พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าจากการขายอสังหาริมทรัพย์ พิจารณาค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควร
โจทก์ประกอบธุรกิจขายที่ดินและตึกแถว ตลอดจนให้เช่าตึกแถวด้วยค่าซ่อมแซมตึกแถวถือเป็นรายจ่ายที่จะนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าจากรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ โดยมีประเด็นเรื่องการหักค่าใช้จ่ายที่สมควร
โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวจำนวน 59 แปลงนำ มาให้ผู้อื่นเช่าเพื่อหาผลประโยชน์ แล้วทยอยขายไปเรื่อย ๆ เป็นการกระทำมุ่งในทางธุรกิจเพื่อหาประโยชน์จึงเป็นการได้ทรัพย์มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร การเสียภาษีการค้านั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 ให้เสียจากรายรับตามอัตราในบัญชีอัตราภาษีการค้า จึงไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ จะต้องนำมาหักเพื่อคำนวณภาษีการค้า แต่การเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดามีการหักค่าใช้จ่าย ส่วนจะหักได้เพียงใดอยู่ที่ ประเภท เงินได้ของโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวมาแล้ว ทำการ ซ่อมแซมก่อนที่จะทยอยขายไป ค่าซ่อมแซมจึงถือเป็นรายจ่าย ที่ จะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าค่าซ่อมแซมมีจำนวนเท่าใด ก็ย่อมกำหนดค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502มาตรา 8 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตรากำไรมาตรฐานและการประเมินสินค้าชำรุด เสื่อมสภาพ การยินยอมของโจทก์มีผลผูกพัน
โจทก์สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศในนามของโจทก์ ผู้ขายส่งสินค้ามาให้ในนามของโจทก์ การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เปิดในนามของโจทก์ มิได้ระบุว่ากระทำในนามของบริษัท ท. ทั้งการยื่นใบขนสินค้าต่อกรมศุลกากรก็กระทำในนามของโจทก์ เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ธนาคารตามเลตเตอร์ออฟเครดิตลงบัญชีว่าบริษัทท. เป็นลูกหนี้และเมื่อบริษัท ท. จ่ายเงินให้โจทก์ ก็บันทึกลดยอดหนี้ดังกล่าวลงพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศในนามของโจทก์เอง แล้วโอนขายสินค้าดังกล่าวให้กับบริษัท ท. หาใช่เป็นการสั่งซื้อสินค้าแทนบริษัท ท. ไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีเงินได้ของโจทก์จากอัตรากำไรมาตรฐานของสินค้าที่โจทก์นำเข้าตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรจึงเป็นการชอบเพราะโจทก์ไม่ยอมรับว่ามีการโอนหรือขายให้บริษัท ท.หรือมีการขายสินค้าชนิดเดียวกันให้แก่บุคคลอื่น จึงไม่อาจนำมาเปรียบเทียบเพื่อคิดคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้ โจทก์มอบอำนาจให้ จ. เพื่อให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานประเมินเมื่อ จ. ให้การยอมรับผิดและยอมรับว่า เมื่อบริษัทโจทก์ตรวจนับสินค้าคงเหลือไม่ตรงกับบัญชี บริษัทโจทก์ได้ปรับปรุงรายการเหล่านั้นเป็นสินค้าชำรุด และเสื่อมราคาและลงบัญชีซื้อเป็นต้นทุนขายไว้แล้วทั้งสิ้น แต่ยังมิได้ลงบัญชีขาย การที่เจ้าพนักงานประเมินราคาสินค้าซึ่งโจทก์ไม่ได้ลงบัญชีขายไว้เป็นยอดขายโดยใช้ราคาเฉลี่ยหรือราคาปกติของการขายสินค้าของโจทก์แต่ละประเภทสินค้าในปีนั้น ๆ เป็นเกณฑ์คำนวณภาษีเงินได้ของโจทก์จึงชอบ โจทก์ฎีกาคัดค้านว่า จำเลยประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ชำระโดยมิชอบแต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยประเมินไม่ชอบอย่างไรทั้งโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษีการค้าต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพียงแต่ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับสำหรับภาษีการค้าศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณกำไรสุทธิและค่าใช้จ่ายในการต่อเรือตามประมวลรัษฎากร การหักค่าใช้จ่ายต้องเป็นของรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน
ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ บัญญัติว่า "การคำนวณกำไรสุทธิฯลฯ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1. รายการที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ตรี ไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย ฯลฯ" ดังนั้น รายจ่ายอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ตรีย่อมถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ แต่รายจ่ายนั้น ๆ จะต้องเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีที่คำนวณกำไรสุทธินั่นเองเมื่อปรากฎว่าต้นทุนการต่อเรือ 4,632,314.33 บาท เท่านั้นที่เป็นรายจ่ายของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2520ส่วนค่าใช้จ่ายอย่างอื่นที่ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการต่อเรือสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2520 จึงนำค่าใช้จ่ายอื่นดังกล่าวนั้นมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อผู้เสียภาษีไม่แสดงบัญชีสินค้าคงเหลือ เจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิคำนวณภาษีตามความจำเป็นและสมควร
โจทก์มิได้ทำและนำบัญชีมาแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นปี เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิที่จะถือ ว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อ มาได้ ขายหมดไปแต่ ละปี ดัง นั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินนำเอายอด เงินที่อ้างว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อ มาได้ ขายหมดไปแต่ ละปีมาคำนวณภาษีและหักค่าใช้จ่ายให้ตาม ความจำเป็นและสมควร โดย นำเอามาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้ บังคับโดย อนุโลมจึงชอบแล้ว เมื่อโจทก์ตกลง ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดย ให้หักค่าใช้จ่ายตาม มาตรา 8 วรรคสองแห่งพระราชกฤษฎีกาออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับ ที่ 11)พ.ศ. 2502 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว (ฉบับ ที่ 70) พ.ศ. 2520 ที่กำหนดให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้ บังคับโดย อนุโลมแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 80ตาม มาตรา 8 วรรคแรก (25) ได้ .
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้จากการจำหน่ายกิจการข้ามประเทศ เงินสำรองและรายจ่ายต้องห้ามไม่ถือเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศ
แม้ผู้ลงชื่อในคำอุทธรณ์การประเมินของโจทก์จะมิได้รับมอบอำนาจจากโจทก์แต่เมื่อจำเลยยอมรับเอาคำอุทธรณ์นั้นไว้โดยไม่โต้แย้ง และคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ก็ยอมรับวินิจฉัยคำอุทธรณ์การประเมินดังกล่าวให้แล้ว ก็จะถือว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์การประเมินไม่ได้
แม้ในคดีเดิมศาลฎีกาจะพิพากษา ยกฟ้องเพราะเหตุโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่เมื่อศาลฎีกาไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนด 30 วัน ย่อมมีผลเท่ากับว่าอนุญาตให้โจทก์ดำเนินการเรื่องอำนาจฟ้องเสียให้ถูกต้องแล้วฟ้องคดีใหม่ภายใน 30 วัน ซึ่งย่อมผูกพันทั้งโจทก์และจำเลย ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนด30 วันดังกล่าว จำเลยจึงจะอ้างเหตุว่าโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ต่อศาลเกินกำหนด 30วันหาได้ไม่ เช่นนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
มาตรา 70 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร มุ่งประสงค์จะเก็บภาษีเงินได้เฉพาะเงินกำไรหรือเงินที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทยโดยแท้จริง การที่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทในต่างประเทศเลิกประกอบกิจการผลิตขวดแก้วและภาชนะเครื่องแก้วต่าง ๆ ในประเทศไทย และโอนกิจการและทรัพย์สินต่าง ๆ รวมทั้งเงินสำรองค่าซ่อมสร้างเตาหลอมและเงินสำรองสำหรับจ่ายตอบแทนพนักงานเมื่อออกจากงานให้แก่บริษัท อ. จำกัดโดยมิได้มีการส่งเงินดังกล่าวออกไปจากประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นด้วยวิธีการใด เงินดังกล่าวยังคงหมุนเวียนอยู่ในประเทศไทย โดยการประกอบกิจการของบริษัท อ. จำกัดผู้รับโอนนั้น จะถือว่าโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร
รายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิที่ไม่ได้ความว่าได้ส่งออกไปจากประเทศไทยนั้น เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินเรียกเก็บภาษีตามมาตรา 70 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากรหาได้ไม่.
แม้ในคดีเดิมศาลฎีกาจะพิพากษา ยกฟ้องเพราะเหตุโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่เมื่อศาลฎีกาไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนด 30 วัน ย่อมมีผลเท่ากับว่าอนุญาตให้โจทก์ดำเนินการเรื่องอำนาจฟ้องเสียให้ถูกต้องแล้วฟ้องคดีใหม่ภายใน 30 วัน ซึ่งย่อมผูกพันทั้งโจทก์และจำเลย ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนด30 วันดังกล่าว จำเลยจึงจะอ้างเหตุว่าโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ต่อศาลเกินกำหนด 30วันหาได้ไม่ เช่นนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
มาตรา 70 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร มุ่งประสงค์จะเก็บภาษีเงินได้เฉพาะเงินกำไรหรือเงินที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทยโดยแท้จริง การที่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทในต่างประเทศเลิกประกอบกิจการผลิตขวดแก้วและภาชนะเครื่องแก้วต่าง ๆ ในประเทศไทย และโอนกิจการและทรัพย์สินต่าง ๆ รวมทั้งเงินสำรองค่าซ่อมสร้างเตาหลอมและเงินสำรองสำหรับจ่ายตอบแทนพนักงานเมื่อออกจากงานให้แก่บริษัท อ. จำกัดโดยมิได้มีการส่งเงินดังกล่าวออกไปจากประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นด้วยวิธีการใด เงินดังกล่าวยังคงหมุนเวียนอยู่ในประเทศไทย โดยการประกอบกิจการของบริษัท อ. จำกัดผู้รับโอนนั้น จะถือว่าโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร
รายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิที่ไม่ได้ความว่าได้ส่งออกไปจากประเทศไทยนั้น เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินเรียกเก็บภาษีตามมาตรา 70 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากรหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5124/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายเพื่อตอบแทนพนักงานถึงแก่กรรมและค่าซ่อมแซมอาคาร: การลงบัญชีรายจ่ายตามเกณฑ์สิทธิและข้อห้ามตามประมวลรัษฎากร
เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ทายาทของพนักงานซึ่งถึงแก่ความตายเพื่อตอบแทนคุณงามความดีที่พนักงานผู้นั้นปฏิบัติงานให้โจทก์เป็นเวลานานทั้งเพื่อเป็นการอุปการะเลี้ยงดูทายาทของพนักงานผู้นั้นด้วยมีลักษณะเป็นเงินบำเหน็จถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่จำเป็นและมีเหตุอันควร ทั้งการจ่ายเงินรายนี้ก็เป็นการจ่ายตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่โจทก์วางไว้ตามมติที่ประชุมกรรมการโจทก์ จึงไม่เป็นการให้โดยเสน่หาตามความหมายของมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร แม้โจทก์จะลงบัญชีที่เรียกว่าสตาฟรีไทร์เมนท์เบเนฟิต รายจ่ายส่วนนี้ก็ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี รายจ่ายค่าซ่อมแซมอาคาร แม้โจทก์จะทราบความเสียหายของอาคารในปี พ.ศ. 2519 และตกลงให้ พ. รับซ่อมแซม แต่โจทก์เพิ่งทำสัญญาจ้าง พ. ทำการซ่อมแซมอาคารให้โจทก์ในปี พ.ศ. 2520โดยให้แล้วเสร็จในปีเดียวกัน สิทธิเรียกร้องของ พ. จึงเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2520 หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องจ่ายเงินให้ พ. เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2520 เช่นเดียวกัน โจทก์ซึ่งใช้เกณฑ์สิทธิจะต้องลงรายจ่ายดังกล่าวในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2520 การที่โจทก์นำรายจ่ายค่าซ่อมแซมอาคารไปลงบัญชีเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาปี พ.ศ. 2519 จึงไม่ชอบและต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและการรวมเป็นกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
โจทก์ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยและประกันชีวิตโจทก์ได้นำเงินที่กันไว้ไปลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทอื่นด้วยถือได้ว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ขายหุ้นแต่ปรากฏในบัญชีงบดุลในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ว่าโจทก์ได้เพิ่มราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นไว้การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการตีราคาเพิ่มขึ้นตามนัยแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(3) หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ทวิ(3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิ ของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ใน งบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จพิเศษเป็นเงินสำรองทางภาษี การเปลี่ยนแปลงทางบัญชีเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีไม่มีผล
เงินบำเหน็จพิเศษที่โจทก์จ่ายเข้าบัญชีของพนักงานโดยให้พนักงานโอนเงินดังกล่าวมาเป็นเงินประกันตัว แล้วฝากเข้าบัญชีเงินฝากประจำของพนักงานแต่ละคนนั้น โจทก์มีระเบียบว่า พนักงานจะเบิกเงินในบัญชีเงินฝากประจำไม่ได้จนกว่าจะออกจากการเป็นพนักงานของโจทก์ ถ้าทำความเสียหายโจทก์มีสิทธิหักเงินจำนวนดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายได้ เงินบำเหน็จพิเศษดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์จ่ายให้แก่พนักงานโดยเด็ดขาด เป็นเพียงรายจ่ายที่ต้องจ่ายในอนาคต จึงเป็นเงินสำรองตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (1) โจทก์ไม่มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
การที่โจทก์พยายามออกระเบียบและใช้วิธีการทางบัญชีเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเพื่อไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แม้โจทก์จะให้ความสะดวกแก่จำเลยในการตรวจสอบบัญชี ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เสียภาษีเงินได้ไม่ครบถ้วนโดยสุจริตจึงไม่มีเหตุควรงดหรือลดเงินเพิ่ม.
การที่โจทก์พยายามออกระเบียบและใช้วิธีการทางบัญชีเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเพื่อไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แม้โจทก์จะให้ความสะดวกแก่จำเลยในการตรวจสอบบัญชี ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เสียภาษีเงินได้ไม่ครบถ้วนโดยสุจริตจึงไม่มีเหตุควรงดหรือลดเงินเพิ่ม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จพิเศษที่จ่ายให้พนักงานโดยมีเงื่อนไข ไม่ถือเป็นรายจ่ายที่จ่ายเสร็จเด็ดขาดทางภาษี
เงินบำเหน็จพิเศษที่โจทก์จ่ายเข้าบัญชีของพนักงานโดยให้พนักงานโอนเงินดังกล่าวมาเป็นเงินประกันตัว แล้วฝากเข้าบัญชีเงินฝากประจำของพนักงานแต่ละคนนั้น โจทก์มีระเบียบว่า พนักงานจะเบิกเงินในบัญชีเงินฝากประจำไม่ได้จนกว่าจะออกจากการเป็นพนักงานของโจทก์ถ้า ทำความเสียหายโจทก์มีสิทธิหักเงินจำนวนดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายได้เงินบำเหน็จพิเศษดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์จ่ายให้แก่พนักงานโดยเด็ดขาดเป็นเพียงรายจ่ายที่ต้องจ่ายในอนาคต จึงเป็นเงินสำรองตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (1) โจทก์ไม่มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่โจทก์พยายามออกระเบียบและใช้วิธีการทางบัญชีเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเพื่อไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แม้โจทก์จะให้ความสะดวกแก่จำเลยในการตรวจสอบบัญชี ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เสียภาษีเงินได้ไม่ครบถ้วนโดยสุจริตจึงไม่มีเหตุควรงดหรือลดเงินเพิ่ม.