พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5968/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาป่วยเท็จและการเลิกจ้าง: นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหากลูกจ้างละทิ้งหน้าที่
ลูกจ้างเป็นลูกจ้างประจำรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่ลูกจ้างยื่นใบลาป่วย 1 วันเป็นเท็จ และนายจ้างไม่อนุมัติให้ลานั้นถือว่าลูกจ้างขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ซึ่งนายจ้างมีสิทธิตัดค่าจ้างได้ตามระเบียบข้อบังคับการทำงาน แต่เมื่อนายจ้างมิได้ตัดค่าจ้าง จึงเป็นกรณีนายจ้างไม่ใช้สิทธิของตนเองจะอ้างว่าลูกจ้างแสวงหาประโยชน์จากค่าจ้างซึ่งเป็นการทุจริตต่อหน้าที่หรือฉ้อโกงและไม่จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างหาได้ไม่ แต่การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าลูกจ้าง ละทิ้งการงานไปเสีย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583นายจ้างจึงมีสิทธิ เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2747/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการคืนเงินยืมทดรองกรณีลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบการจ้าง
แม้ระเบียบว่าด้วยการจ้างฯ จะระบุว่า ถ้าการจ้างรายใดจำเป็นจะต้องจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้รับจ้างก็จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการก่อนโดยต้องจัดให้มีธนาคารเป็นผู้ค้ำประกันเงินที่รับไปล่วงหน้านั้น โดยมิได้ระบุถึงกรณีออกตั๋วแลกเงินไว้ก็ตาม แต่ตั๋วแลกเงินเป็นตราสารที่เปลี่ยนมือกันได้ ใช้ชำระหนี้ในวงการค้าและวงการธุรกิจเป็นปกติแพร่หลายอยู่โดยทั่วไป ผู้ใดได้ตราสารเช่นนี้ไว้เมื่อถึงกำหนดเวลาที่ระบุไว้ก็สามารถรับเงินได้ ตราสารเช่นว่านี้จึงมี "คุณค่า"เป็นเงิน ต้องด้วยเจตนารมณ์ ของ ระเบียบดังกล่าว
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำในตำแหน่งผู้จัดการโรงพิมพ์ของจำเลยได้ร่วมกับพวกดำเนินการยืมเงินทดรองจ่ายจากจำเลยเบิกจ่ายให้กับผู้รับจ้าง ทั้งๆ ที่มิได้ทำสัญญาจ้างต่อกันโดยไม่มีธนาคารค้ำประกัน และไม่ได้ความว่าจำเป็นต้องจ่ายล่วงหน้าประการใดหรือไม่ ทำให้จำเลยต้องสูญเสียเงิน ถึง 4,223,856 บาท เป็นการผิดระเบียบว่าด้วยการจ้างฯ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ค่าเสื่อมชื่อเสียง การกระทำของโจทก์ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 แล้ว จำเลยชอบที่จะไล่ออกเสียได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและให้สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กับเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรง ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และไม่มีสิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลล่วงหน้าที่โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างด้วยการถูกไล่ออกนอกจากนี้โจทก์ยังต้องรับผิดคืนเงินยืมทดรองจำนวน4,223,856บาทให้แก่จำเลยตามฟ้องแย้งอีกด้วย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำในตำแหน่งผู้จัดการโรงพิมพ์ของจำเลยได้ร่วมกับพวกดำเนินการยืมเงินทดรองจ่ายจากจำเลยเบิกจ่ายให้กับผู้รับจ้าง ทั้งๆ ที่มิได้ทำสัญญาจ้างต่อกันโดยไม่มีธนาคารค้ำประกัน และไม่ได้ความว่าจำเป็นต้องจ่ายล่วงหน้าประการใดหรือไม่ ทำให้จำเลยต้องสูญเสียเงิน ถึง 4,223,856 บาท เป็นการผิดระเบียบว่าด้วยการจ้างฯ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ค่าเสื่อมชื่อเสียง การกระทำของโจทก์ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 แล้ว จำเลยชอบที่จะไล่ออกเสียได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและให้สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กับเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรง ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และไม่มีสิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลล่วงหน้าที่โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างด้วยการถูกไล่ออกนอกจากนี้โจทก์ยังต้องรับผิดคืนเงินยืมทดรองจำนวน4,223,856บาทให้แก่จำเลยตามฟ้องแย้งอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5520/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยเนื่องจากละเลยหน้าที่ปล่อยคนเข้าโรงงาน แม้ไม่ร้ายแรง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าว
โจทก์เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัทจำเลย ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานโดยปล่อยให้บุคคลภายนอกเข้ามาภายในบริเวณโรงงานของจำเลย แม้จะเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นการที่โจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ โดย มิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5022/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและสาเหตุการเลิกจ้าง: การพิจารณาจากข้อความในหนังสือเลิกจ้างและประเด็นค่าจ้างค้างจ่าย
แม้หนังสือเลิกจ้างโจทก์จะมิได้ระบุสาเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้โดยตรงว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงาน ติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาข้อความในหนังสือทั้งหมดที่มีใจความว่า ว. กรรมการบริษัทจำเลยนายจ้างขอให้โจทก์ไปพบเกี่ยวกับงานของโจทก์ในวันที่ 15 ตุลาคม 2529โจทก์ไม่ติดต่อกับ ว. และไม่ได้ไปที่สำนักงานหลีกเลี่ยงไม่เข้ารับหน้าที่และไม่มีการติดต่อจากโจทก์อีกจนถึงวันที่ 21 ตุลาคม และหลังจากนั้นบริษัทจำเลยจึง เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่31 ตุลาคม 2529 ดังนี้ย่อมสามารถเข้าใจได้แล้วว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุใด อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าหนังสือเลิกจ้างดังกล่าวจะถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ได้จึงฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การหลับในเวลาทำงานไม่ใช่ความผิดร้ายแรงพอที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่โจทก์แอบไปพักผ่อนหลับนอนในเวลาปฏิบัติงานตามหน้าที่เพียงสองชั่วโมงเศษ อันเป็นการกระทำผิดต่อสภาพการจ้าง แต่จำเลยไม่มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดไว้ว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรงหรือไม่ หรือมีโทษสถานใด จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรง การกระทำของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ หรือเป็นการจงใจทำให้จำเลยต้องได้รับความเสียหาย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)