คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 21

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคุ้มครองชั่วคราวเพิกถอนสิทธิบัตร: ศาลไม่อนุญาตหากกระทบสิทธิผู้ทรงสิทธิบัตรและเป็นบุคคลภายนอกคดี
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ผานจานสำหรับรถไถนาที่จำเลยออกให้บริษัท ด. และโจทก์ทั้งสี่ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวให้ศาลอนุญาตให้โจทก์ทั้งสี่ผลิตและจัดจำหน่ายผานจานโดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรของบริษัท ด ดังนี้ การขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. 254 (2) ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองโจทก์เนื่องจากจำเลยกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนระหว่างพิจารณาคดี แต่ตามคำร้องของโจทก์ทั้งสี่ผู้ที่ทำให้โจทก์เดือนร้อนคือบริษัท ด. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองโจทก์ทั้งสี่ให้กระทบกระเทือนถึงบุคคลภายนอกและไม่มีโอกาสต่อสู้คดีหาได้ไม่ ส่วนที่โจทก์ทั้งสี่อ้างว่าเป็นเพราะจำเลยออกสิทธิบัตรให้บริษัท ด. เป็นเหตุให้บริษัทดังกล่าวอ้างสิทธิจากสิทธิบัตรมาออกหนังสือห้ามโจทก์ทั้งสี่นั้น การที่จำเลยออกสิทธิบัตรเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งโจทก์ทั้งสี่มิได้อ้างว่าจำเลยร่วมกับบริษัท ด. ออกหนังสือห้ามโจทก์ซื้อขายหรือผลิตผลิตภัณฑ์แต่อย่างใด และในเบื้องต้นบริษัท ด. เป็นผู้ทรงสิทธิบัตรย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้ ขาย เสนอขาย ผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 63 ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ทั้งสี่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการขัดต่อสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรโดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรไม่ได้ คำร้องของโจทก์ทั้งสี่ไม่ต้องด้วยบทกฎหมายที่โจทก์จะขอคุ้มครองชั่วคราวได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยกคำร้องโจทก์ทั้งสี่โดยมิได้ไต่สวนนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออนุญาตขายทรัพย์สินที่ถูกยึดเพื่อชำระหนี้ตามมาตรา 307 ป.วิ.พ. ศาลไม่อนุญาตหากไม่เข้าเงื่อนไข
ตามคำร้องของจำเลยที่ 1 อ้างว่า จำเลยที่ 1 มีรายได้ประจำปีจากการพาณิชยกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบของหมู่บ้านจัดสรร ที่ดินพร้อมบ้านที่โจทก์นำยึดทั้งสองแปลงมีลูกค้าตกลงจะซื้อจากจำเลยที่ 1 แล้ว ซึ่งจะทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับเงินเป็นรายได้รวม 7,875,000 บาท เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษา อันเป็นข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างเพื่อขอให้ศาลอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจะซื้อจะขาย โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 ซึ่งหากศาลอนุญาตย่อมมีผลเป็นการงดการบังคับคดีไปในตัว แม้จำเลยที่ 1 จะกล่าวอ้างในคำร้องต่อไปว่า โจทก์ไม่แจ้งเรื่องดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีหมายแจ้งประกาศขายทอดตลาดให้ลูกค้าของจำเลยที่ 1 ทราบ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 และการบังคับคดี ทั้งได้อ้างมาตรา 296 แห่ง ป.วิ.พ. มาในคำร้องด้วยก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็มิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296 เพียงแต่ขอให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีและอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น ซึ่งเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ที่จะขอให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งตามมาตรา 307 เป็นประการสำคัญ คำร้องของจำเลยที่ 1 จึงมิได้ขัดแย้งกันเอง แต่อย่างไรก็ตาม มาตรา 307 แห่ง ป.วิ.พ. ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น เป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีรายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์หรือมีการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกสิกรรม อยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึดนั้น ให้มีโอกาสชำระหนี้จากรายได้ประจำปีโดยไม่จำต้องขายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกยึด การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่ออนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์นำยึดซึ่งยังคงต้องขายทรัพย์สินดังกล่าว จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 307 ทั้งมีผลเท่ากับให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายทรัพย์สินดังกล่าวเสียเองแทนการขายทอดตลาดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งไม่อาจกระทำโดยชอบ ดังนั้น แม้ศาลจะไต่สวนได้ความตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องนั้นได้ จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสียโดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน หาเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 21 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออนุญาตขายทรัพย์สินยึดโดยลูกหนี้ตามมาตรา 307 ป.วิ.พ. ต้องเป็นไปเพื่อชำระหนี้จากรายได้ประจำปี ไม่ใช่การขายแทนการบังคับคดี
คำร้องของจำเลยอ้างว่า จำเลยมีรายได้ประจำปีจากการพาณิชยกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบของหมู่บ้านจัดสรร ที่ดินพร้อมบ้านที่โจทก์นำยึดมีลูกค้าตกลงจะซื้อจากจำเลยแล้ว ซึ่งจะทำให้ได้รับเป็นรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษา อันเป็นข้อที่กล่าวอ้างเพื่อขอให้ศาลอนุญาตให้จำเลยเป็นผู้ขายทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดให้แก่ลูกค้าของจำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขาย โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 ซึ่งหากศาลอนุญาตย่อมมีผลเป็นการงดการบังคับคดีไปในตัว แม้จำเลยจะกล่าวอ้างในคำร้องต่อไปว่าโจทก์ไม่แจ้งเรื่องดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีหมายแจ้งประกาศขายทอดตลาดให้ลูกค้าของจำเลยทราบ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยและการบังคับคดี ทั้งได้อ้างมาตรา 296 มาในคำร้องด้วย แต่จำเลยก็มิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งตามมาตรา 296 เพียงแต่ขอให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีและอนุญาตให้จำเลยเป็นผู้ขายทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดให้แก่ลูกค้าของจำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น ซึ่งเห็นได้ว่าจำเลยประสงค์ที่จะขอให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งตามมาตรา 307 เป็นสำคัญ คำร้องของจำเลยจึงมิได้ขัดแย้งกันเอง
ป.วิ.พ. มาตรา 307 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น เป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษา ให้มีโอกาสชำระหนี้จากรายได้ประจำปีโดยไม่ต้องขายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกยึด การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลเพื่ออนุญาตให้จำเลยเป็นผู้ขายทรัพย์สินของจำเลยที่โจทก์นำยึดซึ่งยังคงต้องขายทรัพย์สินดังกล่าว จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 307 ทั้งมีผลเท่ากับให้จำเลยเป็นผู้ขายทรัพย์สินดังกล่าวเสียเองแทนการขายทอดตลาดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งไม่อาจกระทำได้โดยชอบ จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสียโดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน ไม่เป็นการขัดต่อมาตรา 21

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11996/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและการไกล่เกลี่ยในคดีทรัพย์สินทางปัญญา ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
การไกล่เกลี่ยเป็นการใช้อำนาจของศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 30 ประกอบด้วยข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญหาและการค้าระหว่างประเทศ ข้อ 27 (1) แม้จะไม่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ศาลได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยในวันดังกล่าวตามที่ศาลนัดไว้หรือไม่ ก็หาใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สำหรับการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถานั้นเนื่องจากคำร้องดังกล่าวเป็นคำขอจึงตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 156 และมาตรา 21 เมื่อคดียังอยู่ในชั้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและคู่ความทุกฝ่ายมาศาล ประกอบกับจำเลยทั้งสองได้ยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของจำเลยที่ 2 โดยมีการนำจำเลยที่ 2 เข้าตอบคำถามค้านและคำถามติงถือว่าคู่ความทุกฝ่ายได้มีโอกาสดำเนินคดีเกี่ยวกับคำร้องดังกล่าวในระหว่างที่ศาลออกนั่งพิจารณาคดีแล้วกระบวนพิจารณาของศาลจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4986/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นคำให้การ: เหตุผลความล่าช้าของผู้ถูกฟ้องต้องมีน้ำหนัก, รูปคดีไม่ซับซ้อน, ศาลมีอำนาจสั่งโดยไม่ต้องไต่สวน
จำเลยที่ 1 เพิ่งติดต่อหาทนายในขณะที่ยังเหลือเวลายื่นคำให้การอีกเพียง 2 วันโดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องหรือความจำเป็นอย่างใดจึงมาติดต่อหาทนายล่าช้า จึงเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ที่ปล่อยปละละเลยให้ระยะเวลายื่นคำให้การล่วงเลยไปถึง 13 วันโดยไม่ขวนขวายติดต่อหาทนายแต่เนิ่นๆรูปคดีจึงไม่ยุ่งยากซับซ้อน เวลาที่เหลือ 2 วันก็เพียงพอที่จะทำคำให้การยื่นต่อศาลชั้นต้นได้ทันกำหนดเวลา ข้ออ้างตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันจะพึงขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้จำเลยที่ 1 ได้ เมื่อข้อเท็จจริงตามที่อ้างมาในคำร้องเพียงพอที่จะวินิจฉัยและมีคำสั่งได้แล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจทำคำสั่งไปได้โดยไม่จำเป็นต้องส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์และไต่สวนคำร้องก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4986/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นคำให้การ: เหตุผลความล่าช้าของจำเลยไม่เพียงพอ ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อนออกคำสั่ง
ทนายจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การในขณะที่เหลือเวลาทำการเพื่อยื่นคำให้การอีกเพียง 2 วัน โดยอ้างว่าเพิ่งได้รับการติดต่อจากจำเลยที่ 1 ให้เป็นทนายความในวันนี้ ต้องสอบถามรายละเอียดในคดี และตรวจเอกสารต่าง ๆ ตลอดจนต้องไปดูสถานที่ตั้งของที่ดินพิพาท เพื่อทำคำให้การได้ถูกต้อง โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องหรือความจำเป็นอย่างใดจึงติดต่อหาทนายความล่าช้า ความล่าช้าดังกล่าวเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 เอง ที่ปล่อยปละละเลยให้ระยะเวลายื่นคำให้การล่วงเลยไปถึง 13 วัน โดยไม่ขวนขวายติดต่อหาทนายความแต่เนิ่น ๆ และแม้ว่าจะเหลือเวลาทำการอีกเพียง 2 วัน แต่คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องในฐานะเจ้าของรวมให้จำเลยทั้งสองรังวัดแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ซึ่งได้ครอบครองเป็นส่วนสัดกันแล้ว และมีแผนที่สังเขปท้ายฟ้องอีกด้วย รูปคดีจึงไม่ยุ่งยากซับซ้อนแต่อย่างใด หากทนายจำเลยที่ 1 สอบถามข้อเท็จจริงอย่างจริงจังและรีบไปดูที่ดินโดยเร็ว เวลาที่เหลือ 2 วัน ก็เพียงพอที่จะทำคำให้การยื่นต่อศาลได้ทันกำหนดเวลา ข้ออ้างตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันจะพึงขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้จำเลยที่ 1 ได้ เมื่อข้อเท็จจริงตามที่อ้างมาในคำร้องเพียงพอที่จะวินิจฉัยมีคำสั่งได้แล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจทำคำสั่งไปได้โดยไม่จำเป็นต้องส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์และไต่สวนคำร้องก่อนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้เพิกเฉยไม่วางเงินค่าใช้จ่ายขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีมีสิทธิขอถอนการบังคับคดีได้
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนอง ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้โจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายในการประกาศขายทอดตลาด แต่โจทก์ไม่ได้วางเงินภายในกำหนดเวลาดังกล่าวดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 ทวิชอบที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขอให้ศาลถอนการบังคับคดีนั้นเสีย และการที่ศาลชั้นต้นสั่งถอนการบังคับคดีโดยไม่ได้ไต่สวนคำร้องเพราะข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4508/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นต้องคำนึงถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับทางและที่ดินรอบข้าง
ตามคำพิพากษาศาลฎีกาคงวินิจฉัยเพียงว่า เมื่อทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้วโจทก์มีสิทธิใช้ทางดังกล่าวได้ โดยอำนาจของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 หมายความว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทได้แต่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของบทกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งตามวรรคสามของมาตรา 1349 ที่บัญญัติว่า "ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้ พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยสุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป็น ผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ด้วย"
ทางพิพาทเป็นถนนในหมู่บ้านจัดสรรของจำเลย กว้าง 6 เมตร พื้นถนนรับน้ำหนักได้สำหรับรถส่วนบุคคลหรือรถปิกอัพน้ำหนักไม่เกิน 10 ตัน น้ำหนักที่บรรทุก 10 ตัน ใช้ได้เฉพาะรถบรรทุกหกล้อ ไม่สามารถให้รถบรรทุกสิบล้อซึ่งจะบรรทุกน้ำหนักประมาณ 20 ตัน ขึ้นไปผ่านได้ หากให้รถบรรทุกสิบล้อผ่านจะเกิดความเสียหายแก่พื้นถนนและรั้วบริเวณที่รถผ่านจะแตกร้าวได้ ทั้งจะทำให้ประชาชนในหมู่บ้านจัดสรรของจำเลยถูกรบกวนการอยู่อาศัยตามปกติ จำเลยจึงสร้างคานเหล็กซึ่งมีความสูงจากพื้นผิวถนน 2.50 เมตร ปิดกั้นทางพิพาทมิให้รถบรรทุกขนาดใหญ่ผ่านเข้าออกในหมู่บ้านจัดสรรของจำเลย ซึ่งโจทก์สามารถใช้ทางพิพาทโดยไม่ให้เกิดความเสียหายหรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางพิพาทน้อยที่สุดได้ โดยใช้รถบรรทุกหกล้อบรรทุกดินผ่านเข้าออกทางพิพาทเพื่อให้เหมาะสมแก่ทางพิพาท ซึ่งรับน้ำหนักบรรทุกได้ไม่เกิน 10 ตัน ทั้งยังไม่เป็นการรบกวนการอยู่อาศัยโดยปกติของประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ทางพิพาทผ่านด้วย จึงยังไม่สมควรให้จำเลยเปิดเหล็กกั้นทางพิพาทอันเป็นทางจำเป็น
เมื่อศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้บังคับคดีเป็นไปตามคำร้องของโจทก์แล้ว ก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้องของโจทก์เสีย แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่ง ศาลฎีกาเห็นพ้องสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้นอกศาลของผู้ค้ำประกัน: ศาลไม่ไต่สวนคำร้องที่อ้างการชำระหนี้เพื่อยกฟ้อง
ข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 อ้างในคำร้องว่าจำเลยที่ 4แจ้งให้ทราบว่า จำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์10,000,000 บาท ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำพิพากษา จำเลยที่ 2และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6จึงพ้นความรับผิดไปนั้น เป็นการกล่าวอ้างว่ามีการชำระหนี้นอกศาลและเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ทั้งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ตามคำคัดค้านของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403-2430/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชย-การแก้ไขคำฟ้อง: กำหนดระยะเวลาของงาน, การปฏิเสธข้อกล่าวหา, กระบวนการยุติธรรม
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง แต่ในวรรคสามบัญญัติว่า "ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น" และวรรคสี่บัญญัติว่า "การจ้างที่มีกำหนดเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง ซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกินสองปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง" จะเห็นได้ว่า ในวรรคสามกำหนดเรื่องระยะเวลาการจ้างซึ่งต้องกำหนดไว้แน่นอน ส่วนวรรคสี่เป็นเรื่องกำหนดประเภทของงานที่สามารถจะทำสัญญาจ้างให้มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนได้ ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท โดยในตอนท้ายของวรรคสี่ที่กำหนดประเภทของงานนั้นได้กำหนดไว้ด้วยว่างานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี คำว่า งานนั้น ย่อมหมายถึงงานทั้งสามประเภทที่กำหนดไว้นั่นเองจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี กำหนดระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ดังกล่าวจึงหาได้หมายถึงระยะเวลาการจ้างที่นายจ้างทำสัญญาจ้างลูกจ้างไม่
การขอแก้ไขคำฟ้องนั้นไม่อาจกระทำได้แต่ฝ่ายเดียวศาลแรงงานกลางต้องส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ให้จำเลยทั้งสี่ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน และให้จำเลยทั้งสี่มีโอกาสคัดค้านเสียก่อนที่จะพิจารณาสั่งอนุญาต และเมื่ออนุญาตให้โจทก์ที่ 1 แก้ไขคำฟ้องได้แล้วก็จะต้องให้จำเลยทั้งสี่มีโอกาสบริบูรณ์ในอันที่จะตรวจโต้แย้งและหักล้างข้ออ้างที่โจทก์ที่ 1 กล่าวไว้ในคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อน จึงจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดในประเด็นที่โจทก์ที่ 1 ได้แก้ไขคำฟ้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21, 181 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานกลางนำข้ออ้างตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 มาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 อ้างว่าได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 117,150 บาท จำเลยทั้งสี่ไม่ให้การปฏิเสธ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ยอมรับ แล้วคำนวณค่าชดเชยจากค่าจ้างสุดท้ายตามอัตราดังดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ
of 19