พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารเพื่อเบิกจ่ายค่าจ้างกระทบสิทธินายจ้าง ศาลยืนยันเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นหัวหน้าคนงานมีหน้าที่รับผิดชอบในการลาของลูกจ้างและทำบันทึกรายงานสถิติการมาทำงานของลูกจ้าง โจทก์ต้องปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยและรายงานการมาทำงานของลูกจ้างต่อจำเลยตามความเป็นจริง โจทก์ปลอมใบลาอันเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งสำหรับใช้คำนวณค่าจ้างจำเลยได้จ่ายค่าจ้างและเบี้ยขยันให้แก่ว. โดยเชื่อตามพยานหลักฐานปลอมที่โจทก์ทำขึ้น โจทก์มีความผิดฐานปลอมเอกสาร ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1)(3) ดังนี้จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรง กรณีฝ่าฝืนระเบียบการเงินและเบิกจ่าย
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยทำหน้าที่ด้านการเงิน ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ที่มีความสำคัญมาก โจทก์ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการเงินของจำเลยโดยเคร่งครัด ทั้งต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังอย่างยิ่งการที่โจทก์ทำหน้าที่ด้านการเงินมา 20 ปีเศษแล้ว ย่อมจะทราบข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินเป็นอย่างดี ปรากฏว่ามีข้อบังคับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2524 ว่าด้วยการเบิกและจ่ายเงิน ในส่วนที่ 3 ข้อ 17 กำหนดไว้ชัดเจนว่า 'ในการจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้เป็นจำนวนตั้งแต่พันบาทขึ้นไปให้สั่งจ่ายเป็นเช็คในนามเจ้าหน้าที่' แต่โจทก์หาได้ปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ไม่กลับจ่ายเงินสดเป็นเงินทอนและมิได้บันทึกการทอนเงินไว้เป็นหลักฐานในใบเสร็จกรณีจึงถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการเงินของจำเลยผู้เป็นนายจ้างอย่างแจ้งชัดและเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(3) จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047-1048/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดซ้ำคำเตือน แม้การกระทำหลังแตกต่างจากครั้งแรก หากเป็นการละทิ้งหน้าที่อันเป็นวินัยเดียวกัน
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กำหนดวินัยของลูกจ้างไว้ว่า ต้องไม่ปฏิบัติงานล่าช้า ละทิ้งหน้าที่ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการทำงานการที่โจทก์ทั้งสองกับพวกหยอกล้อและเล่นกันในระหว่างเวลาทำงานเป็นความผิดครั้งแรกและเล่นหมากฮอสในระหว่างเวลาทำงานเป็นความผิดครั้งหลังล้วนแต่เป็นการละทิ้งหน้าที่อันเป็นการกระทำผิดวินัยตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวทั้งสองครั้ง เมื่อจำเลยได้ลงโทษตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร ในการที่โจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่อันเป็นความผิดครั้งแรกแล้ว โจทก์ทั้งสองกลับละทิ้งหน้าที่โดยเล่นหมากฮอสในระหว่างเวลาทำงานอันเป็นความผิดครั้งหลังอีก ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว ตามข้อ 47(3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนการลงโทษทางวินัยต้องชัดเจนเฉพาะเจาะจง การเลิกจ้างโดยอ้างผิดซ้ำคำเตือนกว้างๆ ไม่ชอบ
คำสั่งของนายจ้างที่ลงโทษและภาคทัณฑ์ลูกจ้างระบุว่าลูกจ้างทำผิดวินัย และมีคำเตือนว่าหากลูกจ้างกระทำผิดวินัยข้อใดอีก นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แต่คำสั่งดังกล่าวมิได้ระบุว่าลูกจ้างกระทำการใดที่ถือว่าเป็นการผิดวินัย ทั้งได้ระบุข้อวินัยที่อ้างว่าลูกจ้างทำผิดไว้ถึง 5 ข้อ เช่นนี้ จึงเป็นการเตือนที่กว้างเกินไป ลูกจ้างย่อมไม่อาจทราบและปรับปรุงตนเองเพื่อมิให้กระทำผิดซ้ำคำเตือนนี้ได้ นายจ้างจะอ้างว่าลูกจ้างทำผิดซ้ำคำเตือนดังกล่าวและเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ47(3) มิได้
ลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานบริการมีหน้าที่ทำงานในลักษณะทั่วไปที่ใช้แรงงาน เช่น รักษาความสะอาด ยาม พนักงานเดินหนังสือ ได้รับคำสั่งให้มาทำหน้าที่เปิดปิดประตูสำนักงาน มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัด โดยมักจะมาเปิดประตูไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า.
ลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานบริการมีหน้าที่ทำงานในลักษณะทั่วไปที่ใช้แรงงาน เช่น รักษาความสะอาด ยาม พนักงานเดินหนังสือ ได้รับคำสั่งให้มาทำหน้าที่เปิดปิดประตูสำนักงาน มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัด โดยมักจะมาเปิดประตูไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดร้ายแรง การพิจารณาความร้ายแรงต้องดูที่การกระทำของลูกจ้างเอง ไม่ใช่การเลิกจ้างลูกจ้างอื่น
การกระทำใดเป็นความผิดร้ายแรงตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) หรือไม่ ต้องพิจารณาจากการกระทำนั้น ๆ เอง มิใช่ถือเอาการกระทำใด ๆ ของนายจ้างอันเกิดขึ้นต่อภายหลังมาเป็นข้อประกอบการพิจารณา การที่โจทก์เป็นเจ้ามือสลากกินรวบในสถานที่ทำงานของนายจ้างเป็นที่ประจักษ์อยู่ในตัวโดยไม่จำต้องอธิบายใด ๆ ว่าเป็นความผิดเป็นกรณีที่ร้ายแรง แม้นายจ้างจะมิได้เลิกจ้างลูกจ้างอื่นที่ร่วมเล่นการพนันกับโจทก์ด้วย นายจ้างก็เลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การทะเลาะวิวาทส่วนตัวไม่ถึงขั้นร้ายแรง
ลูกจ้างมีเรื่องด่าและทำร้ายภริยาของลูกจ้างในสถานที่ทำการของนายจ้าง การที่ลูกจ้างไม่ยอมเชื่อฟังและแสดงกิริยาไม่เคารพผู้บังคับบัญชาก็เนื่องจากการทะเลาะกับภริยาอันเป็นเรื่องส่วนตัวที่เกิดจากความหึงหวงเพราะภริยาไม่กลับบ้านและลูกจ้างไม่พอใจที่มีผู้อื่นมาห้ามปราม การกระทำดังนี้ยังไม่ถึงกับเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และไม่เป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรงที่นายจ้างจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ส่วนการที่ผู้บังคับบัญชาห้ามปรามลูกจ้างนั้นก็ไม่ใช่เป็นคำสั่งที่มีกิจจะลักษณะแต่อย่างใด คงมีความประสงค์เพียงให้ลูกจ้างกับภริยาเลิกทะเลาะวิวาทกันเท่านั้นการที่ลูกจ้างไม่เชื่อฟังจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันจะเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำเตือนลูกจ้าง นายจ้างมีวิธีอื่นนอกเหนือจากการให้ลงชื่อรับทราบได้
เมื่อนายจ้างออกคำเตือนเป็นหนังสือแก่ลูกจ้างแล้วประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดวิธีการแจ้งคำเตือนให้ลูกจ้างทราบ การให้ลูกจ้างลงชื่อทราบคำเตือนมิใช่วิธีการอย่างเดียวสำหรับการแจ้งคำเตือน นายจ้างอาจใช้วิธีการอย่างอื่นแทนได้ เช่น การแจ้งด้วยวาจาหรือปิดประกาศให้ทราบ ดังนั้น การที่ลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อรับทราบคำเตือนเป็นหนังสือตามที่นายจ้างสั่งจึงไม่เป็นความผิดฐานขัดคำสั่งนายจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4753/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงาน แม้ผิดระเบียบ แต่ไม่ร้ายแรงพอที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่โจทก์ทำร้ายร่างกายด้วยการชกต่อย ว. ลูกจ้างของจำเลยในระหว่างเปลี่ยนกะการทำงาน เป็นความผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ว่า ไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการทำงานหรือก่อให้เกิดความรำคาญแก่พนักงานอื่น แต่ไม่ปรากฏว่า ว. ได้รับบาดเจ็บมากน้อยเท่าใด หรือเป็นการกระทบกระเทือนกิจการงานของจำเลยและรบกวนการทำงานของพนักงานอื่นอย่างไรแม้ศาลจะลงโทษจำคุกโจทก์ 1 เดือน ปรับ 500 บาท และให้รอการลงโทษจำคุกไว้ก็ยังไม่เพียงพอจะถือได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรง อันจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4367/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาหยุดงานที่ไม่ได้รับอนุญาตและการเลิกจ้าง: กรณีเหตุสมควร vs. ละทิ้งหน้าที่
โจทก์ขอลาหยุดงาน 3 วันต่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง จำเลยไม่อนุญาต แต่โจทก์ก็หยุดงานไป 4 วันเพื่อเดินทางไปจัดเตรียมงานสมรสของบุตรสาวที่ต่างจังหวัดตามประเพณีของท้องถิ่น ดังนี้การหยุดงานหรือการละทิ้งหน้าที่ของโจทก์เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยมีเหตุอันสมควร กรณีต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จึงต้องจ่ายค่าชดเชย
การละทิ้งการงานของลูกจ้างอันเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้านั้น ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องมีเหตุอันสมควรหรือไม่เมื่อโจทก์ยื่นหนังสือขอลาหยุด และจำเลยไม่อนุญาตให้ลาแต่โจทก์หยุดงานไปจึงเป็นการลาที่ไม่ชอบทั้งเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งการงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
การละทิ้งการงานของลูกจ้างอันเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้านั้น ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องมีเหตุอันสมควรหรือไม่เมื่อโจทก์ยื่นหนังสือขอลาหยุด และจำเลยไม่อนุญาตให้ลาแต่โจทก์หยุดงานไปจึงเป็นการลาที่ไม่ชอบทั้งเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งการงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3862/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดสัญญาจ้างงานโดยการแข่งขันธุรกิจ แม้กระทำนอกเวลางานก็ถือเป็นเหตุเลิกจ้างที่เป็นธรรม
ตามคู่มือพนักงานของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ได้ออกข้อกำหนดห้ามพนักงานประกอบหรือร่วมกับบุคคลอื่นประกอบธุรกิจที่บริษัทจำเลยได้กระทำอยู่ และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของบริษัทจำเลย ไม่ว่าจะได้กระทำในหรือนอกเวลาปฏิบัติงานของบริษัทจำเลยก็ตาม หรือจะได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม พนักงานซึ่งกระทำการดังกล่าวก็ย่อมมีความผิดทั้งสิ้น กรณีคงมีข้อยกเว้นให้กระทำได้ต่อเมื่อรับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลยเพียงประการเดียวเท่านั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานบริษัทจำเลยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการประกอบผลไม้แช่แข็งกับห้างอื่นอันเป็นธุรกิจที่บริษัทจำเลยประกอบอยู่และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของบริษัทจำเลย โจทก์ก็ย่อมมีความผิดตามคู่มือพนักงานอันเป็นกรณีร้ายแรงแล้วการที่บริษัทจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม.