คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 65 ตรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4550/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ แม้ผู้เสียภาษีจะเสียภาษีไม่ถูกต้อง และการรับเงินมัดจำถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี
โจทก์ขายทาวน์เฮาส์โดยให้ผู้ซื้อแต่ละรายทำสัญญา 2 ฉบับคือ ทำสัญญาจะซื้อขายบ้านและที่ดิน 1 ฉบับ และทำสัญญาจ้างบริษัท ม. ให้ตกแต่งบ้านอีก 1 ฉบับ ซึ่งความจริงไม่มีการตกแต่งแต่อย่างใด การที่โจทก์เสียภาษีการค้าโดยคำนวณราคาขายจากสัญญาจะซื้อขายบ้านอย่างเดียวจึงไม่ชอบ เจ้าพนักงานประเมินชอบที่จะราคาตามสัญญาจะซื้อขายบวกด้วยราคาค่าตกแต่งมาคิดคำนวณให้โจทก์เสียภาษีการค้าได้ โจทก์ทำสัญญาจะขายห้องชุดมอบให้กับผู้ที่จะซื้อ ข้อความในสัญญาที่ว่าผู้จะซื้อต้องวางมัดจำในวันทำสัญญา เป็นข้อความที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ จึงน่าเชื่อถือ ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินค่ามัดจำตามสัญญาจริง เมื่อโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำการปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของโจทก์ใหม่ อันทำให้ผลขาดทุนสุทธิของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้เปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อผู้เสียภาษีไม่แสดงบัญชีสินค้าคงเหลือ เจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิคำนวณภาษีตามความจำเป็นและสมควร
โจทก์มิได้ทำและนำบัญชีมาแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นปี เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิที่จะถือ ว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อ มาได้ ขายหมดไปแต่ ละปี ดัง นั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินนำเอายอด เงินที่อ้างว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อ มาได้ ขายหมดไปแต่ ละปีมาคำนวณภาษีและหักค่าใช้จ่ายให้ตาม ความจำเป็นและสมควร โดย นำเอามาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้ บังคับโดย อนุโลมจึงชอบแล้ว เมื่อโจทก์ตกลง ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดย ให้หักค่าใช้จ่ายตาม มาตรา 8 วรรคสองแห่งพระราชกฤษฎีกาออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับ ที่ 11)พ.ศ. 2502 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว (ฉบับ ที่ 70) พ.ศ. 2520 ที่กำหนดให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้ บังคับโดย อนุโลมแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 80ตาม มาตรา 8 วรรคแรก (25) ได้ .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจสอบภาษี, การหักค่าใช้จ่ายส่วนตัว, และการเครดิตภาษีต่างรอบระยะเวลาบัญชี
ในการตรวจสอบภาษีอากรของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินไม่ยอมรับพิจารณาเอกสารบางฉบับที่โจทก์ส่งเนื่องจากไม่เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบภาษีของโจทก์ และใช้เอกสารหรือพยานหลักฐานอื่น ๆ มาพิจารณาประกอบการประเมินภาษีของโจทก์ ย่อมมีสิทธิทำได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร
บัญชีกระแสรายวันที่เสียดอกเบี้ยซึ่งเบิกเกินบัญชีใช้ชื่อเจ้าของบัญชีว่า พ. หาได้ใช้ชื่อห้างโจทก์เป็นเจ้าของบัญชีไม่ทั้งโจทก์มิได้แสดงรายการเสียดอกเบี้ยดังกล่าวไว้ในงบกำไรขาดทุนของโจทก์ จึงถือได้ว่า การเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวเป็นการกระทำของ พ. ในฐานะส่วนตัว ดอกเบี้ยที่เสียไปดังกล่าวไม่อาจนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้ เพราะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)
ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2526 ที่โจทก์อ้างว่าชำระเกินไปในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ไม่อาจนำมาเครดิตภาษีกับภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2528 ที่ถูกประเมินในคดีนี้ เพราะเป็นการเครดิตภาษีต่างรอบระยะเวลาบัญชีกัน เป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 69 ทวิ และโจทก์ไม่อาจขอหักกลบลบหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์สำหรับการประเมินภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2526 แต่ประการใด ทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีการตรวจสอบภาษีของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวหรือไม่ผลเป็นประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การหักลดหย่อน และการเครดิตภาษี: การพิจารณาเอกสารหลักฐาน และรอบระยะเวลาบัญชี
ในการตรวจสอบภาษีอากรของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินไม่ยอมรับพิจารณาเอกสารบางฉบับที่โจทก์ส่งเนื่องจากไม่เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบภาษีของโจทก์ และใช้เอกสารหรือพยานหลักฐานอื่น ๆ มาพิจารณาประกอบการประเมินภาษีของโจทก์ ย่อมมีสิทธิทำได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร บัญชีกระแสรายวันที่เสียดอกเบี้ยซึ่งเบิกเกินบัญชีใช้ชื่อเจ้าของบัญชีว่า พ. หาได้ใช้ชื่อห้างโจทก์เป็นเจ้าของบัญชีไม่ทั้งโจทก์มิได้แสดงรายการเสียดอกเบี้ยดังกล่าวไว้ในงบกำไรขาดทุนของโจทก์ จึงถือได้ว่า การเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวเป็นการกระทำของ พ. ในฐานะส่วนตัว ดอกเบี้ยที่เสียไปดังกล่าวไม่อาจนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้เพราะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(3) ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2526 ที่โจทก์อ้างว่าชำระเกินไปในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ไม่อาจนำมาเครดิตภาษีกับภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2528 ที่ถูกประเมินในคดีนี้ เพราะเป็นการเครดิตภาษีต่างรอบระยะเวลาบัญชีกัน เป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 69 ทวิ และโจทก์ไม่อาจขอหักกลบลบหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์สำหรับการประเมินภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2526 แต่ประการใดทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีการตรวจสอบภาษีของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวหรือไม่ผลเป็นประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้จากการจำหน่ายกิจการข้ามประเทศ เงินสำรองและรายจ่ายต้องห้ามไม่ถือเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศ
แม้ผู้ลงชื่อในคำอุทธรณ์การประเมินของโจทก์จะมิได้รับมอบอำนาจจากโจทก์แต่เมื่อจำเลยยอมรับเอาคำอุทธรณ์นั้นไว้โดยไม่โต้แย้ง และคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ก็ยอมรับวินิจฉัยคำอุทธรณ์การประเมินดังกล่าวให้แล้ว ก็จะถือว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์การประเมินไม่ได้
แม้ในคดีเดิมศาลฎีกาจะพิพากษา ยกฟ้องเพราะเหตุโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่เมื่อศาลฎีกาไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนด 30 วัน ย่อมมีผลเท่ากับว่าอนุญาตให้โจทก์ดำเนินการเรื่องอำนาจฟ้องเสียให้ถูกต้องแล้วฟ้องคดีใหม่ภายใน 30 วัน ซึ่งย่อมผูกพันทั้งโจทก์และจำเลย ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนด30 วันดังกล่าว จำเลยจึงจะอ้างเหตุว่าโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ต่อศาลเกินกำหนด 30วันหาได้ไม่ เช่นนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
มาตรา 70 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร มุ่งประสงค์จะเก็บภาษีเงินได้เฉพาะเงินกำไรหรือเงินที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทยโดยแท้จริง การที่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทในต่างประเทศเลิกประกอบกิจการผลิตขวดแก้วและภาชนะเครื่องแก้วต่าง ๆ ในประเทศไทย และโอนกิจการและทรัพย์สินต่าง ๆ รวมทั้งเงินสำรองค่าซ่อมสร้างเตาหลอมและเงินสำรองสำหรับจ่ายตอบแทนพนักงานเมื่อออกจากงานให้แก่บริษัท อ. จำกัดโดยมิได้มีการส่งเงินดังกล่าวออกไปจากประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นด้วยวิธีการใด เงินดังกล่าวยังคงหมุนเวียนอยู่ในประเทศไทย โดยการประกอบกิจการของบริษัท อ. จำกัดผู้รับโอนนั้น จะถือว่าโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร
รายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิที่ไม่ได้ความว่าได้ส่งออกไปจากประเทศไทยนั้น เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินเรียกเก็บภาษีตามมาตรา 70 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากรหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: ค่าจ้างทำของต้องมีหลักฐานผู้รับ, ค่ารับรองสมเหตุสมผลกับรายได้
รายจ่ายค่าจ้างทำของที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (18) ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
เงินค่ารับรองที่โจทก์จ่ายไปในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2514,2515 และโจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่าได้จ่ายไปจริงโดยมีหลักฐานการจ่ายมาแสดงและมีการลงบัญชี ซึ่งนับว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่พอสมควร จำเลยมิได้โต้แย้งว่าโจทก์มิได้จ่ายไปจริง เพียงแต่กล่าวอ้างว่าค่ารับรองที่โจทก์จ่ายไปนั้นเป็นจำนวนสูงเกินสมควร รายจ่ายดังกล่าวจึงมิใช่รายจ่ายที่ประมวลรัษฎากร มาตรา65 ตรี มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ โจทก์มีสิทธินำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2514 ถึง 2515 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายค่าจ้างทำของต้องมีผู้รับจริงจึงหักลดหย่อนได้ ค่ารับรองสมเหตุสมผลหักลดหย่อนได้
รายจ่ายค่าจ้างทำของที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(18) ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เงินค่ารับรองที่โจทก์จ่ายไปในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2514,2515 และโจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่าได้จ่ายไปจริงโดยมีหลักฐานการจ่ายมาแสดง มีการลงบัญชี และเป็นค่าใช้จ่ายที่พอสมควรจำเลยมิได้โต้แย้งว่าโจทก์มิได้จ่ายไปจริง เพียงแต่กล่าวอ้างว่าค่ารับรองที่โจทก์จ่ายไปนั้นเป็นจำนวนสูงเกินสมควร รายจ่ายดังกล่าวจึงมิใช่รายจ่ายที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ โจทก์มีสิทธินำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2514 ถึง 2515 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยรายจ่ายที่ต้องห้ามทางภาษี กรณีรายได้รวมของสองบริษัท และฐานคำนวณที่ถูกต้อง
เมื่อปรากฏว่าพนักงานที่ได้รับเงินเดือนของโจทก์ไม่ได้ทำงานให้บริษัทโจทก์แต่เพียงแห่งเดียว แต่ยังได้ทำงานให้บริษัทอื่นด้วยโดยไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าเป็นสัดส่วนมากน้อยเท่าใด รายจ่ายของโจทก์ที่เป็นเงินเดือน โบนัส และค่าตอบแทนอื่น ๆ ของพนักงาน ของโจทก์จึงเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามบางส่วนตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ตรี ส่วนรายจ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าวิทยุ โทรพิมพ์ และค่าธรรมเนียมการใช้วิทยุโทรพิมพ์ของโจทก์นั้น เมื่อไม่ได้เป็นรายจ่ายเฉพาะการใช้ในกิจการของโจทก์ หากแต่เป็นรายจ่ายที่รวมอยู่กับการใช้ ในกิจการของบริษัทอื่นด้วยโดยไม่สามารถแบ่งแยกได้ว่าเป็นส่วนสัด มากน้อยเท่าใด รายจ่ายของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นรายจ่ายที่ ต้องห้ามบางส่วนตามมาตรา 65 ตรี เช่นกัน โจทก์ประกอบกิจการตัวแทนนายหน้าเป็นส่วนใหญ่ มิได้ลงทุนด้วยเงิน รายได้เบื้องต้นของโจทก์ก็คือรายรับที่ได้จากค่านายหน้าส่วนบริษัท ม. ประกอบกิจการซื้อขายสิ่งทอภายในประเทศ มีการลงทุนด้วยเงินในการซื้อสินค้าและเมื่อขายสินค้าได้เงินเป็น รายรับมา ในกรณีมีกำไรรายรับย่อมหมายถึงต้นทุนบวกด้วยกำไรขั้นต้นและถือได้ว่ากำไรขั้นต้นนั้นคือรายได้เบื้องต้นจากการประกอบกิจการของบริษัท การคิดเฉลี่ยรายจ่ายระหว่าง 2 บริษัทดังกล่าวจะต้อง คิดจากฐานที่เหมือนกันหรือพอเปรียบเทียบกันได้ ดังนั้นการเฉลี่ยแบ่งรายจ่ายระหว่าง 2 บริษัท ที่ถูกต้องและเป็นธรรมทางฝ่ายบริษัทม. จะต้องคิดจากรายได้เบื้องต้นดังกล่าวเป็นฐานในการคำนวณการที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณหารายจ่ายเฉลี่ยโดยนำเอายอดรายรับ ซึ่งรวมต้นทุนของสินค้าเข้าไว้ด้วยมาเป็นฐานในการคำนวณทำให้ ส่วนเฉลี่ยรายจ่ายของโจทก์มีเป็นจำนวนน้อยและเป็นเหตุให้รายจ่าย ที่ต้องห้ามของโจทก์มีเป็นจำนวนมากนับว่าไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินปรับปรุงรายจ่ายที่ต้องห้ามของโจทก์นั้น จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การรับรู้รายจ่ายที่ถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร
ค่านายหน้าในการขายสินค้าที่ได้จ่ายไปจริงนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ค่าชดเชยความเสียหายเนื่องจากสินค้าที่ขายให้แก่ผู้ซื้อมีคุณภาพต่ำผิดข้อตกลงเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อหากำไร นำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่ง ป.รัษฎากร จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ เมื่อรายจ่ายค่าซื้อที่ดินเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนอันเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่ง ป.รัษฎากรค่าธรรมเนียมในการโอนที่ดินจึงไม่มีอำนาจนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ รายจ่ายค่ารับเหมาปูบล็อก ประดับพื้นเป็นรายจ่ายเพื่อทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน มิใช่รายจ่ายเพื่อการซ่อมแซม ให้คงสภาพเดิม จึงถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่ง ป.รัษฎากร จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การรับรู้รายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับค่านายหน้า ค่าเสียหาย ค่าซ่อมแซม และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ค่านายหน้าในการขายสินค้าที่ได้จ่ายไปจริงนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
ค่าชดเชยความเสียหายเนื่องจากสินค้าที่ขายให้แก่ผู้ซื้อมีคุณภาพต่ำผิดข้อตกลงเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อหากำไร นำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
ค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่ง ป.รัษฎากร จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
เมื่อรายจ่ายค่าซื้อที่ดินเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนอันเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่ง ป.รัษฎากรค่าธรรมเนียมในการโอนที่ดินจึงไม่มีอำนาจนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
รายจ่ายค่ารับเหมาปูปล็อกประดับพื้นเป็นรายจ่ายเพื่อทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน มิใช่รายจ่ายเพื่อการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม จึงถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งป.รัษฎากร จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้.
of 4