คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ม. 22 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญาที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมายศาลแขวง ต้องมีเหตุผลสำคัญและคำอนุญาตจากผู้พิพากษา
ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,83ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิคำพิพากษาที่พิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น มี คำสั่งว่าอุทธรณ์ โจทก์มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในปัญหา ข้อเท็จจริงได้ จึงรับรองให้อุทธรณ์ ไม่ปรากฏว่ามีข้อใดที่ ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสิน นั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ได้จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 22 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องมีเหตุผลแสดงปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์
โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ โดยผู้พิพากษาที่พิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งว่าอุทธรณ์โจทก์ทั้งสองมีเหตุอันควรอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ จึงรับรองให้อุทธรณ์ คำสั่งดังกล่าวไม่ปรากฏว่ามีข้อใดที่ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นพิเคราะห์เห็นว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองอุทธรณ์โดยอธิบดีอัยการ, การร้องทุกข์ของผู้เสียหาย, และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริง
อธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่า "รูปคดีมีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงข้าพเจ้าจึงขอรับรองอุทธรณ์ของโจทก์ เพื่อศาลอุทธรณ์จะได้พิจารณาพิพากษาต่อไป" เป็นการรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยตรงตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิบัญญัติไว้ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงให้โจทก์จึงชอบแล้ว ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมีคำสั่งเรื่องการลงนามแทนผู้ว่าการว่า ในกรณีที่เป็นเรื่องปกติของฝ่ายการธนาคาร ให้ผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารหรือรองผู้อำนวยการตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารเป็นผู้ลงนามแทนผู้ว่าการได้ ดังนี้เมื่อปรากฏว่า ม. ผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้เสียหายคดีนี้ได้ลงนามในเอกสารแทนผู้ว่าการถึงผู้บังคับการกองปราบปรามร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยในข้อหาฉ้อโกงทรัพย์ของผู้เสียหายกับมอบอำนาจให้ ล.เป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่ง ล. ก็ได้ร้องทุกข์และลงลายมือชื่อในบันทึกมอบคดีความผิดอันยอมความได้แล้ว ถือได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามกฎหมายแล้ว เพราะการร้องทุกข์เป็นเรื่องปกติธรรมดาของผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาในคดีความผิดต่อส่วนตัวที่จะต้องปฏิบัติ หาใช่เรื่องผิดปกติไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงว่า ผู้เสียหายร้องทุกข์ในคดีความผิดต่อส่วนตัวแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีจึงจำเป็นต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้น แล้วพิพากษาไปตามรูปความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(3) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยมาครบถ้วนพอที่จะพิพากษาคดีไปได้แล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า ไม่สมควรที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งมาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามรูปความนั้นได้ตามที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 240 บัญญัติไว้ในตอนต้น ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5412/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองอุทธรณ์โดยผู้รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอัยการ มีผลสมบูรณ์ทางกฎหมาย
ผู้รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอัยการลงชื่อรับรองอุทธรณ์ว่า มี เหตุสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย มีผลเท่ากับอธิบดีกรมอัยการ รับรองเอง และการรับรองหาจำต้องรับรองไว้ในตัวคำฟ้องอุทธรณ์ เสมอไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5068/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ การบันทึกคำสั่งอนุญาตไม่จำต้องทำในคำฟ้องอุทธรณ์
การอนุญาตให้อุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทวิ ผู้พิพากษาผู้อนุญาตจะมีคำสั่งและบันทึกข้อความตามหลักเกณฑ์ของบทกฎหมายดังกล่าวไว้ในคำร้องก็ได้ ไม่จำต้องบันทึกการอนุญาตไว้ในคำฟ้องอุทธรณ์โดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5068/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีศาลแขวง: คำสั่งอนุญาตในคำร้องเพียงพอ
การอนุญาตให้อุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 22 ทวิ ผู้พิพากษาผู้อนุญาตจะมีคำสั่งและบันทึกข้อความตามหลักเกณฑ์ของบทกฎหมายดังกล่าวไว้ในคำร้องก็ได้ ไม่จำต้องบันทึกการอนุญาตไว้ในคำฟ้องอุทธรณ์โดยตรง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174-2175/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อโกง: การรับเงินเพื่อช่วยเหลือในการเข้าทำงานราชการโดยมิชอบ ผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์
จำเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมว่าสามารถช่วยเหลือโจทก์ร่วมให้เข้าทำงานเป็นพนักงานของการรถไฟ ฯ ได้โดยไม่ต้องสอบและเรียกเงินจากโจทก์ร่วมอ้างว่าจะนำไปเป็นค่าติดต่อกับผู้ใหญ่และเป็นค่าใช้จ่าย ไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมให้เงินไปเพื่อให้จำเลยนำไปให้เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการใด ๆ อันมิชอบด้วยหน้าที่ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้ให้กระทำผิดกฎหมายโจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย
ความผิดฐานฉ้อโกง ศาลชั้นต้นยกฟ้องปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจึงไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22ทวิ และเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะพิจารณาว่าเป็นการจำเป็นหรือไม่ที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่จำเป็นและสมควรวินิจฉัยเสียเองก็ย่อมกระทำได้.