พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับร้ายแรง (เสพสุราขณะทำงาน) ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยประกอบกิจการผลิตเหล็กโดยใช้เครื่องจักรในการผลิตและมีพนักงานเป็นผู้ควบคุมดูแลเครื่องจักร เป็นกิจการที่อาจเกิดอันตรายแก่พนักงานหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยได้ง่าย ที่จำเลยออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานห้ามเสพสุราในขณะปฏิบัติงานโดยถือเป็นความผิดร้ายแรง ก็เพื่อป้องกันภยันตรายที่จะเกิดแก่พนักงานหรือจำเลยไว้ล่วงหน้าดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองเสพสุรามึนเมาในขณะปฏิบัติงานย่อมเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวเป็นกรณีร้ายแรงจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องรอให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยก่อน ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ออกพนักงานขับรถโดยสารฐานประมาทเสี่ยงอันตราย มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
บริษัทจำเลยมีหน้าที่ให้บริการแก่ผู้โดยสารรถของจำเลยจำต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นประการสำคัญการที่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขับรถของจำเลยขับรถโดยสารด้วยความเร็วและแซงรถหวาดเสียวในลักษณะแข่งกันนอกจากจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกแล้ว ยังเป็นการเสี่ยงต่อภยันตรายที่ร้ายแรงอันอาจเกิดแก่ผู้โดยสารได้โดยง่ายการกระทำของโจทก์ดังกล่าวย่อมทำให้เกิดความเสียหายในด้านบริการสาธารณะของจำเลยอย่างร้ายแรง โดยไม่จำต้องให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นก่อน เป็นการฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยแล้ว จำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทำร้ายร่างกาย: การกระทำไม่ร้ายแรงจนถึงขั้นเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กำหนดห้ามมิให้ลูกจ้างก่อการวิวาท ทำร้ายร่างกาย พูดหยาบ ตลอดจนส่งเสียงอื้ออึงโดยไม่จำเป็นก็ตาม แต่ระเบียบดังกล่าวก็มิได้กำหนดว่าการฝ่าฝืนจะถือเป็นกรณีร้ายแรงประการใด การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยชกต่อยลูกจ้างด้วยกัน ก็เนื่องจากคู่กรณีพูดให้ของลับโจทก์ก่อน และไม่ปรากฏว่าคู่กรณีได้รับบาดเจ็บ จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นกรณีร้ายแรง ที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้.