คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 21

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากทนายจำเลยไม่ไปศาลและไม่ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยไม่ยื่นคำให้การในกำหนด จึงมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ให้นัดสืบพยานโจทก์วันที่ 17 ตุลาคม 2540 เวลา 9.00 นาฬิกา ตามที่โจทก์ขอและให้หมายแจ้งวันนัดให้จำเลยทั้งเจ็ดทราบไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมายจำเลยทราบนัดแล้วโดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลชั้นต้น ต่อมาก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยได้แต่งตั้งทนายจำเลยยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การต่อศาลชั้นต้นพร้อมยื่นคำให้การของจำเลยมาด้วย ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอยื่นคำให้การและคำให้การของจำเลยว่า สำเนาให้โจทก์ รอสั่งวันนัด โดยทนายจำเลยได้ลงชื่อรับทราบให้มาฟังคำสั่งศาลภายใน 7 วันหากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งศาลแล้ว ในวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ และเห็นว่าคดีมีประเด็นข้อพิพาทไม่ยุ่งยากจึงให้งดชี้สองสถาน และให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ การที่ทนายจำเลยได้ลงชื่อรับทราบให้มาฟังคำสั่งศาลภายใน 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งศาลแล้ว กรณีถือได้ว่าทนายจำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้และทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์แล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยทราบนัดด้วย เพราะทนายจำเลยทั้งเจ็ดทำหน้าที่แทนจำเลยทั้งเจ็ดตามกฎหมายส่วนที่อ้างว่าทนายจำเลยทั้งเจ็ดเจ็บป่วย แพทย์ให้พักรักษาตัวตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคมถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2540 นั้น เห็นว่า หากทนายจำเลยทั้งเจ็ดเจ็บป่วยจริงแล้วจำเลยทั้งเจ็ดหรือทนายจำเลยทั้งเจ็ดอาจยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่อาจมาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ต่อศาลชั้นต้นได้ก่อนหรือในวันนัด ทั้งจะมอบหมายให้ผู้ใดมาทำการแทนก็ได้ แต่จำเลยทั้งเจ็ดหรือทนายจำเลยทั้งเจ็ดหาได้กระทำไม่แสดงว่าจำเลยทั้งเจ็ดรวมทั้งทนายจำเลยทั้งเจ็ดไม่ได้เอาใจใส่ในคดีของตนเองทั้งเหตุตามคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งเจ็ดที่อ้างว่าจำเลยทั้งเจ็ดต้องนำสินค้าไปจำหน่ายในต่างจังหวัด จึงไม่ทราบเรื่องวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ดี และว่าแม้จำเลยทั้งเจ็ดจะได้ตั้งทนายจำเลยให้แก้ต่างให้แล้ว แต่ทนายจำเลยทั้งเจ็ดไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ เนื่องจากป่วยต้องผ่าตัดต้อกระจกนัยตาข้างซ้ายก็ดีย่อมเป็นการฟังได้ชัดแจ้งในตัวคำร้องเองว่า หากเป็นจริงตามคำร้องแล้วก็ยังฟังได้ว่าจำเลยทั้งเจ็ดรวมทั้งทนายจำเลยทั้งเจ็ดทราบวันนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้ว และจงใจไม่ไปศาลตามกำหนดนัดโดยมิได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลชั้นต้นทราบ ถือได้ว่าจำเลยทั้งเจ็ดจงใจขาดนัดพิจารณาอยู่นั่นเอง และกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นหาจำเป็นต้องทำการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งเจ็ดก่อนมีคำสั่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการจงใจไม่ไปศาล แม้มีทนายความแต่งตั้งแล้ว ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่
การที่ทนายจำเลยได้ลงชื่อรับทราบให้มาฟังคำสั่งศาลภายใน 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งศาลแล้ว กรณีถือได้ว่าทนายจำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้และทราบกำหนด วันนัดสืบพยานโจทก์แล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยทราบนัดด้วย เพราะทนายจำเลยทำหน้าที่แทนจำเลยตามกฎหมาย จำเลยทราบวันนัดสืบพยาน โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ นำสืบก่อนโดยชอบแล้วการที่จำเลยอ้างว่าทนายจำเลยเจ็บป่วย แพทย์ให้พักรักษาตัวนั้น หากทนายจำเลยเจ็บป่วยจริงแล้วจำเลยหรือทนายจำเลยอาจยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีหรือ แจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่อาจมาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ต่อ ศาลชั้นต้นได้ก่อนหรือในวันนัด หรือจะมอบหมายให้ผู้ใด มาทำการแทนก็ได้ แต่จำเลยหรือทนายจำเลยหาได้กระทำไม่ แสดงว่าจำเลยรวมทั้งทนายจำเลยไม่ได้เอาใจใส่ในคดี ของตนเอง ทั้งเหตุตามคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลย ที่อ้างว่าจำเลยต้องนำสินค้าไปจำหน่ายในต่างจังหวัด จึงไม่ทราบเรื่องวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ดี และว่าแม้จำเลยจะได้ตั้งทนายจำเลยให้แก้ต่างให้แล้ว แต่ทนายจำเลยไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ เนื่องจากทนายจำเลยป่วยต้องผ่าตัดต้อกระจกนัยตาข้างซ้ายก็ดี ย่อมเป็นการฟังได้ชัดแจ้งในตัว คำร้องเองว่า หากเป็นจริงตามคำร้องแล้วก็ยังฟังได้ว่าจำเลย รวมทั้งทนายจำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้วและจงใจไม่ไปศาลตามกำหนดนัดโดยมิได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลชั้นต้นทราบ ถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณาอยู่นั่นเอง และกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งยกคำร้องของจำเลยเสียได้ โดยหาจำเป็นต้องทำการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยก่อนมีคำสั่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5722/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการอายัดเงินค่างาน: ศาลมีอำนาจงดการไต่สวนหากไม่เกี่ยวข้องกับประเด็น
ตามคำแถลงของโจทก์ โจทก์มิได้กล่าวถึงเรื่องตามที่ โจทก์ฎีกาว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 261 วรรคแรก ได้บัญญัติไว้แต่เฉพาะจำเลยที่อาจมีคำขอต่อศาลให้ถอนหมายยึดหรืออายัดหรือคำสั่งห้ามหรือสั่งอื่นใดเช่นว่านั้น แต่ไม่ได้กล่าวถึงบุคคลภายนอกหรือผู้ร้อง ส่วนคำว่าบุคคลภายนอก ตามมาตรา 312 วรรคแรกหมายถึงบุคคลที่ได้รับหมายอายัด หรือ ส. ซึ่งมิใช่ผู้ร้องการใช้ดุลพินิจและมีคำสั่งของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงยังไม่ถูกต้อง และในชั้นอุทธรณ์โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องอุทธรณ์ ไว้แต่เพียงว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 261 บัญญัติว่า"จำเลยหรือบุคคลภายนอก" การยื่นคำร้องคัดค้านของผู้ร้องจึงต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 โดยอนุโลม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงคนละอย่างกับฎีกา ของโจทก์ดังกล่าว ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก เมื่อค่างานในงวดที่ 5 เกิดขึ้นจากสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงานที่จำเลยมีต่อ ส. และสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยได้โอนให้ผู้ร้องโดยชอบไปแล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นเวลา 7 เดือนเศษ อีกทั้งผู้ร้องได้รับเงินค่างวดการจ้างงานไปก่อนแล้วถึง 4 งวดโดยเงินทุกงวดก็ต้องถือเป็นเงินอันเกิดจากสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นของผู้ร้องโดยแท้เช่นเดียวกัน ผู้ร้องจึงยังคงมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างงานในงวดที่ 5 อย่างเช่นในงวดก่อน ๆ เหมือนเดิม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขออายัดเงินค่างาน ในงวดที่ 5 ดังกล่าว แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดา หรือตามมาตรา 312 บัญญัติให้ศาลอาจทำการไต่สวนก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลในอันที่จะ ฟังว่าคดีใดไม่สมควรสืบพยานเพราะไม่เกี่ยวแก่ประเด็น หรือเป็นการประวิงให้ชักช้า หรือฟุ่มเฟือยเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นหรืองดการ ไต่สวนเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง โดยให้ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา และพิพากษาคดีไปตามนั้นตามมาตรา 37

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5722/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการรับเงินค่างานของผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง และการห้ามฎีกาประเด็นใหม่ที่ไม่เคยว่ากันในศาลล่าง
ตามคำแถลงของโจทก์ โจทก์มิได้กล่าวถึงเรื่องตามที่โจทก์ฎีกาว่า ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 261 วรรคแรก ได้บัญญัติไว้แต่เฉพาะจำเลยที่อาจมีคำขอต่อศาลให้ถอนหมายยึดหรืออายัดหรือคำสั่งห้ามหรือสั่งอื่นใดเช่นว่านั้น แต่ไม่ได้กล่าวถึงบุคคลภายนอกหรือผู้ร้อง ส่วนคำว่าบุคคลภายนอก ตามมาตรา 312วรรคแรก หมายถึงบุคคลที่ได้รับหมายอายัด หรือ ส. ซึ่งมิใช่ผู้ร้อง การใช้ดุลพินิจและมีคำสั่งของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงยังไม่ถูกต้อง และในชั้นอุทธรณ์โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องอุทธรณ์ ไว้แต่เพียงว่า ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 261 บัญญัติว่า"จำเลยหรือบุคคลภายนอก..." การยื่นคำร้องคัดค้านของผู้ร้องจึงต้องดำเนินการตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 โดยอนุโลม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงคนละอย่างกับฎีกาของโจทก์ดังกล่าว ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก
เมื่อค่างานในงวดที่ 5 เกิดขึ้นจากสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงานที่จำเลยมีต่อ ส. และสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยได้โอนให้ผู้ร้องโดยชอบไปแล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นเวลา 7 เดือนเศษ อีกทั้งผู้ร้องได้รับเงินค่างวดการจ้างงานไปก่อนแล้วถึง 4 งวด โดยเงินทุกงวดก็ต้องถือเป็นเงินอันเกิดจากสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นของผู้ร้องโดยแท้เช่นเดียวกัน ผู้ร้องจึงยังคงมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างงานในงวดที่ 5 อย่างเช่นในงวดก่อน ๆ เหมือนเดิม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขออายัดเงินค่างานในงวดที่ 5 ดังกล่าว
แม้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดคัดสินคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดา หรือตามมาตรา 312 บัญญัติให้ศาลอาจทำการไต่สวนก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลในอันที่จะฟังว่าคดีใดไม่สมควรสืบพยานเพราะไม่เกี่ยวแก่ประเด็นหรือเป็นการประวิงให้ชักช้า หรือฟุ่มเฟือยเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นหรืองดการไต่สวนเสียได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง โดยให้ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณาและพิพากษาคดีไปตามนั้นตามมาตรา 37

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ราคาต่ำกว่าราคาจริง, การไม่ไต่สวน, สิทธิลูกหนี้
ก่อนวันขายทอดตลาด 1 วัน จำเลยนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาบางส่วนแก่ น.ภริยาโจทก์ที่บ้าน และ น.ตกลงกับจำเลยที่ 2 ว่าจะงดการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้จากจำเลยทั้งสองตามประกาศซึ่งกำหนดจะขายในวันรุ่งขึ้น แม้โจทก์มิได้ขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยดังกล่าว เมื่อข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ น.ดังกล่าว ไม่กี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ถูกยึดเป็นเรื่องที่หาก น.ผิดข้อตกลงกับจำเลยที่ 2 เท่านั้น ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งได้ขายทอดตลาดตามวันเวลาที่ได้กำหนดไว้ตามประกาศขายทอดตลาดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศให้ทราบทั่วกันล่วงหน้าก่อนแล้ว ไม่ทำให้การขายทอดตลาดดังกล่าวของเจ้าพนักงานบังคับคดีเสียไป
จำเลยยื่นคำร้องว่าที่ดินและบ้าน 2 ชั้น ของจำเลยทั้งสองมีราคาจริงถึง 1,500,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ ธ.ผู้ซื้อในราคาเพียง 500,000 บาท ซึ่งเป็นการขายทอดตลาดต่ำกว่าราคาจริงหลายเท่า เป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ที่ขายทอดตลาดไปในราคาต่ำเกินสมควร ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 513 ซึ่งอาจถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ.มาตรา 308 ที่บังคับให้การขายทอดตลาดต้องดำเนินไปตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยการขายทอดตลาด จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา296 วรรคสอง การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษาให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังมิได้ทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยทั้งสองให้ได้ความชัดว่า ข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับราคาที่ดินและบ้านเป็นความจริงหรือไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ราคาต่ำกว่าราคาจริง & ข้อตกลงงดขายที่ไม่ผูกพันเจ้าพนักงานบังคับคดี
ก่อนวันขายทอดตลาด 1 วัน จำเลยนำเงินไปชำระหนี้ตาคำพิพากษาบางส่วนแก่ น. ภริยาโจทก์ที่บ้าน และ น. ตกลงกับจำเลยว่าจะงดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ยึดไว้ซึ่งกำหนดจะขายในวันรุ่งขึ้น แม้โจทก์มิได้ขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ น. ดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ถูกยึดกรณีจึงเป็นเรื่องที่ น. ผิดข้อตกลงกับจำเลย ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้ขายทอดตลาดตามวันเวลาที่ได้กำหนดไว้ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศให้ทราบทั่วกันล่วงหน้าก่อนแล้วการขายทอดตลาดดังกล่าวของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงมิเสียไป
จำเลยยื่นคำร้องว่า ที่ดินและบ้าน 2 ชั้น ของจำเลยที่ถูกยึดมีราคาจริงถึง1,500,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ ธ.ผู้ซื้อในราคาเพียง 500,000 บาท ต่ำกว่าราคาจริงหลายเท่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะถอนทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 หากเป็นความจริงก็อาจถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 308 ที่บังคับให้การขายทอดตลาดต้องดำเนินไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการขายทอดตลาด จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังมิได้ทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีมรดก: ศาลมีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่องการแบ่งทรัพย์สินก่อนมีคำสั่ง แม้จำเลยมิได้ขอ
ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของ ฉ. ให้ทายาท ต่อมาโจทก์ขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีไปอายัดเงินฝากประจำของธนาคารซึ่งจำเลยเป็นผู้ฝาก การที่จำเลยร้องขอให้ถอนการบังคับคดีเพราะจำเลยได้จัดการแบ่งทรัพย์มรดกของ ฉ. คือรถยนต์ให้แก่ทายาทของ ฉ. ไปแล้วซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้จัดการแบ่งทรัพย์มรดกส่วนที่ทายาทของ ฉ.พึงจะได้รับโดยรวมรถยนต์คันดังกล่าวด้วยจริง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีแก่จำเลย กรณีจึงจำเป็นต้องไต่สวนเพื่อให้ได้ความจริงดังกล่าวก่อน แม้จำเลยจะขอให้ถอนการบังคับคดีโดยมิได้ขอให้ทำการไต่สวน ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ไต่สวนก่อนมีคำสั่งได้ การที่ศาลล่างทั้งสองให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังไม่ได้ทำการไต่สวนก่อนเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีมรดก: ศาลมีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงการแบ่งมรดกก่อนมีคำสั่ง
ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของ ฉ.ให้ทายาท ต่อมาโจทก์ขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีไปอายัดเงินฝากประจำของธนาคารซึ่งจำเลยเป็นผู้ฝาก การที่จำเลยร้องขอให้ถอนการบังคับคดีเพราะจำเลยได้จัดการแบ่งทรัพย์มรดกของ ฉ.คือรถยนต์ ให้แก่ทายาทของ ฉ.ไปแล้วซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยได้จัดการแบ่งทรัพย์มรดกส่วนที่ทายาทของ ฉ.พึงจะได้รับโดยรวมรถยนต์คันดังกล่าวด้วยจริง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีแก่จำเลย กรณีจึงจำเป็นต้องไต่สวนเพื่อให้ได้ความจริงดังกล่าวก่อน แม้จำเลยจะขอให้ถอนการบังคับคดีโดยมิได้ขอให้ทำการไต่สวน ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ไต่สวนก่อนมีคำสั่งได้ การที่ศาลล่างทั้งสองให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังไม่ได้ทำการไต่สวนก่อนเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องแต่งตั้ง/ถอดถอนกรรมการชั่วคราว: ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนก่อนส่งสำนวน
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งตั้งผู้ร้องและ ต.เป็นกรรมการของบริษัทม.ชั่วคราวคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ แม้ในคำร้องจะขอให้ศาลอุทธรณ์ไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งก็ตาม แต่จากข้ออ้างในคำร้องประกอบด้วยพฤติการณ์แห่งคดีเมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้คัดค้านประสงค์ที่จะให้ศาลมีคำสั่งถอดถอนผู้ร้องและ ต.ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม.แทน ซึ่งผู้ร้องและ ต.คัดค้านคำร้องดังกล่าวของผู้คัดค้าน เมื่อมูลคดีเป็นเรื่องผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของนิติบุคคล กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 70, 73 กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนข้อเท็จจริงให้ได้ความว่ามีเหตุสมควรที่จะถอดถอนผู้ร้องและ ต.ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวแล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัทม.แทนหรือไม่ และมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งงดการไต่สวนและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณานั้น เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
คดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีนี้กลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา แม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา142 (5), 243, 247 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลชั้นต้นมีอำนาจไต่สวนคำร้องถอดถอนกรรมการชั่วคราว การส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์โดยไม่ไต่สวนไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งตั้งผู้ร้องและ ต. เป็นกรรมการของบริษัท ม. ชั่วคราวคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ แม้ในคำร้องจะขอให้ศาลอุทธรณ์ไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งก็ตาม แต่จากข้ออ้างในคำร้องประกอบด้วยพฤติการณ์แห่งคดีเมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้คัดค้านประสงค์ที่จะให้ศาลมีคำสั่งถอดถอนผู้ร้องและ ต. ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แทน ซึ่งผู้ร้องและ ต. คัดค้านคำร้องดังกล่าวของผู้คัดค้าน เมื่อมูลคดีเป็นเรื่องผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของนิติบุคคล กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70,73 กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนข้อเท็จจริงให้ได้ความว่ามีเหตุสมควรที่จะถอดถอนผู้ร้องและ ต. ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวแล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แทนหรือไม่ และมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งงดการไต่สวนและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณานั้น เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
คดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีนี้กลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาแม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),243,247 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป
of 19