คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศใช้กฎอัยการศึกของคณะปฏิวัติ พ.ศ.2522 ม. 66

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2255/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย: ศาลพิจารณาโทษสถานหนักจากผลกระทบต่อสังคม
การกำหนดโทษผู้กระทำผิด ศาลพิจารณาถึงผลร้ายแรงของการกระทำความผิดประกอบด้วย ทั้งการกำหนดโทษเป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดตามพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป จำเลยมีเฮโรอีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 2,321 กรัมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายผลการกระทำของจำเลยถ้าได้จำหน่ายไปถึงมือประชาชนทั่วไปแล้วจะเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมและประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง จำเลยจึงควรจะได้รับโทษสถานหนัก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4525/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนกรรมเดียว ไม่เป็นความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
จำเลยจำหน่ายเฮโรอีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองให้ผู้มีชื่อไปทั้งหมดในคราวเดียวกัน ไม่มีเฮโรอีนจำนวนอื่นที่จำเลยอีกการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนเพียงกรรมเดียวไม่เป็นความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกกรรมหนึ่งด้วย ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษกระทงความผิดฐานมียาเสพติดประเภท 1 และ 2 แม้ไม่ได้บรรยายฟ้องแยกกระทง
ความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 และประเภท 2เป็นความผิดที่มีบทความผิดและบทลงโทษคนละมาตราต่างกัน จึงเป็นความผิดต่างกระทงอย่างชัดแจ้งแม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องแยกเป็นกระทง ๆ ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นความผิดสองกระทงทั้งคำฟ้องตอนต้นได้บรรยายไว้แล้วว่าเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ คำขอท้ายฟ้องก็อ้างป.อ. มาตรา 91 ไว้แล้ว ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2268/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย: ตัวการหรือผู้สนับสนุน, ปริมาณสารบริสุทธิ์และบทลงโทษ
เฮโรอีนของกลางอยู่ในกระเป๋าเดินทางของจำเลย จำเลยเตรียม จะนำออกไปนอกราชอาณาจักรไทยพร้อมกับจำเลย โดยจำเลยมีหนังสือเดินทางและตั๋วโดยสารเครื่องบินพร้อมที่จะเดินทางโดยมีกระเป๋าบรรจุเฮโรอีนของกลางไปด้วยเช่นนี้ จำเลยจึงเป็นผู้ครอบครองเฮโรอีนของกลางอันถือได้ว่าเป็นตัวการในการกระทำความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หาใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนไม่.
เฮโรอีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 1,297 กรัม ซึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง บัญญัติ ว่าการผลิตนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่าผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยจะเถียงว่าไม่ได้มีไว้เพื่อจำหน่ายหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง กรณีศาลอุทธรณ์แก้เฉพาะโทษ และการพิจารณาโทษฐานมียาเสพติด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลย 10 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ เป็นจำคุก 5 ปี ดังนี้ เพียงแก้ เฉพาะ การกำหนดโทษ มิได้แก้บทความผิด เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 เจ้าพนักงานตำรวจจับเฮโรอีนของกลางได้จากจำเลย จำนวน 62หลอด มีปริมาณ 58.625 กรัม นับว่ามีจำนวนมาก และพฤติการณ์เห็นได้ว่าทำไว้เพื่อความสะดวกแก่การจำหน่าย ศาลชั้นต้นวางโทษจำคุกมีกำหนด20 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 10 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนดังนี้ เหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพและพยานหลักฐาน: การบรรเทาโทษในคดียาเสพติด
คดีมีข้อหาจำหน่ายเฮโรอีนซึ่งกฎหมายกำหนดโทษตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต นั้น แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ยังต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176ดังนั้นเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องหาพยานหลักฐานมาแสดงต่อศาลจนเป็นที่เชื่อ ว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงการที่ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์ประกอบคำรับสารภาพชั้นสอบสวนจนแน่ใจว่าจำเลยกระทำผิดจริงเช่นนี้ คำรับสารภาพของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาของศาล เป็นเหตุบรรเทาโทษ.