คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 21

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7437/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุขาดนัดและข้อคัดค้านคำพิพากษาอย่างชัดเจน หากไม่เป็นไปตามกฎหมาย ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวน
จำเลยให้การต่อสู้คดี แต่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2538 ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้องเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2534 คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2534 กล่าวแต่เหตุที่จำเลยขาดนัดเพียงประการเดียว ไม่ได้กล่าวโดยละเอียดและชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำชี้ขาดของศาล ส่วนข้ออ้างในคำร้องขอว่า จำเลยมาขอตรวจสำนวนเมื่อวันที่22 พฤศจิกายน 2538 และไม่สามารถขอคัดคำพิพากษาได้เพราะอยู่ในระหว่างจัดพิมพ์คำพิพากษานั้น ขัดต่อข้อเท็จจริงเพราะปรากฏในสำนวนว่าทนายจำเลยเพิ่งยื่นคำแถลงขอถ่ายเอกสารคำพิพากษาวันที่ 4 ธันวาคม 2538 ข้ออ้างตามคำร้องขอของจำเลยจึงไม่มีเหตุควรรับฟัง ดังนี้ เมื่อคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมิได้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้ ศาลจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอเสียได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7437/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดีและการยกคำร้องขอพิจารณาใหม่
จำเลยให้การต่อสู้คดี แต่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2538 ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้องเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2534คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2534 กล่าวแต่เหตุที่จำเลยขาดนัดเพียงประการเดียว ไม่ได้กล่าวโดยละเอียดและชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำชี้ขาดของศาล ส่วนข้ออ้างในคำร้องขอว่า จำเลยมาขอตรวจสำนวนเมื่อวันที่ 22พฤศจิกายน 2538 และไม่สามารถขอคัดคำพิพากษาได้เพราะอยู่ในระหว่างจัดพิมพ์คำพิพากษานั้น ขัดต่อข้อเท็จจริง เพราะปรากฏในสำนวนว่าทนายจำเลยเพิ่งยื่นคำแถลงขอถ่ายเอกสารคำพิพากษาวันที่ 4 ธันวาคม 2538 ข้ออ้างตามคำร้องขอของจำเลยจึงไม่มีเหตุควรรับฟัง ดังนี้ เมื่อคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมิได้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้ ศาลจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอเสียได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7182-7183/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินประกันความเสียหายเพื่อคัดค้านการบังคับคดี: ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวน หากมีหลักฐานเบื้องต้นแสดงคำร้องไม่มีมูล
การวางเงินเพื่อประกันความเสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) มิได้บังคับให้ศาลชั้นต้นต้องทำการไต่สวนคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องเสมอไป เพียงแต่มีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอนั้นไม่มีมูลโดยศาลอาจตรวจดูจากเอกสารในสำนวนรวมทั้งตัวคำร้องขอเอง ก็เพียงพอแล้วที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7182-7183/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินประกันความเสียหายจากการขัดทรัพย์: ศาลไม่ต้องไต่สวนเสมอไป หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องไม่มีมูล
การวางเงินเพื่อประกันความเสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) มิได้บังคับให้ศาลชั้นต้นต้องทำการไต่สวนคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องเสมอไป เพียงแต่มีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอนั้นไม่มีมูลโดยศาลอาจตรวจดูจากเอกสารในสำนวนรวมทั้งตัวคำร้องขอเอง ก็เพียงพอแล้วที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6342/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเพิกถอนขายทอดตลาด เหตุจำเลยมิได้ยกเหตุลายมือชื่อต่างกันในศาลชั้นต้น และคำร้องฉ้อฉลไม่ชัดเจน
จำเลยที่ 2 ได้ระบุในคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดว่าในการส่งประกาศขายทอดตลาด พบจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 รับประกาศแล้วไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ จำเลยที่ 2 ไม่ได้รับประกาศด้วยตนเองดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในใบรับหมายมีลักษณะแตกต่างกับลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในสัญญาประนีประนอมยอมความตามฎีกาจำเลยที่ 2จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2อ้างเพียงว่า ผู้ซื้อทรัพย์ตกลงราคากับโจทก์ก่อนเข้าซื้อทรัพย์เป็นการฉ้อฉลจำเลยที่ 2 ทำให้ราคาที่ขายต่ำกว่าราคาที่แท้จริง มิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คำร้องของจำเลยที่ 2จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง จำเลยที่ 2 จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 และให้ศาลมีคำสั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ใหม่ โดยอ้างว่าโจทก์และผู้ซื้อทรัพย์ร่วมกันฉ้อฉลและราคาที่ขายต่ำกว่าราคาแท้จริงดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6342/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์การขายทอดตลาด: เหตุผลที่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องลายมือชื่อและเหตุฉ้อฉล
จำเลยที่ 2 ได้ระบุในคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดว่าในการส่งประกาศขายทอดตลาด พบจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 รับประกาศแล้วไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ จำเลยที่ 2 ไม่ได้รับประกาศด้วยตนเอง ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในใบรับหมายมีลักษณะแตกต่างกับลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในสัญญาประนีประนอมยอมความตามฎีกาจำเลยที่ 2 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2อ้างเพียงว่า ผู้ซื้อทรัพย์ตกลงราคากับโจทก์ก่อนเข้าซื้อทรัพย์เป็นการฉ้อฉลจำเลยที่ 2 ทำให้ราคาที่ขายต่ำกว่าราคาที่แท้จริง มิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. คำร้องของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา296 วรรคสอง จำเลยที่ 2 จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 และให้ศาลมีคำสั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ใหม่ โดยอ้างว่าว่าโจทก์และผู้ซื้อทรัพย์ร่วมกันฉ้อฉลและราคาที่ขายต่ำกว่าราคาแท้จริงดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัดพิจารณา แม้ไม่ได้รับการแจ้งนัดโดยตรง แต่ทราบวันนัดโดยชอบ
ศาลชั้นต้นกำหนดนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 3 พฤศจิกายน 2538 เวลา 13.30 นาฬิกา เมื่อถึงกำหนดทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีศาลอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 25 มกราคม 2539เวลา 9 นาฬิกา ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์และทนายจำเลยลงชื่อรับทราบวันนัดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าว ฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาจึงเป็นการสั่งตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคสอง และเมื่อฝ่ายจำเลยมิได้แจ้งต่อศาลว่าตนต้องการจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 วรรคแรก ที่บัญญัติว่าถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้โจทก์ทราบโดยชอบแล้ว โจทก์ขาดนัดพิจารณาให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ ฯลฯ นั้น มิได้ หมายความว่าจะต้องเป็นกรณีที่มีการส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้โจทก์ทราบจริง ๆ เท่านั้นแต่หมายความรวมถึงกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้วด้วย เช่น กรณีที่ศาลอนุญาตให้เลื่อนวันนัดสืบพยานออกไป และโจทก์ได้ลงชื่อรับทราบวันนัดไว้แล้ว จึงไม่ต้องมีการส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้โจทก์ทราบอีก โจทก์ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโดยเสมียนทนายผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ลงชื่อรับทราบวันนัดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้วโจทก์ไม่มาศาล โจทก์จึงขาดนัดพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์เสียจากสารบบความ จึงเป็นการ สั่งตามบทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรกและบทบัญญัติของมาตราดังกล่าวยังห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีหรือมีคำขอให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ ดังนี้ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องไต่สวนคำร้องของโจทก์ว่าจงใจขาดนัดหรือไม่อีก เพราะการไต่สวนไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีหลังรับทราบวันนัด: ผลคือจำหน่ายคดีออกจากสารบบ
ศาลชั้นต้นกำหนดนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลอนุญาตให้เลี่อนไปนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 3 พฤศจิกายน2538 เวลา 13.30 นาฬิกา เมื่อถึงกำหนดทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 25 มกราคม2539 เวลา 9 นาฬิกา ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์และทนายจำเลยลงชื่อรับทราบวันนัดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าว ฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาจึงเป็นการสั่งตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.มาตรา 197วรรคสอง และเมื่อฝ่ายจำเลยมิได้แจ้งต่อศาลว่าตนต้องการจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้
ตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคแรก ที่บัญญัติว่าถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้โจทก์ทราบโดยชอบแล้ว โจทก์ขาดนัดพิจารณาให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ ฯลฯ นั้น มิได้หมายความว่าจะต้องเป็นกรณีที่มีการส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้โจทก์ทราบจริง ๆ เท่านั้นแต่หมายความรวมถึงกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้วด้วย เช่น กรณีที่ศาลอนุญาตให้เลื่อนวันนัดสืบพยานออกไป และโจทก์ได้ลงชื่อรับทราบวันนัดไว้แล้ว จึงไม่ต้องมีการส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้โจทก์ทราบอีก
โจทก์ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโดยเสมียนทนายผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ลงชื่อรับทราบวันนัดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา แล้วโจทก์ไม่มาศาล โจทก์จึงขาดนัดพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์เสียจากสารบบความ จึงเป็นการสั่งตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.มาตรา 201วรรคแรก และบทบัญญัติของมาตราดังกล่าวยังห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีหรือมีคำขอให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องไต่สวนคำร้องของโจทก์ว่าจงใจขาดนัดหรือไม่อีก เพราะการไต่สวนไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3364/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการยกคำร้องงดบังคับคดี และดุลพินิจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาด
คำร้องขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำการไต่สวนก่อน เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า ไม่สมควรอนุญาตตามคำร้องก็อาจยกคำร้องเสียได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวน ปัญหาว่า การยึดทรัพย์ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 284 จำเลยที่ 1 ไม่ได้ยกขึ้นเป็นประเด็นข้อพิพาทตามคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดแต่เป็นประเด็นข้อพิพาทตามคำร้องฉบับอื่นของจำเลยที่ 1ที่ศาลชั้นต้นได้สั่งยกคำร้องและจำเลยที่ 1 ได้ยื่นอุทธรณ์ไว้แล้วซึ่งจำเลยที่ 1 เพียงพอขึ้นเท้าความในคำร้องนี้เท่านั้น ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ไม่หยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว การขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด เป็นเรื่องอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ เจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะทำการขาย เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องใช้ดุลพินิจในการขายเพื่อให้ได้ราคาดีที่สุดเท่าที่จะทำได้หาใช่ว่าจะต้องขายในราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ในขณะยึดทรัพย์ไม่ แม้หากราคาที่ประเมินในขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดจะมีราคาสูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประเมินไว้ในขณะยึดทรัพย์มากก็ตามหากข้อเท็จจริงเป็นเช่นนั้นจำเลยก็ย่อมหาผู้อื่นมาเข้าสู้ราคาได้หาใช่ว่าจะต้องขายในราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้หรือถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ต่ำกว่าราคาที่แท้จริงมากจำเลยก็ย่อมใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 296 วรรคสองได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สวมสิทธิเข้าดำเนินการบังคับคดีแทนโจทก์กับเจ้าพนักงานบังคับคดีมีพฤติการณ์ ส่อให้เห็นว่าจะดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดรายนี้ โดยไม่สุจริตอย่างไร กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะต้อง มีคำสั่งแจ้งไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ทำการประเมินราคาใหม่หรือ ปรับราคาประเมินตามราคาปัจจุบันตามที่จำเลยที่ 1 ร้องขอ และรูปคดีไม่มีเหตุให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไว้ในระหว่าง การพิจารณา คดีไม่จำต้องไต่สวนและให้งดการขายทอดตลาดนั้นไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2436/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ในการถอนคำขอรับชำระหนี้และการยกเลิกการล้มละลาย
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้รับชำระหนี้และยกคำขอของเจ้าหนี้รายที่ 1 การที่เจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ ก็เป็นสิทธิของเจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ที่จะสละสิทธิในการที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นให้ถอนคำขอรับชำระหนี้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องอนุญาตอีกการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตจึงไม่ถูกต้อง และเมื่อไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นจะต้องอนุญาตเสียแล้ว กรณีก็ไม่จำต้องสอบถามจำเลยหรือจะต้องไต่สวนคำร้องคัดค้านของจำเลยก่อน
ศาลฎีกาได้พิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 84 และ 87 มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ 4 รายสำหรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 1 ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งยกคำขอ ส่วนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้มีการขอถอนคำขอรับชำระหนี้แล้วจึงไม่มีเจ้าหนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ต่อไป ดังนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ตามมาตรา 135 (2) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483
of 19