พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายกล่องกระดาษ: การชำระราคา, การผิดนัด, และเบี้ยปรับ
ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกราคากล่องกระดาษที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ 3 ครั้ง และคำร้องที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องนั้น โจทก์ได้ขอเพิ่มเติมโดยเรียกราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้สั่งซื้อจากโจทก์หลังจากครั้งที่ 3คือครั้งที่ 4 เข้ามาด้วย จึงเป็นเรื่องการเรียกราคาสิ่งของประเภทเดียวกัน อันเกิดจากนิติกรรมประเภทเดียวกันระหว่างโจทก์กับจำเลย คำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมกับคำฟ้องเดิมจึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้การที่ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้แก่จำเลยก่อนสั่งอนุญาตนั้นเมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้ว ศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ โดยจำเลยได้กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่โดยบริบูรณ์แล้วจำเลยไม่เสียเปรียบอย่างไร ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรให้มีการแก้ไขคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว
โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องแล้วว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทกล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับบรรจุน้ำส้มสายชูกลั่นชนิดขวดจากโจทก์รวม 4 ครั้งรายละเอียดการสั่งซื้อ ชนิด ขนาด และจำนวนสินค้า ปรากฏตามภาพถ่ายใบสั่งซื้อเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ถึงหมายเลข 5 ตามลำดับ โจทก์ได้จัดส่งสินค้าตามใบสั่งซื้อดังกล่าวให้จำเลยหลายคราว จำเลยได้รับสินค้าครบถ้วนแล้ว ปรากฏรายละเอียดวันส่งสินค้า ใบส่งสินค้า และจำนวนเงินค่าสินค้าที่จัดส่งให้แต่ละคราวตามภาพถ่ายรายการใบแจ้งหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6 รวม 10 ฉบับ ยังคงค้างชำระอยู่ คำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สัญญาข้อ 2 มีว่า "ถ้าผู้ขายไม่สามารถส่งมอบสิ่งของที่ถูกต้องตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ซื้อได้เลยหรือส่งมอบได้แต่เพียงบางส่วนภายในกำหนดที่กล่าวไว้ในสัญญาข้อ 1 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างหรือทุกอย่างดังต่อไปนี้ได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรคือ 2.1 ปรับผู้ขายเป็นเงินร้อยละ5 ของราคาที่ยังมิได้ส่งมอบให้ถูกต้อง" ตามสัญญาข้อนี้จึงมีการกำหนดเบี้ยปรับไว้2 ชนิด คือเบี้ยปรับเพื่อการไม่ชำระหนี้ และเบี้ยปรับเพื่อการชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควร
พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลย เป็นเรื่องที่จำเลยรับเอากล่องกระดาษที่ส่งเกินกำหนดหลายต่อหลายครั้งตลอดมา โดยมิได้ทักท้วงอย่างใดเป็นการที่คู่กรณีไม่ถือเอากำหนดเวลาในการส่งมอบกล่องกระดาษเป็นสำคัญ ฉะนั้นแม้โจทก์มิได้ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยภายในกำหนดตามสัญญา โจทก์ก็หาตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะรับมอบกล่องกระดาษจำเลยได้สงวนสิทธิไว้ว่าจะเรียกเบี้ยปรับแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 2 สำหรับกล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้ภายหลังจากครบกำหนดเวลาส่งมอบ
จำเลยได้ค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับมอบไปจากโจทก์สำหรับการสั่งซื้อครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 3 และค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่สั่งซื้อในครั้งที่ 4 บางส่วนด้วย โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระแล้ว จำเลยก็ไม่ชำระ จำเลยจึงได้ชื่อว่าผิดนัดและผิดสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคแรกและโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว สัญญาจึงเลิกกัน โจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องขายหรือส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากโจทก์สำหรับการที่โจทก์ไม่ส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือ
ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษเกินกำหนด จึงทำให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาแก่พนักงานของจำเลยเป็นเงินจำนวนหนึ่งนั้น เมื่อการที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยเกินกำหนด มิได้เป็นการผิดนัดผิดสัญญา จำเลยจึงไม่อาจที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ได้
ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ส่งไส้ในกล่องไม่ครบตามสัญญา 4,800 ชุด อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องจัดหาที่อื่นมาแทน ข้อนี้โจทก์มิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยอย่างไร จึงถือว่าโจทก์รับแล้ว โจทก์จึงต้องรับผิดใช้เงิน
ราคากล่องกระดาษที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องนั้นเป็นราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้แล้ว แม้โจทก์จะได้ส่งมอบกล่องกระดาษบางส่วนเกินกำหนดในสัญญา จำเลยก็ไม่มีเหตุใด ๆ ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องชำระราคากล่องกระดาษเหล่านั้น สัญญาข้อ 3 ก็ระบุว่า "ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าสิ่งของตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ขายโดยเร็วอย่างช้าไม่เกิน ... วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการเจ้าหน้าที่ของฝ่ายผู้ซื้อได้ตรวจรับของไว้ถูกต้องแล้วเป็นต้นไป" มิได้มีความหมายว่าจำเลยจะต้องชำระเงินค่ากล่องกระดาษต่อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบครบถ้วนตามสัญญาดังที่จำเลยกล่าวอ้างแต่อย่างไร จำเลยจึงต้องชำระราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไปแล้วแก่โจทก์
โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องแล้วว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทกล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับบรรจุน้ำส้มสายชูกลั่นชนิดขวดจากโจทก์รวม 4 ครั้งรายละเอียดการสั่งซื้อ ชนิด ขนาด และจำนวนสินค้า ปรากฏตามภาพถ่ายใบสั่งซื้อเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ถึงหมายเลข 5 ตามลำดับ โจทก์ได้จัดส่งสินค้าตามใบสั่งซื้อดังกล่าวให้จำเลยหลายคราว จำเลยได้รับสินค้าครบถ้วนแล้ว ปรากฏรายละเอียดวันส่งสินค้า ใบส่งสินค้า และจำนวนเงินค่าสินค้าที่จัดส่งให้แต่ละคราวตามภาพถ่ายรายการใบแจ้งหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6 รวม 10 ฉบับ ยังคงค้างชำระอยู่ คำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สัญญาข้อ 2 มีว่า "ถ้าผู้ขายไม่สามารถส่งมอบสิ่งของที่ถูกต้องตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ซื้อได้เลยหรือส่งมอบได้แต่เพียงบางส่วนภายในกำหนดที่กล่าวไว้ในสัญญาข้อ 1 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างหรือทุกอย่างดังต่อไปนี้ได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรคือ 2.1 ปรับผู้ขายเป็นเงินร้อยละ5 ของราคาที่ยังมิได้ส่งมอบให้ถูกต้อง" ตามสัญญาข้อนี้จึงมีการกำหนดเบี้ยปรับไว้2 ชนิด คือเบี้ยปรับเพื่อการไม่ชำระหนี้ และเบี้ยปรับเพื่อการชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควร
พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลย เป็นเรื่องที่จำเลยรับเอากล่องกระดาษที่ส่งเกินกำหนดหลายต่อหลายครั้งตลอดมา โดยมิได้ทักท้วงอย่างใดเป็นการที่คู่กรณีไม่ถือเอากำหนดเวลาในการส่งมอบกล่องกระดาษเป็นสำคัญ ฉะนั้นแม้โจทก์มิได้ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยภายในกำหนดตามสัญญา โจทก์ก็หาตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะรับมอบกล่องกระดาษจำเลยได้สงวนสิทธิไว้ว่าจะเรียกเบี้ยปรับแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 2 สำหรับกล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้ภายหลังจากครบกำหนดเวลาส่งมอบ
จำเลยได้ค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับมอบไปจากโจทก์สำหรับการสั่งซื้อครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 3 และค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่สั่งซื้อในครั้งที่ 4 บางส่วนด้วย โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระแล้ว จำเลยก็ไม่ชำระ จำเลยจึงได้ชื่อว่าผิดนัดและผิดสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคแรกและโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว สัญญาจึงเลิกกัน โจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องขายหรือส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากโจทก์สำหรับการที่โจทก์ไม่ส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือ
ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษเกินกำหนด จึงทำให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาแก่พนักงานของจำเลยเป็นเงินจำนวนหนึ่งนั้น เมื่อการที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยเกินกำหนด มิได้เป็นการผิดนัดผิดสัญญา จำเลยจึงไม่อาจที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ได้
ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ส่งไส้ในกล่องไม่ครบตามสัญญา 4,800 ชุด อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องจัดหาที่อื่นมาแทน ข้อนี้โจทก์มิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยอย่างไร จึงถือว่าโจทก์รับแล้ว โจทก์จึงต้องรับผิดใช้เงิน
ราคากล่องกระดาษที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องนั้นเป็นราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้แล้ว แม้โจทก์จะได้ส่งมอบกล่องกระดาษบางส่วนเกินกำหนดในสัญญา จำเลยก็ไม่มีเหตุใด ๆ ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องชำระราคากล่องกระดาษเหล่านั้น สัญญาข้อ 3 ก็ระบุว่า "ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าสิ่งของตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ขายโดยเร็วอย่างช้าไม่เกิน ... วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการเจ้าหน้าที่ของฝ่ายผู้ซื้อได้ตรวจรับของไว้ถูกต้องแล้วเป็นต้นไป" มิได้มีความหมายว่าจำเลยจะต้องชำระเงินค่ากล่องกระดาษต่อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบครบถ้วนตามสัญญาดังที่จำเลยกล่าวอ้างแต่อย่างไร จำเลยจึงต้องชำระราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไปแล้วแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดคดีแรงงานและการไต่สวนพฤติการณ์นอกเหนือความสามารถในการควบคุม ศาลต้องไต่สวนก่อน
ตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้พิจารณาใหม่อ้างว่า จำเลยไม่เคยได้รับสำเนาคำฟ้อง และไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้ สำนักงานของจำเลยมิได้ทำการมานานแล้ว และไม่มีผู้ใดอยู่ เมื่อจำเลยไปที่สำนักงานในวันยื่นคำร้องนี้จึงพบคำบังคับ ดังนี้ จำเลยได้อ้างถึงพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แล้ว จึงชอบที่ศาลแรงงานจะรับคำร้องไว้ทำการไต่สวนว่าข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยอ้างและเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้หรือไม่ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่า ตามคำร้องไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้และด่วนยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ทำการไต่สวนเสียก่อนเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ได้รับสำเนาคำฟ้องและการไต่สวนพฤติการณ์นอกเหนือความสามารถในการควบคุม
ตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้พิจารณาใหม่อ้างว่า จำเลยไม่เคยได้รับสำเนาคำฟ้อง และไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้ สำนักงานของจำเลยมิได้ทำการมานานแล้ว และไม่มีผู้ใดอยู่ เมื่อจำเลยไปที่สำนักงานในวันยื่นคำร้องนี้จึงพบคำบังคับดังนี้ จำเลยได้อ้างถึงพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แล้ว จึงชอบที่ศาลแรงงานจะรับคำร้องไว้ทำการไต่สวนว่าข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยอ้างและเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้หรือไม่ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่า ตามคำร้องไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้และด่วนยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ทำการไต่สวนเสียก่อนเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องบังคับคดี: สิทธิในการยกเหตุต่อสู้ & เหตุผลสมควรในการขอเลื่อน
แม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกข้อโต้แย้งขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานบังคับคดีไว้ แต่ในวันนัดไต่สวนทนายผู้คัดค้านแถลงว่าจะนำพยานหลักฐานเข้าไต่สวนถึงข้อปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้องเอาแก่ผู้คัดค้าน และยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุประธานกรรมการของผู้คัดค้านย้ายไปรับราชการที่อื่นผู้คัดค้านจึงต้องทำการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่แทนต่อไป แสดงว่าผู้คัดค้านยังไม่พร้อมจะสู้คดีมีเหตุผลสมควรศาลชั้นต้นต้องทำการไต่สวนและมีคำสั่งตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2674/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การหลังพ้นกำหนด แม้มีเหตุผลเรื่องวันรับหมายเรียกที่ไม่ถูกต้อง
จำเลยยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 ซึ่งข้อความในมาตราดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้ว่า ศาลจะออกคำสั่งตามคำขอได้ต้องทำการไต่สวนก่อน ดังนั้นจึงเป็นอำนาจของศาลที่จะไต่สวนก่อนออกคำสั่งหรือไม่ตามที่ศาลเห็นสมควรและตามคำร้องของจำเลยได้บรรยายความไว้ว่าภริยาจำเลยเป็นผู้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ในวันที่ 19พฤษภาคม 2531 แต่ได้แจ้งแก่จำเลยว่าได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในวันที่ 20 พฤษภาคม 2531 จำเลยจึงรับทราบวันที่รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องคลาดเคลื่อน โดยตามคำร้องของจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านหรือให้เหตุผลว่าเจ้าพนักงานศาลส่งหมายแก่จำเลยขัดต่อความเป็นจริงหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด เมื่อข้อเท็จจริงที่ได้จากคำร้องของจำเลยชัดแจ้งพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยก่อนออกคำสั่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการกำหนดค่าทนายความที่เกินอัตราตามกฎหมาย
ตามคำร้องของจำเลยที่ 3 ได้ความว่า จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์แล้วจำนวน 106,500 บาท จำเลยที่ 3 ไม่ได้ชำระหนี้แก่โจทก์เลยทั้ง ๆ ที่ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ จำนวน 569,624.30 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี โดยการผ่อนชำระภายในวันที่ 16 ของทุกเดือน เป็นเงินไม่น้อยกว่าเดือนละ 10,000 บาท และจะต้อง ชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 16 กรกฎาคม 2531 เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1และที่ 3 มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิ ที่จะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้ และตามคำร้องของจำเลยที่ 3 หาได้กล่าวอ้างว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนหรือ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ แห่งลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างใดไม่ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะยก คำร้องของจำเลยที่ 3 เสียได้โดย ไม่จำต้องทำการไต่สวนต่อไปเพราะถึงจะไต่สวนได้ความตามคำร้อง ศาลก็จะงด การ บังคับ คดีไว้ตามมาตรา 296 ที่จำเลยที่ 3 อ้างไม่ได้ อยู่แล้ว จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 3และมีคำสั่งเพิกถอนหมายบังคับคดี คดีของจำเลยที่ 3 ในชั้นนี้ จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งขั้นสูงในศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกากำหนดไว้ไม่เกิน 1,500 บาทศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดค่าทนายความ 2,000 บาท เกินอัตราขั้นสูงตามตารางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ถูกต้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้ง/ถอนผู้จัดการมรดก: กรณีผู้จัดการมรดกปฏิเสธหน้าที่ ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 เป็นเรื่องที่ผู้จัดการมรดกเข้ารับตำแหน่งแล้วละเลยไม่จัดการมรดกตามหน้าที่จึงให้สิทธิผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอถอนผู้จัดการมรดกเสียได้แต่ตามคำร้องของผู้ร้องบรรยายว่า ป. ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมปฏิเสธที่จะจัดการมรดก เป็นกรณีที่ผู้จัดการมรดกไม่เต็มใจเข้าจัดการมรดกโดยไม่เข้ารับหน้าที่ผู้จัดการมรดกแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะร้องขอถอนผู้จัดการมรดกได้ชอบที่ผู้ร้องจะไปร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกเสียใหม่ เพื่อจัดการมรดกต่อไปตามมาตรา 1713 ดังนั้น ศาลย่อมยกคำร้องดังกล่าวได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีประนีประนอมยอมความ การไม่อุทธรณ์ทำให้ฎีกาไม่ได้
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยตกลงโอนที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งให้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม และคดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาตามยอม ขอให้เรียกจำเลยมาสอบถาม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการสั่งในระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นก่อนชี้ขาดตามคำร้องนั้นถือได้ว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์ไม่โต้แย้งไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ และโจทก์จะฎีกาคำสั่งนั้นไม่ได้ เพราะต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีประนีประนอมยอมความ การไม่อุทธรณ์คำสั่งทำให้ขาดสิทธิฎีกา
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยตกลงโอนที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งให้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม และคดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา ตามยอม ขอให้เรียกจำเลยมาสอบถาม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการสั่งในระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นก่อนชี้ขาดตามคำร้องนั้นถือได้ว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์ไม่โต้แย้งไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์และโจทก์จะฎีกาคำสั่งนั้นไม่ได้ เพราะต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5968/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องมีเหตุเจ้าพนักงานบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมาย การอ้างราคาต่ำไม่เพียงพอ
การที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้นั้น จะต้องปรากฎว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ.เมื่อคำร้องของจำเลยทั้งสามที่ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดกล่าวอ้างแต่เพียงว่า การขายทอดตลาดดังกล่าวขายในราคาต่ำไป มิได้อ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีดังกล่าวแต่ประการใด กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด และศาลชั้นต้นมีอำนาจงดไต่สวนและมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสามได้