบการค้าของโจทก์อยู่ภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 7 แต่กรมสรรพากรมีคำสั่งให้ ว.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีภายในของโจทก์อยู่เดิมมีอำนาจตรวจสอบภาษีของโจทก์ต่อไป แม้ ว.จะได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีของสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 8 ก็มีอำนาจตรวจสอบภาษีของโจทก์ได้ ภาพถ่ายจากต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในความอารักขาหรือในความควบคุมของทางราชการเป็นสำเนาเอกสารที่ต้องมีบุคคลดังที่ระบุไว้ในมาตรา 93(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งรับรองความถูกต้องจึงจะรับฟังได้ แต่เมื่อจำเลยอ้างส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลโดยโจทก์มิได้คัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารไม่มี หรือเอกสารนั้นปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องเช่นนี้ ศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 โจทก์มีรายได้จากการประกอบกิจการ แต่ไม่มีหลักฐานแสดงการจ่ายของโจทก์ ซึ่งต้องถือว่าโจทก์มีเงินกำไรสุทธิที่จะต้องเสียภาษีตามจำนวนที่เป็นรายรับของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินนำข้อมูลจากหน่วยงานที่ควบคุมการทำงานของโจทก์มาคำนวณกำไรสุทธิด้วยการหักค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์รวมจำนวนถึงร้อยละ 80ซึ่งเป็นการกระทำโดยมีเหตุสมควรและเป็นธรรมแก่โจทก์เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจกระทำได้ โจทก์เพิกเฉยไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีของจำเลยเมื่อถูกประเมินก็ไม่ยอมมารับผลการประเมินโดยอ้างว่าสถานที่ประกอบการค้าของโจทก์ไม่ได้อยู่ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 8 จึงไม่ไปรับทราบผลการประเมินเช่นนี้ ย่อมไม่มีเหตุจะงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5519/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการประเมินภาษี เจ้าพนักงานมีสิทธิพิจารณาค่าใช้จ่ายโดยอ้างอิงข้อมูลจากหน่วยงานอื่น และการไม่อยู่ร่วมตรวจสอบภาษีไม่สมเหตุผล
การที่มีการแบ่งส่วนราชการตาม พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมสรรพากรกระทรวงการคลัง พ.ศ.2515 ให้สำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 7รับผิดชอบเขตพื้นที่บางกอกน้อย ซึ่งเป็นภูมิลำเนาและสถานที่ประกอบการค้าของโจทก์นั้นเป็นเรื่องการบริหารราชการแผ่นดินภายในของจำเลยเพื่อให้เกิดความคล่องตัวมีประสิทธิภาพ เมื่องานตรวจสอบภาษีรายของโจทก์เป็นงานที่ดำเนินการค้างมาจากงานกองภาษีการค้าและยังไม่เสร็จสิ้น กองภาษีการค้าถูกยุบเลิกไป ว.เจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีรายของโจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี 6 ฝ่ายตรวจสอบ สำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 8 ย่อมมีอำนาจดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะเสร็จงาน ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.164/2525 โจทก์จึงไม่อาจอ้างว่าสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 8 ไม่มีอำนาจตรวจสอบและประเมินภาษีรายของโจทก์ แม้หลักฐานเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายและภาษีการค้าหัก ณ ที่จ่ายสำหรับปี 2519 และปี 2520 ที่โจทก์ถูกทางราชการหักภาษีไว้เป็นภาพถ่ายมาจากต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในความอารักขา หรือในความควบคุมของทางราชการ การอ้างภาพถ่ายเอกสารลักษณะเช่นนี้เท่ากับเป็นการอ้างสำเนาเอกสารจะต้องมีบุคคลดังที่ระบุไว้ในมาตรา 93(3) แห่ง ป.วิ.พ. รับรองความถูกต้องแล้วจึงจะรับฟังได้ก็ตาม แต่ตาม มาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตามมาตรา 125 แห่ง ป.วิ.พ. บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตน จะต้องคัดค้านการอ้างเอกสารหรือความถูกต้องของสำเนาเอกสารก่อนวันสืบพยานหรือก่อนศาลพิพากษาแล้วแต่กรณีแต่โจทก์มิได้คัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารไม่มีหรือเอกสารนั้นปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ดังนั้น ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาพยานเอกสารดังกล่าวแทนต้นฉบับได้ เมื่อโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงว่าโจทก์มีรายได้จากการประกอบกิจการของโจทก์ โจทก์ย่อมมีเงินได้ที่จะต้องเสียภาษีภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65,65 ทวิ และ65 ตรี เมื่อโจทก์ไม่มีหลักฐานใดมาแสดงว่าเป็นรายจ่าย จึงต้องถือว่าโจทก์มีเงินกำไรสุทธิที่จะต้องเสียภาษีตามจำนวนที่เป็นรายรับการที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์โดยยินยอมให้มีการหักค่าใช้จ่ายด้วยการนำเอาข้อมูลจากกรมโยธาธิการที่เป็นหน่วยงานที่ควบคุมงานก่อสร้างสถานที่ราชการที่โจทก์ดำเนินการซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าแรงก่อสร้างมาเป็นแนวทางตรวจสอบกิจการก่อสร้างของโจทก์ แล้วคำนวณกำไรสุทธิด้วยการหักค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์เป็นค่าวัสดุก่อสร้างและค่าแรงก่อสร้างรวมจำนวนถึงร้อยละ 80 นับว่าเป็นการกระทำโดยมีเหตุสมควรและเป็นธรรมแก่โจทก์ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจที่จะกระทำได้ ในการตรวจสอบภาษีรายของโจทก์ โจทก์มอบอำนาจให้ ส. มาให้การต่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีจำเลยเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นเจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือถึงโจทก์สามครั้ง ให้โจทก์ไปพบพร้อมกับส่งเอกสารให้แก่เจ้าพนักงานประเมิน โจทก์ก็เพิกเฉยไม่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีของจำเลย เมื่อโจทก์ถูกประเมินภาษีก็ไม่ยอมมารับทราบผลการประเมิน กรณีเช่นนี้ย่อมไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้โจทก์ได้.
of 2