คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 21

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินรวม: ห้ามตั้งประเด็นใหม่หลังคำพิพากษาถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทขายทอดตลาดที่ดินพิพาทนำเงินที่ได้มาแบ่งปันกันตามส่วนคดีถึงที่สุดแล้ว แต่จำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งปันกันตามส่วนตามคำพิพากษา คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีให้ต้องปฏิบัติตาม การที่จำเลยที่ 1 มาร้องในคดีนี้ว่าจำเลยที่ 5 ได้ขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 5 ให้แก่จำเลยที่ 1และจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินส่วนนั้นมาจนที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 จึงขอให้ศาลไต่สวนคำฟ้องเพื่อมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 5เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 นั้น ย่อมเป็นการที่จำเลยที่ 1 ตั้งประเด็นขึ้นใหม่พิพาทกับจำเลยที่ 5 และมีผลเท่ากับขอให้ศาลแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ซึ่งไม่อาจกระทำได้ เพราะมิฉะนั้นแล้วคำพิพากษาของศาลแต่ละคดีก็จะไม่เป็นที่ยุติลงได้ กรณีเช่นนี้หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิในที่ดินพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้อย่างไร หรือจำเลยที่ 1 ถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายประการใด จำเลยที่ 1ชอบที่จะไปดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นคดีใหม่ต่างหาก
การที่โจทก์ขอหมายบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทขายทอดตลาดคดีนี้ เป็นการกำหนดวิธีแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมเท่านั้นโจทก์ก็ดี จำเลยก็ดี หาใช่เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันและกันไม่กรณีจึงไม่ใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 จำเลยที่ 1จึงไม่อาจอ้างว่าคำร้องของตนต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 ได้ เพราะการร้องขอตามบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องเป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด กรณีจึงไม่มีเหตุให้ต้องงดขายทอดตลาดที่ดินพิพาทและทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินรวม: จำเลยไม่อาจยกประเด็นใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทขายทอดตลาดที่ดินพิพาทนำเงินที่ได้มาแบ่งปันกันตามส่วนคดีถึงที่สุดแล้วแต่จำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งปันกันตามส่วนตามคำพิพากษา คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น คู่ความในคดีให้ต้องปฏิบัติตาม การที่จำเลยที่ 1 มาร้อง ในคดีนี้ว่าจำเลยที่ 5 ได้ขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ จำเลยที่ 5 ให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินส่วนนั้นมาจนที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1จึงขอให้ศาลไต่สวนคำฟ้องเพื่อมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 5 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 นั้นย่อมเป็นการที่จำเลยที่ 1 ตั้งประเด็นขึ้นใหม่พิพาทกับจำเลยที่ 5 และมีผลเท่ากับขอให้ศาลแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ซึ่งไม่อาจกระทำได้ เพราะมิฉะนั้นแล้วคำพิพากษาของศาลแต่ละคดีก็จะไม่เป็นที่ยุติลงได้ กรณีเช่นนี้ หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิในที่ดินพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้อย่างไร หรือจำเลยที่ 1ถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายประการใด จำเลยที่ 1 ชอบที่จะไป ดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นคดีใหม่ต่างหาก การที่โจทก์ขอหมายบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทขายทอดตลาดคดีนี้ เป็นการกำหนดวิธีแบ่งทรัพย์สิน ระหว่างเจ้าของรวมเท่านั้น โจทก์ก็ดี จำเลยก็ดี หาใช่เป็น เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันและกันไม่กรณีจึงไม่ใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 จำเลยที่ 1จึงไม่อาจอ้างว่าคำร้องขอตนต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ได้ เพราะการร้องขอตามบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องเป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด กรณีจึงไม่มีเหตุให้ต้องงดขายทอดตลาดที่ดินพิพาทและทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุริมสิทธิจำนองและการบังคับคดี การยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้เกินกำหนดไม่ตัดสิทธิ
คำร้องของผู้ร้องฉบับก่อนเป็นการร้องขอให้บังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยอำนาจของเจ้าหนี้จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ส่วนคำร้องของผู้ร้องฉบับหลังเป็นการร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ซึ่งบัญญัติรับรองสิทธิของบุคคลภายนอกไว้ผู้ร้องยื่นคำร้องโดยอ้างเหตุตามบทกฎหมายคนละเหตุคนละมาตราเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกันจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือร้องซ้ำ
คำร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ไม่ใช่คำฟ้องตามมาตรา 1 (3) ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล คงเสียแต่ค่าคำร้องเหมือนคำร้องธรรมดา และการร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดหรืออนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ขายทอดตลาดมิได้ขัดแย้งกัน ไม่ได้ทำให้คำร้องนั้นเสียไป ตามคำร้องหมายความว่าหากเพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ได้ จึงขอให้ได้รับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ขายทอดตลาด
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287โดยเท้าความถึงคำร้องขอให้บังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าหนี้จำนองตามมาตรา 289ฉบับก่อน ศาลชั้นต้นได้ส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์ จำเลย ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด และเจ้าพนักงานบังคับคดี บุคคลดังกล่าวมีโอกาสคัดค้านคำร้องของผู้ร้องแล้ว ซึ่งตามคำคัดค้านของโจทก์นั้นก็มิได้ปฏิเสธข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องตามสัญญาจำนองว่าเป็นเงินเท่าใด และผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จำนองนั้นหรือไม่ ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นได้พิเคราะห์คำร้องของผู้ร้อง คำคัดค้านของโจทก์กับผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดแล้วเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้จึงให้งดการไต่สวนจึงเป็นการชอบแล้ว เพราะเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาคดีได้ตามควรแก่กรณีแห่งเรื่องเพื่อให้คดีดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสอง เป็นแต่ให้อำนาจผู้รับจำนองที่จะยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด แต่ถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดดังกล่าวก็หาทำให้ผู้รับจำนองหมดสิทธิไปไม่ โดยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนอง ซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินพิพาทได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 287 ฉะนั้นเมื่อเอาทรัพย์พิพาทขายโดยปลอดจำนองตามหนังสือแจ้งความประสงค์ของผู้ร้อง และเมื่อขายทอดตลาดได้แล้ว ก็ต้องชำระหนี้จำนองให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้จำนองในการบังคับคดีเหนือทรัพย์สิน แม้ไม่ยื่นคำร้องก่อนขายทอดตลาด และความชอบด้วยกฎหมายของการงดการไต่สวน
คำร้องของผู้ร้องฉบับก่อนเป็นการร้องขอให้บังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยอำนาจของเจ้าหนี้จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ส่วนคำร้องของผู้ร้องฉบับหลังเป็นการร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตามป.วิ.พ. มาตรา 287 ซึ่งบัญญัติรับรองสิทธิของบุคคลภายนอกไว้ผู้ร้องยื่นคำร้องโดยอ้างเหตุตามบทกฎหมายคนละเหตุคนละมาตราเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือร้องซ้ำ คำร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287ไม่ใช่คำฟ้องตามมาตรา 1(3) ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล คงเสียแต่ค่าคำร้องเหมือนคำร้องธรรมดา และการร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดหรืออนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ขายทอดตลาดมิได้ขัดแย้งกัน ไม่ได้ทำให้คำร้องนั้นเสียไป ตามคำร้องหมายความว่าหากเพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ได้ จึงขอให้ได้รับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ขายทอดตลาด เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตามป.วิ.พ. มาตรา 287 โดยเท้าความถึงคำร้องขอให้บังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าหนี้จำนองตามมาตรา 289 ฉบับก่อน ศาลชั้นต้นได้ส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์ จำเลย ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดและเจ้าพนักงานบังคับคดี บุคคลดังกล่าวมีโอกาสคัดค้านคำร้องของผู้ร้องแล้ว ซึ่งตามคำคัดค้านของโจทก์นั้นก็มิได้ปฏิเสธข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องตามสัญญาจำนองว่าเป็นเงินเท่าใด และผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จำนองนั้นหรือไม่ ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นได้พิเคราะห์คำร้องของผู้ร้อง คำคัดค้านของโจทก์กับผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดแล้วเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้จึงให้งดการไต่สวนจึงเป็นการชอบแล้ว เพราะเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาคดีได้ตามควรแก่กรณีแห่งเรื่องเพื่อให้คดี ดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสอง เป็นแต่ให้อำนาจผู้รับจำนองที่จะยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด แต่ถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดดังกล่าวก็หาทำให้ผู้รับจำนองหมดสิทธิไปไม่ โดยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนอง ซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินพิพาทได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 287 ฉะนั้นเมื่อเอาทรัพย์พิพาทขายโดยปลอดจำนองตามหนังสือแจ้งความประสงค์ของผู้ร้องและเมื่อขายทอดตลาดได้แล้ว ก็ต้องชำระหนี้จำนองให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 342/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดก, การจัดการทรัพย์มรดก, และสิทธิในการถอนผู้จัดการมรดก
ผู้ที่จะมาเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพียงไม่เป็นบุคคลซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 แล้วก็อาจถูกร้องขอต่อศาลให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกได้ เมื่อผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องก็มีอำนาจกระทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกซึ่งได้แก่การรวบรวมทรัพย์มรดกแล้วดำเนินการแบ่งปันให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกต่อไป ในกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคน การทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกต้องร่วมกันจัดการและถือเอาเสียงข้างมาก จะจัดการโดยลำพังไม่ได้หากผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือมีเหตุให้ถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ร้องก็มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้คัดค้านทั้งสองออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ และหากมีเหตุอันเกิดจากฝ่ายผู้ร้องในทำนองเดียวกันผู้คัดค้านทั้งสองก็มีสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกันกับผู้ร้อง การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานผู้ร้องภายหลังที่ผู้ร้องสืบพยานได้เพียง 2 ปาก ข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสองจึงยังฟังไม่ได้ว่ามีเหตุต้องถอนฝ่ายใดจากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ศาลชั้นต้นจึงไม่ควรด่วนสั่งงดสืบพยานดังกล่าวควรสืบพยานต่อไปให้เสร็จสิ้นกระแสความแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ สัญญาภาระจำยอมยังไม่ยุติ ศาลชอบที่จะมีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์โจทก์ได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าสัญญาภาระจำยอมระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เลิกกันไปแล้วไม่อาจใช้บังคับกันได้อีกต่อไป แต่ข้อเท็จจริงนี้หาได้ยุติไม่ ศาลอุทธรณ์อาจวินิจฉัยว่าสัญญาภาระจำยอมยังคงบังคับได้ และพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีก็ได้ ทั้งปรากฏตามคำฟ้อง คำให้การ คำร้อง และคำร้องคัดค้านว่า ตามคำฟ้องและโอกาสที่โจทก์ยื่นคำร้องนั้นมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษามาใช้ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 255(1) และ (2) แล้วศาลอุทธรณ์ชอบที่จะมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของโจทก์ ให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือแจ้งสำนักงานที่ดินที่ที่พิพาทตั้งอยู่ห้ามจำเลยจดทะเบียนสิทธิหรือทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่พิพาทเฉพาะส่วนตามสัญญาภารจำยอมไว้ในระหว่างอุทธรณ์ได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนพยานหลักฐานของคู่ความก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5486/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้ความยุติก่อนวินิจฉัยว่าฝ่ายใดผิดสัญญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยที่ 2 ไปทำการจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ และโจทก์จะชำระเงินค่าที่ดินให้จำเลยที่ 2 พร้อมกันณ สำนักงานที่ดินเวลา 11 นาฬิกา ถึงวันนัด ต่างฝ่ายต่างยืนยันว่าฝ่ายตนปฏิบัติตามสัญญา แต่อีกฝ่ายไม่ปฏิบัติตาม โดยจำเลยที่ 2 แถลงว่า จำเลยที่ 2 ได้ไปและคอยโจทก์ที่สำนักงานที่ดินพร้อมด้วยเอกสารอันจำเป็นในการจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้ฝ่ายโจทก์ตั้งแต่เวลา 10.30 นาฬิกา ถึงเวลา12 นาฬิกา ส่วนโจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์ได้มอบให้ทนายโจทก์นำเอกสารการรับโอนสิทธิไปสำนักงานที่ดิน เวลา 10.45 นาฬิกา และแจ้งทนายจำเลยทราบว่าโจทก์กำลังดำเนินการให้ธนาคารออกเช็คขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่ดินเตรียมเอกสารต่าง ๆ ในการทำนิติกรรมให้ และโจทก์ได้เดินทางไปถึงสำนักงานที่ดินเมื่อเวลา 12.10 นาฬิกา พร้อมทั้งเช็คและเงินสดเพื่อชำระให้จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 และเจ้าหน้าที่ที่ดินไม่ดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้ตามสัญญา เช่นนี้ ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร ศาลชั้นต้นชอบที่จะทำการไต่สวนให้ได้ความจริงเป็นยุติ โดยเฉพาะถ้าข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าได้ให้ทนายโจทก์ไปแจ้งต่อทนายจำเลยที่สำนักงานที่ดินว่าพร้อมที่จะรับโอนที่ดินเป็นความจริง จำเลยที่ 2 ก็จะอ้างว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความเสียทีเดียวยังไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่นัดสอบถามแล้วมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัด เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5486/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ข้อเท็จจริงในสัญญาประนีประนอมยอมความ การไต่สวนพยานหลักฐานเป็นสิ่งจำเป็น
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยที่ 2 ไปทำการจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ และโจทก์จะชำระเงินค่าที่ดินให้จำเลยที่ 2 พร้อมกัน ณ สำนักงานที่ดินเวลา 11 นาฬิกา ถึงวันนัด ต่างฝ่ายต่างยืนยันว่าฝ่ายตนปฏิบัติตามสัญญา แต่อีกฝ่ายไม่ปฏิบัติตาม โดยจำเลยที่ 2 แถลงว่าจำเลยที่ 2 ได้ไปและคอยโจทก์ที่สำนักงานที่ดินพร้อมด้วยเอกสารอันจำเป็นในการจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้ฝ่ายโจทก์ตั้งแต่เวลา 10.30 นาฬิกา ถึงเวลา 12 นาฬิกา ส่วนโจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ได้มอบให้ทนายโจทก์นำเอกสารการรับโอนสิทธิไปสำนักงานที่ดินเวลา 10.45 นาฬิกา และแจ้งทนายจำเลยทราบว่าโจทก์กำลังดำเนินการให้ธนาคารออกเช็คขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่ดินเตรียมเอกสารต่าง ๆในการทำนิติกรรมให้ และโจทก์ได้เดินทางไปถึงสำนักงานที่ดินเมื่อเวลา 12.10 นาฬิกา พร้อมทั้งเช็คและเงินสดเพื่อชำระให้จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 และเจ้าหน้าที่ที่ดินไม่ดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้ตามสัญญา เช่นนี้ ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรศาลชั้นต้นชอบที่จะทำการไต่สวนให้ได้ความจริงเป็นยุติ โดยเฉพาะถ้าข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าได้ให้ทนายโจทก์ไปแจ้งต่อทนายจำเลยที่สำนักงานที่ดินว่าพร้อมที่จะรับโอนที่ดินเป็นความจริง จำเลยที่ 2ก็จะอ้างว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความเสียทีเดียวยังไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่นัดสอบถามแล้วมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัด เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดสัญญาซื้อขายที่ดิน ต้องพิจารณาเจตนาและพฤติการณ์ประกอบ การวินิจฉัยต้องอาศัยการไต่สวนข้อเท็จจริง
การที่จะพิจารณาว่าฝ่ายใดผิดนัดผิดสัญญานั้นจะต้องพิจารณาการกระทำประกอบกับเจตนาที่ฝ่ายนั้นได้แสดงออกว่าจะไม่นำพาต่อการปฏิบัติตามสัญญาหรือไม่เป็นสำคัญ แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดให้ทั้งสองฝ่ายไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในวันที่ 20 ตุลาคม 2532เวลา 11 นาฬิกา ก็ตาม แต่เวลา 11 นาฬิกาที่กำหนดนัดหมายนั้นต้องหมายถึงเวลาที่ทั้งสองฝ่ายไปพร้อมกันเพื่อเริ่มดำเนินการตามแบบพิมพ์ของทางราชการ มิใช่หมายถึงเวลาที่ทำการโอนเสร็จ ฉะนั้นถ้าทนายความซึ่งถือได้ว่าเป็นตัวแทนโจทก์ไปถึงตามเวลานัดหมายและแจ้งให้ทนายฝ่ายจำเลยทราบ ถึงเรื่องที่จะดำเนินการต่อไปเช่นนี้ ถือได้ว่าฝ่ายโจทก์ได้ไปตามเวลาที่นัดหมายแล้ว ข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์ จำเลยที่ 2 ยังแถลงคัดค้านอยู่ จำต้องมีการไต่สวนทั้งสองฝ่ายว่าความจริงเป็นประการใด จึงจะวินิจฉัยได้ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญาแต่ศาลชั้นต้นมิได้ไต่สวนในข้อนี้ ข้อเท็จจริงจึงยังไม่พอให้วินิจฉัย การวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดโดยที่ยังมิได้มีข้อเท็จจริงให้เป็นประการใดนั้นจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3774/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดเนื่องจากทรัพย์สินไม่ตรงตามที่ยึด และอำนาจศาลในการแก้ไขกระบวนการบังคับคดี
โจทก์นำยึดที่ดินอ้างว่าโฉนดเลขที่ 20174 และตึกแถวเลขที่ 121/13 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ ต่อมาปรากฏว่าตึกแถวเลขที่ 121/13 มิได้ปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 20174 แต่อยู่ทางด้านหน้าของที่ดินโฉนดดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์นั้นติดกันไปจึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อผู้ร้องซึ่งซื้อทรัพย์ในการขายทอดตลาดไม่อ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจออกคำสั่งยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวงหรือวิธีการบังคับใด ๆ โดยเฉพาะนั้นเสียได้ก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้นลง โจทก์ทั้งสองและผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการขายทอดตลาดย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ และการที่ศาลชั้นต้นได้ทำการตรวจสอบฟังคำแถลงของผู้ร้องและโจทก์ทั้งสองแล้วเห็นว่ามีการผิดพลาด ย่อมถือได้ว่าได้มีการไต่สวนคำร้องโดยชอบแล้ว ทั้งจำเลยทั้งสองก็มิได้คัดค้านคำร้องไม่เป็นความจริง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าได้ขายทอดตลาดทรัพย์ไปโดยไม่ชอบ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งยกเลิกการบังคับคดีนั้นเสียได้
of 19