คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จราจรทางบก ม. 43

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6746/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการกำหนดโทษและการแก้ไขคำพิพากษาในคดีอาญา และการพิจารณาความผิดฐานไม่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
คำพิพากษาศาลชั้นต้นจะถึงที่สุดก็ต่อเมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีนี้แม้โจทก์จะเป็นผู้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นและไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยก็ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นสำหรับจำเลยก็ยังไม่ถึงที่สุด ปัญหาเรื่องการกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดเป็นดุลพินิจของศาล ถ้าศาลชั้นต้นกำหนดมาไม่เหมาะสม และคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ย่อมแก้ได้เสมอเมื่อคดีส่วนของจำเลยคนนั้นยังไม่ถึงที่สุดไม่ว่าฝ่ายใดจะยกขึ้นอุทธรณ์มาโดยเฉพาะหรือไม่ก็ตาม โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ประกอบการกระทำความผิด ศาลอุทธรณ์คงถูกห้ามเพียงแต่มิให้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212เท่านั้น คดีนี้โจทก์เองเป็นผู้อุทธรณ์ทำนองขอให้เพิ่มโทษจำเลยและศาลอุทธรณ์ก็กำหนดโทษน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นวางไว้จึงไม่ต้องห้ามแต่อย่างใด และบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 55เป็นเรื่องกฎหมายให้อำนาจศาลจะกำหนดโทษจำคุกตามกฎหมายให้น้อยลงแต่คดีนี้เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยให้น้อยลงกว่าศาลชั้นต้น จึงนำหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 55มาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่อยู่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แสดงตัวและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 นั้น เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคสอง ได้ และปัญหานี้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถ: ผู้ขับแซงขึ้นจากไหล่ทางด้วยความเร็วสูง เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับรถในขบวนไม่ต้องรับผิด
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถแล่นไปในขบวนด้วยความเร็วตามปกติและในช่องทางเดินรถที่ถูกต้อง ส่วนจำเลยที่ 2 ขับรถขึ้นจากไหล่ถนนโดยกระชั้นชิดและด้วยความเร็วสูงโดยไม่ระมัดระวังเช่นนี้ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่อาจคาดหมายหรือให้สัญญาณเพื่อให้ใช้ความระมัดระวังอย่างใดได้ทัน เหตุชนกันจึงมิได้เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่ถือว่าเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 2แต่เพียงฝ่ายเดียว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถแซงแล้วหักเลี้ยว ทำให้รถชนท้าย เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
พฤติการณ์ที่จำเลยขับรถยนต์ โดย แซง รถยนต์บรรทุกซึ่ง แล่น เกือบจะถึง เชิงสะพาน เมื่อแซง พ้นแล้ว และขณะที่รถยนต์โดยสาร เพิ่งแล่นเข้าทางด้านซ้ายมือตาม ปกติยังแล่นนำหน้ารถยนต์บรรทุก เพียงเล็กน้อยจำเลยก็ห้ามล้อ รถยนต์โดยสารอย่างกะทันหัน เป็นเหตุ ให้รถยนต์บรรทุกซึ่งแล่นตาม หลังหยุดรถไม่ทัน พุ่ง เข้าชนท้าย รถยนต์ โดยสารที่จำเลยขับทันที ดังนี้ เป็นความประมาทในการขับรถของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถฝ่าไฟแดงทำให้เกิดอุบัติเหตุและเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
จำเลยที่ 2 ขับรถมาตามถนนพหลโยธินจากสามแยกเกษตรมุ่งหน้าไปทางลาดพร้าว เมื่อถึงสี่แยกพหลโยธินตัดกับถนนรัชดาภิเษก สัญญาณไฟจราจรเป็นสีแดง จำเลยที่ 2 ได้ขับรถเคลื่อนอย่างช้า ๆ ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรสีแดงเข้าไปในสี่แยกจนเลยเส้นสีขาวที่กำหนดให้รถหยุดประมาณ 10 เมตรเกือบถึงกลางสี่แยก รถจำเลยที่ 2 จึงขวางทางรถจำเลยที่ 1 ซึ่งแล่นมาด้วยความเร็วจากถนนรัชดาภิเษก ด้านถนนวิภาวดีรังสิตมุ่งหน้าไปตามถนนรัชดาภิเษก เข้าไปในสี่แยก รถจำเลยที่ 1 ห้ามล้อและหักหลบเฉี่ยว ชนรถจำเลยที่ 2 แล้วเสียหลักไปทางขวาไปชนรถที่จอดรอสัญญาณไฟจราจรในถนนรัชดาภิเษก ด้านที่มาจากลาดพร้าว และชนผู้เสียหาย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถด้วยความประมาทเป็นเหตุโดยตรงทำให้รถจำเลยที่ 1 เฉี่ยวชนรถจำเลยที่ 2 และชนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและได้รับอันตรายสาหัส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง เหตุโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายและคู่ความรายเดียวกัน
แม้พนักงานอัยการจะ ได้ฟ้องขอให้ลงโทษ ส. ลูกจ้างของโจทก์และจำเลยที่ 1 ฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส และรถยนต์ทั้งสองคันเสียหาย ตามป.อ. มาตรา 300 พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 และศาลพิพากษาลงโทษ ส. แต่ยกฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากมูลกรณีรถชนกัน และในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ. จราจรทางบก โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องหรือขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้พนักงานอัยการจึงไม่อยู่ในฐานะฟ้องคดีอาญาแทนโจทก์ ผลแห่งคำพิพากษาคดีอาญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งฟ้องคดีแพ่งว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ในทางการที่จ้างโดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์ที่ ส. ลูกจ้างโจทก์เป็นผู้ขับ เพราะโจทก์ไม่ใช่คู่ความรายเดียวกัน จึงต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์เรื่องการลงโทษ จำเลยไม่ชดใช้ค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 2 กรรมต่างวาระกัน รวมจำคุก 7 ปีและปรับ 1,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยบทหนักกรรมเดียว จำคุก 1 ปี 6 เดือน เช่นนี้ เป็นเพียงการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี คู่ความต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 โจทก์ฎีกาว่าจำเลยไม่ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ร่วมโดยรู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น หากแต่จำเลยพยายามบ่ายเบี่ยงหลีกเลี่ยงไม่ยอมรับผิดมาแต่ต้นขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของโจทก์เป็นการคัดค้านดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดโทษจำเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาและการประเมินความประมาทของผู้ขับขี่รถบรรทุกที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
เจ้าของรถยนต์คันที่ผู้ตายขับขี่และเกิดเหตุชนกับรถยนต์บรรทุกอีกคันหนึ่งซึ่งขับด้วยความประมาทไม่ใช่ผู้เสียหาย หรือผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับอันตรายแก่กาย ตาม ป.อ. มาตรา 291,390 และความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 จึงไม่อาจขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการได้ แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาย่อมยกปัญหาดังกล่าวไปวินิจฉัยได้ จำเลยขับรถยนต์บรรทุกออกจากไหล่ถนนและเลี้ยวขวาทันทีโดยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังดู รถที่แล่นมาในช่องทางเดินรถว่ามีรถแล่นมาหรือไม่เป็นเหตุให้ผู้ตายซึ่งขับรถมาในช่องทางดังกล่าว หยุดรถไม่ทันและหักหลบไม่พ้น จึงพุ่งชนท้ายรถจำเลยทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย และว.จ.กับอ. ซึ่งนั่งมาในรถที่ผู้ตายขับได้รับอันตรายแก่กายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291,300 ลงโทษบทหนักตามมาตรา 291.
of 2