คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 21

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการแก้ไขคำให้การและคำฟ้องแย้ง ศาลอุทธรณ์ยกเลิกกระบวนพิจารณาได้หรือไม่
เหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 นั้น ศาลสูงจะหยิบยกขึ้นอ้างตามมาตรานี้ได้ จะต้องมีเหตุอันสมควร เช่นว่า ทำให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเสียหายในการต่อสู้คดีเป็นต้น
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ (มีคำฟ้องแย้งติดมาด้วย) โดยมิได้ให้โอกาสแก่โจทก์เป็นระยะเวลาตามที่มาตรา 181 กำหนดไว้นั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจ ก็ชอบที่จะคัดค้านไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 แต่กลับปรากฏว่าโจทก์ยื่นคำแก้คำให้การเพิ่มเติมและฟ้องแย้ง แสดงว่าโจทก์ไม่ติดใจ แม้ในอุทธรณ์ของโจทก์ก็มิได้กล่าวถึงเรื่องนี้ รูปคดีไม่น่าจะเห็นว่าทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ไม่ควรหยิบยกเหตุนี้ขึ้นสั่งยกเลิกกระบวนพิจารณาบางส่วนของศาลชั้นต้น
คำฟ้องแย้งที่ติดมากับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การนั้น ไม่ใช่คำร้องที่อยู่ในบังคับที่จะต้องส่งสำเนาให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าก่อนสั่งรับคำร้องนั้น
คำสั่งศาลที่ให้รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การและการเพิกถอนกระบวนพิจารณา ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ
เหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 นั้น ศาลสูงจะหยิบยกขึ้นอ้างตามมาตรานี้ได้ จะต้องมีเหตุอันสมควร เช่นว่า ทำให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเสียหายในการต่อสู้คดีเป็นต้น
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ (มีคำฟ้องแย้งติดมาด้วย) โดยมิได้ให้โอกาสแก่โจทก์เป็นระยะเวลาตามที่มาตรา 181 กำหนดไว้นั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจก็ชอบที่จะคัดค้านไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 แต่กลับปรากฏว่าโจทก์ยื่นคำแก้คำให้การเพิ่มเติมและฟ้องแย้ง แสดงว่าโจทก์ไม่ติดใจแม้ในอุทธรณ์ของโจทก์ก็มิได้กล่าวถึงเรื่องนี้ รูปคดีไม่น่าจะเห็นว่าทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ไม่ควรหยิบยกเหตุนี้ขึ้นสั่งยกเลิกกระบวนพิจารณาบางส่วนของศาลชั้นต้น
คำฟ้องแย้งที่ติดมากับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การนั้นไม่ใช่คำร้องที่อยู่ในบังคับที่จะต้องส่งสำเนาให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าก่อนสั่งรับคำร้องนั้น
คำสั่งศาลที่ให้รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354-355/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลมีผลผูกพัน การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงภายหลังไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2509 ปรากฏว่าผู้ร้องทั้ง 10 แถลงรับว่าได้เช่าบ้านจำเลยอยู่ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้ง 10 ออกไปภายใน 2 เดือนนับแต่วันนั้น (อันเป็นมูลให้ผู้ร้องอุทธรณ์ฎีกาต่อมา) นับจากนั้นมาในระยะเวลา 1 เดือน ผู้ร้องทั้ง 10 หาได้อุทธรณ์คำสั่งอย่างใดไม่ คำสั่งที่กล่าวถึงที่สุด แม้ผู้ร้องทั้ง 10 จะได้ยื่นคำร้องลงวันที่ 30 มิถุนายน 2509 ในเวลาภายหลังต่อมา อ้างว่ามิใช่บริวารจำเลย ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นข้ออ้างอย่างอื่นขึ้นมาใหม่ อันเป็นคนละประเด็น และเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อเท็จจริงที่ยุติในสำนวนที่ศาลไม่ชอบที่จะฟังเป็นอย่างอื่นได้ ศาลจึงไม่จำต้องไต่สวนคำร้องของผู้ร้องที่ยื่นมาใหม่
การที่ผู้ร้องแถลงรับต่อศาลไว้ว่า ได้เช่าบ้านจำเลยอยู่ โดยไม่ปรากฏข้ออ้างข้อเถียงอย่างอื่นนั้น แสดงว่าผู้ร้องอ้างสิทธิการเช่าจากจำเลย จึงเป็นบริวารจำเลยนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354-355/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแถลงรับข้อเท็จจริงในชั้นศาลมีผลผูกพัน ห้ามเปลี่ยนแปลงข้ออ้างภายหลัง
ตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2509 ปรากฏว่าผู้ร้องทั้ง 10 แถลงรับว่าได้เช่าบ้านจำเลยอยู่ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้ง 10 ออกไปภายใน 2 เดือนนับแต่วันนั้น (อันเป็นมูลให้ผู้ร้องอุทธรณ์ฎีกาต่อมา) นับจากนั้นมาภายในระยะเวลา 1 เดือน ผู้ร้องทั้ง 10 หาได้อุทธรณ์คำสั่งอย่างใดไม่ คำสั่งที่กล่าวจึงถึงที่สุด แม้ผู้ร้องทั้ง 10 จะได้ยื่นคำร้องลงวันที่ 30 มิถุนายน 2509 ในเวลาภายหลังต่อมาอ้างว่ามิใช่บริวารจำเลย ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 ซึ่งเป็นข้ออ้างอย่างอื่นขึ้นมาใหม่อันเป็นคนละประเด็น และเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อเท็จจริงที่ยุติในสำนวนที่ศาลไม่ชอบที่จะฟังเป็นอย่างอื่นได้ศาลจึงไม่จำต้องไต่สวนคำร้องของผู้ร้องที่ยื่นมาใหม่
การที่ผู้ร้องแถลงรับต่อศาลไว้ว่า ได้เช่าบ้านจำเลยอยู่ โดยไม่ปรากฏข้ออ้างข้อเถียงอย่างอื่นนั้นแสดงว่าผู้ร้องอ้างสิทธิการเช่าจากจำเลย จึงเป็นบริวารจำเลยนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354-355/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลมีผลผูกพัน ห้ามเปลี่ยนเเปลงข้ออ้างภายหลัง
ตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2509 ปรากฏว่าผู้ร้องทั้ง 10 แถลงรับว่าได้เช่าบ้านจำเลยอยู่.ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้ง 10 ออกไปภายใน 2เดือนนับแต่วันนั้น (อันเป็นมูลให้ผู้ร้องอุทธรณ์ฎีกาต่อมา). นับจากนั้นมาภายในระยะเวลา 1 เดือน ผู้ร้องทั้ง 10 หาได้อุทธรณ์คำสั่งอย่างใด.ไม่. คำสั่งที่กล่าวจึงถึงที่สุด แม้ผู้ร้องทั้ง 10 จะได้ยื่นคำร้องลงวันที่ 30 มิถุนายน 2509 ในเวลาภายหลังต่อมา อ้างว่ามิใช่บริวารจำเลย. ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 ซึ่งเป็นข้ออ้างอย่างอื่นขึ้นมาใหม่. อันเป็นคนละประเด็น และเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อเท็จจริงที่ยุติในสำนวนที่.ศาลไม่ชอบที่จะฟังเป็นอย่างอื่นได้. ศาลจึงไม่จำต้องไต่สวนคำร้องของผู้ร้องที่ยื่นมาใหม่.
การที่ผู้ร้องแถลงรับต่อศาลไว้ว่า ได้เช่าบ้านจำเลยอยู่ โดยไม่ปรากฏข้ออ้างข้อเถียงอย่างอื่นนั้น. แสดงว่าผู้ร้องอ้างสิทธิการเช่าจากจำเลย จึงเป็นบริวารจำเลยนั่นเอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินในเขตหวงห้าม: สิทธิครอบครองภายหลังมีพระราชกฤษฎีกา และการมีส่วนร่วมของหน่วยงานราชการ
ที่ดินพิพาทอยู่ภายในเขตหวงห้ามตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณพระพุทธบาทฯ พ.ศ. 2479 ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจดูแลรักษาและหวงห้ามมิให้ผู้ใดเข้ามาจับจองครอบครองหักล้างเข้าจัดทำหรือปลูกสร้างด้วยประการใด ๆ ในที่ดินนี้ คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์บรรพบุรุษของโจทก์และโจทก์ได้ครอบครองต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ไม่ใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่าไม่ใช่ที่ดินอยู่ในความคุ้มครองหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณพระพุทธบาทฯ พ.ศ. 2479 ขอห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องที่ดินพิพาทต่อไปฟ้องและคำขอบังคับคดีของโจทก์จึงมีผลกระทบไปถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีย่อมจะใช้สิทธิเข้ามาเป็นจำเลยร่วมคดีนี้เพื่อต่อสู้คดีโจทก์ หรือใช้สิทธิฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้ตามลำพัง ตามคำร้องของจำเลยที่1 ที่ขอให้ศาลเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณพระพุทธบาทฯ พ.ศ. 2479 ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกานี้โจทก์ควรจะฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นจำเลยด้วย จำเลยที่ 1 จึงขอให้ศาลเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามมาตรา 57(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้หมายเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรียอมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยดี มิได้คัดค้านประการใด ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เห็นพ้องกันให้เรียกผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมคดีนี้จึงเป็นการชอบ ที่โจทก์อ้างว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม โดยมิได้ฟังคำคัดค้านของโจทก์เป็นการไม่ชอบนั้น เห็นว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยเห็นสมควรโดยถือเอาคำร้องของจำเลยที่ 1 เป็นมูลฐานพิจารณาสั่งตามอำนาจของศาล จึงไม่จำเป็นฟังคำคัดค้านของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินในเขตหวงห้าม: การครอบครองภายหลังมีกฎหมายหวงห้ามไม่มีสิทธิฟ้อง
ที่ดินพิพาทอยู่ภายในเขตหวงห้ามตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณพระพุทธบาท ฯ พ.ศ. 2479 ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจดูแลรักษาและหวงห้ามมิให้ผู้ใดเข้ามาจับจองครอบครองหักล้างเข้าจัดทำหรือปลูกสร้างด้วยประการใด ๆ ในที่ดินนี้ คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาชัดแจ้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์บรรพบุรุษของโจทก์และโจทก์ได้ครอบครองต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ไม่ใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ไม่ใช่ที่ดินอยู่ในความคุ้มครองหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณพระพุทธบาท ฯ พ.ศ.2479 ขอห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องที่ดินพิพาทต่อไปฟ้องและคำขอบังคับคดีของโจทก์จึงมีผลกระทบไปถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีย่อมจะใช้สิทธิเข้ามาเป็นจำเลยร่วมคดีนี้เพื่อต่อสู้คดีโจทก์ หรือใช้สิทธิฟ้องโจทก์เกี่ยวกับทีดินพิพาทได้ตามลำพัง ตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ศาลเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณพระพุทธบาท ฯ พ.ศ.2479 ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกานี้โจทก์ควรจะฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นจำเลยด้วย จำเลยที่ 1 จึงขอให้ศาลเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ตามมาตรา 57 (3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้หมายเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรียอมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยดี มิได้คัดค้านประการใด ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เห็นพ้องกันให้เรียกผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมคดีนี้จึงเป็นการชอบ ที่โจทก์อ้างว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เรียกผู้ว่าราขการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยมิได้ฟังคำคัดค้านของโจทก์เป็นการไม่ชอบ นั้น เห็นว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยเห็นสมควรโดยถือเอาคำร้องของจำเลยที่ 1 เป็นมูลฐานพิจารณาสั่งตามอำนาจของศาล จึงไม่จำเป็นฟังคำคัดค้านของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทนายจำเลยในการยื่นคำให้การ และการพิจารณาค่าทนายในชั้นอุทธรณ์
ทนายจำเลยมอบหมายให้ผู้ใดมายื่นคำให้การก็ย่อมต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำของผู้นั้น เสมือนหนึ่งว่าทนายจำเลยมายื่นคำให้การด้วยตนเอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรค 2 มิได้บังคับว่าศาลจะต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งแล้ว ศาลก็มีคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไปได้โดยไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ทนายโจทก์ยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินกำหนด ศาลสั่งไม่รับเป็นคำแก้อุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ในลักษณะเช่นนี้พอถือได้ว่าเป็นคำแถลงการณ์ ฟังได้ว่าทนายโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งให้จำเลยใช้ค่าทนายแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทนายจำเลยในการยื่นคำให้การล่าช้า และการปฏิบัติหน้าที่ทนายโจทก์ในชั้นอุทธรณ์
ทนายจำเลยมอบหมายให้ผู้ใดมายื่นคำให้การก็ย่อมต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำของผู้นั้น เสมือนหนึ่งว่าทนายจำเลยมายื่นคำให้การด้วยตนเอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง มิได้บังคับว่าศาลจะต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งแล้ว ศาลก็มีคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไปได้ โดยไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ทนายโจทก์ยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินกำหนด ศาลสั่งไม่รับเป็นคำแก้อุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ในลักษณะเช่นนี้พอถือได้ว่าเป็นคำแถลงการณ์ ฟังได้ว่าทนายโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งให้จำเลยใช้ค่าทนายแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบในการรังวัดที่ดินตามสัญญาประนีประนอม การปักหลักเขตเกินขอบเขตสัญญา
ข้อเท็จจริงปรากฏในสำนวนแล้วว่าโจทก์ฝ่ายเดียวเป็นผู้นำเจ้าพนักงานแผนที่ไปทำการรังวัด เพื่อกำหนดเขตที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์จำเลยจึงเห็นได้ว่าการกระทำของเจ้าพนักงานก็ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์ทั้งสิ้น และเมื่อปรากฏว่าได้มีการปักหลักลงในคูพิพาทอันเป็นการนอกเหนือเกินกว่าที่ปรากฏในสัญญายอม แม้โจทก์จะอ้างว่าเจ้าพนักงานแผนที่เป็นผู้สั่งให้ปักก็ตาม ก็ถือว่าอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์ ข้อเท็จจริงในสำนวนจึงพอที่ศาลจะสั่งได้ ไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวน
of 19